เขียนประกาศรับสมัครพนักงาน

          เคยสงสัยหรือไม่ว่า ทำไมลงประกาศงานไปแล้ว ฟีดแบ็กไม่ดี ผู้สมัครงานส่งใบสมัครงานเข้ามาน้อยกว่าที่ควร ทั้งนี้ก็เพราะผู้หางานมองว่า ประกาศงานเหล่านั้นไม่มีคุณภาพ ทำให้บริษัทขาดความน่าเชื่อถือ จึงไม่มีใครอยากสมัคร และนี่อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการเสียโอกาสได้ผู้สมัครงานที่ดี ดังนั้น เพื่อช่วยให้คุณเพิ่มโอกาสสรรหาผู้สมัครงานที่ดี เราจึงรวบรวมเทคนิคที่จะช่วยให้คุณเขียนประกาศงานได้ดีขึ้นและได้ผล!

1. ประกาศงานที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง

          ประกาศงานที่ดีประกอบด้วยข้อมูลทั้งหมดที่ผู้หางานสนใจมากที่สุดเกี่ยวกับ

เขียนประกาศรับสมัครพนักงาน

2. จะดึงดูดผู้หางานที่ไม่ค่อยมีเวลาได้อย่างไร

          ผู้หางานไม่ได้อ่านทุกรายละเอียด จงทำให้ประเด็นสำคัญโดดเด่นขึ้นมาเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้หางานที่ไม่ค่อยมีเวลา

  1. ทำหัวข้อย่อยให้เป็นตัวหนา
  2. เว้นให้มีพื้นที่ว่างจำนวนมาก
  3. เข้าประเด็นอย่างรวดเร็ว
  4. ควบคุมย่อหน้าให้มี 4-5 บรรทัด
  5. ควบคุมประโยคให้มีจำนวนคำสูงสุด 15 คำ
  6. ควบคุมแต่ละประเด็นให้มีจำนวนตัวอักษรสูงสุด 50 ตัวอักษร

3. ประกาศงานที่ดีต้องรองรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่

          พฤติกรรมของผู้หางานกำลังวิวัฒนาการไปสู่การใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ฉะนั้น ควรพิจารณาว่าประกาศของคุณแสดงผลอย่างถูกต้องหรือไม่ในแพลทฟอร์มต่าง ๆ

เขียนประกาศรับสมัครพนักงาน

4. เคล็ดลับ 10 ประการสำหรับผู้เขียนประกาศงาน

          นำเคล็ดลับ 10 ประการนี้ไปใช้เพื่อช่วยให้คุณมั่นใจว่าประกาศงานของคุณน่าสนใจ สั้นกระชับ เป็นความจริง และจะดึงดูดใจผู้สมัครงานเป้าหมายของคุณ ไม่ว่าจะใช้อุปกรณ์ประเภทใดก็ตาม

เขียนประกาศรับสมัครพนักงาน

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เมื่อต้องสรรหาบุคลากรใหม่
เหตุผลที่ทำให้คุณได้รับใบสมัครงานน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

“เคยไหม? ลงประกาศงาน มีแต่คนอ่านแต่ไม่มีคนสมัคร”

ทำให้ HR ปวดหัวอยู่เป็นประจำ โดยปัญหานี้เกิดจากสาเหตุหลาย ๆ อย่างด้วยกันที่ทำงานมีคนที่กำลังมองหางาน เข้ามาอ่านประกาศงานจำนวนมาก แต่ไม่มีการยื่นสมัครงาน หรือมีการยื่นสมัครงาน แต่ก็ไม่ตรงคุณสมบัติตามที่ได้ประกาศไว้ วันนี้ Jobbee.work มีทริคการเขียนประกาศรับสมัครงานคุณภาพ ที่จะทำให้ได้คนที่ตรงใจ 

1. ชื่อตำแหน่งงาน 

ชื่อตำแหน่งงานที่ดี ควรจะเป็น Keyword ที่แสดงถึงหน้าที่ความรับผิดชอบงานนั้น เขียนให้กระชับเข้าใจง่ายว่าคือตำแหน่งอะไร อาจจะเขียนด้วยชื่อตำแหน่งงานภาษาไทย เพิ่มวงเล็บตำแหน่งงานในภาษาอังกฤษเข้าไปด้วย เช่น เจ้าหน้าที่การตลาด (Marketing) หรือชื่อตำแหน่ง ตามด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบที่สั้นและเข้าใจง่าย เช่น  Online Marketing (Content – Ads) เป็นต้น  

2. รายละเอียดงาน

การกรอกรายละเอียดงาน จะมี 3 หัวข้อด้วยกัน ได้แก่ 1. วัตถุประสงค์ 2. สิ่งที่ต้องทำ 3. เป้าหมายที่คาดหวัง หากในตำแหน่งงานนั้นมีรายละเอียดงานที่มาก ควรใส่เนื้อหาให้กระชับเข้าใจง่าย แต่ HR บางคนอาจจะมองว่าไม่ต้องการที่จะใส่หน้าที่ความรับผิดชอบทั้งหมด เพราะกลัวผู้สมัครงานมองว่ามีหน้าที่ความรับผิดชอบที่มากเกินไป แต่การไม่ระบุหน้าที่ความรับชอบให้ครบถ้วนจะทำให้ “ได้แต่จำนวนใบสมัคร แต่ไม่ได้ผู้สมัครที่มีคุณสมบัติดตามที่คุณต้องการ” 

3. คุณสมบัติผู้สมัคร

คุณสมบัติผู้สมัครเป็นารคัดกรองผู้สมัครเบื้องต้นอย่าลืมเพิ่มคุณสมบัติพื้นฐานของผู้สมัครที่คุณต้องการ เช่น เพศ, อายุ, ระดับการศึกษา,ประสบการณ์ทำงาน และคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น สามารถขับรถยนต์และมีใบขับขี่, สามารถเดินทางไปทำงานต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้, มีคะแนนสอบ TOEIC ไม่ต่ำกว่า 500 คะแนน เป็นต้น    

เขียนประกาศรับสมัครพนักงาน

4. เงินเดือน 

หากทางบริษัทไม่ต้องเปิดเผยเงินเดือน ควรระบุเป็นช่วงเงินเดือน เช่น 15,000 – 20,000 เพราะการระบุเงินเดือนจะทำให้มีโอกาสในการแข่งขันกับบริษัทอื่น ๆ ได้ การไม่ระบุเงินเดือน อาจจะทำให้ประกาศงานของคุณโดนปัดตกจากผู้หางานได้เช่นกัน เพราะอย่าลืมว่าคนหางานเอง ก็มองหางานที่ได้ค่าตอบแทนที่สมน้ำสมเนื้อกับหน้าที่ความรับผิดชอบที่ได้รับ 

5. สวัสดิการ 

อาวุธหลักสำคัญที่จะจัดการคู่ต่อสู้ได้อยู่มัด บริษัทสวัสดิการอะไรบ้าง งัดออกมาให้หมด ถ้าหากประกาศงานในตำแหน่งเดียวกัน ฐานเงินเดือน และหน้าที่ความรับผิดเท่ากัน สิ่งที่ผู้สมัครจะพิจารณาต่อมาคือสวัสดิการ ตัวอย่างสวัสดิการดี ๆ ผู้สมัครเห็นแล้วตาต้องลุกวาว เช่น โบนัสและการปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี, เวลาทำงานที่ยืดหยุ่น, Work From Home เป็นต้น ส่วนสวัสดิการขั้นพื้นฐาน เช่น สิทธิประกันสังคม, วันหยุด – วันลาตามกฏหมาย ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญอย่าลืมกรอกลงไปในประกาศงานด้วย 

6. ข้อมูลบริษัท 

การเพิ่มข้อมูลบริษัท เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อชั้นดีให้บริษัท ยิ่งถ้าเป็นบริษัทขนาดเล็ก ยังไม่เป็นที่รู้จัก การมีโปรไฟล์บริษัทดี ๆ จะทำให้บริษัทของคุณทำคะแนนขึ้นมาได้อีก อย่าลืมบอกเล่าเรื่องราวของบริษัทให้ครบถ้วน ทั้งบริษัททำธุรกิจเกี่ยวกับอะไรบ้าง สถานที่ตั้ง รูปภาพที่สื่อถือวัฒนธรรมองกรค์ที่ดี หรือช่องทางในการติดตามองค์กรอื่น ๆ ของคุณ เพื่อให้ผู้สมัครงานได้รู้จักกันมากขึ้น 

การประกาศรับสมัครงานก็เหมือนเป็นการประกาศหาแฟน ถ้าเราสร้างโปรไฟล์ของเราให้ดี เขียนประกาศรับสมัครงาน ให้ปัง! ก็จะมีผู้สมัครงานที่ส่งใบสมัครงานเข้ามามากยิ่มขึ้น ทำให้บริษัทมีสิทธิที่จะเลือกคนที่ตรงกับคุณสมบัติที่เราต้องการมากที่สุด 


สมัครสมาชิกและสร้างประกาศงานกับ Jobbee.work ได้คนที่ใช่ ในเวลาอันรวดเร็ว 

ประกาศงาน