การส่งเสริมการเรียน รู้ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอ เพียง เป็น หน้าที่ของ ใคร

การศึกษา ก็คือ เครื่องมือของการพัฒนา ดังนั้น เมื่อการพัฒนาประเทศกำหนดทิศทางไปสู่สังคมแห่งความพอเพียง ระบบการศึกษาจึงมีหน้าที่จะต้องนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาให้ได้อย่างเหมาะสมด้วย                  

                   ระบบการศึกษาบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียงจะต้องสอนให้นักเรียนนักศึกษาคำนึงถึง ความพอประมาณในการดำเนินชีวิต ไม่โลภ ไม่ฟุ้งเฟ้อ มีการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ ฝึกให้มีการมองไปข้างหน้า และเตรียมตัวให้พร้อมกับความผันผวนของเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างรู้เท่าทัน รวมถึงการหมั่นแสวงหาความรู้ เพื่อให้เกิดความรอบรู้ในด้านต่าง ๆ ฝึกฝนตนเองให้มีความรอบคอบและระมัดระวัง โดยใช้สติปัญญาในการทำงานและดำเนินชีวิต และที่สำคัญเศรษฐกิจพอเพียงยังเน้นให้นักเรียนนักศึกษามีคุณธรรม มีความอดทน ความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์ การไม่เบียดเบียนผู้อื่น การแบ่งปันและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต เนื่องจากความรู้ต่าง ๆ จะไม่สามารถก่อประโยชน์ให้กับตนเองหรือผู้อื่นได้อย่างเต็มที่ และถูกต้องหากผู้นำไปใช้ขาดคุณธรรม

                   นอกจากนี้แล้ว การพัฒนาระบบการศึกษาไทยบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง ควรมุ่งไปสู่การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการความรู้ ทั้งเนื้อหา วิธีการ แหล่งเรียนรู้ และผู้รู้อย่างกว้างขวาง ซึ่งไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่เฉพาะในระบบโรงเรียนแบบเดิม แต่ควรพัฒนากระบวนการเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ที่มีความหลากหลายและต่อเนื่องตลอดชีวิตให้เกิดขึ้น เป็นการศึกษาตามศักยภาพของผู้เรียน ซึ่งก็คือการเรียนแบบมีเหตุมีผล หรือความพอดี พอประมาณ ไม่บังคับให้เรียนในสิ่งที่ผู้เรียนไม่มีศักยภาพ รวมทั้งการปลูกฝังระบบคุณค่าต่าง ๆ ดังเช่นที่กล่าวมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อทำให้เกิดสติปัญญา ความรอบรู้ และศีลธรรม อันจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างเข้มแข็งและพอเพียง ภายใต้กระแสของโลกาภิวัตน์

                   โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย (Thailand Cyber University : TCU) เส้นทางสู้การพัฒนาการศึกษาของชาติอย่างยั่งยืน เป็นโครงการหนึ่งของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ  ซึ่ง TCU เป็นหน่วยงานกลางสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในการจัดการศึกษา   สร้างความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ  เพื่อจัดบริการการศึกษาแบบ e – Learning อย่างมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อขยายโอกาสการศึกษา  อย่างกว้างขวางทุกรูปแบบ โดยมียุทธศาสตร์ที่สำคัญ คือ  1) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประหยัดงบประมาณในการจัดการศึกษา โดยการใช้บุคลากร ทรัพยากรทางการศึกษา และคอร์สแวร์ร่วมกัน  2) เพื่อรองรับปริมาณนักเรียนมัธยมปลายที่เพิ่มขึ้น ขยายโอกาสทางการศึกษา และสนับสนุนการศึกษาต่อเนื่อง ของประชาชนด้วยวิธีการเรียนทางไกลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ  3) เพื่อยกระดับและรับประกันคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านระบบเครือข่ายสารสนเทศ

                   นับได้ว่ามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เป็นโครงการตัวอย่างที่ดีโครงการหนึ่งในการพัฒนาระบบการศึกษาไทยบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียง มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น บุคลากรทางการศึกษา รวมถึงเครือข่ายทาง Internet ที่มีอยู่เดิมมาประยุกต์ใช้ในการจัดระบบการศึกษาแบบ e – Learning (ระบบการจัดการศึกษาทางไกล) ซึ่งเป็นการประหยัดงบประมาณ  ขยายโอกาสทางการศึกษาของไทย และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ได้เป็นอย่างดี

 อ้างอิง

1. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. www.mua.go.th 

2.การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. www.sufficiencyeconomy.org

หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถบูรณาการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระวิชาต่าง ๆ ได้

การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา                                                                                      

ธนสาร  บัลลังก์ปัทมา เรียงเรียบ 

บทความ พิมพ์ครั้งแรก Thecityjournal 1-16 กันยายน 2550  

       เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ   ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณา ๕ ส่วน๑.      กรอบแนวคิด ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควร โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย๒.    คุณลักษณะ    เศรษฐกิจพอเพียงสามารถประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ทุกระดับ  โดยเน้นทางสายกลาง       และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน๓.    คำนิยาม ความพอเพียง (Sufficiency) จะต้องประกอบด้วย ๓ คุณลักษณะ ดังนี้

        ๑) ความพอประมาณ  หมายถึง  ความพอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป

        ๒) ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล

        ๓) การมีภูมิคุ้มกันในตัว หมายถึง    การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลง  

       ๔) เงื่อนไข ๒ เงื่อนไข คือ เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม (แนวคิด ๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข)       ๑) เงื่อนไขความรู้ คือ ความรู้เกี่ยวกับวิชาการ เพื่อนำมาประกอบการวางแผน       ๒) เงื่อนไขคุณธรรม    เพื่อเสริมสร้างให้มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์  

        ๕) แนวทางปฏิบัติ ผลที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อการพัฒนาที่สมดุล   ทั้งด้านเศรษฐกิจ    สังคม สิ่งแวดล้อม และความรู้เทคโนโลยีกระบวนการสร้างความรู้ (Knowledge)  คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในเอกสารประกอบการอบรมเรื่องการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว) ได้ให้ข้อแนะนำในการจัดการเรียนรู้ ดังนี้

        ด้านเศรษฐกิจ   ๑. รู้จักควบคุมใช้จ่ายของตนเอง ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล, ใช้จ่ายพอประมาณ ใช้จ่ายอย่างประหยัด  ใช้จ่ายเท่าที่จำเป็น ฯลฯ   ๒.รู้จักออมเงิน เรียนรู้ระบบการฝากเงิน เรียนรู้ระบบออมเงิน เรียนรู้ระบบสหกรณ์   ๓. รู้จักสร้างรายได้หรืออาชีพ สร้างรายได้หรืออาชีพสอดคล้องกับความต้องการ สอดคล้องกับสังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรท้องถิ่น ฯลฯด้านสังคม        รู้จักช่วยเหลือสังคมหรือชุมชน ปลุกจิตสำนึกสาธารณะ   ปลูกฝังความสามัคคี      ความเสียสละ เผยแพร่องค์ความรู้เศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ

        ด้านสิ่งแวดล้อม       สร้างสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติ ปลุกจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม ฟื้นฟูแหล่งเสื่อมโทรมในท้องถิ่น ดูแลสถานที่ท่องเที่ยวในท้องถิ่น ฯลฯ

       ด้านวัฒนธรรม      สืบสานวัฒนธรรมไทย สร้างจิตสำนึกรักษ์ไทย รักบ้านเกิด  ฟื้นฟูและอนุรักษ์อาหารท้องถิ่น ดนตรีไทยและเพลงไทย โบราณสถานและโบราณวัตถุ

      ด้านศาสนา       ส่งเสริมศาสนา ปลูกฝังจิตสำนึกความรักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ฯลฯ               

แนวการจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระ               

     ๑. ภาษาไทย  สามารถแนวแนวปรัชญามาฝึกเขียนเรียงความ, คัดลายมือพระราชดำรัสเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง               

     ๒. คณิตศาสตร์  ฝึกการค้าขาย ฝึกการทำบัญชีรายรับรายจ่ายต่าง ๆ บัญชีต้นทุน กำไร  การออมเงิน               

     ๓. วิทยาศาสตร์  สามารถจัดกิจกรรมเกี่ยวกับความพอเพียงในการใช้ทรัพยากร การสร้างสมดุลของธรรมชาติ           

     ๔. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  การช่วยเหลือชุมชน  คุณธรรม ๘ ประการของกระทรวงศึกษาธิการ การสร้างจิตสำนึกในการรักษ์ท้องถิ่น               

     ๕. การงานอาชีพและเทคโนโลยี  การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น  การสร้างจิตสำนึกการใช้เทคโนโลยีอย่างประหยัด การประดิษฐ์สิ่งของ ของเล่นจากเศษวัสดุ นำไปจำหน่าย               

      ๖.ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ การสร้างสรรค์งานศิลปะจากเศษวัสดุ               

      ๗. สุขศึกษาและพลศึกษา การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองด้วยการออกกำลังกาย  การเล่นการละเล่นแบบไทย ๆ                

     ๘. ภาษาต่างประเทศ  การเรียนรู้คำศัพท์เกี่ยวกับความพอเพียง  การเขียนเรื่องการกล่าวสุนทรพจน์ (Public Speed) เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy)               

      การจัดการเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงยังสามารถจัดในลักษณะบูรณาการ หรือทำโครงงานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ สอดแทรกแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วย      เช่น โครงงานค้าขายได้ความรู้สู่ความพอเพียง       โดยฝึกการค้าขายสินค้าและบันทึกรายรับรายจ่าย ต้นทุนกำไร และบูรณาการ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข  

       ปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ  ซึ่งนักเรียนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง*************