พระนเรศวรมหาราชสิ้นพระชนย์ด้วยเหตุใด


พระนเรศวรมหาราชสิ้นพระชนย์ด้วยเหตุใด


     สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จพระราชสมภพ ณ เมืองพิษณุโลก เมื่อปีเถาะ พุทธศักราช 2098 พระองค์เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหาธรรมราชา และ พระวิสุทธิกษัตรี ราชธิดาในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ และสมเด็จพระศรีสุริโยทัย ดังนั้น พระองค์จึงมีพระชาติ ทั้งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยทางพระราชบิดา และราชวงศ์อยุธยาทางพระราชมารดา ขณะยังทรงพระเยาว์มีพระนามว่า "พระองค์ดำ" พระองค์ทรงมีพระพี่นาง พระนามว่า พระสุวรรณเทวี หรือ พระสุพรรณกัลยา และพระน้องยาเธอ พระนามว่า สมเด็จพระเอกาทศรถ "พระองค์ขาว"
     ภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยา ไทย (ไม่น่าจะหมายถึงชาติไทย น่าจะหมายความแค่กรุงศรีอยุธยา) ตกเป็นของพม่า พระเจ้าบุเรงนองยกเอาขุนพิเรนทรเทพขึ้นครองราชย์ทรงพระนาม พระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2112 ภายใต้กำลังทหารสัก 3-4,000 คน ที่พระเจ้าบุเรงนองทิ้งเอาไว้ พระเจ้าบุเรงนองพำนักในกรุงศรีอยุธยาหลังเสร็จศึกนานถึงราว 3 เดือน ก่อนที่จะยกไปตี (ล้างแค้น) ลาว หรือพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ยกทัพมาช่วยไทยรบพม่า พระมหาธรรมราชาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 21 แห่งกรุงศรีอยุธยาครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการ “กลับมา” ของราชวงศ์พระร่วง หรือราชวงศ์สุโขทัย (ซึ่งขณะนี้อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจแล้ว และไม่มีกษัตริย์ปกครองแล้ว) หลักฐานหลายทางกล่าวแทบจะตรงกันว่า พระมหาธรรมราชา ได้ยกธิดาองค์โตนามพระอินทรเทวี (โดยที่รู้จักกันทั่วไป กลับเรียก พระสุพรรณกัลยา) ให้แก่บุเรงนองตั้งแต่ก่อนเสียกรุงศรีอยุธยา คือตั้งแต่ พ.ศ. 2109 (ภายหลังบุเรงนองถูกพระเจ้านันทบุเรง พระโอรสยึดอำนาจขึ้นครองราชย์ พระอินทรเทวี ก็จึงตกเป็นพระสนมของพระเจ้านันทบุเรง) ส่วนในบรรดาเชลยไทย ที่พม่ากวาดต้อนไปประเทศเขา พร้อมทรัพย์สินมีค่าทั้งปวงนั้น มีตัวประกันสำคัญคือพระนเรศวรในวัย 9 พระชันษา รวมอยู่ด้วย ส่วนพระอนุชา คือพระเอกาทศรถวัย 8 ชันษา พม่าคงให้อยู่กับพระราชบิดา เพราะเห็นยังเยาว์นัก
     พระองค์ได้ประทับอยู่ที่หงสาวดีถึง 6 ปี เมื่อพระชันษาได้ 15 ปี จึงได้เสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา เพื่อช่วยราชการพระบิดา รับพระราชภารกิจบ้านเมือง โดยได้เสด็จ ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก และสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้ถวาย "พระสุพรรณกัลยา" พระราชธิดาพระองค์ใหญ่เป็นองค์ประกันแทนใน พ.ศ. 2118
     ขณะทรงพระเยาว์และในระหว่างที่พระองค์ ประทับอยู่ที่กรุงหงสาวดี ก็ได้ทรงศึกษาวิชา ศิลปศาสตร์ และวิชา พิชัยสงคราม ทรงนิยมในวิชาการรบทัพจับศึก พระองค์ทรงมีโอกาสศึกษา ทั้งภายในราชสำนักไทย และราชสำนักพม่า มอญ และได้ทราบยุทธวิธีของชาติต่าง ๆ ที่มารวมกันอยู่ในกรุงหงสาวดีเป็นอย่างดี ทรงนำหลักวิชามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับเหตุการณ์ และสภาพแวดล้อมได้เป็นเลิศ ดังเห็นได้จากการสงครามทุกครั้งของพระองค์ ยุทธวิธีที่ทรงใช้ เช่น การใช้คนจำนวนน้อยเอาชนะคนจำนวนมาก และยุทธวิธีเดินเส้นใน พระองค์ทรงนำมาใช้ก่อนจอมทัพที่เลื่องชื่อในยุโรป นอกจากนั้น หลักการสงครามที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เช่น การดำรงความมุ่งหมาย หลักการรุก การออมกำลัง และการรวมกำลัง การดำเนินกลยุทธ เอกภาพในการบังคับบัญชา การระวังป้องกัน การจู่โจม หลักความง่าย ฯลฯ พระองค์ก็ทรงนำมาใช้อย่างเชี่ยวชาญ และประสบผลสำเร็จอย่างงดงามมาโดยตลอด
     โชคดีที่ว่า พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2124 ผู้ที่สืบบัลลังก์แทนพระองค์คือ พระเจ้านันทะบุเรงนอง ผู้ซึ่งไม่เข้มแข็งพอจนเมืองขึ้นหลายเมืองก่อการกบฏ รวมทั้งเมืองมอญที่ตั้งอยู่บนเนินเขาชื่อว่า เมืองคัง เจ้าชายที่งสามพระองค์ผลัดกันเข้าโจมตี ถึงแม้จะได้รับมอบหมาย จากกษัตริย์พม่าให้เป็นผู้โจมตีองค์สุดท้าย แต่เจ้าชายนเรศวรก็สามารถเข้ายึดเมืองนี้ไว้ได้ ผลปรากฏว่าจากการรบครั้งนั้น กษัตริย์พม่าเกิดความหวาดกลัวระแวง ในความกล้าหาญและความชาญฉลาดของพระองค์ และเตรียมแผนการนี้จากพระยามอญทั้งสอง พระนเรศวรจึงประกาศอิสรภาพและ เตรียมต้านทานการบุกของพม่าอย่างเต็มที่
     พระนเรศวรขึ้นครองราชย์เมื่อพระราชบิดาสวรรคตในปี พ.ศ. 2133 อย่างไรก็ตามในช่วงการปกครอง ของพระเจ้านันทบุเรงนี้กรุงศรีอยุธยาถูกรุกราน 5 ครั้งด้วยกัน กล่าวคือการเริ่มรุกรานครั้งที่หนึ่ง และสองภายใต้การนำของพระโอรสของพระองค์ พระนามว่าพระมหาอุปราช ครั้งที่ 3 พระเจ้านันทะบุเรงทรงนำทัพมาด้วยพระองค์เอง ส่วนครั้งที่ 4และ 5 นั้นพระมหาอุปราชทรงนำทัพมาอีกเช่นกัน และในการรุกรานครั้งที่5นี่เองที่เป็นการรุกรานครั้งสุดท้าย ซึ่งทำให้พระมหาอุปราชถูกปลงพระชนม์ โดยสมเด็จพระนเรศวร ในสงครามยุทธหัตถี ในปี พ.ศ. 2135 ที่หนองสาหร่ายจังหวัดสุพรรณบุรี การรบครั้งนี้ทำให้พระองค์ได้รับชื่อเสียง เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง
     ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรไม่เคยทรงเลิกล้มที่จะเอาชนะพม่า ให้ได้ถ้าหากว่าพระองค์ทรงมีพระชนมมายุ ยืนยาวกว่านี้พระองค์อาจจะนำเอาดินแดน ทั้งหมดมาอยู่ภายใต้การปกครอง ของพระองค์ได้ และพม่าก็อาจจะเอาชนะอยุธยาไม่ได้ ในปี 2310 ในขณะที่ทรงนำทัพไปเมืองตองอู พระองค์ก็ทรงประชวรอย่างกะทันหันที่เมืองลำปาง และประชวรหนักจนสวรรคตเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2148 พระเจ้าเอกาทศรถ พระอนุชาได้นำพระบรมศพพระเชษฐา กลับเพื่อประกอบพระราชพิธี และเสด็จขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเชษฐาสืบมา
     สำหรับคนไทยแล้ว สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นวีรบุรุษที่ทุกคนในชาติให้ความเคารพเหนือสิ่งอื่นใด ดังนั้นทุก ๆ ปีในช่วงวันที่25มกราคม ที่จังหวัดสุพรรณบุรีจะมีงานอนุสรณ์ดอนเจดีย์เป็นหลายวัน เพื่อเป็นการรำลึกถึงชัยชนะของพระองค์ต่อเจ้าชายพม่า

  • 25 เม.ย. 2558
  • 141.8k

วันนี้ วันที่ 25 เมษายน เมื่อ 410 ปีก่อน คือพ.ศ.2148 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคต ณ ตำบลทุ่งดอนแก้ว เมืองหลวง หรือเมืองห้างหลวง หรือเมืองห่างหลวง หรือเมืองหางหลวง ขณะกรีฑาทัพไปตีเมืองนายและกรุงอังวะขณะมีพระชนมพรรษาได้ 50 พรรษา รวมระยะเวลาในการครองราชย์ได้ 15 ปี


กล่าวได้ว่า ราชการสงครามในสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่และสำคัญยิ่งของชาติไทย พระองค์ได้ทรงกอบกู้อิสรภาพของไทยจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งแรก และได้ทรงแผ่อำนาจของราชอาณาจักรไทย อย่างกว้างใหญ่ไพศาล นับตั้งแต่ประเทศพม่าตอนใต้ทั้งหมด นั่นคือ จากฝั่งมหาสมุทรอินเดียทางด้านตะวันตก ไปจนถึงฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออก ทางด้านทิศใต้ตลอดไปถึงแหลมมลายู ทางด้านทิศเหนือก็ถึงฝั่งแม่น้ำโขงโดยตลอด และยังรวมไปถึงรัฐไทใหญ่บางรัฐ
"พระองค์ดำ" เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหาธรรมราชาและพระวิสุทธิกษัตริย์ พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระศรีสุริโยทัย เสด็จพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2098 ที่พระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก พระองค์มีพระเชษฐภคินี คือ พระสุพรรณกัลยา และพระอนุชา คือ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)
ขณะทรงพระเยาว์ พระองค์ทรงใช้ชีวิตอยู่ในพระราชวังจันทน์ เมืองพิษณุโลก จนกระทั่ง พระเจ้าบุเรงนองยกทัพมาตีเมืองพิษณุโลกในสงครามช้างเผือก สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช เจ้าเมืองพิษณุโลก ยอมอ่อนน้อมต่อหงสาวดีจึงทำให้พิษณุโลกต้องแปรสภาพเป็นเมืองประเทศราชของหงสาวดีและไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าบุเรงนองทรงขอพระนเรศวรไปเป็นองค์ประกันที่หงสาวดีในปี พ.ศ. 2107 ทำให้พระองค์ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอนตั้งแต่มีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา
การที่ได้เสด็จไปประทับอยู่หงสาวดีถึง 6 ปีนั้น เป็นประโยชน์ยิ่งเพราะทรงทราบทั้งภาษา นิสัยใจคอ ตลอดจนล่วงรู้ความสามารถของพม่า ซึ่งนับเป็นทุนสำหรับคิดอ่านเพื่อหาหนทางในการต่อสู้กับพม่าเมื่อวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีวอก พ.ศ. 2127 เมื่อทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีคิดประทุษร้ายต่อพระองค์ พระนเรศวรฯจึงทรงหลั่งน้ำลงสู่แผ่นดินด้วยสุวรรณภิงคาร (พระน้ำเต้าทองคำ) ประกาศแก่เทพยดาฟ้าดินว่า "ด้วยพระเจ้าหงสาวดี มิได้อยู่ในครองสุจริตมิตรภาพขัตติยราชประเพณี เสียสามัคคีรสธรรม ประพฤติพาลทุจริต คิดจะทำอันตรายแก่เรา ตั้งแต่นี้ไป กรุงศรีอยุธยาขาดไมตรีกับกรุงหงสาวดีมิได้เป็นมิตรร่วมสุวรรณปฐพีเดียวกันดุจดังแต่ก่อนสืบไป"
สมเด็จพระนเรศวร กับสมเด็จพระเอกาทศรถ เสด็จยกกองทัพออกจากพระนคร เมื่อวันพฤหัสบดี แรม 8 ค่ำ เดือนยี่ ปีมะโรง พ.ศ. 2148 เสด็จโดยกระบวนเรือจากพระตำหนักป่าโมก แล้วเสด็จขึ้นบนที่ตำบล เอกราชไปตั้งทัพชัย ณ ตำบลพระหล่อ แล้วยกกองทัพบกไปทางเมืองกำแพงเพชรสู่เมืองเชียงใหม่ ครั้นเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็หยุดพักจัดกระบวนทัพอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้กองทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหาง ครั้นเสด็จถึงเมืองหางแล้วก็ให้ตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรเป็นหัวระลอก (ฝี) ขึ้นที่พระพักตร์ แล้วกลายเป็นบาดทะพิษพระอาการหนัก จึงโปรดให้ข้าหลวงรีบไปเชิญเสด็จสมเด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า สมเด็จพระเอกาทศรถเสด็จฯ มาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคต เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สิริพระชนมพรรษา 49 พรรษาเศษรวมสิริดำรงราชสมบัติ 14 ปีเศษสมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ทรงสร้างพระบรมรูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไว้เป็นที่สักการบูชา ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชก็ได้โปรดให้สร้างไว้อีก พระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรยังประดิษฐานไว้เป็นที่สักการบูชา อยู่ในพระที่นั่งภานุมาศจำรูญ (ปัจจุบันคือ พระที่นั่งบรมพิมาน) จนทุกวันนี้ มีการสร้างพระบรมราชานุสรณ์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในหลายแห่งทั่วประเทศ เช่น พระบรมราชานุสรณ์ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ พระราชวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก, ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก, พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี, ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่ริมหนองบัวลำภู ในจังหวัดหนองบัวลำภู เป็นต้น
ตราประจำจังหวัดของไทยที่มีพระบรมรูปของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นองค์ประกอบ ได้แก่ จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดตาก และจังหวัดหนองบัวลำภูมีการนำพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราขไปตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก[54][55] และค่ายทหารต่าง ๆ ทั่วประเทศ เช่น ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่จังหวัดพิษณุโลก ค่ายนเรศวร ที่จังหวัดลพบุรี ค่ายนเรศวรมหาราช ที่อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น ส่วนทางกรมตำรวจได้นำพระนามของพระองค์มาตั้งเป็นชื่อค่ายตำรวจตระเวนชายแดนที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรีว่า "ค่ายนเรศวร" ด้วยเช่นกัน
ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีอยู่หลายแห่ง เช่น ที่สนามนเรศวร หน้าศูนย์ราชการอำเภอเมืองหนองบัวลำภู กล่าวกันว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้เคยมาประทับแรมที่หนองบัวลำภูเมื่อ พ.ศ. 2117 ศาลอีกแห่งหนึ่งคือที่จังหวัดหนองบัวลำภู ปั้นโดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ. 2511 ตั้งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑ์สุสานหอยหิน 150 ล้านปี ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโนนทัน อำเภอเมืองหนองบัวลำภู