วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

(พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร วัดประจำราชกาลที่ ๑)

วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่าที่เมืองบางกอกครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวงข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้แท่นประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระอุโบสถ เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุด สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตามแบบศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย และขยายใหญ่ขึ้นเท่าที่เห็นในสมัยรัชกาลที่ ๓

พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากร

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์อยู่ในบริเวณกำแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่พระมหาเจดีย์ที่มีองค์ประกอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว นามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชรดาญาณ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑ พระมหาเจดีย์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ ๒ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๒ พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์

พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือน้ำเงินเข้ม เป็นพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย นามว่า พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. ชาวต่างชาติจะต้องซื้อบัตรเข้าชมคนละ 20 บาท สำหรับนักท่องเที่ยวต้องแต่งกายสุภาพ สุภาพสตรี ห้ามสวมกางเกงขาสั้นเหนือเข่า เข้าไปเที่ยวชม

วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

การเดินทาง

-เดินทางโดยรถประจำทาง สาย 1, 3, 6, 9, 12, 25, 43, 44, 47, 53, 60, 82, 91, 123,

-รถปรับอากาศ สาย 501, 508

แผนที่

วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

 พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ 1 เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เดิมมีชื่อว่า วัดโพธาราม พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์เมื่อทรงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ประดับกระเบื้องเคลือบสีเขียวบรรจุพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่แห่งกรุงศรีอยุธยา ซึ่งถูกพม่าเผาปรักหักพัง เกินที่จะปฏิสังขรณ์ใหม่ได้ แล้วถวายพระนามพระมหาเจดีย์องค์นี้ว่า พระเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณและพระราชทานนามวัดนี้เสียใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

     ในรัชกาลต่อ ๆ มา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และ 4ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ประจำรัชกาลขึ้นรวมในหมู่เดียวกับพระเจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ จึงเป็นหมู่พระมหาเจดีย์ทั้งสี่ มีสีเขียว สีเหลือง สีแสด และสีขาบ (สีน้ำเงินปนม่วง) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้สร้างกำแพงแก้วล้อมชิดองค์พระเจดีย์ทั้งสี่ไว้ จึงมิได้มีพระเจดีย์ประจำรัชกาลหลัง ๆ อยู่ในหมู่นี้ด้วย

     ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นงานใหญ่ แล้วโปรดเกล้าฯ ให้จารึกตัวอย่างโคลงกลอนบทต่าง ๆ ฉันท์ และตำรายาไทยตามฝาผนังพระระเบียง และตามเสาศาลาราย ตลอดจนโปรดให้ปลูกพันธ์ไม้ที่เป็นยานานาชนิดไว้ในบริเวณลานวัด ให้สร้างรูปฤาษีดัดตนท่าต่าง ๆ ไว้เป็นแบบตำราหมอนวด จึงนับได้ว่าทรงจัดให้วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นศูนย์รวมวิทยาการอันมีอยู่ในสมัยนั้น

วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

รัชกาลที่ 2 : วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

  พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร วัดประจำรัชกาลที่ 2 วัดอรุณราชวราราม เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เดิมเรียกว่า "วัดมะกอก" ตามชื่อตำบลบางมะกอกซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งวัด ภายหลังเปลี่ยนเป็น "วัดมะกอกนอก" เพราะมีวัดสร้างขึ้นใหม่ในตำบลเดียวกันแต่ อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ชื่อ "วัดมะกอกใน" ต่อมาใน พ.ศ. 2310 เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรีจึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้าวัดมะกอกนอกนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอกเป็น "วัดแจ้ง" เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งนิมิตที่ได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง 
     เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยามาตั้ง ณ กรุงธนบุรีและได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตั้งอยู่กลาง พระราชวังจึงไม่โปรดให้มีพระสงฆ์จำพรรษา นอกจากนั้นในช่วงเวลาที่กรุงธนบุรีเป็น ราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้าน คู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐาน พระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่งสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ได้ อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์นี้มาจากลาวในคราวที่เสด็จตีเมืองเวียงจันทร์ ได้ในปี พ.ศ. 2322โดยโปรดให้อัญเชิญ พระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐาน
     เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (ร. 2) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้งไว้ในมณฑป และมีการสมโภชใหญ่ 7 คืน 7 วัน(ในปี พ.ศ. 2327 พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดพระราชทานคืนไปนครเวียงจันทร์) แต่สำเร็จเพียงแค่กุฎีสงฆ์ก็สิ้นรัชกาลที่ 1 ใน พ.ศ. 2352 เสียก่อน 
     ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ ทั้งได้ทรงปั้นหุ่นพระพุทธรูปด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน ในพระอุโบสถ และโปรดให้มีมหรสพสมโภชฉลองวัดในปี พ.ศ. 2363 แล้วโปรดพระราชทาน พระนามวัดว่า "วัดอรุณราชธาราม"

     ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรดให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้น จนสำเร็จเป็นพระเจดีย์สูง 1 เส้น 13 วา 1 ศอก 1 คืบ กับ 1 นิ้ว ฐานกลมวัดโดยรอบได้ 5 เส้น 37 วา ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่าง ๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ 3 ในปี พ.ศ. 2394

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์ สิ่งต่าง ๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง ทั้งยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของ พระประธานในพระอุโบสถที่พระองค์ ทรงพระราชทานนามว่า "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้พระราชทานนาม วัดเสียใหม่ว่า "วัดอรุณราชวราราม" ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน

     ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เกิดเพลิงไหม้พระอุโบสถ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่เกือบทั้งหมด โดยได้โปรดให้กรมหมื่นปราบปรปักษ์เป็นแม่กองในการบูรณะ และโปรดเกล้าฯให้นำเงิน ที่เหลือจากการบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ไปสร้างโรงเรียนตรงบริเวณกุฎีเก่า ด้านเหนือ ซึ่งชำรุดไม่มีพระสงฆ์อยู่เป็นตึกใหญ่แล้วพระราชทานนามว่า "โรงเรียนทวีธาภิเศก" นอกจากนั้นยังได้โปรดให้พระยาราชสงครามเป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระปรางค์ องค์ใหญ่ และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองใหญ่รวม 3 งานพร้อมกันเป็นเวลา 9 วัน คือ งานฉลองพระไชยนวรัฐ งานบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล คือ มีพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และ งานฉลองพระปรางค์ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 มีการบูรณะปฏิสังขรณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์ เป็นการใหญ่มีการประกอบพิธีบวงสรวงก่อนเริ่มการบูรณะพระปรางค์ใน วันพุธที่ 27 ธันวาคม 2510 และการบูรณะก็สำเร็จด้วยดีดังเห็นเป็นสง่างามอยู่จนทุกวันนี้

วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

รัชกาลที่ 3 : วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร

 วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นเอก วัดประจำรัชกาลที่ 3 ตั้งอยู่ริมคลองสนามไชย ฝั่งตะวันตก (ฝั่งธนบุรี) และติดคลองบางหว้า ทางด้านทิศเหนือของวัด ตั้งอยู่เลขที่ 258 เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร วัดราชโอรสเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร และถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 3 แห่งบรมราชวงศ์จักรี เป็นวัดโบราณมีมาก่อนสร้างกรุงสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ เป็นวัดราษฎร์ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกว่า "วัดจอมทอง" บ้าง "วัดเจ้าทอง" บ้าง หรือ "วัดกองทอง" บ้าง ในสมัยราชกาลที่ 3 พ.ศ. 2363 มีข่าวว่าพม่าตระเตรียมกำลังจะยกเข้ามาตีประเทศสยาม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3) ทรงเป็นแม่ทัพคุมพลไปขัดตาทัพพม่าทางเจดีย์ 3 องค์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้เสด็จประทับแรมที่หน้าวัดจอมทองนี้ และทรงทำพิธีเบิกโขลนทวาร ตามลักษณะพิชัยสงคราม ทรงอธิษฐานให้ประสบความสำเร็จกลับมาโดยสวัสดิภาพ แต่พม่าไม่ได้ยกทัพมาตามที่เล่าลือกันและเมื่อพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงเลิกทัพเสด็จกลับพระนครแล้ว จึงโปรดให้ปฏิสังขรณ์วัดจอมทองใหม่ทั้งวัด และถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า "วัดราชโอรส" ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงสถาปนาวัดนี้ ในขณะที่ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอก็ตาม แต่เนื่องจากทรงสถาปนาเป็นการส่วนพระองค์ จึงทรงพระราชดำริเปลี่ยนแปลงแบบอย่างศิลปกรรมตามความพระราชหฤทัย ดังนั้น วัดราชโอรสจึงตกแต่งด้วยศิลปะจีนเป็นส่วนมาก นับเป็นวัดแรกที่เป็นวัดที่คิดสร้างออกนอกแบบอย่างวัด ซึ่งสร้างกันอย่างสามัญ ศิลปกรรมไทยที่มีอยู่ในวัดนี้ พระองค์ทรงสร้างได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนงดงามยิ่งนัก อย่างหาที่ติมิได้ เช่น โบสถ์ วิหาร ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แต่หลังคาโบสถ์เป็นกระเบื้องเคลือบแบบไทย กุฏิพระสงฆ์เป็นอาคารตึกแทนเรือนไม้แบบของเดิมการประดับตกแต่งต่างๆ เป็นแบบจีนผสมไทย เช่น บานประตูหน้าต่างพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ประดับด้วยเสี้ยวกางแทนลายเทพนม หรือลายไทยแบบของเดิม หน้าบันพระอุโบสถ และพระวิหารประดับพระเบื้องเคลือบสี จึงนับเป็นครั้งแรกที่มีการประยุกต์ศิลปกรรมได้อย่างประณีต เหมาะสม เป็นสัญลักษณ์แห่งศาสนสถานได้อย่างสง่า และงดงาม

สิ่งสำคัญในพระอาราม

1. พระอุโบสถ มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมผสมระหว่างไทย และจีน หลังคาเป็นแบบจีนแต่มุงกระเบื้องสีแบบไทย ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันประดับกระเบื้องเคลือบสีต่างๆ สวยงาม แต่งเป็นรูปแจกันดอกเบญจมาศ มีรูปสัตว์มงคลตามคติของจีน คือ มังกร หงส์ และนกยูง ตอนล่างเป็นภาพทิวทัศน์มีบ้านเรือน สัตว์เลี้ยงภูเขา ต้นไม้ ตามขอบหลังคาประดับกระเบื้องสี และถ้วยชามโดยรอบ ซุ้มประตูหน้าต่างประดับกระเบื้องสี ซุ้มประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นประดิษฐ์เป็นลวดลายดอกเบญจมาศ บานประตูด้านนอกประดับมุกลายมังกรดั้นเมฆ ฝีมือละเอียดประณีต ด้านในเขียนรูปทวารบาลแบบจีน ผนังด้านในพระอุโบสถเขียนเป็นลายเครื่องบูชาแบบจีน บางช่วงมีความหมายในการให้พร ฮก ลก ซิ่ว ตามคติของจีน บนเพดานเขียนดอกเบญจมาศ ทองบนพื้นสีแดง

2. พระพุทธอนันตคุณอดุลญาณบพิตร พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ 1 วา 2 ศอก หรือประมาณ 3.10 เมตร สูงประมาณ 2 วา 1 ศอก หรือ ประมาณ 4.50 เมตร พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฏ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระสรีรังคาร ของพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ที่ฐานพระพุทธรูป พร้อมกับถวายพระปรมาภิไธยประจำรัชกาล และศิลาจารึกดวงชันษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานนพปฎลมหาเศวตฉัตร ( ฉัตร 9 ชั้น ) พ.ศ. 2504 พระพุทธรูปองค์นี้กล่าวว่า เป็นพระพุทธรูปที่สร้างได้งดงามกว่า พระพุทธรูปองค์อื่นที่สร้างในสมัยเดียวกัน

3. พระแท่นที่ประทับใต้ต้นพิกุล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นหมื่นเจษฎาบดินทร์ เมื่อทรงเสด็จมาทรงคุมงานและตรวจการก่อสร้าง ได้ประทับที่พระแท่นใต้ต้นพิกุลใหญ่ที่อยู่ตรงด้านหน้าทางด้านซ้ายของพระอุโบสถ และเล่ากันว่าเคยรับสั่งไว้ว่า "ถ้าฉันตายจะมาอยู่ที่ใต้ต้นพิกุลนี้ " อาจจะเป็นเพราะพระราชดำรัสนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ที่เสด็จมาพระอารามนี้ จะมาทรงถวายสักการะที่พระแท่นนี้เสมอจนกลายเป็นประเพณี และเวลาเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระราชกฐินหรือเจ้านายเสด็จในการทอดกฐินพระราชทาน เจ้าหน้าที่จะตั้งเครื่องมุกไว้ทรงสักการะ ณ ต้นพิกุลนี้ทุกครั้ง

4. ถะ (สถูปเจดีย์) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นสถูปแบบจีน มีทรงเหลี่ยมซ้อนกัน 5 ชั้น สูงประมาณ 5-6 วา ยอดเป็นรูปทรงน้ำเต้า ถัดมาเป้นทรงเหลี่ยมซ้อนกันเป็นชั้นๆ ในแต่ละเหลี่ยมเจาะเป็นช่อง เว้นระยะโดยรอบ ถะ หรือ สถูปองค์นี้ ก่อด้วยอิฐถือปูนปิดทึบ ภายนอกเป็นแผ่นหินอ่อนสลักรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า และลวดลายปะติดไว้ด้านนอก

5. พระวิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถในเขตกำแพงแก้วเช่นเดียวกัน แต่พระวิหารมีกำแพงแก้วล้อมรอบโดยเฉพาะอีกชั้นหนึ่ง เป็นพระวิหารขนาดใหญ่ ภายในประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ปูนปั้นขนาดยาว 20 เมตร ที่บานประตู และบานหน้าต่างด้านนอกประดับด้วยลายปูนปั้นที่เรียกว่า กระแหนะ เป็นรูปเลี้ยวกางแบบไทย ยืนอยู่บนประแจจีน ประดับด้วยแจกันดอกเบญจมาศและพานผลไม้ เช่น ทับทิม ส้มมือ ลิ้นจี่ มังคุด และน้อยหน่า เป็นต้น เพดานพระวิหารเขียนลายดอกเบญจมาศ นก และผีเสื้อ สีสวยงาม และหน้าบันประดับด้วยกระเบื้องสีเป็นลายดอกเบญจมาศและรูปสัตว์มงคลของจีน เช่นเดียวกับหน้าบันพระอุโบสถ โดยรอบลานพระวิหารมีสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองประดิษฐานอยู่ 32 องค์ ที่ผนังพระระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ มีแผ่นหินอ่อนจารึกตำรายาและตำราหมอนวด ติดเป็นระยะๆ จำนวนทั้งสิ้น 92 แผ่น โดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

6. ศาลาการเปรียญ อยู่ทางด้านขวาของพระอุโบสถ เป็นอาคารที่มีลักษณะผสมทางศิลปกรรม ระหว่างไทยและจีน เช่นเดียวกัน หลังคาเป็นแบบจีน ลด 2 ชั้น แต่มุงกระเบื้องแบบไทย บนหลังคาประดับรูปถะ ระหว่างมังกรกระเบื้องเคลือบสีอย่างศาลเจ้าจีน ผนังด้านนอกตอนบนเขียนรูปผลไม้ เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล (ฮก ลก ซิ่ว) เช่น ส้มมือ หมายถึง การมีวาสนาสูง ทับทิม หมายถึง ความมั่นคงอุดมสมบูรณ์ และผลท้อ หมายถึง การมีอายุยืน พระประธานในศาลาการเปรียญเป็นพระพุทธรูปปั้นปางประทาน พระธรรมเทศนา ถือตาลปัตร

วัดใดคือวัดประจำรัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

วัดใดเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างวัดอะไร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรและพระอารม ต่างๆ เช่น พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดราชบุรณ วัดพระเชตุพนวิมลลังคลาราม วัดระฆังโฆสิตา ราม วัดดุสิดาราม เป็นต้น รวมทั้งศิลปวัตถุต่างๆ ซึ่งเป็นสมบัติของชาติสืบมาจนปัจจุบัน

วัดประจำรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวคือวัดใด

รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร

วัดประจำรัชกาลที่ 1 10 ได้แก่ วัดอะไรบ้าง

วัดประจำรัชกาลแห่งราชวงศ์จักรีที่คนไทยทุกคนต้องรู้!.
วัดประจำรัชกาลที่ 1 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ... .
วัดประจำรัชกาลที่ 2 วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง) ... .
วัดประจำรัชกาลที่ 3 วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ... .
วัดประจำรัชกาลที่ 4 วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร.