มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

  • Home
  • Databases
    • ฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด
    • Inhouse Databases>>
      • ฐานข้อมูลดรรชนีบทความวารสาร และเอกสาร
      • ฐานข้อมูลสหบรรณานุกรมห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาไทย (UCTAL)
      • ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ และงานวิจัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
      • วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
      • สื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
      • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาเซี่ยน (ASEAN Community)
    • e-Journals
    • e-Books
    • e-Theses
    • e-News
    • Trial Databases
  • Services
  • e-Contents
    • สนเทศน่ารู้ / สารสนเทศน่ารู้
    • หนังสือแนะนำ
    • เกร็ดความรู้
    • บทความจากหอสมุดกลาง
    • รำลึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช
    • พระบรมราโชวาท และพระราโชวาท
    • จดหมายเหตุดิจิทัล มหาวิทยาลัยรามคำแหง
    • สารสนเทศนิทรรศการทางการศึกษาออนไลน์
    • เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
  • Forum
    • Ask a Librarian
    • ข่าวประชาสัมพันธ์
  • Links
  • Download
  • About us
  • Site map
  • English

ลิงก์เพื่อการศึกษา >> รายชื่อมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

Version : ปีการศึกษา 2558

สำนักข่าว: เด็กดี
URL:  https://www.dek-d.com/board/view/3992362
วันที่เผยแพร่: 22 ก.ย. 2563

การจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของไทยในปีนี้ ซึ่งจัดโดย แควกเควเรลลี ไซมอนด์ส หรือ British Quacquarelli Symonds (QS) เป็นบริษัทจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับมากที่สุดแห่งหนึ่ง มีการจัดอันดับครอบคลุมในหลายมิติ โดยมีเกณฑ์การจัดอันดับคือ

1.ชื่อเสียงทางวิชาการ (30 เปอร์เซนต์) เป้าหมายของตัวชี้วัดนี้เพื่อจะบอกว่ามหาวิทยาลัยใดมีชื่อเสียงในในระดับนานาชาติ
2.การสำรวจผู้จ้างงาน (20 เปอร์เซนต์)
3.อัตราส่วนของคณะต่อนักศึกษา (15 เปอร์เซนต์) วัดจากอัตราส่วนของบุคลากรทางการศึกษาต่อจำนวนนักศึกษา และการติดต่อและให้การสนับสนุนของบุคลากรที่มีต่อนักศึกษา
4.การอ้างอิงในรายงาน (10 เปอร์เซนต์)
5.ผลงานของคณะ (10 เปอร์เซนต์) เป็นการรวมทั้งงานที่อ้างอิงใน Scopus และ การตีพิมพ์ผลงานโดยคณะนั้น ๆ เอง
6.บุคลากรระดับดุษฎีบัณฑิต (5 เปอร์เซนต์)
7.สัดส่วนคณะที่เป็นหลักสูตรนานาชาติ (2.5 เปอร์เซนต์) และนักศึกษาต่างชาติ (2.5 เปอร์เซนต์)
8.สัดส่วนของรับนักศึกษาและเปลี่ยนที่เข้ามาศึกษา (2.5 เปอร์เซนต์) และการส่งนักศึกษาออกไปแลกเปลี่ยน (2.5 เปอร์เซนต์)

ซึ่งในประเทศไทย มีมหาวิทยาลัยติดอันดับในทวีปเอเชียกว่า 20 สถาบัน ได้แก่
1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 45 ของเอเชีย
2. มหาวิทยาลัยมหิดล อันดับที่ 48 ของเอเชีย
3. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันดับที่ 100 ของเอเชีย
4. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อันดับที่ 107 ของเอเชีย
5. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อันดับที่ 127 ของเอเชีย
6. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อันดับที่ 146 ของเอเชีย
7. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อันดับที่ 148 ของเอเชีย
8. มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันดับที่ 160 ของเอเชีย
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อันดับที่ 261-270 ของทวีปเอเชีย
10. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อันดับที่ 271-280
11. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
12. มหาวิทยาลัยศิลปากร
13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
14. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยนเรศวร (ร่วมกัน)
15. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (ร่วมกัน)
16. มหาวิทยาลัยบูรพา
17. มหาวิทยาลัยสยาม

การจัดอันดับนี้ เป็นการจัดอันดับภายในทวีปเอเชีย โดยมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของไทยยังคงเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเช่นเดิม

อ้างอิงจาก
https://www.topuniversities.com/university-rankings/asian-university-rankings/2020

ประเภทของสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน

สถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยถือกำเนิดมาเกือบศตวรรษ จากอดีตถึงปัจจุบัน อาจกล่าวถึงประเภทของสถาบันอุดมศึกษา โดยพิจารณาจากต้นสังกัดที่ถือกำเนิด วัตถุประสงค์ของการจัดตั้ง และกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าเรียน ได้ดังนี้

มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

นิสิตนักศึกษา ๑. สถาบันอุดมศึกษาในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ

ก. สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

กระทรวงศึกษาธิการแบ่งประเภทสถาบันอุดมศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑. มหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และมหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ
๒. สถาบันอาชีวศึกษา และ
๓. วิทยาลัยชุมชน แต่ละประเภท ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยและสถาบัน ได้แก่

๑. มหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วย

๑) มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล หรือที่เรียกว่า "มหาวิทยาลัยนอกระบบ" คือ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ที่มีการบริหารการจัดการอิสระแยกจากระบบราชการ แต่ยังได้รับเงินอุดหนุนทั่วไป ที่รัฐจัดสรรให้ เป็นรายปีโดยตรง เพื่อใช้จ่ายตามความจำเป็นในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย ใน พ.ศ. ๒๕๕๔ มี ๑๕ แห่ง ได้แก่

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยทักษิณ     
มหาวิทยาลัยมหิดล 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 
มหาวิทยาลัยบูรพา     
มหาวิทยาลัยพะเยา 
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

๒) มหาวิทยาลัยในสังกัดของรัฐ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีฐานะเป็นส่วนราชการ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มมหาวิทยาลัยและสถาบัน กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ และกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล แต่ละกลุ่มมีมหาวิทยาลัย ดังนี้
กลุ่ม ๑ มหาวิทยาลัยและสถาบัน มี ๑๕ แห่ง ได้แก่
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยนครพนม
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยรามคำแหง
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
กลุ่ม ๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏ มี ๔๐ แห่ง ได้แก่
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  
มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์   
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา     
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์     
มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม   
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย   
มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม     
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช     
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา     
มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร     
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม     
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์     
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม   
มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด     
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี     
มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย   
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ     
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร     
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต   
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี     
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง     
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
กลุ่ม ๓ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล  มี ๙ แห่ง ได้แก่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร    
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

๒. สถาบันการอาชีวศึกษา เป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งผลิตและพัฒนากำลังคนในด้านวิชาชีพ ตั้งแต่ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ

๓. วิทยาลัยชุมชน เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการผลิตผู้สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญา ทำหน้าที่ให้บริการ การศึกษาระดับสูง และจัดอบรมระยะสั้นให้แก่ชุมชนที่วิทยาลัยตั้งอยู่ ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุน การพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชน จัดการเรียนการสอนแบบเปิดกว้างหลากหลายตามความต้องการ ของชุมชนท้องถิ่น โดยหลักสูตรมีความยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้เรียน ความต้องการแก้ไขปัญหา ความต้องการพัฒนาศักยภาพบุคคลและวิถีชีวิต และความต้องการของตลาดแรงงาน เพื่อเตรียมกำลังคนที่มีความรู้ เข้าสู่ภาคการผลิตจริงในชุมชน เป็นกลไกของชุมชนในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนภายใต้การบริหารจัดการ และดำเนินงาน ด้วยพลังแห่งศรัทธา และความร่วมมือจากบุคคล ตลอดจนหน่วยงานและองค์การต่างๆ ในชุมชนนั้นๆ ไปสู่ระบบการบริหารวิทยาลัยชุมชน ที่เป็นสถานศึกษาของชุมชน ดำเนินงานโดยชุมชน และตอบสนองความต้องการของชุมชน มี ๑๙ แห่ง ได้แก่

วิทยาลัยชุมชนตราด
วิทยาลัยชุมชนนราธิวาส
วิทยาลัยชุมชนปัตตานี
วิทยาลัยชุมชนพังงา
วิทยาลัยชุมชนมุกดาหาร
วิทยาลัยชุมชนยโสธร
วิทยาลัยชุมชนระนอง
วิทยาลัยชุมชนสตูล
วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว
วิทยาลัยชุมชนอุทัยธานี
วิทยาลัยชุมชนตาก 
วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์ 
วิทยาลัยชุมชนแพร่ 
วิทยาลัยชุมชนพิจิตร
วิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน 
วิทยาลัยชุมชนยะลา 
วิทยาลัยชุมชนสงขลา 
วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร 
วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู
มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

วิทยาลัยชุมชนสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร ข. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดแบ่งประเภทของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ

๑. มหาวิทยาลัยเอกชน
๒. สถาบันเอกชน และ
๓. วิทยาลัยเอกชน เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ มหาวิทยาลัย สถาบัน และวิทยาลัย มีผู้รับใบอนุญาตดำเนินการ แต่ละกลุ่มมีรายนาม ดังนี้

๑. มหาวิทยาลัยเอกชน เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี และบางแห่งเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาด้วย มี ๔๐ แห่ง ได้แก่

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ   
มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 
มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น 
มหาวิทยาลัยเกริก 
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต 
มหาวิทยาลัยคริสเตียน 
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา 
มหาวิทยาลัยชินวัตร 
มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร 
มหาวิทยาลัยธนบุรี 
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 
มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ 
มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด 
มหาวิทยาลัยนานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 
มหาวิทยาลัยปทุมธานี 
มหาวิทยาลัยพายัพ 
มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 
มหาวิทยาลัยภาคกลาง 
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
มหาวิทยาลัยโยนก 
มหาวิทยาลัยรังสิต 
มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 
มหาวิทยาลัยราชธานี 
มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 
มหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ (ประเทศไทย) 
มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น 
มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
มหาวิทยาลัยสยาม 
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ 
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ 
มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา 
มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 
มหาวิทยาลัยอีสาน 
มหาวิทยาลัยเอเชียน 
มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
มหาวิทยาลัยพิษณุโลก
มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ๒. สถาบันเอกชน เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนเฉพาะทางในระดับปริญญา มี ๘ สถาบัน ได้แก่
สถาบันกันตนา 
สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน 
สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ 
สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา 
สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์
สถาบันรัชต์ภาคย์ 
สถาบันอาศรมศิลป์

มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

สถาบันอาศรมศิลป์ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ เปิดสอนด้านศิลปะเฉพาะทาง ๓. วิทยาลัยเอกชน เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนในระดับปริญญา มี ๒๓ แห่ง ได้แก่
วิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ 
วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา 
วิทยาลัยเฉลิมกาญจนาระยอง 
วิทยาลัยเชียงราย 
วิทยาลัยเซนต์หลุยส์ 
วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก 
วิทยาลัยดุสิตธานี 
วิทยาลัยตาปี 
วิทยาลัยทองสุข 
วิทยาลัยเทคโนโลยีพนมวันท์ 
วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
วิทยาลัยสยาม 
วิทยาลัยนครราชสีมา 
วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา 
วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
วิทยาลัยพิชญบัณฑิต 
วิทยาลัยพุทธศาสนานานาชาติ 
วิทยาลัยราชพฤกษ์
วิทยาลัยลุ่มน้ำปิง 
วิทยาลัยศรีโสภณ 
วิทยาลัยสันตพล 
วิทยาลัยแสงธรรม 
วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง

มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

วิทยาลัยราชพฤกษ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ๒. สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงและหน่วยงานอื่น

เป็นสถาบันอุดมศึกษาสังกัดภาครัฐ และส่วนใหญ่เป็นสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทาง จัดตั้งขึ้น เพื่อผลิตบุคลากรเข้าทำงานในสายงานวิชาการ วิชาชีพของหน่วยงานนั้นๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

กระทรวงกลาโหม เช่น โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายเรือ โรงเรียนนายเรืออากาศ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เช่น สถาบันการพลศึกษา

กระทรวงคมนาคม เช่น สถาบันการบินพลเรือน ศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี

กระทรวงวัฒนธรรม
  เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

กระทรวงสาธารณสุข เช่น สถาบันพระบรมราชชนก ประกอบด้วย วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ๒๙ แห่ง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร ๗ แห่ง วิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก วิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

สถาบันพลศึกษาวิทยาเขตชุมพร จังหวัดชุมพร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เช่น โรงเรียนนายร้อยตำรวจ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ   

กรุงเทพมหานคร เช่น มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

มหาวิทยาลัยใดในประเทศไทย

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม