เพราะเหตุใดอริยสัจ4

บทนำ 

การศึกษาเพื่อเข้าใจพุทธศาสนาได้ดีนั้น อันดับเเรกต้องพิจารณาหลักธรรมคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 การเริ่มต้นจากคำสอนอริยสัจ 4 นี้ถือว่าถูกต้องเหมาะสม เพราะเมื่อเริ่มเทศนาสั่งสอน พระพุทธองค์ก็เริ่มจากคำสอนนี้ก่อน ในช่วงสมัยพุทธกาล มีระบบคำสอนและความคิดทางปรัชญาและศาสนามากมายในช่วงเวลานั้น ปัจจุบันนี้เรายิ่งมีคำสอนมากกว่าอดีตมากมายนัก ดังนั้นเมื่อเราเริ่มศึกษาพุทธศาสนา การเข้าใจว่าพุทธศาสนาคืออะไร และแนวทางการศึกษาพุทธศาสนาเป็นอย่างไรนั้นจึงสำคัญมาก โดยทั่วไปแล้ว พุทธศาสนามีคำสอนมากมายที่คล้ายกับศาสนาอื่น เช่น สอนให้เป็นคนมีความรักความเมตตา ไม่ทำร้ายผู้อื่น แม้ว่าพุทธศาสนาจะมีวิธีการและแนวทางต่างๆมากมายและหลากหลาย ในการพัฒนาความรักความเมตตากรุณา แต่การต้องมาศึกษาคำสอนเหล่านี้ในพุทธศาสนาไม่จำเป็นเลย เพราะหัวข้อคำสอนเหล่านี้มีปรากฏอยู่ในคำสอนของลัทธินิกายในศาสนาอื่นๆ  แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราอาจได้รับประโยชน์จากวิธีการหรือแนวทางที่พุทธศาสนาใช้  โดยที่เราจะยอมรับคําสอนอื่นๆในพุทธศาสนาหรือไม่ก็ตามที 

อย่างไรก็ตาม หากถามว่า คำสอนพุทธศาสนาเรื่องใดที่พิเศษเฉพาะเจาะจงลงไป ก็คงจะเป็นคำสอนอริยสัจ 4 นี้ ถึงแม้แต่ภายใต้การสนทนาในเรื่องนี้ เราก็พบว่าคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 นี้ มีอะไรที่เหมือนๆกันกับระบบคำสอนอื่นๆ 

ถ้อยคำที่ว่า “อริยสัจ” เป็นภาษาที่เมื่อแปลแล้ว ฟังดูมันแปลกๆ เพราะว่า คำอริยะ สื่อความหมายถึงชนชั้นสูงในสมัยยุคกลาง แต่ความหมายที่แท้จริงหมายถึง บุคคลผู้ที่ตรัสรู้ชอบ อริยสัจ 4 จึงมีความหมายจริงๆว่า เป็นสัจจะความจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ 4 ประการ โดยบุคคลผู้ตรัสรู้เข้าถึงความจริงนี้ที่อยู่เหนือความคิดและเหตุผล ถึงแม้ว่าความจริง 4 ประการนี้เป็นจริง แต่คนเป็นอันมากยังไม่เข้าใจคำสอนนี้ดีพอ และคนส่วนใหญ่ก็ยังไม่รู้เรื่องในคำสอนอริยสัจ 4 นี้เลย 

ความจริงอันประเสริฐข้อที่หนึ่ง 

ข้อเท็จจริงที่เป็นจริงข้อแรกเรียกว่า “ทุกข์” พระพุทธเจ้าตรัสว่า ชีวิตมนุษย์มีแต่ทุกข์ แม้แต่ความรู้สึกที่เรารู้สึกเป็นสุขแบบโลกๆ ก็มีปัญหาด้วยอยู่มาก คำศัพท์ “ทุกข์” นี้แปลจากภาษาสันสกฤต “ทุกขัง” เรามีสุขขัง หรือความสุข เเละทุกขัง หรือความทุกข์ ในภาษาศาสตร์ ขัง เป็นช่องว่าง ทุกข์เป็นคำเติมหน้า มีความหมายว่าความไม่พึงพอใจ ไม่ปลื้มใจ คำนี้ไม่ควรถูกใช้แบบตัดสินว่า “เลว” ถึงแม้ว่าจะมีความหมายค่อนไปทางนั้นก็ตาม ทุกข์หมายถึงว่ามีบางสิ่งที่ไม่ถูกต้องในช่องว่างนี้ นั่นหมายถึง ช่องว่างทางใจ หรือส่วนที่เกี่ยวกับชีวิตโดยทั่วไป เป็นสถานการณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ

แล้วไม่พึงพอใจในเรื่องอะไรเล่า ข้อแรก ความทุกข์เกิดขึ้นมาโดยรวมๆ เช่น ความเจ็บปวด ไม่มีความสุข ความเศร้า ข้อนี้เข้าใจได้ง่ายว่า คนทุกคนแม้แต่สัตว์ ต่างพากันหลีกหนีความทุกข์เช่นนี้ เป็นเรื่องชัดเเจ้งแท้จริง พุทธศาสนาไม่ได้วิเศษอะไรเลยเมื่อกล่าวถึงความเจ็บปวด การไม่มีความสุขว่าเป็นสถานการณ์ที่ไม่น่าเป็นที่พึงพอใจเอาเลย และเราสมควรหนีสิ่งนั้นออกมา ข้อสอง ทุกข์เกิดขึ้นเพราะความเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ จึงก่อให้เกิดทุกข์ในชีวิตที่เป็นความสุขที่ธรรมดา หรือความสุขแบบโลกๆ แล้วเพราะเหตุใดจึงเป็นปัญหาเล่ากับความสุขประเภทนี้ที่มีแต่ความเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่ ปัญหาก็คือว่า เจ้าความสุข ความเพลิดเพลินยินดีแบบโลกนี้มันสุขชั่วคราวประเดี๋ยวประด๋าว ไม่เป็นนิรันดร์ เพราะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าหากเราคิดเอาว่าความสุขในชีวิตประจำวันนี้ เป็นความสุขที่แท้จริง ยิ่งเรามีมากเท่าไหร่ เรายิ่งจะมีความสุขมากเท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากเรากินช็อคโกเลตมากเท่าใด เอาเป็นว่า กินเป็นชั่วโมงๆเลย เราน่าจะเกิดสุขหรือยินดีมากเพียงนั้น แต่เรารู้ดีว่ามันหาเป็นเช่นนั้นไม่ หรือลองจินตนาการดูว่า หากคนรักของท่านมาจับมือถือแขนท่าน และลูบไล้ไปมาเป็นเวลาหลายๆชั่วโมง ไม่หยุดเอาเลย ท่านจะคงมีความสุขความยินดีเช่นนั้นอีกหรือ เพราะความรู้สึกยินดีปรีดาจะเกิดเปลี่ยนมาเป็นความเจ็บปวด หรือความรู้สึกที่ชอบกลแทน เพราะนั่นเป็นความจริงที่ว่าความสุขแบบโลกๆมันไม่คงทนถาวร มันเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีอีกอย่าง เรารู้สึกว่าความสุขโลกๆนี้ยังไม่พอ  เรายังเสพไม่พอ ยังต้องการหาเพิ่มขึ้นอีก เราต้องการช็อตโกเลตมากยิ่งขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้ต้องการ ณ ตอนนี้ แต่หลังจากนั้น ก็ต้องการเพิ่มมากขึ้นอีก 

มันน่าสนใจที่ว่าเมื่อท่านคิดเอาเองว่า “ตนเองจะกินอาหารที่โปรดปรานมากเท่าไหร่ จนกว่าจะพึงพอใจ” อาหารคำเล็กๆคำหนึ่งคงน่าจะพอมั้ง แต่กลับเป็นว่าท่านอยากมากขึ้นๆกว่าเดิม ตอนนี้การต้องการเอาชนะปัญหา ความสุขแบบโลกียะนี้ไม่ใช่เป้าหมายของพุทธศาสนา มีศาสนาอื่นๆเป็นอันมากที่มีคำสอนให้มนุษย์ไปพ้นจากความสุขทางโลก เพื่อพบความสุขอันนิรันดร์ในสรวงสวรรค์ 

ความทุกข์แบบที่สาม ถือว่าเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะทางพุทธศาสนา เรียกว่า “ความทุกข์ทั้งหมด” หรือเราอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ปัญหาทั้งหมด” ความทุกข์ประเภทนี้ เราประสบและเกี่ยวข้องในทุกที่ทุกเวลา เป็นข้อที่เราไม่อาจควบคุมได้เลย เช่นการเกิดใหม่ เพราะเป็นพื้นฐานความจริงของชีวิตประจำวันที่มีขึ้นมีลง หรืออีกในหนึ่ง มีการเกิดใหม่ทั้งกายและจิตอยู่ตลอดเวลา และเป็นตัวการให้เกิดของความทุกข์ประเภทสองแบบแรกที่กล่าวมาข้างต้น ส่วนเรื่องกรรมและการเกิดใหม่จะขอพูดต่อไปในภายหลัง 

เป็นความจริงที่ว่ามีระบบปรัชญาอินเดียมากมายที่สอนเรื่องการเกิดใหม่ คำสอนเรื่องการเกิดใหม่ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดตั้งแต่สมัยพุทธกาล แต่คำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องการเกิดใหม่ที่เป็นกระบวนการทำงานแบบกลไกนี้ อธิบายได้อย่างละเอียดลึกซึ้งมากยิ่งกว่าระบบปรัชญาและศาสนาอื่นในเวลานั้น โดยอธิบายว่าการเกิดใหม่ทำงานและเกิดขึ้นได้อย่างไร จิตและกายมีประสบการณ์ความเจ็บปวด ความทุกข์ และความสุขแบบโลกๆที่มีขึ้นและมีลงอย่างไร 

ความจริงอันประเสริฐข้อที่สอง

ความจริงข้อนี้คือสาเหตุที่แท้จริงของความทุกข์ที่เราประสบ ข้อนี้เราไม่จำเป็นต้องเอาเรื่องการเกิดใหม่มาอธิบายว่าความแต่อย่างใด แต่เราพยายามที่จะเข้าใจถึงสิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนอธิบายอย่างง่ายๆ เป็นเหตุผล เราพูดถึงความทุกข์และความสุขในทางโลก และสิ่งนี้เกิดขึ้นมาจากสาเหตุ แต่พระพุทธองค์สนใจถึง “สาเหตุที่แท้จริง” เราอาจจะคิดว่าความสุขและความเจ็บปวดเป็นผลมาจากรางวัลหรือการลงโทษ หรืออะไรทำนองนั้น แต่พระพุทธเจ้าตรัสถึงสาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดขึ้นจากการกระทำที่เป็นทั้งคุณและโทษ  

การกระทำที่เป็นโทษมีความหมายอย่างไร คือการทำร้ายเบียดเบียนอย่างนั้นหรือ การทำร้ายเบียดเบียนมีความหมายทั้งสองแบบคือ ทำร้ายเบียดเบียนผู้อื่นและทำร้ายเบียดเบียนตนเอง ผลลัพธ์ที่เราไปทำกับคนอื่น ยากที่จะรู้ได้ว่ามันไปทำร้ายหรือไปช่วยเหลือ ยกตัวอย่างเช่น เราอาจให้เงินใครบางคนก้อนใหญ่ แต่ผลออกมาว่ามีคนคิดอยากจะขโมยเงินได้ฆ่าเขาตาย เราต้องการจะช่วยเหลือเขา แต่ผลลัพธ์มันไม่เป็นเช่นนั้น แต่สิ่งที่เป็นจริงแน่ๆ คือ การกระทำนั้นเป็นโทษต่อตัวเราเอง ไม่เป็นคุณ นี่คือสิ่งที่พระพุทธเจ้าให้ความหมายของการกระทำที่เป็นโทษ คือ การทำลายตนเอง 

แล้วมาดูกันว่า ในทางกลับกัน กรรมทั้ง 3 คือ มโนกรรม กายกรรมและวจีกรรมที่เกิดขึ้นจากอารมณ์ขุ่นมัว อารมณ์ขุ่นมัวมาทำใจให้ขุ่น! ใจก็ไม่สงบ ขาดการควบคุมตน นำมาซึ่งความโกรธ ความโลภ การยึดมั่นถือมั่น ความอิจฉาริษยา ความเย่อหยิ่งถือดี ความไร้เดียงสา ความเขลา เมื่อใจเราถูกรบกวนจากอารมณ์เหล่านี้แล้ว เราจะพูดและกระทำภายใต้อิทธิพลสิ่งเหล่านี้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น แม้อาจจะไม่เกิดโดยทันที แต่ในระยะยาว ความทุกข์จะเกิดขึ้น เพราะว่ามีแน้วโน้มไปในทางนั้น 

แต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อเรากระทำดี เป็นการกระทำที่ไม่ได้เกิดจากอารมณ์ขุ่นมัวเหล่านี้นั้น แต่เกิดจากอารมณ์ทางบวก เช่นความรัก ความกรุณาหรือความอดทนอดกลั้น 

การกระทำในทางที่ดีจะนำความสุขมาให้ ใจของเราจะสบายและสงบมากขึ้น เราสามารถควบคุมตนเองได้ดียิ่งขึ้น จึงไม่ทำหรือพูดอะไรที่ดูโง่เขลาเบาปัญญา อันจะก่อให้เกิดปัญหาตามมา  เเละเช่นเดียวกัน อาจจะยังไม่เห็นผลทันตา แต่ระยะยาว ความสุขจะพึงมี นั่นเป็นคำอธิบายอย่างง่ายๆถึงการมีอยู่ของเราและของผู้อื่นว่าเป็นอยู่แบบใด รวมถึงความจริงโดยทั่วไป

ความสุขและความทุกข์ทางโลกไม่ได้เกิดจากมีใครมาทำหน้าที่คล้ายผู้พิพากษา มาให้รางวัลหรือลงโทษ ผลดีหรือผลเลวร้ายนั้นนั้นเกิดขึ้นเหมือนกลไกหรือกฏทางฟิสิกส์ เหตุและผลจากการกระทำตั้งอยู่บนฐานอะไร ก็อยู่บนฐานของความสับสน ความไม่รู้ โดยเฉพาะความสับสนในตนเอง เราคิดทำนองว่า “ฉันเป็นคนที่สำคัญที่สุด ฉันควรมีหนทางของตนเอง ฉันควรยืนอยู่หัวแถวที่ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ต ฉันควรเป็นคนแรก” เรากระหายอยากเป็นคนแรก เราจึงโกรธคนที่อยู่หน้าเรา เราอดทนรอคนที่อยู่หน้าเราไม่ได้ เพราะเขาช่างเชื่องช้ามาก ใช้เวลาก็นาน ในหัวเราคิดแต่สิ่งไม่ดีเกี่ยวกับเขา ถึงแม้ว่าเราจะทำดีแล้วก็ตาม แต่ยังมีความสับสนในตัวฉันที่อยู่ลึกลงไป เช่นเราให้ความช่วยเหลือคนอื่น เพราะเราต้องการให้เขามาชื่นชอบเรา หรือทำอะไรตอบแทนเรา หรือทำไปเพราะอยากให้ตนเองรู้สึกมีค่ามีราคาขึ้นมา หรืออย่างน้อยสุดก็เพื่อหวังจะได้รับคำขอบคุณตอบกลับมา! 

แม้ว่าการช่วยเหลือคนอื่นในลักษณะนี้จะช่วยให้ตนมีความสุข แต่ลึกไปแล้ว มันเป็นเรื่องไม่สบายใจเท่าไหร่ ความสุขทำนองนี้เรายังรู้สึกไม่ยั่งยืน มันเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นที่ไม่น่ายินดีนัก สิ่งนี้ก็ดำเนินไปตลอดชั่วชีวิตเรา และสืบต่อไปในชีวิตหน้าในทัศนะพุทธศาสนา 

เมื่อพินิจให้ลึกซึ้งกว่าเดิม จะเห็นว่าเราสับสนในทุกเรื่อง เช่น เรารักคนหนึ่งมากเหลือเกิน รักมากจนมองไม่เห็นข้อเสียของคนที่เรารัก มองเห็นข้อดีของเขาเกินความเป็นจริง แต่เมื่อเราไม่ชอบใครบางคนเป็นอย่างมาก เราก็มองเห็นข้อเสียของคนที่เราไม่ชอบเกินความเป็นจริง และมองไม่เห็นข้อดีของเขาเอาเลย ยิ่งเราสืบค้นมากเท่าไหร่ เรายิ่งพบว่าตนเองยิ่งสับสนมากขึ้นทุกที 

เมื่อสืบค้นให้ลึกลงไป เราจะเห็นได้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจากข้อจำกัดของเราเอง ในร่างกายเราที่ประกอบด้วยรูปและนาม มีข้อจำกัด เมื่อเราหลับตา มันเหมือนกับว่าโลกทั้งหมดไม่มีอยู่ มีสิ่งเดียวที่มีอยู่คือ ตัวเราเอง ในหัวเราจะได้ยินเสียงแต่ว่า “ฉัน” เหมือนกับว่าฉันอยู่ภายในตัวฉัน เป็นเรื่องแปลก อย่างไรก็ตามเราได้สร้างอัตลักษณ์ให้กับมันเพราะว่ามีมันเพียงเสียงเดียว คนเดียวเท่านั้นที่บ่นกรนตลอด “ฉันต้องนำหน้า ฉันต้องทำสิ่งนี้” เจ้าสิ่งนี้มีเรื่องกังวลตลอด ดูราวกับว่าเสียงนี้อยู่ในหัวเรา อยู่เป็นเอกเทศ ไม่ขึ้นอยู่กับใครเพราะว่าเราหลับตา และไม่มีสิ่งใดเลยเว้นไว้แต่ “ตัวเรา” เพียงคนเดียว 

การคิดแบบนี้มันช่างสับสน เพราะความเป็นจริงแล้ว การมีอยู่ของเราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้อื่น เราไม่อาจดำรงอยู่โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นได้ เราแต่ละคนก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษ เราทั้งหมดเป็นคนเหมือนๆกัน ลองนึกคิดเปรียบเทียบดูว่านกเพนกิวเป็นหมื่นๆตัวกำลังเบียดเสียดกันอย่างหนาวสั่นบริเวณทวีปแอนตาร์กติก อะไรทำให้ตัวนี้พิเศษกว่าตัวอื่นๆ จริงๆแล้ว ทุกตัวเหมือนกันหมด และมนุษย์เราก็เป็นเช่นนั้น มีความเหมือนคล้ายๆกัน จากวิธีคิดแบบนี้ที่คิดว่า “ฉันเป็นคนพิเศษและเป็นอิสระกว่าคนอื่นๆ” ฉันต้องมีทางของตนเอง และเราคงจะโกรธไม่พอใจเป็นแน่หากว่าไม่เป็นไปตามนั้น 

โดยพื้นฐานแล้ว กายและจิตนำไปสู่ความสับสน มันอาจดูแปลกๆ แต่พวกเราได้มีประสบการณ์รับรู้จากตาทั้งสองข้างที่อยู่ข้างหน้า ฉันไม่อาจเห็นว่าอะไรอยู่ข้างหลัง แต่เห็นได้ในสิ่งที่อยู่ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ฉันไม่อาจแลเห็นอะไรที่มาก่อน อะไรที่มาทีหลัง เพราะมีข้อจำกัด และเราก็แก่ลงไปเรื่อยๆ หูไม่ดี ฟังอะไรก็ไม่ค่อยได้ยิน ใครบางคนอาจจะพูดบางสิ่งบางอย่าง และเราก็ได้ยินไม่ชัด เข้าใจไปเองว่าเขาพูดเรื่องอื่น และเราก็ถือโทษโกรธขึ้นมา เหมือนกับว่าเราเจ็บป่วยทางใจ เมื่อคิดทำนองแบบนั้น 

ปัญหาทั้งหลายทั้งปวงนี้ก็เพราะว่าเรามีการเกิดอยู่ทุกขณะทั้งกายและใจ ยิ่งเพิ่มความสับสน และไอ้เจ้าตัวสับสนนี้ทำให้เราประพฤติตนในทางเป็นโทษ หรือไม่ก็ประพฤติปฏิบัติเป็นไปในทางคุณแบบโลกๆ ส่งผลให้ชีวิตไม่มีความสุข หรือไม่ก็เป็นความสุขแบบโลกๆ

หากเราถลำตัวไปมากยิ่งขึ้น ก็จะยุ่งยาก ทำให้เราเกิดภพแล้วภพเล่าเพราะความสับสนนี้ นี้คือเหตุแห่งทุกขสัจจะ ความสับสน การขาดสติ มักถูกเรียกว่า “อวิชชา” ข้าพเจ้าไม่อยากใช้คำอวิชชานี้ เพราะสื่อว่าเราโง่เขลาเบาปัญญา แม้จะเป็นปัญหา แต่ปัญหานี้ก็แก้ไขได้ และเราก็ไม่ต้องการแบกปัญหานี้เอาไว้ คำว่า ขาดสติ เป็นคำที่เหมาะสมกว่าเพราะสื่อว่าเราไม่รู้ว่าสิ่งต่างๆมันดำเนินอย่างไร มักคิดเอาว่าตนเองสำคัญที่สุด เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล ซึ่งความจริงมันผิด ความจริงก็คือว่าเราทั้งผองอยู่ร่วมกัน ไม่ใช่เพราะเราโง่ แต่ที่ทำอย่างนั้นเพราะเกิดจากกายและใจที่ทำให้เราคิดและทำแบบนั้น 

นั่นคือเหตุผลที่เราเรียกว่า “ความจริงอันประเสริฐ” ใครที่เห็นความจริงนี้ ก็จะเห็นไม่เหมือนคนอื่น ความสับสนและการปรุงแต่งของจิตเกี่ยวเนื่องจากการเห็นความจริง เราเชื่อว่ามันเป็นความจริง ขาดการไตร่ตรอง เชื่อตามสัญชาตญาณที่บอกเราว่า “ฉันเป็นคนที่สำคัญที่สุด มีแนวทางของตนเอง คนทุกคนรักฉัน” หรือมีบางคนคิดแบบเดียวกัน แต่ในทางตรงกันข้าม “ฉันไม่ใช่คนดีพอ สมควรแล้วที่คนทุกคนเกลียดฉัน” อันนี้เรียกว่าเหตุแห่งทุกข์

ความจริงอันประเสริฐข้อที่สาม 

ความจริงข้อที่สามนี้เรียกว่า “การยุติจบสิ้นที่แท้จริง” คำแปลที่ใช้กัน คือ “ความดับทุกข์” มีความหมายว่าความสับสนหรือความทุกข์ทั้งหมดหมดลงหรือดับลงได้ ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไป ถ้าเราขจัดความสับสน ซึ่งเป็นเหตุแห่งทุกข์ลงไปได้ ปัญหาทั้งหมดที่มีขึ้นมีลง และทำให้เราต้องเกิดใหม่อยู่ตลอดเวลาก็จะจบสิ้นลง เมื่อนั้นก็จะบรรลุ “อิสรภาพ”โดยแท้ ภาษาทางศาสนาเรียกคำที่มาจากภาษาสันสกฤตว่าการเกิดภพแล้วภพเล่าว่า “สังสาระ” และอิสรภาพว่า “พระนิพพาน” 

ในสมัยพุทธกาล มีปรัชญาอินเดียสำนักอื่นๆที่สอนถึงการบรรลุอิสรภาพจากสังสารวัฏ คำสอนนี้เป็นคำสอนคล้ายๆกันทุกสำนักในอินเดีย แต่พระพุทธเจ้าทรงแลเห็นว่า คำสอนของสำนักอื่นยังไม่ลึกซึ้งเพียงพอที่จะบอกชัดเจนถูกต้องว่าเหตุแห่งทุกข์คืออะไร ท่านอาจจะหลุดไปอยู่ชั้นสวรรค์ดาวดึงส์ ไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ปราศจากรูปหรือนาม ว่างเปล่าเป็นอากาศธาตุเหมือนดั่งกับอีออน แต่นั่นก็ยังไม่หลุดพ้น เพราะสภาพนั่นอยู่ได้ไม่นานก็ต้องจบลง ดังนั้นอิสรภาพที่แท้จริงไม่อาจมีได้จากลัทธินิกายศาสนาอื่น 

พระพุทธเจ้าสอนถึงการดับทุกข์ที่แท้จริง คำสอนนี้ยืนยันว่าปัญหาและความสับสนใดๆจะหมดลงโดยสิ้นเชิญ ไม่เกิดขึ้นอีก ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เราจะพยายามกันไปทำไมในการกำจัดปัญหาหรือความสับสนที่เป็นทุกข์ หากท่านไม่ใส่ใจในความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง ท่านคงเงียบเสียดีกว่า โดยจำยอมและยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทำเท่าที่ทำได้ วิธีการบำบัดมากมายในสมัยนี้ก็ใช้แนวทางนี้กันทั้งนั้น คือ ยอมรับเรียนรู้อยู่กับมันให้ได้ หรือกินยาเพื่อบำบัดรักษา!

ความจริงอันประเสริฐข้อที่ 4 

ความจริงข้อที่สี่นี้เรียกกันว่า “ข้อปฏิบัติที่แท้จริงให้ถึงการดับทุกข์” ความจริงข้อนี้ช่วยให้เข้าใจความจริงในข้อที่สาม เพราะเป็นทางหรือข้อปฏิบัติสู่อิสรภาพ เราอาจจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “จิตปฏิบัติ” ความหมายของคำนี้ยากในการแปลเป็นภาษาอื่น  

จิตที่คิดปรุงแต่งปรุงแต่งไปในเรื่องที่ไม่เป็นเรื่อง เป็นเรื่องที่เป็นขยะทั้งนั้น และเรื่องที่ไม่เป็นเรื่องนี้ก็มีหลายแบบ เช่นว่าบุคคลที่ถูกจัดประเภทที่เป็นโรคจิตเภทแบบจิตเสื่อมมีอาการหลอน หรือคนวิตกกังวลคิดไปเองว่ามีคนจะมาทำร้ายตน หรือตัวอย่างจิตที่ปรุงแต่งที่ไม่รุนแรงมากนักคือ “โอ้โห เค็กช็อคโกเลตนี้ดูน่ากินเป็นที่สุดเลยตั้งแต่เคยเห็นมา ถ้าได้ลองชิมแล้ว คงจะสุขใจเป็นแน่แท้” ข้าพเจ้าเองก็เคยมีประสบการณ์ทำนองแบบนี้ในช่วงการเดินทางบินไปกรุงบูคาเรสต์ แต่หยุดระหว่างทางที่กรุงเวียนนา ข้าพเจ้าคิดว่า “ขนมพายแป้งบางกรอบใส้แอปเปิ้ลที่เป็นขนมประจำเมืองเวียนนาน่าจะเป็นขนมที่อร่อยที่สุดในโลก” ข้าพเจ้าสั่งมาทานหนึ่งชิ้น แต่พอกินแล้ว ก็ไม่ได้เห็นว่ารสชาติจะดีวิเศษสุดอย่างที่คาดคิดเอาไว้ ความคิดที่มีก่อนหน้านั้นว่าขนมนี้อร่อยที่สุดเป็นเพียงความคิดที่ไม่เป็นเรื่อง  ขนมพายแป้งบางกรอบใส้แอปเปิ้ลนี้มีอยู่จริง แต่ความคิดที่เกิดจากใจที่ปรุงแต่งที่ว่า ขนมพายแป้งบางกรอบใส้แอปเปิ้ลที่อร่อยที่สุดนี้ จะทำให้ข้าพเจ้าสุขใจหากได้กิน เป็นเรื่องที่จิตปรุงแต่งขึ้นมา 

ขอยกอีกตัวอย่างหนึ่งคล้ายๆกันนี้ ข้าพเจ้ามีอยู่และท่านก็มีอยู่ พุทธศาสนาไม่ได้กล่าวว่าเราไม่มีอยู่  เพียงแต่เห็นว่าความคิดโดยมีจิตที่ปรุงแต่งทำให้การมีอยู่ของเราไม่ตรงกับความเป็นจริง เรามักจะคิดว่าสรรพสิ่งมีอยู่เป็นเอกเทศโดยตัวมันเอง ซึ่งเป็นการมีอยู่ที่ไม่ถูกต้อง สิ่งต่างๆล้วนเกิดจากเหตุ และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่เรากลับมองไม่เห็นประเด็นนี้ เราเห็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นต่อหน้า เช่น เราจะพบกับใครบ้างคน แต่เขาไม่ได้มาตามนัด เราคิดว่าเขาเป็นคนแย่มาก เขาไม่ได้รักใคร่เราอีกต่อไปเพราะทำให้เรารู้สึกแย่อยู่ตลอด เราคิดว่าคนที่ทำให้เราไม่สบายใจเป็นคนไม่ดี หารู้ไม่ว่าชีวิตของเขาก็มีอะไรมากระทบ เช่น เขาอาจมีปัญหาภาระงานที่เพิ่มขึ้นจากที่ทำงาน หรือรถติดอะไรทำนองนั้น หรือสาเหตุอื่นๆที่ไม่อาจรู้ได้ ทุกอย่างเกิดขึ้นจากเหตุ เราไม่ควรจะถือโทษโกรธเคืองเพราะอุปทานโดยที่ไม่ให้โอกาสเขาอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมถึงทำแบบนั้น เรามักคิดและตัดสินจากอุปาทานแห่งตนที่เกิดขึ้นโดยไม่มองเหตุ เราเองนั้นแหละก็จะกลายเป็นคนที่ไม่มีความสุขและทุกข์ไปโดยปริยาย ใช่หรือเปล่า

สรุป การมีชีวิตที่มาจากความคิดเห็นของตนหรือทิฏฐิที่ตัดขาดจากคนอื่น ที่คิดว่าตนเองถูกต้อง จริง เป็นเหมือนกับอุปาทานเต็มร้อย เป็นเรื่องไร้สาระ ไม่ได้ตั้งอยู่ในความเป็นจริงแท้ พุทธศาสนาเรียกว่า อนัตตา คือ ไม่มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่นใดๆทั้งในรูปขันธ์และและนามขันธ์ ภาษาสันสกฤตใช้คำว่า “ศูนย์” ที่มีความหมายในเชิงว่า “ความไม่มีอะไร” จริงจากการยึดมั่นถือมั่นหรืออุปาทาน เหมือนตัวอย่างที่เราคิดจินตนาการวาดภาพถึงแฟนของเราเป็นดั่งเจ้าหญิงหรือเจ้าชายที่เพียบพร้อมสมบูรณ์ในเทพนิยาย ซึ่งในความเป็นจริงไม่มีอยู่จริง เพราะไม่มีใครจะสมบูรณ์แบบแบบนั้นได้ แต่เราก็ยังคงมองหาคนประเภทแบบนั้นอยู่ตลอดเวลา และเราก็จะผิดหวังเมื่อคนที่เราต้องการไม่เป็นไปตามที่เราวาดฝันไว้ เราผิดหวังและมองหาคนใหม่ ซึ่งความจริงแล้วสิ่งที่เรามองหา มันเป็นไปไม่ได้ 

เพราะฉนั้นแล้ว เมื่อจิตเรามีความเข้าใจที่ถูกต้อง ก็จะเข้าใจและมองเห็นว่ามันเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะไปหลงเชื่อในอุปาทานที่จิตปรุงแต่ง เหตุแห่งทุกข์ที่แท้เกิดจากการยึดมั่นถือมั่นว่าสิ่งนั้นเป็นจริง โดยไม่เห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง ความเพ้อฝันที่เกิดจากการปรุงแต่งของจิต กับความจริงเป็นคนละเรื่องกัน ไม่มีอะไรจะเกี่ยวข้องกันได้ ข้าพเจ้าจะขอกล่าวยํ้าว่า ความสับสนเกิดขึ้นเพราะเราไปยึดเอาสิ่งที่จิตปรุงแต่งว่าเป็นความจริง สองสิ่งต่างกันโดยสิ้นเชิง ไม่สัมพันธ์กัน จะถูกต้องตรงกันเป็นไปไม่ได้  

ในขณะนี้เรามาวิเคราะห์ดูว่าระหว่างคำตอบที่ว่า “ใช่” กับ “ไม่ใช่” อะไรที่มีผลต่อเรามากกว่า ถ้าพิจารณาด้วยตรรกะ คำตอบที่  “ไม่ใช่” จะสมเหตุสมผลมากกว่า เพราะคำตอบ “ใช่” มันดูจะขัดกับเหตุผล เมื่อข้าพเจ้าหลับตา คนทุกคนไม่มีอยู่ใช่ไหม คำตอบก็คือ ไม่ใช่ คนอื่นๆยังคงมีอยู่ และการที่ข้าพเจ้ามีหนทางของตนเองเป็นสิ่งที่ถูกต้องโดยชอบหรือไม่ เพราะว่าข้าพเจ้าเป็นคนที่สำคัญที่สุดในโลก ไม่ใช่แน่นอน ฟังดูเป็นเรื่องตลกสิ้นดี ยิ่งเราสืบค้นไปมากเท่าใด เราก็ตั้งคำถามเจ้า “ตัวตน” ตัวน้อยที่สิงในหัวนี้ เมื่อท่านวิเคราะห์สมอง “ตัวตน” ที่พูดได้และทำการตัดสินใจใดๆมันอยู่ตรงไหนของสมอง เกิดอะไรขึ้นจริงๆกันแน่ “ตัวตน”ที่เชื่อว่ามีอยู่จริงข้างใน จริงๆแล้วหาเจอไม่ แน่นอน แม้จะหาตัวตนไม่เจอ แต่เราก็ยังมีกิจทำงานอยู่ ยังพูดยังทำงานตามปกติ เราไม่ปฏิเสธข้อนี้ แต่เราปฏิเสธไอ้เจ้า “ตัวตน” ที่มั่นคง อยู่ยงคงกระพัน ที่เป็นอิสระจากสิ่งอื่นใด เพราะไม่สอดคล้องด้วยเหตุและผล เมื่อใช้เหตุผลวิเคราะห์สืบสาว ก็จะเห็นว่าไม่มีอะไรดำรงอยู่จริง ความสับสนที่เกิดจากเข้าใจว่ามีบางสิ่งที่เป็นจริงโดยตัวของมันเองไม่สมเหตุสมผลโดยทั้งปวง

เกิดอะไรขึ้นเมื่อเราคิดว่าเรามีอยู่ ทั้งที่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ชีวิตเราก็เป็นทุกข์นะสิ! แต่ถ้าหากเราไม่คิดว่าสรรพสิ่งมีอยู่โดยตัวของมันเองแล้ว จะมีผลเป็นอย่างไร เราก็เกิดอิสรภาพจากปัญหาทั้งมวล เมื่อข้าพเจ้าคิด “ไม่มีอะไรหรือสิ่งใดเลย” ข้อนี้ก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงเสียทีเดียว การที่ความเข้าใจและการรับรู้ของเราได้มีตรวจสอบ จะช่วยแก้ไขให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง เมื่อท่านมีสัมมาทิฏิฐิหรือความเห็นชอบอยู่ตลอดเวลา ท่านก็จะหมดความสับสน 

คำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องความเห็นชอบหรือความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความจริงที่หมดสิ้นถึงความทุกข์และการเกิดใหม่ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะลัทธินิกายในศาสนาและปรัชญาอื่นๆในสมัยนั้นก็มีคำสอนทำนองนี้เช่นกัน แต่คำสอนพุทธศาสนาถือว่าพิเศษกว่าสำนักอื่น เพราะว่าสามารถขจัด และถอนความสับสนในระดับที่ลึกซึ้งที่สุดในเรื่องความจริงได้อย่างหมดสิ้น โดยการเจริญสมาธิและวิปัสนาที่ให้เห็นความจริงในจิตของเราอย่างถูกต้องแท้จริง และไม่มีความสับสนอันใดอีกต่อไป มรรควิธีที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงนี้ เป็นวิธีการที่ใช้กันในทุกสำนักนิกายในช่วงเวลานั้นที่อินเดีย ด้วยเหตุนี้ เราสามารถยุติสาเหตุที่แท้ และแก้ปัญหาของทุกข์ได้ในที่สุด 

ข้อสำคัญ คือ เจตนาหรือแรงจูงใจ เพราะช่วยให้จิตใจเราเข้มเเข็งกล้าหาญ ในการประคองความเห็นชอบของความจริงนี้ โดยขจัดอารมณ์ที่เป็นโทษทั้งหลาย และความรักความเมตตากรุณาจะบังเกิดขึ้นมา เมื่อเราเห็นสรรพสิ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในข้อที่ว่าเราทุกคนต่างต้องการความสุข หมดทุกข์ เราต้องเริ่มจากตนเองก่อน คือขจัดความสับสนแห่งตนเสียก่อน เพื่อไปช่วยผู้อื่นได้เต็มที่เต็มกำลัง 

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คือ คำสอนพื้นฐานอันว่าด้วยเรื่องอริยสัจ 4 เราจะเข้าใจคำสอนเรื่องอริยสัจ 4 ได้ลึกซึ้งเมื่อเราได้ศึกษาเข้าใจคำสอนเรื่องจิตและกรรมในพุทธศาสนา 

Summary

สรุป

 แม้ว่าพุทธศาสนาจะมีคำสอนหลายข้อที่คล้ายกับคำสอนในลัทธินิกายศาสนา หรือปรัชญาสำนักอื่นก็ตาม แต่คำสอนพุทธศาสนาอันว่าด้วยเรื่องอริยสัจ 4 ซึ่งเป็นปฐมคำสอนเป็นคำสอนที่เฉพาะที่พิเศษ พูดถึงการดำรงอยู่ในมนุษย์ ทุกขสัจจะที่เรามี และหมดสิ้นซึ่งทุกข์หรือปัญหาทั้งปวง 

พระพุทธเจ้าเปรียบเสมือนหมอที่วินิจฉัยความเจ็บป่วยของเรา คือพระองค์ชี้ให้เห็นถึงทุกขสัจจะนานาประการ หมอก็จะหาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น ก็เปรียบเสมือนพระพุทธเจ้าทรงชี้อวิชชาและความสับสนที่เรามีในชีวิต หมอก็จะเป็นผู้ตรวจสอบวินิจฉัยว่าจะรักษาได้หรือไม่ และให้ยามาทาน ในหลักการเดียวกัน พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนถึงการดับทุกข์และทางสู่การดับทุกข์ แต่ในท้ายสุดก็ขึ้นอยู่กับเราเองว่าจะทานยาที่หมอให้มาไหม หรือจะเดินตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เพื่อความดับทุกข์นั้น

อริยสัจ 4 มีความหมายว่าอย่างไร

ดังนั้นอริยสัจ 4 จึงมองไปในทางมุมมองของปัญหา คือ1. ทุกข์คือ ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรรอบรู้ว่าตัวทุกข์ คืออะไร 2. สมุทัย คือ สาเหตุของปัญหามาจากอะไร เป็นสิ่งที่ควรละ 3. นิโรธ คือ การแก้ปัญหา เพื่อให้หลุดพ้น จากทุกข์ เป็นสิ่งควรทำให้แจ้ง 4. มรรค คือ วิธีแก้ปัญหา เป็นสิ่งที่ควรอบรมบำเพ็ญให้เกิดมี ซึ่งแบ่งเป็นการ แก้ปัญหาระดับ ...

อริยสัจ 4 มีความสําคัญอย่างไร

กิจในอริยสัจ 4 ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมาย

เหตุให้เกิดทุกข์ในอริยสัจ 4 คืออะไร

ตามคำสั่งสอนในอริยสัจ 4 พระพุทธเจ้าตรัสว่า สาเหตุของความทุกข์คือ ตัณหา ซึ่งหมายถึงความทะยานอยาก ตัณหาแบ่งออกเป็น 3 อย่างได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา อย่างไรก็ตาม ตัณหาก็คือ ลักษณะอย่างหนึ่งกิเลส ซึ่งอยู่ภายในจิตใจของมนุษย์ฉะนั้นจึง กล่าวได้ว่า กิเลส คือ สาเหตุของความทุกข์ทั้งปวง

เพราะเหตุใด "อริยสัจ4" ถือว่าเป็นหลักสำคัญทางพระพุทธศาสนา *

อริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมสำคัญ ถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ครอบคลุมหลักธรรมคำสอนทั้งหมดในพระพุทธศาสนาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ มีความหมายว่า สัจจะอย่างอริยะ คือ แท้ และแน่นอน เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้ายกย่องว่าเป็นยอดธรรม เป็นเสมือนรอยเท้าช้าง คือ ธรรมทั้งหลายรวมลงได้ในธรรมนี้ทั้งหมด ความหมาย ทุกข์ แปลว่า สภาพที่ทนได้ยาก