ใครคือผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง F.o.b

Click to rate this post!

[Total: 509 Average: 5]

ในหน้านี้

  • การขนส่งสินค้า
    • การขนส่งสินค้า

การขนส่งสินค้า

การขนส่งสินค้า

1. การส่งมอบต้นทาง (F.o.B. Shipping Point) หมายถึง ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง ผู้ขายมีหน้าที่เพียงนำสินค้าไปที่ทำการต้นทางส่งสินค้าเท่านั้น
2. การส่งมอบปลายทาง (F.o.B. Destination) หมายถึง ผู้ขายเป็นผู้ออก ค่าขนส่ง
3. ค่าขนส่งสินค้าที่จ่ายแทนกัน ถึงแม้ว่าการตกลงซื้อขายได้กระทำตามเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าแล้วก็ตาม ผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะจ่ายค่าขนส่งแทนกันได้ เพื่อความสะดวกของทั้งสองฝ่าย เช่น (F.o.B. Shipping Point) หมายถึง ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง ผู้ขายมีหน้าที่เพียงนำสินค้าไปที่ทำการต้นทางส่งสินค้าเท่านั้น แต่ผู้ขายจ่ายแทนไปก่อนตามเงื่อนไข (F.o.B. Destination) หมายถึง ผู้ขายเป็นผู้ออก ค่าขนส่ง แต่ผู้ซื้อได้จ่ายแทนไปก่อน

แก้ไขครั้งสุดท้าย ธันวาคม 23, 2022

ใครคือผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง F.o.b

ANUSAK NGUESA

ปริญญาตรี บัญชี นักบัญชี ที่ชอบทำบทความ รักการทำบทความมากว่า 20 ปี

 

ใครคือผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง F.o.b
 

โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)

แนะนำบริการ ที่เกี่ยวข้องกับบทความ

สำนักงานบัญชี รับทําบัญชี ขายของออนไลน์ จ้างทำบัญชี ค่าบริการ ทำบัญชี
จดทะเบียนบริษัท ที่ไหน เสียภาษีอย่างไร ดียังไง

เนื้อหาเพิ่มเติม

  • 5 เงื่อนไข F.O.B Shipping Point บัญชี
  • 2 การบันทึกบัญชี แบบ Fob นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ตัวอย่าง
  • 3 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ร่วมและผลิตภัณฑ์พลอยได้
  • 16 สินค้าที่ต้องขออนุญาตนำเข้า ทำกิจการ Shipping
  • 2 บัญชีบริษัทขนส่ง บันทึกบัญชี เสียภาษีอะไร
  • 0.1 % เสียภาษีขนส่งสินค้า | Pay Shipping Tax
  • 3 การเช่าซื้อ หมายถึง ความหมายของการเช่าซื้อ
  • 2 ประเภทของความเสี่ยง
  • 9 การด้อยค่าของสินทรัพย์ คือ บันทึกหมวดบัญชี
  • 3 ขายผ่อน เช่าซื้อ มีข้อแตกต่างกัน อย่างไร
  • 3 ต้นทุนผลิตสินค้า คือ งบ บันทึกหมวดบัญชี
  • 10 ชนิด สินทรัพย์หมุนเวียน ตัวอย่าง ประเภท
  • 6 บัญชี บริษัทส่งออก บัญชีบริษัท นำเข้า
  • 2 การขายผ่อนชำระและการเช่าซื้อ มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
  • 5 ปี กฎหมายใหม่ NAPEs เรื่องค่าเสื่อมราคา
  • 156 ข้อ กฎหมาย ที่นักบัญชี ควรรู้

ค่าขนส่งสินค้า (Transportation Cost) หมายถึง ค่าขนส่งที่จ่ายเพื่อเคลื่อนย้ายสินค้าจากคลังสินค้าของผู้ขาย ไปยังคลังสินค้าของผู้ซื้อ ในการขายสินค้าจะต้องมีการระบุเงื่อนไขในการรับผิดชอบค่าขนส่งว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ซึ่งเงื่อนไขในการกำหนดค่าขนส่งมี ดังนี้

  • F.O.B. Shipping Point เงือนไขนี้กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนให้แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่บริษัทที่รับขนส่ง ดังนั้นผู้ซื้อจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ซึ่งเรียกค่าขนส่งนี้ว่า “ค่าขนส่งเข้า”
  • F.O.B. Destination เงื่อนไขนี้กรรมสิทธิ์ในสินค้าจะโอนให้แก่ผู้ซื้อเมื่อผู้ขายส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อ ณ คลังสินค้าของผู้ซื้อ ดังนั้นผู้ขายจึงต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจ่ายค่าขนส่ง ซึ่งเรียกค่าขนส่งนี้ว่า “ค่าขนส่งออก”

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related Posts

  • ข่าวประสัมพันธ์ : หลักสูตรอบรม “ตัวแทนออกของ” โดยการรับรองจากสถาบันวิทยาการศุลกากร กรมศุลกากร
  • เงินเดือนโลจิสติกส์ ? ได้รับเงินเดือนเท่าไหร่กัน ?
  • ระบบบริหารคลังสินค้า Warehouse Management System (WMS) ช่วยแก้ปัญหาในคงคลังได้อย่างไร ?
  • ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect) คืออะไร ?
  • ประเภทของการขนส่ง (Transportation) แบ่งออก 5 ประเภท อะไรบ้าง ?


FOB คือ เงื่อนไข Incoterms แบบ Free On Board ที่ผู้ขายหรือผู้ส่งออกมีภาระในการรับผิดชอบความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการส่งมอบสินค้าสิ้นสุดเมื่อสินค้าถูกยกขึ้นไปวางบนเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุ (ในประเทศผู้ส่งออก) รวมถึงรับหน้าที่ในการทำเอกสารการส่งออกและดำเนินพิธีการศุลกากรขาออก

ในทางกลับกันผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อสินค้าก็จะเป็นผู้รับความเสี่ยงทันทีที่สินค้าถูกยกขึ้นมาพ้นกราบเรือเป็นต้นไป นั่นหมายความว่าความเสียหายใด ๆ ตั้งแต่สินค้าอยู่บนเรือเป็นต้นไปจะรับผิดชอบโดยผู้ซื้อ

สถานที่ที่ผู้ส่งออกต้องรับภาระในการขนส่งสินค้าและยกสินค้าขึ้นไปวางบนเรืออจะถูกระบุเอาไว้ในวงเล็บด้านหลังของเงื่อนไข FOB ในการส่งมอบสินค้า อย่างเช่น FOB (Bangkok) หมายความว่า ท่าเรือต้นทางที่ผู้ส่งออกต้องนำสินค้าไปส่ง คือ ท่าเรือกรุงเทพ

โดย Free On Board หรือ FOB เป็นหนึ่งใน 11 เงื่อนไข Incoterms 2020 ที่ถูกกำหนดโดยสภาหอการค้านานาชาติ หรือ International Chamber of Commerce หรือ ICC ที่ใช้ในการกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขาย ได้แก่ ขอบเขตความรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้า, จุดส่งมอบและจุดรับสินค้า, และขอบเขตความรับผิดชอบหากสินค้าเกิดความเสียหายหรือสูญหาย

ข้อตกลงแบบ FOB Term จะใช้กับการขนส่งทางทะเลหรือทางน้ำในแผ่นดินเท่านั้น

ความรับผิดชอบในเงื่อนไข Free On Board หรือ FOB

อย่างที่บอกว่า Free On Board หรือ FOB Term คือ การบอกความรับผิดชอบในส่วนต่าง ๆ ของแต่ละฝ่ายระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ดังนั้นเราจะแยกสิ่งที่ต้องรู้ของแต่ละฝ่ายในเงื่อนไข FOB ออกเป็น 2 ฝ่ายคือ ความรับผิดชอบของฝั่งผู้ส่งออก (Exporter) หรือผู้ขาย และความรับผิดชอบของฝั่งผู้นำเข้า (Importer) หรือผู้ซื้อ

ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ขอบเขตการรับความเสี่ยงต่อสินค้าที่เสียหายหรือสูญหาย, จุดส่งมอบสินค้า, และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขนส่ง

เงื่อนไข FOB ผู้ส่งออก

ความรับผิดชอบความเสี่ยงของผู้ส่งออกหรือผู้ขายจะเริ่มต้นตั้งแต่การจัดเตรียมสินค้าไปจนถึงการส่งสินค้าและยกสินค้าขึ้นไปวางบนเรือ (ณ ท่าเรือประเทศผู้ส่งออก) หรือในอีกความหมายคือทุกอย่างที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นผู้ส่งออกจะเป็นผู้รับผิดชอบเองทั้งหมด

โดยหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ขายหรือผู้ส่งออกสินค้า ตามเงื่อนไข Incoterms แบบ Free On Board หรือ FOB Term ได้แก่

  • การบรรจุหีบห่อสินค้า
  • ใบกำกับสินค้า
  • หลักฐานอื่นใดที่กำหนดไว้ในสัญญา
  • การขนส่งสินค้าไปยังท่าเรือต้นทาง
  • การขนย้ายสินค้า
  • การที่สินค้าเกิดความเสียหาย
  • การดำเนินพิธีศุลกากรขาออก
  • ค่าภาษีอากร
  • และค่าภาระอื่น ๆ ทั้งหมดที่ต้องชำระเมื่อส่งออก

เงื่อนไข FOB ผู้นำเข้า

ความรับผิดชอบต่อความเสี่ยงและภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งของผู้นำเข้าตามเงื่อนไข FOB จะเริ่มต้นหลังจากสินค้าถูกวางบนเรือเรียบร้อยแล้ว (แต่หน้าที่ในการดำเนินพิธีการศุลการกรขาออกเป็นของผู้ส่งออก)

โดยหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าสินค้า ตามเงื่อนไข Incoterms แบบ Free On Board หรือ FOB Term ได้แก่