พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์


         พลานาเรีย (planaria) เป็นสัตว์จำพวกหนอนตัวแบนที่จัดอยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (platyhelminthes) ได้แก่ พลานาเรีย พยาธิใบไม้และพยาธิตัวตืด อาหารของพลานาเรีย ได้แก่ พวกเนื้อสัตว์ชิ้นเล็ก ๆ ตัวอ่อนของแมลง ไรน้ำ หนอนเล็กๆ ทางเดินอาหารของพลานาเรียมี 3 แฉก ปากอยู่บริเวณกลางลำตัวและมีงวงหรือ โพรบอซิส (probosis) ที่ยืดหดได้ ทางเดินอาหารแยกไปทางส่วนตัว 1 แฉก และแยกออกทางด้านข้างลำตัวอีก 2 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแตกแขนงแยกย่อยออกไปอีก เรียกว่า ไดเวอร์ทิคิวลัม (diverticulum) โพรบอซิส มีหน้าที่ช่วยจับอาหารเข้าสู่ปาก ต่อจากนั้นอาหารจะถูกขับออกทางเดินอาหารซึ่งจะถูกย่อยและดูดซึมไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายต่อไป ส่วนกากอาหารก็จะถูกขับออกทางปาก เช่นเดียวกับไฮดรา เพราะมีทางเดินอาหารที่มีช่องเปิดเพียงทางเดียว

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

ภาพแสดงลักษณะภายในของทางเดินอาหารของพลานาเรีย
 

         การย่อยอาหารของพยาธิใบไม้ ทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยปากอยู่ทางด้านบนสุดต่อจากปากเป็นคอหอย (pharynx) ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อหนา ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้น ๆ ซึ่งจะต่อกับลำไส้ (intestine) ซึ่งแตกแขนงเป็น 2 แฉกใหญ่ ๆ อยู่ข้างลำตัว แต่ละแฉกยังมีแฉกย่อยอีกมากมายแยกออกไปทั่วร่างกาย แขนงย่อยหรือไดเวอร์ทิคิวลัมนี้ ช่วยเพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดซึมอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง โดยไม่ต้องอาศัยระบบการลำเลียงโดยเฉพาะส่วนกากอาหารก็ถูกกำจัดออกทางปากเช่นเดียวกับไฮดราและพลานาเรีย

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

ภาพแสดงลักษณะภายในของทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้
 

          การย่อยอาหารของพยาธิตัวตืด พยาธิตัวตืดเป็นสัตว์ไม่มีระบบทางเดินอาหาร ที่ส่วนหัวของพยาธิตัวตืดมีแว่นดูด (sucler) ทำหน้าที่ดูกเกาะตัวถูกเบียนหรือโฮสต์ (host) ในพยาธิตัวตืด หมูและพยาธิตัวตืดวัว มีแว่นดูด 4 อัน นอกจากนี้ยังมีขอ (hook) ซึ่งทำหน้าที่เกาะและยึดติดกับผนังลำไส้ของตัวถูกเบียน พยาธิตัวตืดได้อาหารโดยการแพร่ของสารอาหารที่ย่อยแล้วผ้านเข้าทางผิว ลำตัวและสะสมเป็นไกลโคเจน ซึ่งจะเป็นแหล่งของพลังงาน ถ้าพยาธิตัวตืดขาดแคลนอาหารจะนำไกลโคเจนมาใช้และถ้าหมดจะนำไข่แดงมาใช้ ถ้าไข่แดงหมดจะนำอวัยวะสืบพันธุ์มาใช้ ซึ่งทำให้ตัวมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และตายยากมาก


ภาพแสดงลักษณะภายในของทางเดินอาหารของพยาธิตัวตืด

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

การย่อยอาหารของสัตว์บางชนิดที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ (Incomplete  digestive  tract)

     เป็นทางเดินอาหารที่มีทางเปิดทางเดียว คือ มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ปากทำหน้าที่เป็นทางเข้าของอาหารและทางออกของกากอาหาร ระบบทางเดินอาหารยังไม่พัฒนามากนัก

      1. ไฮดรา (Hydra) เป็นสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย (Phylum Cnidaria ชื่อวิทยาศาสตร์Cnidaria หรือ เคยมีชื่อว่า ไฟลัมซีเลนเตอราตา หรือพวก ซีเลนเตอเรต (ชื่อวิทยาศาสตร์Coelenterate) เป็นกลุ่มสัตว์ที่มีรูปร่างทรงกระบอก มีโพรงในลำตัว และมีเข็มพิษ เช่น แมงกะพรุน ดอกไม้ทะเล ไฮดรา)มีทางเดินอาหารเป็นแบบปากถุง (One hole sac) ไฮดราใช้อวัยวะคล้ายหนวด  เรียกว่า หนวดจับ Tentacle) ซึ่งมีอยู่รอบปาก อาหารของไฮดราคือ ตัวอ่อนของกุ้ง ปู และไรน้ำเล็กๆ และใช้เซลล์ที่มี นีมาโทซิสต์ Nematocyst) หรือเข็มพิษที่อยู่ที่ปลายหนวดจับในการล่าเหยื่อ ต่อจากนั้นจึงส่งเหยื่อเข้าปาก ทางเดินอาหารของไฮดราอยู่กลางลำตัวเป็นท่อกลวงเรียกว่า ช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular cavity) ซึ่งบุด้วยเซลล์ทรงสูง เรียกว่า ชั้นแกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) เป็นเยื่อชั้นในบุช่องว่างของลำตัวซึ่งประกอบด้วย

1. เซลล์ย่อยอาหาร (Digestive or Nutritive Cell) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า Gland Cell ส่วนปลายมีแฟลเจลลัมทำหน้าที่จับอาหารที่มีขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์ สามารถสร้าง Food Vacuole ได้แบบเดียวกับอะมีบา เกิดการย่อยภายในเซลล์ (Intracellular Digestion) 

2. เซลล์ต่อมหรือเซลล์ย่อยอาหาร (Gland cell or digestive cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยส่งอกไปย่อยอาหารที่อยู่ใน Gastrovascular Cavity ซึ่งเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular Digestion) กากอาหารจะถูกขับถ่ายออกทางช่องปาก

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 1.1 ภาพตัดขวางและตามยาวแสดงโครงสร้างภายในของไฮดรา

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 1.2 แสดงลักษณะของเซลล์ในผนังลำตัวของไฮดรา 

วีดิโอ 1.1 การกินอาหารของไฮดรา

     2. หนอนตัวแบน  เป็นสัตว์ที่อยู่ในไฟลัมแพลทีเฮลมินทิส (Phylum Platyhelminthes)ได้แก่ พลานาเรีย พยาธิใบไม้ และพยาธิตัวตืด

      2.1. พลานาเรีย ทางเดินอาหารของพลานาเรียเป็นแบบ 3 แฉก แต่ละแฉกจะมีแขนงของทางเดินอาหารแตกแขนงย่อยออกไปอีก เรียกว่า ไดเวอร์ทิคิวลัม (Diverticulum) ปากอยู่บริเวณกลางลำตัว ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) มีลักษณะคล้ายงวงยาวหรือโพเบอซิส (Probosis) มีกล้ามเนื้อแข็งแรง มีหน้าที่จับอาหารเข้าสู่ปาก กากอาหารที่เหลือจากการย่อยและดูดซึมแล้วจะถูกขับออกทางช่องปากเช่นเดิม การย่อยอาหารของพลานาเรียเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ นอกจากนี้เซลล์บุผนังช่องทางเดินอาหารยังสามารถใช้วิธีฟาโกไซโทซิสจับอาหารเข้ามาย่อยภายในเซลล์ได้ด้วย

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 2.1 โครงสร้างภายในของพลานาเรีย

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 2.2 ภาพตัดขวางลำตัว แสดงโครงสร้างภายในของพลานาเรีย

วีดิโอ 2.1 การกินอาหารของพลานาเรีย

     2.2 พยาธิใบไม้ มีทางเดินอาหารคล้ายพลานาเรีย แต่ทางเดินอาหารส่วนลำไส้ไม่แตกกิ่งก้านสาขา มีลักษณะคล้ายอักษรรูปตัววาย (Y–shape) ทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้ประกอบด้วยปากปุ่มดูด (Oral sucker) ที่มีปากดูดกินอาหารจากโฮสต์ ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) ต่อจากคอหอยเป็นหลอดอาหารสั้นๆ ซึ่งจะต่อกับลำไส้ (Intestine)

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 2.3 โครงสร้างภายในของพยาธิใบไม้

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 2.4 อวัยวะในระบบทางเดินอาหารของพยาธิใบไม้

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 2.5 วัฏจักรชีวิตของพยาธิใบไม้ตับ

     2.3 พยาธิตัวตืด ไม่มีระบบทางเดินอาหาร เพราะอาหารที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายส่วนใหญ่ถูกแปรสภาพเรียบร้อยแล้วโดยผู้ถูกอาศัย ใช้กระบวนการแพร่ของสารอาหารที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 2.6 ขนาดของพยาธิตัวตืด

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 2.7 วัฎจักรชีวิตของพยาธิตัวตืด

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

รูปที่ 2.8 ลักษณะของพยาธิตัวตืด

พยาธิชนิดใดมีทางเดินอาหารสมบูรณ์

แบบฝึกหัด

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียนอธิบายเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของสัตว์

1. สรุปการกินอาหารของฟองน้ำ 

2. สรุปการทำงานของเซลล์โคเอโนไซต์ (Choanocyte cell) และเซลล์อะมีโบไซต์ (Amoebocyte cell)

3. สรุปการกินและการย่อยอาหารของไฮดรา

4. cnidocyte cell ของไฮดรามีความสำคัญอบ่างไร

5. สรุปการกินและการย่อยอาหารของพลานาเรีย

สัตว์ชนิดใดที่มีทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์

สัตว์บางชนิดเช่น ไส้เดือนดิน แมลงและสัตว์มีกระดูกสันหลังมีระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ คือมีปากและทวารหนัก ระบบทางเดินอาหารของสัตว์เหล่านี้จะมีโครงสร้างรายละเอียดบางอย่างแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและพฤติกรรมการกิน

พยาธิตัวตืดมีทางเดินอาหารแบบใด

พยาธิใบไม้ได้อาหารโดยการดูดกินเข้าทางปาก อาหารส่วนใหญ่คือเลือดของผู้ถูกอาศัย จึงไม่ ต้องผ่านการย่อยมากนัก ส่วนพยาธิตัวตืดได้รับอาหารโดยการดูดซึมจากผู้ถูกอาศัยผ่านผนังลําตัวและ เซลล์นําอาหารนั้นไปใช้ได้โดยไม่ต้องย่อยอีกแตกต่างจากพลานาเรียกินอินทรีย์สารซึ่งอยู่นอกร่างกาย โดยใช้ปากดูดอาหารเข้ามาในทางเดินอาหาร และทําการ ...

Incomplete Digestive Track พบในข้อใด

5.1 ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete digestive tract) เป็นทางเดินอาหารของสัตว์ที่มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก หรือมีช่องทางเดินอาหารเข้าออกทางเดียวกันหรือทางเดินอาหารแบบปากถุง (one-hole-sac) ได้แก่ พวกไฮดรา แมงกะพรุน หนอนตัวแบน