เพราะ เหตุ ใด พ่อขุน รามคำแหง ถึง ชนช้าง กับ ขุน สาม ชน *

ประวัติพ่อขุนศรีอินทราทิตย์

                      ตามพงศาวดาร และคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์  ได้กล่าวไว้ว่าพ่อขุนศรี  อินทราทิตย์มีพระนามเต็ม  คือ  กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์  พระนามเดิม  พ่อขุนบางกลางหาว (ไม่ใช่  กล่างท่าว)  ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย  ครองราชย์สมบัติ  ตั้งแต่  พ.ศ.  1782 - 1822 (30 ปี คำนวณศักราชจากคัมภีร์สุริยยาตรตามข้อเสนอของ  ศ.ประเสริฐ    นครและ  พ.อ.พิเศษ  เอื้อนมณเฑียรทอง) 
                       เมื่อจุลศักราช 536 พระเจ้าสุริยราชา ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ได้ทรงตบแต่งซ่อมแซมแปลงเมืองพิจิตรปราการ(กำแพงเพชร)ขึ้นใหม่ครองราชย์สมบัติต่อไป มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่า สิริสุธาราชเทวี มีพระราชโอรสองค์หนึ่งด้วยพระอัครมเหสี ทรงพระนามว่าจันทกุมารพระเจ้าสุริยราชา เมื่อแรกได้ราชสมบัติพระชนม์ได้ 20 พรรษา อยู่ในราชสมบัติ 28 ปี เสด็จสวรรคตพระชนม์ได้ 47 พรรษา พระองค์ประสูติวันจันทร์ จุลศักราช 570 พระจันทกุมารราชโอรส ได้ขึ้นครองราชย์สมบัติ ทรงพระนามว่า พระเจ้าจันทรราชาและตามพระราชพงศาวดารโยนก หน้า 80 วรรค 2 กล่าวไว้ว่ายังมีข้อความในหนังสือชินกาลมาลินี กล่าวถึงมูลประวัติของพระเจ้าโรจนราชผู้ได้ พระพุทธสิหิงค์มาจากศรีธรรมนครนั้นว่า บุรุษผู้หนึ่งหลงป่าที่บริเวณ บ้านโคณคาม(เข้าใจว่าบ้านโคนริมเมืองเทพนคร)และได้พบนางเทพธิดาแปลงเป็นมนุษย์(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)มาร่วมสมัครสังวาสเกิดบุตรได้มาเป็นเจ้ากรุงสุโขทัยทรงนามว่า โรจราช

                           ประวัติพระองค์ท่านจากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์  หน้า  112-113  ตอนหนึ่งกล่าวถึงการประสูติของพระองค์ ได้ยินว่าที่บ้านโค  (บ้านโคน จังหวัดกำแพงเพชร  ในปัจจุบัน)  ยังมีชายคนหนึ่ง(จันทราชา)รูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า  มีนางเทพธิดาองค์หนึ่ง(สาวชาวบ้านเมืองคณฑี)เห็นชายคนนั้นแล้ว  ใคร่ร่วมสังวาสด้วยจึงแสดงมารยาหญิง  ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับนางเทพธิดาองค์นั้น  เนื่องจากการร่วมสังวาสของทั้งสองคนนั้นจึงเกิดบุตรชายคนหนึ่ง  และบุตรชายคนนั้นมีกำลังมาก  รูปงาม  เพราะฉะนั้น  ชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายคนนั้น  บุตรชายซึ่งครองราชย์สมบัติในเมืองสุโขทัยนั้น ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า  โรจราช    ภายหลังปรากฏพระนามว่าพระเจ้าล่วง 

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์  ทั้งหมดเชื่อได้ว่า  เมืองคณฑีโบราณ  หรือตำบลคณฑี 
จังหวัดกำแพงเพชร  ในปัจจุบันนั้นอยู่ในอาณาจักร  สุโขทัย  เนื่องจากพระเจ้าสุริยราชา  (พระอัยกาของ  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ )  ครองราชย์สมบัติที่เมืองพิจิตปราการ  (เมืองกำแพงเพชร  ปัจจุบัน) หลังจากนั้นก็เสด็จสวรรคตและต่อมาพระจันทกุมารราชโอรส  (พระเจ้าจันทรราชา  พระราชบิดา  ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)  ก็เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติต่อ  ระหว่างนี้เกิดปาฏิหาริย์หลายสิ่งมากมายจนกระทั่งได้มเหสีเป็นเชื้อชาตินางนาคกุมารี  และมีพระราชโอรสคือ  พระร่วง  (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์)  นั่นเอง  เพราะอีกเหตุผลหนึ่งที่น่าเชื่อถือคือ  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  หรือพระนามเต็ม กำมรเตงอัญศรีอินทรบดินทราทิตย์  ชินกาลมาลีปกรณ์  ว่า  บ้านเดิมของพระองค์อยู่ที่ 
บ้านโคน ในจังหวัดกำแพงเพชร  พระองค์ทรงนำชนชาติไทยต่อสู้กับชนชาติขอมซึ่งเป็นใหญ่อยู่ในสุวรรณภูมิ  อันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงกรุงสุโขทัยด้วย  ทรงได้ชัยชนะขอมและประกาศอิสรภาพ  ตั้งราชอาณาจักรสุโขทัย  ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์แรกและเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง-             เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทย

ส่วนพระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมือง  เจ้า  เมืองราด 
แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถมรวมกำลังพลกัน  กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง  โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมือง  ศรีสัชนาลัย  และเมืองบางขลงได้  และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง  ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้  ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลางหาว  พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและยกพระกนิษฐา(นางเสือง)ให้เป็นมเหสีอีกด้วยส่วนพระนาม 
ศรีอินทรบดินทราทิตย์  ซึ่งได้นำมาใช้เป็นพระนาม  ภายหลังได้กลายเป็น  ศรีอินทราทิตย์  โดยคำว่า บดินทรหายออกไป  เชื่อกันว่าเพื่อเป็นการแสดงว่ามิได้  เป็น  บดีแห่งอินทรปัต  คืออยู่ภายใต้อิทธิพลของเขมร  (เมืองอินทรปัต)  อีกต่อไป การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์  ส่งผลให้  ราชวงศ์พระร่วง  เข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น  และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป  แต่เขตแดนเมืองสลวงสองแคว  ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถมอยู่ในกลางรัชสมัย  ทรงมีสงครามกับขุนสามชน  เจ้าเมืองฉอด  ทรงชนช้างกับขุนสามชน  แต่ช้างทรงพระองค์  ได้เตลิดหนีดังคำในศิลาจารึกว่า  หนีญญ่ายพ่ายจแจขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก  ทรงมีพระปรีชาสามารถ  ได้ชนช้างชนะขุนสามชนภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่า  รามคำแหงในยุคประวัติพ่อขุน

ศรีอินทราทิตย์มีพระราชโอรสและพระธิดารวม  5 พระองค์  ได้แก่

1.       พระราชโอรสองค์โต  (ไม่ปรากฏนาม)  เสียชีวิตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์

2.       พ่อขุนบานเมือง

3.       พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  (พระนามขณะที่ยังทรงพระเยาว์ไม่ปรากฏ)

4.       พระธิดา  (ไม่ปรากฏนาม)

5.       พระธิดา  (ไม่ปรากฏนาม)

วิธีการคิดปั้นรูปหล่อ(จินตนาการ)พ่อขุนศรีฯ

เมื่อเทียบเคียงวิเคราะห์ในแง่มุมต่างๆ ของหลักฐานที่มีอยู่ จัดแบ่งลำดับขั้นตอนความสำคัญที่มีลักษณะเด่นเฉพาะ โดยนำมาประมวลออกแบบสร้างสรรค์ให้เป็นรูปธรรมขององค์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ซึ่งกำหนดลักษณะตามแบบอย่างพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องพระอิสริยยศทรงจอมทัพไทย ประทับยืนทรงถือพระแสงขรรค์ชัยศรีด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้าง พระพักตร์ทอดพระเนตรเบื้องหน้าเสมือนกับทรงดูแลอาณาประชาราษฎร์ของพระองค์ให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขขณะเดียวกันก็ยังคงดูลักษณะการประทับยืนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นท่าประทับยื่นที่สง่างามกว่าทุกพระองค์) ประกอบไปด้วย

                เมื่อได้ลักษณะของรูปแบบจากความคิดแล้วออกแบบเขียนภาพร่าง โดยคัดเลือกคนผู้เป็นหุ่นยืนเป็นแบบเพื่อดูลักษณะการยืน ดูกล้ามเนื้อ ดูโครงสร้างของร่างกายแต่ละส่วน เพื่อพิจารณาถึงรายละเอียดที่จะต้องแสดงให้ปรากฏออกมา ซึ่งจะต้องมีความเป็นพิเศษต่างจากบุคคลทั่วไป เพื่อให้มีภาพลักษณ์เป็นองค์พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ จากนั้นเป็นเรื่องของแบบเครื่องทรง

                  เครื่องทรงของแบบรูปปั้นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระวรกายตอนบนเป็นลักษณะเครื่องทรงแบบสุโขทัยโบราณ ทรงสวมพระมงกุฎทรงเทริด ยอดพระมงกุฎเป็นลวดลายกลับบัว 3 ชั้น
พระศอมีสร้อยพระศอ และพระกรองศอ สร้อยสังวาลพร้อมทับทรวงพระพาหุตอนบน ประดับ
พาหุรัด ข้อพระหัตถ์เป็นทองกร พระวรกายจากบั้นพระองค์ถึงพระบาททรงฉลองพระภูษายาวกรอบข้อพระบาท พร้อมคาดปั้นเหน่งทับและห้อยพระสุวรรณกันถอบด้านหน้าพระภูษาทรงด้านเปิดชายผ้าชั้นนอกซ้าย-ขวาลักษณะทิ้งชายผ้าให้พลิ้วเคลื่อนไหว ชายผ้าทั้งชั้นนอกและชั้นในเป็น
ลายกรวยเชิงประดับ และข้อพระบาทประดับทองบาท(กำไลเท้า) พร้อมฉลองพระบาท ทั้งนี้เพื่อต้องการให้พระบรมรูปมีลักษณะของฉลองพระองค์เป็นแบบมหากษัตริย์สมัยสุโขทัยโบราณตามที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้า

พระมหากษัตริย์องค์ใดชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระโอรสในพ่อขุนศรีอินทราทิตย์และพระนางเสือง ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เมื่อพระชนมมายุ ๑๙ ชรรษา เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่สามแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๒ ทรงประดิษฐ์อักษรไทย เมื่อพุทธศักราช ๑๘๒๖

เพราะเหตุใดพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงให้ชื่อขุนรามราชเป็นรามคําแหง

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ปฐมกษัตริย์ แห่งกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มีพระมเหสีคือพระนางเสือง มีพระราชโอรสสามพระองค์ พระราชธิดาสองพระองค์ พระราชโอรส องค์ใหญ่สิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังเยาว์ องค์กลางมี พระนามว่า บานเมือง และพระราชโอรสองค์ที่สาม คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อพระชันษาได้ ๑๙ ...

เพราะเหตุใดพ่อขุนรามราชถึงให้รับสมญานามรามคำแหง

เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชมีพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ทรงทำยุทธหัตถีมีชัยต่อขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่ในบริเวณแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พระบรมชนกนาถจึงทรงขนานพระนามว่า "พระรามคำแหง" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ" ภายหลังเมื่อพระบรมชนกนาถได้เสด็จสวรรคต และพ่อขุนบานเมือง พระเชษฐาธิราช ได้เสวย ...

พ่อขุนรามคำแหงสวรรคตเมื่อใด

พ.ศ. 1842พ่อขุนรามคำแหงมหาราช / วันที่เสียชีวิตnull

พระมหากษัตริย์องค์ใดชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด เพราะเหตุใดพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงให้ชื่อขุนรามราชเป็นรามคําแหง เพราะเหตุใดพ่อขุนรามราชถึงให้รับสมญานามรามคำแหง พ่อขุนรามคำแหงสวรรคตเมื่อใด พ่อขุนรามคําแหงมหาราชแห่งกรุงสุโขทัยได้ทําสัญญาพันธไมตรีกับใคร เพราะเหตุใด พระบิดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช คือใคร พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงให้ประชาชนร้องทุกข์ด้วยวิธีใด ประวัติพ่อขุนรามคําแหง ผลงาน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชขึ้นครองราชย์ เมื่อใด พ่อขุนรามคําแหง แบบอย่างที่ดี พ่อขุนรามคําแหงมหาราช ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อใด พ่อขุนรามคําแหง อยู่ในสมัยใด