Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

Windows Server (formerly Windows NT Server) is a group of operating systems (OS) for servers that Microsoft has been developing since July 27, 1993. The first OS that was released for this platform was Windows NT 3.1 Advanced Server. With the release of Windows Server 2003, the brand name was changed to Windows Server.

Microsoft's history of developing operating systems for server computers goes back to Windows NT 3.1 Advanced Server edition. Windows 2000 Server edition was the first OS to include Active Directory, DNS Server, DHCP Server, and Group Policy.

Members[edit]

Main releases[edit]

Main releases include:

Traditionally, Microsoft supports Windows Server for 10 years, with five years of mainstream support and an additional five years of extended support. These releases also offer a complete desktop experience. Starting with Windows Server 2008 R2, Server Core and Nano Server configurations were made available to reduce the OS footprint.[12][13] Between 2015 and 2021, Microsoft referred to these releases as "long-term support" releases to set them apart from semi-annual releases (see below.)

For sixteen years, Microsoft released a major version of Windows Server every four years, with one minor version released two years after a major release. The minor versions had an "R2" suffix in their names. In October 2018, Microsoft broke this tradition with the release of Windows Server 2019, which should have been "Windows Server 2016 R2". Windows Server 2022 is also a minor upgrade over its predecessor.[14][15]

Branded releases[edit]

Certain editions of Windows Server have a customized name:

Semi-annual releases (discontinued)[edit]

Following the release of Windows Server 2016, Microsoft attempted to mirror the lifecycle of Windows 10 in the Windows Server family, releasing new versions twice a year which were supported for 18 months. These semi-annual versions were only available as part of Microsoft subscription services, including Software Assurance, Azure Marketplace, and Microsoft Visual Studio subscriptions,[25] until their discontinuation in July 2021.[26][25]

The semi-annual releases do not include any desktop environments. Instead, they are restricted to the Nano Server configuration installed in a Docker container,[13][25] and the Server Core configuration, licensed only to serve as a container host.[13][25]

ด้วย เพราะถ้าคุณต้องการมี server ไว้ใช้งานเก็บข้อมูลในองค์กร รวมถึงการเก็บเว็บไซต์ ใช้เป็นฐานข้อมูลขององค์กร หรือการใช้รัน Application ต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นมา ระบบปฏิบัติการนี้จะช่วยทำให้เครื่อง server สามารถทำงานต่าง ๆ ตามที่คุณต้องการได้นั่นเอง และสิ่งที่คุณต้องรู้ก็คือ Windows Server ที่ออกมาวางจำหน่ายนั้นไม่ได้มีแค่เวอร์ชันเดียว จะเลือกซื้อเวอร์ชันไหนอย่างไรถึงจะคุ้มค่าและเหมาะสมไปพบคำตอบพร้อม ๆ กัน

Window Server มีให้เลือกใช้กี่แบบ

Microsoft ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows Server มาอย่างต่อเนื่อง และตอนนี้ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชันล่าสุด คือ เวอร์ชัน 2019 ซึ่งในแบบฉบับ License โดยตรงจาก Microsoft เลยจะมีให้เลือกใช้อยู่ 2 แบบด้วยกันคือ

1. แบบ Volume ซึ่งจะเป็นแบบซื้อขาด เหมือนซื้อโปรแกรมทั่วไปมาใช้งาน
2. แบบ SPLA แบบนี้จะเหมือนการเช่าโปรแกรมมาใช้งาน ซึ่งปัจจุบัน Microsoft ผลักดันผลิตภัณฑ์ของพวกเขาในรูปแบบการให้บริการผ่าน Cloud มากขึ้น อย่าง Microsoft Office ตอนนี้ก็มีการให้บริการผ่าน Cloud ซึ่งเวอร์ชันเต็มหรือ License เลยก็ต้องมีการเช่าโปรแกรมเช่นกัน

นอกจากจะแบ่งรูปแบบตามลักษณะความสะดวกในการจ่ายเงินแล้ว ทาง Microsoft ยังแบ่งรูปแบบ Windows Server ให้เลือกกันง่าย ๆ ตามขนาดขององค์กรด้วยนั่นคือ
  • องค์กรขนาดใหญ่ - เหมาะสมกับ Windows Server Datacenter
  • องค์กรขนาดกลาง หรือธุรกิจทั่วไป – เหมาะสมกับรุ่น Standard Edition
  • องค์กรขนาดเล็ก มีผู้ใช้งานไม่เกิน 20 – 25 คน - เหมาะสมกับรุ่น Essential Edition

Window Server เวอร์ชันล่าสุดให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น

ในวันนี้อาชญากรรมทางไซเบอร์กำลังเป็นปัญหาที่องค์กรธุรกิจต่าง ๆ กังวล Microsoft เองก็ตระหนักถึงปัญหาการโจมตีทางไซเบอร์แบบนี้ด้วย พวกเขาจึงใส่ใจและให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้ออกแบบและพัฒนา 

หลายคนอาจสงสัย ทำไมถึงมีระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System) ออกมาเยอะแยะมากมาย นั่นก็เพราะว่าในการทำงานแต่ละประเภทนั้น บาง OS นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง อย่าง Microsoft Windows Server นี้ก็ถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานในเครื่อง Super Computer หรือ Server ที่มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งใช้งานในการเก็บบันทึกข้อมูลสำหรับองค์กรต่างๆ

> อ่านบทความ Server คืออะไร
> อ่านบทความ ระบบ OS ของเซิร์ฟเวอร์ มีอะไรบ้าง

อีกตัวอย่างการใช้งาน ้เช่น เว็บไซต์ที่เราใช้งานกันอยู่บนโลก Internet ทุกวันนี้ก็รันบนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์แทบทั้งหมด หรือเรียกอีกอย่างว่าเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่จะกระจ่ายข้อมูลให้เครื่องลูกข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer) เข้าถึงข้อมูลได้พร้อม ๆ กันจำนวนหลายคนได้ เรามาทำความรู้จัก “วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์” กันต่อดีกว่า ว่ามีแบบไหนบ้าง มีกี่เวอร์ชั่น มีการขายกี่แบบ และมีวิธีใช้อย่างไร

สำหรับใครที่สนใจสั่งซื้อวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ สามารถติดต่อเราที่นี่ เพื่อขอคำปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าจ่าย รวมถึงมีบริการจัดทำใบเสนอราคาให้สำหรับลูกค้าองค์กร ซึ่งเรามีขาย License ทุกรูปแบบ ทุกแพคเกจ ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน

สารบัญ

  • Windows Server คืออะไร
  • มีกี่เวอร์ชั่น
  • มีกี่ประเภท
  • มีรูปแบบ License ให้เลือกใช้กี่แบบ
  • ROK คืออะไร
  • สรุป

Windows Server คืออะไร

Windows Server คือระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ (Server OS : Server Operating System) แบบหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานเฉพาะทาง กับเครื่อง Super Computer หรือ เครื่อง Server ที่มีการประมวลข้อมูลพร้อม ๆ กันจำนวนมหาศาล รองรับการเข้าใช้งาน หรือเข้าถึงข้อมูลพร้อมกันหลาย ๆ คนได้ อย่างเช่น Web Server, File Server, Data Center Server, Mail Server เป็นต้น

ขายServer ราคาถูก

โดยตัวแทนจำหน่ายโดยตรง

Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

HPE Server

เลือกซื้อ

Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

Dell Server

เลือกซื้อ

Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

Lenovo Server

เลือกซื้อ

เลือกซื้อ Server ทั้งหมด >

จำหน่ายครั้งแรกในปี 2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ถูกพัฒนา และผลิตขึ้นโดยบริษัทไมโครซอร์ฟ (Microsoft Corporation) เป็นการพัฒนาจาก Windows NT ซึ่ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ รุ่นแรกสุดคือ Windows NT 3.1 Advanced Server ตามด้วย Windows NT Server รุ่น 3.5, 3.51, 4.0 และ Windows 2000 Server ตามลำดับ ซึ่งรุ่นแรกที่วางจำหน่ายจริง ขายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2003 ซึ่งก็ประมาณ 20 ปีที่แล้วเลยทีเดียว

สำหรับวินโดว์เซิร์ฟเวอร์เอง ก็มีหลายเวอร์ชั่น และได้พัฒนาออกมาเป็น Version แยกย่อยให้เหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภท เช่น เวอร์ชั่น Essential Edition, Standard Edition และ Datacenter เป็นต้น ทางไมโครซอฟท์ ได้มีการพัฒนาวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดที่ใช้กันนั้นจะเป็นเวอร์ชั่น 2019 และยังมีรุ่นที่เปิดตัวออกมาใหม่ คือ Windows Server 2022 ซึ่งเปิดตัวและเริ่มวางจำหน่ายสดๆ ร้อนๆ เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมานี้เอง

กลับสู่สารบัญ

มีกี่เวอร์ชั่น (Version)

Windows Server มีหลาย Version ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง ในเนื้อหาส่วนนี้ผมจะใส่เป็นชื่อรุ่นที่จำหน่ายจริงคร่าว ๆ พร้อมปีที่เปิดตัวดังนี้

  • Version 2003 (เมษายน ปี ค.ศ. 2003)
  • Version 2003 R2 (ธันวาคม ปี ค.ศ. 2005)
  • Version 2008 (กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2008)
  • Version 2008 R2 (ตุลาคม ปี ค.ศ. 2009)
  • Version 2012 (กันยายน ปี ค.ศ. 2012)
  • Version 2012 R2 (ตุลาคม ปี ค.ศ. 2013)
  • Version 2016 (ตุลาคม ปี ค.ศ. 2016)
  • Version 2019 (ตุลาคม ปี ค.ศ. 2018)
  • Version 2022 (สิงหาคม ปี ค.ศ. 2021)

Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

จะเห็นได้ว่าวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ มีการปรับปรุงและอัพเดตใหม่ทุก ๆ 1-2 ปี จากรุ่นหลัก เช่น Windows Server 2003 คือรุ่นหลัก และ Version 2003 R2 คือรุ่นรอง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าทำไม Version 2016 ถึงไม่มีเวอร์ชั่น R2 แต่ถูกข้ามไปเป็น Version 2019 เลย และล่าสุดก็เปิดตัว Windows Server 2022 ออกมาเมื่อ ปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมานี่เองครับ

กลับสู่สารบัญ

มีกี่ประเภท (Edition)

Windows Server ในแต่ละเวอร์ชั่น เช่น Version 2016 และ 2019 นั้น ก็จะมีการแบ่งย่อยออกได้อีก 3 ประเภท ซึ่งจะเรียกเป็น “Edition” และแยกตามการใช้งาน ดังนี้ครับ

  1. Essential Edition เป็นรุ่นเริ่มต้น จึงเหมาะสำหรับธุรกิจ หรือองค์กรขนาดเล็ก ที่มีผู้ใช้งานไม่เกิน 25 คน และอุปกรณ์ไม่เกิน 50 เครื่อง
  2. Standard Edition เป็น Edition ยอดนิยม ส่วนใหญ่ใช้กับ Server ทั่วไป หรือทำ VM ได้ในจำนวนที่จำกัด เหมาะสำหรับองค์กร หรือธุรกิจขนาด เล็ก – กลาง อย่าง ธุรกิจ SME, SMB เป็นต้น
  3. Datacenter เป็น Edition ที่มีความสามารถสูงสุด เหมาะที่จะใช้งาน VM และ Cloud solution ได้เต็มรูปแบบ จึงเหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มี Data Center เป็นศูนย์กลาง

Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

กลับสู่สารบัญ

มีรูปแบบ License ให้เลือกใช้กี่แบบ

ประเภทของ License ที่มีให้เลือกใช้งานจริงๆ นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Volume License และ CSP License ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะมีความต่างกันดังนี้

Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

Volume License

จะเป็น License แบบที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งมันคือแบบซื้อขาด ซื้อครั้งเดียวจบ ส่วนใหญ่มักจะใช้กันตาม Office หรือ On-premise ราคาจะถูกคิดตามสเปคของ Server ซึ่งแบบ Volume License นี้ จะไม่สามารถ Upgrade เป็นเวอร์ชั่นอื่นได้ เช่น หากซื้อ Windows Server 2016 อยู่ 3 ปีผ่านไปเวอร์ชั่นใหม่ออก ก็จะไม่สามารถอัปเกรดเป็น Version 2019 ได้

หากคุณอยากจะ Upgrade เป็น Enterprise ก็ไม่สามารถทำได้ และไม่สามารถใช้งานบน Cloud ได้ จัดอยู่ในแบบ OEM License (Original Equipment Manufacturer) จะมาในรูปแบบของซองแข็ง และจะมีแผ่น DVD และ License อยู่ด้านใน สามารถนำไปติดตั้ง หรือ Activate กับเครื่องใหม่ ที่ยังไม่มี License มาก่อน และตัว License Key ก็จะฝังติดอยู่กับเมนบอร์ด (Mainboard, Motherboard) ของเครื่องนั้น ๆ เท่านั้น ไม่สามารถย้ายเครื่องในการติดตั้งใหม่ได้

CSP (Cloud Solution Provider)

จะเป็นรูปแบบการขายแบบ Cloud Service ของ Microsoft ซึ่งทำให้ Partner และลูกค้า มีความยืดหยุ่นในการสั่งซื้อ โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อแบบเช่ารายเดือน หรือรายปีได้ และสามารถปรับเปลี่ยนแพลนได้ตามต้องการ ช่วยลดต้นทุน ดีกว่าแบบซื้อขาดในครั้งเดียว แถมยังได้ Upgrade เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดได้ตลอด หรือตามข้อตกลงในสัญญาการเช่า หากวันข้างหน้ามีการปรับเปลี่ยนสเปคของ Server เครื่องนั้น ๆ ก็สามารถเพิ่มหรือลดค่าบริการในส่วนนั้นได้เช่นกัน ส่วนใหญ่การเช่าจะเป็นแบบ On Cloud นั่นเองครับ

Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

ซึ่งทั้ง 2 แบบ การซื้อ License นั้น จะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วน ที่จะทำให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ คือ

CPU Core

ในส่วนนี้ จะนับเป็น Physical Core หรือ Virtual Core ก็ได้ ตามการใช้งาน อย่างเช่น เครื่อง Server ที่ใช้มี 16 Cores ก็ต้องซื้อแบบ Per Core 8 License ( 1 License = 2 Cores) แตกหากเครื่อง Server มีจำนวน Core ไม่ถึง ก็ต้องซื้อ License ให้ครอบคลุม 16 Cores เหมือนเดิม เนื่องจากเป็นขั้นต่ำที่ Microsoft กำหนดไว้นั่นเอง

CAL

สำหรับส่วนของ CAL (Client Access License) คือ License ที่จะทำให้มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานเครื่อง Server ได้ โดย CAL จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบดังนี้

  • User CAL จะนับตามจำนวน User ที่จะเข้าใช้งาน เช่น User 1 คน มีอุปกรณ์ (Device) หลายเครื่อง ที่สามารถเข้าถึง Server ได้ อาจจะเป็น PC, Laptop หรือ Smart Phone ก็ได้ แบบนี้จะเรียกว่า User CAL
  • Device CAL แบบนี้จะนับตามจำนวนเครื่องหรืออุปกรณ์ที่จะเข้าใช้งานกับเครื่อง Server เช่น คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ใช้งานร่ามกัน อย่างคอมพิวเตอร์ตามโรงเรียน หรือโรงพยาบาล เป็นต้น

สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อ แต่คำนวนจำนวน CAL ไม่ถูก สามารถติดต่อเราที่นี่ เพื่อให้ทีมขายของ Add In Business เราช่วยคำนวณให้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

กลับสู่สารบัญ

ROK คืออะไร

ROK ย่อมาจาก Reseller Option Kit เป็นรูปแบบการจัดจำหน่าย License Software สำหรับตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีการจัดราคาที่เหมาะสม เพื่อไปจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจได้อย่างถูกต้อง สำหรับแบรนด์นั้น ๆ เท่านั้น

ROK แตกต่างจาก Windows Server เวอร์ชั่นอื่นอย่างไร

จริงๆ แล้ว ROK ก็คือวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ประเภทหนึ่ง เป็นระบบปฏิบัติการ OS ที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับรุ่นเวอร์ชั่นอื่นๆ ที่ลูกค้าซื้อได้โดยตรงจาก Microsoft แต่ด้วยข้อตกลงของเครื่อง Server แต่ละแบรนด์ ทำให้แบรนด๋ต่างๆ สามารถปรับแต่งการตั้งค่า และประสิทธิภาพของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เวอร์ชั่นพิเศษโดยเฉพาะ ให้เหมาะสมแบรนด์ตัวเองได้ เพื่อให้เข้ากับสมรรถนะเครื่องโดยเฉพาะ และใช้ใน Server ของแบรนด์ตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้กับ Server แบรนด์อื่นได้ เช่น Windows Server ROK ของ HPE ก็ต้องใช้กับ HPE Server เท่านั้น, ROK ของ Dell ก็ใช้กับ Dell Server หรือ ROK ของ Lenovo ก็ใช้กับ Lenovo Server เท่านั้น เป็นต้น

Windows Server ROK จัดอยู่ในกลุ่มของ OEM License (Original Equipment Manufacturer) ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ หากติดตั้งเครื่องไหนแล้ว ก็จะฝังอยู่กับเครื่องที่ติดตั้งไว้เท่านั้นครับ

ข้อดีของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้ คือ มีราคาค่อนข้างถูกกว่าแบบเวอร์ชั่นทั่วไปที่จำหน่ายโดย Microsoft ทำให้สามารถเข้าถึงองค์กร และกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่มีอุปกรณ์ Computer Server ติดตั้งเป็นแบรนด์ชั้นนำใช้งานอยู่แล้ว ได้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

คลิปเรียนรู้ทริคการใช้งานวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์

Windows server คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับทำงานเฉพาะด้าน และใช้งานกับ Super Computer หรือ Server เพื่อทำเป็นเครื่องแม่ข่ายภายในองค์กร เช่น Data Center Server, File Server, Mail Server หรือ Web Server เป็นต้น มีจำหน่ายอยู่หลายเวอร์ชั่น ในแต่ละ Version จะถูกแบ่งออกเป็น 3 Edition คือ Essential Edition, Standard Edition และ Datacenter เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท และขนาดขององค์กร

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบการขาย แบบแรก คือ Volume License ที่สามารถซื้อขาดในครั้งเดียว ใช้นานเท่าไหร่ก็ได้ ไม่สามารถอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดได้ จะเหมาะกับการติดตั้งแบบ On-Premise และ แบบที่สอง คือแบบ CSP ที่เป็นลักษณะเช่าใช้ โดยสามารถเช่าใช้เป็น รายเดือน หรือรายปี อาจจะมีสัญญาเงื่อนไขในการเช่า แบบนี้จะสามารถอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดได้ตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานมากกว่า ทั้งนี้ การเลือกซื้อใช้งาน ก็จะขึ้นอยู่กับ User ว่ามีความสนใจรูปแบบไหนมากกว่ากัน

สำหรับการคิดราคานั้น ก็จะถูกคิดตามสเปคของ Server เครื่องนั้นๆ และต้องซื้อ CAL เพื่อให้สิทธิกับ Device หรือ User ที่จะเชื่อมต่อกับ Server ด้วย สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อ แต่คำนวนไม่ถูก สามารถติดต่อเราที่นี่ เพื่อให้ทีมขายของ Add In Business เราช่วยคำนวณให้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

หากข้อมูลในเนื้อหานี้ มีความผิดพลาดประการใน ทางผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

กลับสู่สารบัญ

Add In Business

จำหน่ายอุปกรณ์ไอทีราคาถูก

ภายใต้บริษัท แอด อิน บิซิเนส จำกัด ตัวแทนจำหน่าย
ได้รับการแต่งตั้งโดยตรงจากแบรนด์ชั้นนำ
ราคา พิเศษ ส่งฟรี

ดูสินค้าทั้งหมด

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่หน้า Contact

หรือ

Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด
 
Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด
 
Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด
 
Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด
 
Windows server เวอร์ชั่นล่าสุด

สรุป

หวังว่าบทความนี้ จะเป็นตัวช่วยให้เพื่อนๆ ได้รู้จักกับ Windows Server มากขึ้น ว่ามันคืออะไร มีกี่แบบ กี่รุ่น กี่เวอร์ชั่นให้เลือกใช้กัน เว็บไซต์ Addin.co.th ของเรา นอกจากจะมีเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับวงการไอทีที่น่าสนใจให้อ่านกันแล้ว ยังมีสินค้าไอทีครบวงจรจำหน่ายในราคาพิเศษอีกด้วย หากท่านผู้อ่านมีความสนใจเพิ่มเติมในการสั่งซื้อสินค้าอุปกรณ์ไอที สอบถามข้อมูล หรือขอใบเสนอราคา ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของอุปกรณ์ใดๆก็ตาม สามารถติดต่อเข้ามาได้ที่