ใบงาน การใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง

ในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ได้มีการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมกันอย่างแพร่หลาย  และเพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม  โดยเฉพาะด้านการคมนาคมขนส่ง

ใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมประเภทเชื้อเพลิง  ที่ได้มาจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ซึ่งเป็นพลังงานสิ้นเปลือง  แต่มีอยู่อย่างจำกัดและจะหมดลงได้ในอนาคต ดังนั้นจึงนำปิโตรเลียมมาใช้อย่างประหยัดและคุ้มค่าที่สุด

พลังงาน

พลังงาน คือ  ความสามารถของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จะทำงานได้  ซึ่งทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในแนวของแรงสิ่งใดก็ตามที่สามารถทำให้วัตถุเปลี่ยนตำแหน่งหรือเคลื่อนที่ไปจากที่เดิมได้  สิ่งนั้นย่อมมีพลังงานอยู่ภายใน โดยทั่วไปของพลังงานมีอยู่ 2 ประการ คือ ทำงานได้ และเปลี่ยนรูปได้

รูปแบบของพลังงาน

-  พลังงานปฐมภูมิ คือ  แหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่ตามธรรมชาติสามารถนำมาใช้โดยตรง  ได้แก่ น้ำ แสงแดด ลม เชื้อเพลิงตามธรรมชาติ เช่น น้ำมันดิบ ถ่านหิน  และแก๊สธรรมชาติ

-  พลังงานเชิงพาณิชย์ คือ พลังงานที่ต้องอาศัยกลไกของตลาดในการส่งผ่านหรือกระจายพลังงานไปยังผู้ใช้  เป็นพลังงานที่ต้องอาศัยการซื้อขายผ่านระบบของตลาด และยังเป็นพลังงานประเภทที่มีการใช้มากที่สุดในโลก  ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

สถานการณ์พลังงานของโลกและของประเทศไทย

ในปัจจุบันมีประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก  มีการขยายพื้นที่อยู่อาศัย การพัฒนาชุมชนเมือง ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรมอย่างไม่หยุดยั้ง การผลิตสินค้าปรับเปลี่ยนจากการผลิตระดับครัวเรือนไปสู่ระดับอุตสาหกรรม  เพื่อให้พอเพียงแก่ความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระบบการคมนาคมขนส่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ระบบการคมนาคมขนส่งเข้ามามีบทบาทมากกขึ้น นอกจากการคมนาคมขนส่งแล้ว ยังมีการใช้พลังงานที่ได้จากธรรมชาติทำกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย  เช่น นอกจากเพื่อการอยู่รอดของชีวิตแล้วพลังงานยังเอื้ออำนวยความสะดวกสบายในด้านการคมนาคมขนส่ง  อุตสาหกรรม เกษตรกรรมอาคารพาณิชย์ บ้านอาศัย ล้วนต้องพึ่งพาพลังงานทั้งสิ้นโดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า

          การใช้พลังงานที่โลกต้องการใช้กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์จากอดีตปัจจุบันและอนาคตมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่ความต้องการน้ำมันดิบมีมากที่สุด  รองลงไป คือถ่านหิน ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีราคาถูกและปริมาณมาก พลังงานจากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์นับเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญ ทั้งน้ำมันดิบ ถ่านหิน  รวมทั้งก๊าซธรรมชาติ เป็นแหล่งพลังงานสำหรับกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ในปัจจุบันและจะมีความต้องการใช้พลังงานมากขึ้น

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยก็มีความต้องการพลังงานเพื่อกิจกรรมต่างๆ เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ พลังงานที่ใช้ในประเทศไทยมาจากหลายแหล่ง  ส่วนใหญ่มาจากธรรมชาติและใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถสร้างขึ้นมาทดแทนได้อีก ยิ่งประชากรเพิ่มจำนวนขึ้นความต้องการใช้พลังงานก็ยิ่งมากขึ้นด้วย  ประเทศไทยใช้พลังงานเพื่อการอุตสาหกรรม และคมนาคมเป็นส่วนมาก ชีวิตประจำวันของเราจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการคมนาคมขนส่ง ซึ่งส่วนใหญ่ต้องใช้พลังงานจากธรรมชาติทั้งสิ้น

แนวโน้นการใช้พลังงานของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2548-2558

ใบงาน การใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง

การใช้พลังงานของประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2548-2558

ที่มา : http://www.vcharkarn.com/varticle/42527  

จากภาพ จะเห็นได้ว่า ความต้องการก๊าซธรรมชาติและแหล่งพลังงานอื่นๆ มีแนวโน้นจะเพิ่มสูงขึ้นในอีกสิบปีข้างหน้า ในขณะที่การใช้พลังงานของประเทศไทยคาดว่าจะเพิ่มที่ 5% CAGR (Compound Annual Growth Rate) และก๊าซธรรมชาติจะเป็นพลังงานทางเลือกของประเทศไทยอีกด้วย และมีปริมาณการใช้เพิ่มโดยรวมเกือบ 8% ต่อปีในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2548-2558

สำหรับการใช้พลังงานในโลกจะเติบโตต่อเนื่องและผันแปรตามจำนวนประชากรที่ เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจีนและอินเดีย  จะเป็นประเทศที่มีการใช้พลังงานสูงสุด อัตราการเติบโตของการใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 1.8-2.3% ต่อปี และในพ.ศ. 2556 สัดส่วนการใช้พลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นก๊าซธรรมชาติ 28% จากปัจจุบันอยู่ที่ 24% ส่วนน้ำมันจะมีอัตราการเติบโตต่อปีลดลงเหลือ 1.6 %

          ทั้งนี้ เป็นผลมาจาก 3 ปัจจัย คือ ราคาน้ำมันจะไม่ลดลงไปกว่าเดิม คุณสมบัติของก๊าซธรรมชาติที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม  และเทคโนโลยีของก๊าซธรรมชาติมีการพัฒนามากขึ้น ส่งผลให้สามารถจัดข้อจำกัดของการใช้ก๊าซธรรมชาติเดิมที่มีการจำกัดการใช้ เฉพาะประเทศไทยที่อยู่ใกล้แหล่งธรรมชาติ

ปริมาณสำรวจปิโตรเลียม (Petroleum Reserves)

หมายถึง  ปริมาณปิโตรเลียมที่มีอยู่และสามารถผลิตได้ในเชิงพาณิชย์  ณ วันที่กำหนดใดๆ ภายใต้เงื่อนไขสภาวะทางเศรษฐกิจ และวิธีการผลิตในปัจจุบัน รวมถึงกฎระเบียบของรัฐ ปริมาณสำรองปิโตรเลียมแบ่งเป็นปริมาณสำรองน้ำมันดิบ และปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติ

ใบงาน การใช้พลังงานเพื่อการขนส่ง

การสำรวจปิโตรเลียม

ที่มา : http://www.thainews-online.com/index.php  

      ก๊าซธรรมชาติของโลกส่วนใหญ่อยู่ในแถบตะวันออกกลาง รองลงมาอยู่ คือ แถบยูเรเซีย  ส่วนบริเวณที่มีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติน้อยที่สุด คือ บริเวณอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และยุโรป

          ในช่วงเวลาที่มีการพัฒนาควบคู่ไปกับการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของโลก  ทำให้หลายประเทศจำเป็นต้องใช้ปิโตรเลียมมากขึ้น ทั้งเพื่อการคมนาคมขนส่ง และอุตสาหกรรมต่างๆ บริเวณที่ใช้ปิโตรเลียมค่อนข้างมากของโลก ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และแถบทวีปยุโรป ประเทศเหล่านี้เป็นประเทศเป็นผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ของโลกต้องใช้น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในอุตสาหกรรมและการขนส่ง บางประเทศอยู่ในเขตหนาว ต้องใช้พลังงานจากปิโตรเลียมในการทำความร้อนในอาคาร และที่อยู่อาศัย ประเทศที่มีแหล่งปิโตรเลียม และประเทศที่ใช้ปิโตรเลียมเป็นแหล่งพลังงานสำคัญ จำเป็นต้องทราบปริมาณสำรองปิโตรเลียม

ตาราง ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศไทยรวมทั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ณ สิ้นปี 2556

ปริมาณสำรอง

พิสูจน์แล้ว

ยังไม่ได้พิสูจน์

Proved reserve

Probable reserve

Possible reserve

ก๊าซธรรมชาติ (พันล้านลบ.ฟุต)

8,414.77

8,798.58

3,227.36

ก๊าซธรรมชาติเหลว (ล้านบาร์เรล)

203.91

268.92

97.03

น้ำมันดิบ (ล้านบาร์เรล)

257.04

312.19

235.43

ประเทศไทยมีการจัดหาปิโตรเลียมจากแหล่งปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเล ในเดือน มกราคม - ธันวาคม 2557  มีรายละเอียดดังตาราง

ตาราง การจัดหาปิโตรเลียมจากแหล่งปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเล ในเดือน มกราคม – ธันวาคม  2557

เดือน

ก๊าซธรรมชาติ

(ล้านลบ.ฟุตต่อวัน)

คอนเดนเสท

(บาร์เรลต่อวัน)

น้ำมันดิบ

(บาร์เรลต่อวัน)

รวม

(บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ

ต่อวัน)

มกราคม

3,110.00

86,728.00

130,379.00

751,651

กุมภาพันธ์

3,175.00

96,113.00

144,292.00

785,436

มีนาคม

3,243.00

105,314.00

121,425.00

782,798

เมษายน

2,891.00

84,058.00

145,569.00

726,219

พฤษภาคม

3,189.00

95,170.00

149,452.00

792,180

มิถุนายน

3,150.00

108,245.00

130,994.00

778,814

กรกฎาคม

2,978.00

97,423.00

132,638.00

740,617

สิงหาคม

2,854.00

103,509.00

131,970.00

723,859

กันยายน

2,828.00

96,031.00

121,730.00

702,283

ตุลาคม

3,096.00

86,830.00

122,646.00

741,569

พฤศจิกายน

3,083.00

96,411.00

154,578.00

779,949

ธันวาคม

2,908.00

91,668.00

127,018.00

717,554