ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง

        

การอ่านออกเสียงร้อยกรอง

                          การอ่านออกเสียงร้อยกรอง เป็นการอ่านที่มุ่งให้เกิดความเพลิดเพลินซาบซึ้งในรสของคำประพันธ์ ซึ่งจะต้องอ่านอย่างมีจังหวะ ลีลา และท่วงทำนองตามลักษณะคำประพันธ์เเต่ละชนิด
การอ่านบทร้อยกรอง อ่านได้ ๒ แบบ ดังนี้
๑.  อ่านออกเสียงธรรมดา เป็นการอ่านออกเสียงพูด ตามปกติเหมือนกับอ่านร้อยแก้ว แต่มีจังหวะวรรคตอน
๒.  อ่านเป็นทำนองเสนาะ เป็นการอ่านมีสำเนียงสูง ต่ำ หนัก เบา ยาว สั้นเป็นทำนองเหมือนเสียงดนตรี มีการเอื้อนเสียง เน้นสัมผัส ตามจังหวะ ลีลาและท่วงทำนองตามลักษณะบังคับของบทประพันธ์ให้ชัดเจนเเละเหมาะสม

หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงร้อยกรอง
๑.  ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การเเบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์ เสียงหนักเบา เป็นต้น
๒.  อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์
๓.  อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
๔.  อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
๕.  คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
๖.  มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท

ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง
การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้
๑.  ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น
๒.  ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านเเละขณะกำลังอ่าน เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
๓.  ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผัวรรณยุกต์ และอื่นๆ
๔.  พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ
๕.  หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่างๆอยู่เสมอ จึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ

คุณค่าของการอ่านทำนองเสนาะ
๑.  ผู้ฟังเห็นความงามของบทร้อยกรองที่อ่าน
๒.  ผู้ฟังได้รับความไพเราะและเกิดความซาบซึ้ง
๓.  เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
๔.  จดจำบทร้อยกรองได้รวดเร็วเเม่นยำ
๕.  ช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เป็นคนอ่อนโยน
๖.  ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมในการอ่านทำนองเสนาะไว้เป็นมรดกของชาติ

วิธีการอ่านทำนองเสนาะจากคำประพันธ์
กลอนสุภาพ นิยมอ่านเสียงสูง ๒ วรรค และเสียงต่ำ ๒ วรรค
การเเบ่งจังหวะวรรคในการอ่าน มีดังนี้
วรรคละ ๖ คำ อ่าน    ๒/๒/๒    OO/OO/OO
วรรคละ ๗ คำ อ่าน    ๒/๒/๓    OO/OO/OOO
วรรคละ ๘ คำ อ่าน    ๓/๒/๓    OOO/OO/OOO
วรคคละ ๙ คำ อ่าน    ๓/๓/๓    OOO/OOO/OOO
ตัวอย่าง
การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๖ คำ
ไผ่ซอ/อ้อเสียด/เบียดออด//         ลมลอด/ไล่เลี้ยว/เยวไผ่//
ออดเเอด/แอดออด/ยอดไกว//      แพใบ/ไล้น้ำ/ลำคลอง//
การเเบ่งจังหวะวรรคละ ๘ คำ
เเล้วสอนว่า/อย่าไว้/ใจมนุษย์         มันเเสนสุด/ลึกล้ำ/เหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย?/พันเกี่ยว/ที่เลี้ยวลด//   ก็ไม่คด/เหมือนหนึ่งใน/น้ำใจคน//

กาพย์ยานี ๑๑ มีจำนวนคำ ๑๑ คำ นิยมอ่านเสียงสูงกว่าปกติจึงจะเกิดความไพเราะ
การเเบ่งจังหวะวรรดในการอ่าน มีดังนี้
วรรคหน้า ๕ คำ อ่าน     ๒/๓     OO/OOO
วรรคหลัง ๖ คำ อ่าน     ๓/๓     OOO/OOO
ตัวอย่าง การเเบ่งจังหวะกาพย์ยานี ๑๑
เรื่อยเรื่อย/มารอนรอน//           ทิพากร/จะตกต่ำ//
สนธยา/จะใกล้ค่ำ//                          คำนึงหน้า/เจ้าตราตรู
เรื่อยเรื่อย/มาเรียงเรียง//          นกบินเฉียง/ไปทั้งหมู่//
ตัวเดียว/มาพลัดคู่//                          เหมือนพี่อยู่/ผู้เดียวดาย//

ข้อสอบ

1. ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านกลอนสุภาพได้ถูกต้อง
ก. เมื่อเห็นดาว/ล้อมเดือน/กลาดเกลื่อนฟ้า
ข. เมื่อเห็น/ดาวล้อม/เดือนกลาด/เกลื่อนฟ้า
ค. เมื่อเห็นดาวล้อม/เดือนกลาดเกลื่อนฟ้า
ง. เมื่อเห็น/ดาวล้อมเดือน/กลาดเกลื่อนฟ้า

ตอบ   ก. เมื่อเห็นดาว/ล้อมเดือน/กลาดเกลื่อนฟ้า

2. คำในข้อใดเป็นสัมผัสสระ
ก. บาท-ขาด
ข. เก่า-เกิด
ค. ดวง-ดาว
ง. ท้อง-ทุ่ง

ตอบ  ก. บาท-ขาด

แหล่งข้อมูล

   – http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/2613-00/

   – http://www.kr.ac.th/ebook2/jantiwa/t01.html

                 

ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง
ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง
ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง
ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง
ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง
ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง
ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง
ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้ถูกต้อง

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านออกเสียงร้อยแก้วได้ถูกต้อง

ในการฝึกอ่านออกเสียงข้อความที่เป็นร้อยแก้ว จะใช้เครื่องหมายแบ่งวรรคตอนในการอ่าน เพื่อเป็นการเว้นช่วงจังหวะการอ่าน ดังนี้ เครื่องหมาย / หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะสั้นๆ เครื่องหมาย // หมายถึง การหยุดเว้นช่วงจังหวะที่ยาวกว่าเครื่องหมาย / เครื่องหมาย _ (ขีดเส้นใต้) หมายถึง การเน้นหรือการเพิ่มน ้าหนักของเสียง

ข้อใดแบ่งวรรคตอนการอ่านกลอนได้ถูกต้องที่สุด

๑. การแบ่งวรรคจังหวะในการอ่านของกลอนสุภาพแต่ละวรรค กลอนสุภาพจะแบ่งจังหวะการ อ่านคาในแต่ละวรรคเป็น ๓ ช่วง ดังนี้ คือ ถ้าวรรคละ ๖ คา จะแบ่งอ่านเป็น ๒ -๒ -๒ ถ้าวรรคละ ๗ คา จะแบ่งอ่านเป็น ๒ -๒ -๓ ถ้าวรรคละ ๘ คา จะแบ่งอ่านเป็น ๓ -๒ -๓ ถ้าวรรคละ ๙ คา จะแบ่งอ่านเป็น ๓ -๓ –๓

ข้อใดควรปฏิบัติในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ เพื่อแบ่งวรรคตอน 2. อ่านให้คล่อง และเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจานวนผู้ฟัง 3. อ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คาควบกลาต้องออกเสียงให้ชัดเจน 4. เน้นเสียงและถ้อยค า ตามน าหนักความส าคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตาม เนือเรื่อง เช่น ดุอ้อนวอน จริงจัง ฯลฯ ...

การอ่านออกเสียงร้อยแก้วคืออะไร

การอ่านออกเสียงร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านหนังสือโดยการที่ผู้อ่านเปล่งเสียงออกมาดัง ๆ ในขณะที่อ่าน โดยมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อถ่ายทอดความรู้ เพื่อสร้างความบันเทิง และความพอใจ ซึ่งการออกเสียงในแต่ละครั้งมีจุดมุ่งหมายหลาย ๆ ประการรวมกัน หรือมีจุดมุ่งหมายเฉพาะ เช่น การอ่านประการศ การอ่านรายงาน แถลงการณ์ ฯลฯ ผู้ ...