ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น คือใคร

มาตรา 66 องค์การบริหารส่วนตำบลมีอํานาจหน้าที่ในการพัฒนาตําบลทั้งในด้าน เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม มาตรา 67 ภายใต้บังคับแห่งกฏหมาย องค์การบริหารส่วนตําบล มีหน้าที่ต้องทําในเขต องค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้

(๑) จัดให้มีและบํารุงรักษาทางน้ำและทางบก

(๒) รักษาความสะอาดของถนน ทางน้ํา ทางเดิน และที่สาธารณะ รวมทั้งกําจัดมูลฝอย และสิ่งปฏิกูล

(๓) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

(๔) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

(๕) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

(๖) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ

(๗) คุ้มครอง ดูแล และบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

(๘) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น

(๙) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมายโดยจัดสรรงบประมาณหรือบุคลากรให้ ตามความจําเป็นและสมควร มาตรา 68 ภายใต้บังคับแห่งกฏหมาย องค์การบริหารส่วนตําบลอาจจัดทํากิจการใน เขตองค์การบริหารส่วนตําบล ดังต่อไปนี้

ป.ป.ช. แพร่ประกาศกำหนดตำแหน่ง ‘ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น-ผู้ช่วยสภาท้องถิ่น-สมาชิกสภาท้องถิ่น’ 7 ประเภท ตั้งแต่ กทม.-เมืองพัทยา-อบจ.เทศบาลนคร-เทศบาลเมือง-เทศบาลตำบล-อบต. เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องยื่นทรัพย์สินตาม ม.102 พ.ร.บ. ป.ป.ช. ด้วย

ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น คือใคร

ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 20 ส.ค. 2561 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องกำหนดตำแหน่งผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้บริหารท้องถิ่นและผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือสภาท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2561

ประกาศฉบับนี้ ระบุว่า โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้บริหารท้องถิ่น และผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือสภาท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 (พ.ร.บ.ป.ป.ช.) จึงอาศัยอำนาจตามความในบทนิยามของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ป.ป.ช. ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องกำหนดตำแหน่งผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้บริหารท้องถิ่นและผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือสภาท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2561”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นเต้นไป

ข้อ 3 ให้บุคคลที่ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้บริหารท้องถิ่นและผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือสภาท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ เป็นผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.ป.ป.ช.

(1) กรุงเทพมหานคร ได้แก่
(ก) ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
(ข) เลขานุการประธานสภากรุงเทพมหานคร
(ค) เลขานุการรองประธานสภากรุงเทพมหานคร

(2) เมืองพัทยา ได้แก่
(ก) ประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา
(ข) เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา

(3) องค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(4) เทศบาลนคร ได้แก่ ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรี

(5) เทศบาลเมือง ได้แก่ ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรี

(6) เทศบาลตำบล ได้แก่ ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเทศมนตรี

(7) องค์การบริหารส่วนตำบล ได้แก่ เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบล

ข้อ 4 กรณีมีกฎหมายกำหนดให้มีการแต่งตั้งผู้ช่วยเหลือผู้บริหารท้องถิ่น สภาท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกเหนือจาก

ข้อ 3 ให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเป็นผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่นตามประกาศนี้

ข้อ 5 ให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้รักษาการตามประกาศนี้

ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามประกาศนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นที่สุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำแหน่งใหม่ดังกล่าวตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช. ฉบับนี้ จะต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเอกสารประกอบแก่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา 102 (9) แห่ง พ.ร.บ.ป.ป.ช. ปี 2561 ที่ระบุถึงตำแหน่งผู้บริหารท้องถิ่น รองผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กำหนดด้วย (อ่าน พ.ร.บ.ป.ป.ช. ที่นี่)

" บ้านต้อนน่าอยู่  ประตูสู่หนองคาย " ยินดีต้อนรับสู่เมืองบั้งไฟพญานาค "  หนองต้อนนามเรียกขาน ปู่เปงจานแสนศักดิ์สิทธิ์ ถิ่นสถิตเมืองพญานาคา งามสง่าท้องทุ่งนาเขียวทั้งปี อาหารรสชาติดีปลาน้ำโขง พระอาทิตย์อัสดงยามแลง ท้องถิ่นที่แห่งนี้ คือบ้านต้อน โทร.๐๔๒-๔๑๔๙๑๔ E- MAIL : [email protected] 

สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพ ช่วงนี้บ้านเราคงจะลำบากไปอีกพักนะครับ คุณโควิท-19 ที่เข้าวุ่นวายนับไปก็เดือนสองเดือนเข้าไปแล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงเมื่อไร แต่ดูจากสถานการณ์ทั่วโลกแล้วคงไม่จบลงง่ายๆ นะครับ ซ้ำยังมีผลกระทบกับเศรษฐกิจ สังคม ส่วนการเมืองบ้านเราช่วงนี้อาจจะซาลงไปบ้าง การเลือกตั้งท้องถิ่นก็คงหาคำตอบไม่ได้เช่นกันว่าจะนับหนึ่งกันเมื่อใด

ท่านที่ทำหน้าที่ในด้านการเมืองท้องถิ่น ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายสภา ก็ต้องทำหน้าที่ไปพลางก่อนอีกระยะหนึ่งละครับ มาว่าของเราต่อจากคราวที่แล้วพูดถึงคำนิยามที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่นในกฎหมายลูกของ ป.ป.ช.อีกคำ  คือคำว่า “ผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น” ซึ่งตามคำนิยามหมายถึง ผู้ทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้บริหารท้องถิ่น และยังรวมถึงผู้ทําหน้าที่ช่วยเหลือสภาท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย ตามที่ ปปช.กำหนดตำแหน่ง ซึ่งต่อมา ป.ป.ช.มีประกาศ กำหนดตำแหน่งผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้บริหารท้องถิ่นและผู้ทำหน้าที่ช่วยเหลือสภาท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่นของ อปท.เป็นผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่น เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2561 ซึ่งได้แยกแต่ละประเภทของท้องถิ่น ก็คือ

บรรดาที่ปรึกษา เลขานุการของนายก อบจ.นายกเทศมนตรี เลขานุการของนายก อ.บ.ต. ส่วน กทม.ยังมีตำแหน่งประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการของผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ทั้งยังรวมถึงเลขานุการของประธานสภาและรองประธานสภากรุงเทพมหานคร เช่นเดียวกันเมืองพัทยาก็จะมีตำแหน่งประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการนายกเมืองพัทยา เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาเมืองพัทยา

ส่วนที่ว่าคนเหล่านี้ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะต้องรับผิดชอบตามหน้าที่และอำนาจที่กฎหมายกำหนดแล้ว  บางตำแหน่งยังเกี่ยวข้องกับการยื่นแสดงบัญชีรายการทรัพย์สินและหนี้สินอีกด้วย โดย ป.ป.ช.ได้มีประกาศกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยผู้บริหารท้องถิ่นที่ต้องยื่นแสดงรายการทรัพย์สิน ถ้าของ กทม.มีประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา เลขานุการและผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่า กทม.ถ้าเป็นเมืองพัทยามีประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาและเลขานุการนายกเมืองพัทยา ถ้าเป็น อบจ. เทศบาลนคร คนที่เป็นที่ปรึกษา เลขานุการนายก ก็ต้องยื่นเช่นกัน ส่วนวิธีการยื่นอย่างไรได้เคยเล่าในตอนก่อนบ้างแล้วไม่ว่าเรื่องระยะเวลาที่ต้องยื่นเมื่อเข้า เมื่อพ้นภายใน 60 วัน เป็นต้น

ส่วนอีกคำนิยามที่น่าสนใจ คือ “ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง” ซึ่งหมายถึงคนที่เป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล สําหรับข้าราชการพลเรือน และปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการเหล่าทัพสําหรับข้าราชการทหาร และผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ และให้หมายความรวมถึง ผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดกรุงเทพมหานคร กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หัวหน้าหน่วยงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ แต่ไม่รวมถึงผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กรรมการและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานอื่นของรัฐ ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นตามที่กฎหมายกําหนด หรือผู้ซึ่งดํารงตําแหน่งเทียบเท่าตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด

ทั้งนี้ นอกจากคนที่อยู่ในตำแหน่งดังกล่าวอาจถูกกล่าวหาว่าทุจริตหรือกระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่แล้ว ยังต้องยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหนี้สินด้วย ซึ่งอยู่ในหน้าที่และอำนาจของ ป.ป.ช.ที่จะดำเนินการไต่สวนหรือตรวจสอบทรัพย์สินกัน ซึ่งจะว่าในคราวต่อไป ส่วนตำแหน่งอื่นๆ ที่มิใช่ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ของรัฐทั่วๆ ไป เช่นคนที่อยู่ตำแหน่งต่ำกว่าอธิบดี หรือบรรดาเจ้าหน้าที่ของ อปท. ก็เหมือนเจ้าหน้าที่ของรัฐตำแหน่งอื่นๆที่ กล่าวมาแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของ ป.ป.ช.ที่จะไต่สวนในกรณีที่ถูกร้องเรียนว่าทุจริตหรือทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่เช่นกัน เว้นแต่ ป.ป.ช.จะมอบหมายให้หน่วยงานอื่นทำแทน ซึ่งจะว่ากันต่อในเรื่องไต่สวน

มาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านคงจะนึกถึงอีกหน่วยงานหนึ่งซึ่งมิใช่องค์กรอิสระแต่ทำหน้าที่ เหมือน ป.ป.ช.คือ ป.ป.ท.หรือเรียกชื่อเต็มว่า คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ที่เกิดมาเป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรม เมื่อปี 2550 ต่อมาปี 2559 ก็มาขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี ตัวเลขาธิการจากเดิม ซี 10 ก็มาเป็นซีท11 ทุกวันนี้ ซึ่ง ป.ป.ท.ก็ทำหน้าที่เหมือน ป.ป.ช. แต่อยู่กับฝ่ายบริหาร

เมื่อครั้งใช้รัฐธรรมนูญ 2550 ตอนนั้นมีการแบ่งหน้าที่กับ ป.ป.ช. โดยถ้าข้าราชการคนใดที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริตมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้อำนวยการกอง ก็จะส่งให้ ป.ป.ท.ทำ ถ้าเป็นผู้อำนวยการกองขึ้นไป ป.ป.ช.ทำเอง แต่ในกฎหมายลูก ป.ป.ช.ปี 2561 กำหนดให้ในกรณีผู้ที่มีตําแหน่งตั้งแต่อํานวยการระดับสูงหรือเทียบเท่าลงไปถูกกล่าวหาว่าทุจริตหรือกระทําผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกกล่าวหาว่ากระทําผิดในเรื่องที่มิใช่เป็นความผิดร้ายแรง ทั้งนี้ บรรดาที่อยู่ในหน้าที่และอํานาจของ ป.ป.ช. ทาง ป.ป.ช.จะมอบหมายให้คณะกรรมการ ป.ป.ท.ทำแทน ป.ป.ช. ก็ได้ โดย ปปช.จะส่งเรื่องที่รับไว้ให้ ป.ป.ท.ดําเนินการต่อไปภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ป.ป.ช.ได้รับเรื่อง

ส่วนการเทียบตําแหน่งว่าใครตำแหน่งอำนวยสูงหรือเทียบเท่าอย่างไร ป.ป.ช.จะเป็นผู้กําหนด นอกจากนั้น  ป.ป.ช.จะวางหลักเกณฑ์การไต่สวนและการชี้มูลของ ป.ป.ท.ให้สอดคล้องกับการดําเนินการของ ป.ป.ช. รวมถึงกําหนดระยะเวลาให้ทำตามกฎหมายด้วยได้ อีกนิดนะครับจะถึงวิธีการไต่สวนของ ป.ป.ช.ตามกันต่อนะครับ

บริหารท้องถิ่นคืออะไร

หมายถึง การปกครองที่รัฐบาลให้อำนาจหรือการกระจายอำนาจไปให้หน่วยปกครองท้องถิ่นเพื่อเปิดโอกาสให้ ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการปกครองท้องที่และชุมชนโดยมีองค์กรผู้รับผิดชอบ มีอิสระในการใช้ดุลยพินิจมีเจ้าหน้าที่ และงบประมาณในการดำเนินงานแยกออกจากราชการส่วนภูมิภาคแต่องค์กรปกครองท้องถิ่นก็มิได้มีอธิปไตยในตัวเอง ยังต้องอยู่ ...

ส.อบต มีหน้าที่อะไร

สมาชิก อบต. มีหน้าที่.
ให้ความเหน็ชอบแผนพัฒนาตําบล.
ให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับตําบล / ร่างข้อบังคับงบประมาณรายจ่ายประจําปี.
ควบคุมการทํางานของคณะผู้บริหาร.
เข้าร่วมประชุมสภา อบต. ตามสมัยประชุม.

หน่วยงานที่ควบคุมการทำงานของการปกครองส่วนท้องถิ่นคือหน่วยงานใด

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจในความรับผิดชอบ คือ การส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็ง มีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะ โดยการพัฒนาและให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการบริหารงานบุคคล การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การเงิน การคลัง และการบริหาร ...

ใครเป็นประธานสภาตําบล

มาตรา ๑๖ สภาตำบลมีกำนันเป็นประธานสภาตำบล และมีรองประธานสภาตำบลคนหนึ่งซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากสมาชิกสภาตำบลตามมติของสภาตำบล