ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

บุคคลธรรมดา ในมุมมองของ ภาษีเงินได้ คือ ประเภทของ ผู้เสียภาษี ชนิดหนึ่ง

แม้จะใช้คำว่าบุคคลธรรมดา แต่กลับไม่ได้หมายความเฉพาะมนุษย์เท่านั้น เพราะ ประมวลรัษฎากร ยังให้คำว่า บุคคลธรรมดา รวมถึงหน่วยภาษีอื่นๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ด้วย เช่น คนที่เสียชีวิตไปแล้วก็ยังมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อยู่ดี

ประเภทของบุคคลธรรมดาสำหรับภาษีเงินได้

มนุษย์ธรรมดา

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

มนุษย์ธรรมดาในที่นี้ก็คือ มนุษย์ธรรมดาที่เกิดมาเป็นมนุษย์ทุกคนและยังคงมีชีวิตอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา คนพิการ หรือแม้แต่พระภิกษุ นักบวช ถ้ามี เงินได้ ก็มีหน้าที่เสียภาษีเช่นกัน1 ซึ่งยังรวมไปถึงพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์สำหรับทรัพย์สินส่วนพระองค์2 (ทรัพย์สินส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)3

คนที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษี

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

คนที่เสียชีวิตไปแล้วถ้ามีเงินได้เกิดขึ้นระหว่าง ปีภาษี ก็ถือว่าเป็นผู้เสียภาษีด้วยเช่นกัน เพื่อความรอบคอบของกฎหมายภาษี เพราะถ้าตีความว่าผู้เสียชีวิตนั้นสิ้นสภาพแล้วจึงไม่ใช่บุคคลธรรมดาอีกต่อไป เงินได้ที่เกิดขึ้นในปีนั้นก็ไม่มีภาระภาษีซึ่งเป็นวิธีตีความที่ไม่ถูกต้อง

ดังนั้น เพื่อความชัดเจน คำว่า “บุคคลธรรมดา” เลยให้หมายความรวมถึง คนที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษีด้วยเลย

ส่วนประเด็นว่าเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ใครจะทำหน้าที่เสียภาษีให้แทนนั้น ก็เป็นภาระของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ต้องทำหน้าที่แทน4

กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง

กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากคนที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษีที่ผ่านมา และภายหลังเสียชีวิตแล้วก็ยังไม่มีการแบ่งมรดกอีกจนผ่านมาครบอีกปีภาษีนึง ซึ่งกองมรดกนั้นก็อาจจะยังมีรายได้เข้ามาอยู่แม้ว่าเจ้ามรดกจะเสียชีวิตไปแล้ว เช่น ยังคงได้รับค่าเช่าโอนเข้าบัญชีธนาคาร หรือได้รับค่าลิขสิทธิ์เพลงที่เคยแต่งไว้ กฎหมายเลยให้ถือว่ากองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งก็เป็นผู้เสียภาษีด้วยเช่นกัน เพื่อความรอบคอบของกฎหมายภาษี เพราะถ้าตีความว่ากองมรดกนั้นสิ้นสภาพแล้วจึงไม่ใช่บุคคลธรรมดาอีกต่อไป เงินได้ที่เกิดขึ้นในปีนั้นก็ไม่มีภาระภาษีซึ่งเป็นวิธีตีความที่ไม่ถูกต้องอีกเช่นกัน

ดังนั้น เพื่อความชัดเจน คำว่า “บุคคลธรรมดา” เลยให้หมายความรวมถึง กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งไปด้วย

ส่วนประเด็นว่าเจ้ามรดกเสียชีวิตไปแล้ว แล้วใครจะทำหน้าที่เสียภาษีให้แทนนั้น ก็เป็นภาระของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ต้องทำหน้าที่แทน5

ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน คือ กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมกันทำกิจกรรมบางอย่างเพื่อแสวงหากำไรเกิดรายได้ขึ้นโดยตกลงว่าจะแบ่งกำไรกัน ดังนั้นเมื่อมีเงินได้แล้วก็ต้องเสียภาษีให้รัฐ

แต่เนื่องจากห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนยังไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมายไทย ประมวลรัษฎากรเลยให้คำว่า “บุคคลธรรมดา” หมายความรวมถึง ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนไปด้วยเลย6

คณะบุคคล

คณะบุคคล คือ กลุ่มคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปที่ตกลงทำบางอย่างเพื่อหารายได้ร่วมกันแต่ไม่ได้ต้องการจะแบ่งกำไรกันเหมือนห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้นเมื่อมีเงินได้แล้วก็ต้องเสียภาษีให้รัฐ

แต่เนื่องจากคณะบุคคลไม่ใช่นิติบุคคลตามกฎหมายไทย ประมวลรัษฎากรเลยให้คำว่า “บุคคลธรรมดา” หมายความรวมถึง คณะบุคคลด้วย7 แต่ถึงแม้จะเรียกว่าคณะบุคคล แต่ถ้ามีวัตถุประสงค์ว่าจะแบ่งกำไรกันก็อาจกลายสภาพเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญได้

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

  • คนทั่วไปมักเข้าใจว่าเด็กไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเพราะยังเป็นเด็ก แต่ความจริงแล้วแม้จะเป็นเด็กแต่ถ้ามีเงินได้ก็ถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วย เพียงแต่ว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจะมีหน้าดำเนินการยื่นภาษีให้8
  • คนทั่วไปมักเข้าใจว่าพระภิกษุไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเพราะตัดขาดจากทางโลกไปแล้ว แต่ความจริงแล้วแม้จะเป็นพระภิกษุ หากมีเงินได้ก็ย่อมถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีด้วย เว้นแต่จะเป็นเงินที่ได้รับจากการทำบุญอาจจะได้รับยกเว้นภาษีได้9
  • คนทั่วไปมักเข้าใจว่าพระบรมวงศานุวงศ์ไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษี แต่ความจริงแล้วแม้จะเป็นถึงพระบรมวงศานุวงศ์ หากมีเงินได้ก็ย่อมถือว่าเป็นผู้มีเงินได้ จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีภายใต้กฎหมายเดียวกับเราเช่นกัน10

อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 56 ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    มาตรา 8 พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479

  3. ^

    มาตรา 4 พ.ร.บ. ว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2477

  4. ^

    มาตรา 57 ทวิ ประมวลรัษฎากร

  5. ^

    มาตรา 57 ทวิ ประมวลรัษฎากร

  6. ^

    มาตรา 56 ประมวลรัษฎากร

  7. ^

    มาตรา 56 ประมวลรัษฎากร

  8. ^

    มาตรา 57 ประมวลรัษฎากร

  9. ^

    มาตรา 56 ประมวลรัษฎากร

  10. ^

    มาตรา 56 ประมวลรัษฎากร, มาตรา 8 พ.ร.บ. จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2479, มาตรา 4 พ.ร.บ. ว่าด้วยการยกเว้นภาษีอากรอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พ.ศ. 2477

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คืออะไร?

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

ภาษี

คือ สิ่งที่รัฐบาลขอเรียกเก็บจากประชาชน ผู้ที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆ

สรรพากร

คือ หน่วยงานในกระทรวงการคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรต่างๆจากประชาชน และนำส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน

ช่วงเวลาไหนที่ต้องยื่นแบบเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.91)

จะยื่นแบบ และ จ่ายภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ในแต่ละปี (เป็นการคิดรายได้ในปีที่ผ่านมาทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม)

ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้

หมายถึง การที่เรานำแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้ของกรมสรรพากรมากรอกให้ละเอียด พร้อมแนบหลักฐานรายได้ประจำปี รวมทั้งหลักฐานลดหย่อนต่างๆ แล้วนำไปยื่นเสียภาษี ตามสถานที่ ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

ยื่นแบบภาษีได้ที่ไหนบ้าง ?

1.สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่สาขาที่สะดวกทุกแห่งทั่วประเทศ

2.ทาง Internet ผ่านทางเว็ปไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

หมายเหตุ : หลังจากยื่นแบบภาษีเรียบร้อยแล้ว เราจะทราบว่า

1.เรามีเงินภาษีที่จะต้องจ่ายเพิ่มจากภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเท่าไหร่?

2.เรามีเงินคืนภาษีจากภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเท่าไหร่?

3.เรามีภาษีที่ต้องเสีย เป็นจำนวนเท่าไหร่?

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

ถ้าเราลืมจ่ายภาษีจะต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่?

หากเราไปเสียภาษีหลังจากวันที่ 31 มีนาคม มีเกณฑ์ดังนี้

  • ไม่เกิน 7 วัน ต้องเสียค่าปรับตามจริง ไม่เกิน 2,000 บาท
  • เกิน 7 วัน ต้องเสียค่าปรับ ตามจริงไม่เกิน 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ของยอดภาษีที่ต้องจ่าย

เงินได้   หมายถึง เงินต่างๆ ที่เราได้รับไม่ว่าจะเป็น ผลตอบแทนจากการทำงาน เช่น เงินเดือน หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น

ค่าลดหย่อนภาษี หมายถึง การใช้สิทธิรายการต่างๆ ที่กฎหมายยอมให้นำมาหักจากรายได้ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี

เงินได้พึงประเมิน หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่เราได้รับตลอดทั้งปี ( มกราคม – ธันวาคม ) โดยถือเกณฑ์เงินสด เพื่อนำมาคำนวนภาษี

ค่าใช้จ่าย คือ จำนวนเงินที่เราใช้ไปเพื่อเป็นต้นทุน ระหว่างเกิดรายได้ ซึ่งรัฐบาลยอมให้นำค่าใช้จ่าย มาหักออกจากรายได้ เพื่อคำนวนภาษีเกณฑ์ของการหักค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ที่ได้รับ มาตรา 40(1) – 40(8)

เงินได้สุทธิ  หมายถึง เงินที่คำนวนได้จาก

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

นำผลลัพธ์ที่ได้ไปคำนวนภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า

ประเภทของรายได้ บุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง ?

     บุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้ก็จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา ซึ่งภาษีที่ต้องเสียนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ ขึ้นอยู่กับว่ารายได้ที่เราได้มานั้น มาจากรายได้ประเภทอะไร ซึ่งเงินได้ในแต่ละประเภทจะแบ่งออกมาเป็นรูปแบบ 40(1) – 40(8) ดังนี้

  1. 40(1) รายได้ที่ได้มาจากหน้าที่การงาน การจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน , ค่าจ้าง , โบนัส , OT
  2. 40(2) รายได้ที่ได้มาจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน เช่น ค่ารับจ้าง , ค่านายหน้า , Part-time
  3. 40(3) รายได้ที่ได้มาจากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ เช่น รายได้จากการเขียนหยังสือ หรือ เงินได้ที่มีลักษณะจ่ายรายปี เช่น เงินรายปีจากพินัยกรรม
  4. 40(4) รายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร (เช่นดอกเบี้ยธนาคาร เงินปันผลกองทุนรวม)
  5. 40(5) รายได้ที่ได้มาจากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ายานพาหนะ
  6. 40(6) รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ สถาปนิก วิศวกร บัญชี ประณีตศิลป์ เป็นต้น
  7. 40(7) รายได้ที่มาจากการรับเหมา เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน
  8. 40(8) รายได้ที่มาจากอื่นๆ นอกเหนือจากประเภทที่ 1 – 7

อัตราค่าใช้จ่ายที่หักภาษี ของรายได้แต่ละประเภท

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเสียภาษีเท่าไหร่ ?

วิธีการ คือ ให้นำยอดเงินได้สุทธิ นั้นมาเทียบในตารางอัตราภาษี (ฐานภาษี) เราก็จะทราบว่าเราต้องเสียในอัตราเท่าไหร่ หรือเสียภาษีในฐานกี่เปอร์เซนต์ ในประเทศไทย การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า การคิดภาษีอัตราก้าวหน้า และมีฐานภาษีเริ่มต้นที่ 0% – 35% ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิดังนี้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

จากตารางเป็น อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ การคำนวนอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า

ค่าลดหย่อนมีอะไรบ้าง ?

ค่าลดหย่อน คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษี อย่างหนึ่งอย่างหนึ่ง ให้เสียภาษีน้อยลง เมื่อคำนวนภาษี หรืออาจจะช่วยให้ได้เงินคืนภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายช่วยลดหย่อนภาษีมีดังนี้

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ ซื้อที่อยู่อาศัย
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุน เพื่อการออม (SSF)
  • เงินสมทบ กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เงินบริจาค
  • คู่สมรส
  • เลี้ยงดูบุตร และการศึกษาบุตร
  • เลี้ยงดูบิดามารดา
  • เบี้ยประกันชีวิต
  • เบี้ยประกันสุขภาพ
  • เบี้ยประกันแบบบำนาญ

ช่องทางติดต่อตัวแทน ประกันชีวิต aia

ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือใคร

ให้เราติดต่อกลับ

กรุณาเลือกบริการที่คุณต้องการ เมื่อได้รับข้อความของคุณแล้ว เราจะรีบดำเนินการติดต่อกลับไปยังคุณ ตามรายละเอียดที่ได้แจ้งไว้ ขอบคุณครับ

เข้าสู่ระบบ

บุคคลธรรมดามีใครบ้าง

ดังนั้น เพื่อความชัดเจน คำว่า “บุคคลธรรมดา” เลยให้หมายความรวมถึง คนที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษีด้วยเลย ส่วนประเด็นว่าเมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ใครจะทำหน้าที่เสียภาษีให้แทนนั้น ก็เป็นภาระของผู้จัดการมรดก ทายาท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ต้องทำหน้าที่แทน

ใครคือผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ได้แก่ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ และหมายความรวมถึงนิติบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ด้วย ดังนี้

ใครไม่มีหน้าที่เสียภาษี

1. นิติบุคคลที่เป็นองค์การของรัฐ เช่น กระทรวง ทบวง กรม ส่วนงานราชการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การประปา เป็นต้น 2. นิติบุคคลที่ไม่แสวงหากาไร เช่น วัด หอการค้าจังหวัด พรรคการเมือง สานักงานทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์สหกรณ์สหภาพแรงงาน เป็นต้น

ใครคือผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมรดก

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับมรดก ได้แก่ ผู้ได้รับมรดกจากเจ้ามรดกแต่ละราย ไม่ว่าจะได้รับมาในคราวเดียวหรือหลายคราว ถ้ามรดกที่ได้รับมาจากเจ้ามรดกแต่ละรายรวมกันมีมูลค่าของทรัพย์สินทั้งสิ้นที่ได้รับเป็นมรดก หักด้วยภาระหนี้สินอันตกทอดมาจากการรับมรดกเกิน 100 ล้านบาท ต้องเสียภาษีเฉพาะส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท สำหรับผู้รับมรดก ...