ข้อใดมีคำที่มี เสียงสระ ต่างกับข้ออื่น

คำประสม คือ คำที่เกิดจากการนำคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาประสมกัน เกิดเป็นคำที่มีความหมายใหม่ แต่อาจมีเค้าความหมายเดิม
          ข้อ 1 คำที่ไม่ใช่คำประสม คือ ชุมนุม
          ข้อ 2 คำที่ไม่ใช่คำประสม คือ มูมมาม
          ข้อ 3 คำที่ไม่ใช่คำประสม คือ รูปภาพ
          ข้อ 4 เป็นคำประสมทุกคำ
                  แม่พิมพ์ หมายถึง สิ่งที่เป็นต้นแบบ
                 โดยปริยาย หมายถึง คนที่เป็นแบบอย่าง
                 เครื่องคิดเลข หมายถึง อุปกรณ์ชนิดหนึ่ง ใช้คิดคำนวณเลข
                 แกงไก่ หมายถึง แกงชนิดหนึ่ง
                 ขายหน้า หมายถึง อับอาย
*********************************************
42. ข้อใดเป็นได้ทั้งกลุ่มคำและคำประสม
          1. เก็บอารมณ์
          2. เขียนหนังสือ
          3. ร้อยดอกไม้
          4. ทอดสะพาน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1, ข้อ 2 และข้อ 3 เป็นได้เฉพาะกลุ่มคำ
          ข้อ 4 ทอดสะพาน เป็นได้ทั้งกลุ่มคำและคำประสม
                   กลุ่มคำ "ทอดสะพาน" หมายถึง พาดสะพานจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
                   คำประสม "ทอดสะพาน" หมายถึง แสดงกิริยาท่าทางเป็นทำนองอยากติดต่อด้วย
*********************************************
43. ข้อใดเป็นคำสมาสที่มีการสนธิทุกคำ
          1. นเรศวร พุทโธวาท ราชูปโภค คชาภรณ์
          2. มานุษยวิทยา สุริโยทัย วิเทโศบาย อิทธิฤทธิ์
          3. มัจจุราช ศาสนจักร ภัตตาคาร ราชินูปถัมภ์
          4. ฑูตานุฑูต สมาคม รัฐมนตรี วิทยาลัย
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          คำสมาสที่มีการสนธิ คือ คำสมาสที่มีการเชื่อมเสียงให้กลมกลืนกัน เป็นวิธีสร้างคำวิธีหนึ่งในภาษาบาลีสันสกฤต
          นเรศวร    =  นร + อิศวร
          พุทโธวาท    =  พุทธ + โอวาท
          ราชูปโภค    =  ราช + อุปโภค
          คชาภรณ์    =  คช + อาภรณ์
*********************************************
44. ข้อใดเป็นคำซ้อนทุกคำ
          1. เหตุการณ์ มิตรสหาย โกรธเคือง พบพาน
          2. เงียบสงัด เรืองรอง ขมีขมัน ห้องหอ
          3. สูญเสีย พักผ่อน สัตย์ซื่อ วิธีการ
          4. ปล่อยวาง ลำน้ำ เผ่นโผน นับถือ
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          คำซ้อน หมายถึง คำที่เกิดจากการนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือมีความหมายใกล้เคียงกัน หรือมีความหมายตรงข้ามกันมาประกอบกัน
          เหตุการณ์ มิตรสหาย โกรธเคือง พบพาน เป็นคำซ้อนทุกคำ
          เหตุ - เค้ามูล, เรื่อง      การณ์ - เหตุ, เค้า, มูล
          มิตร - เพื่อน               สหาย - เพื่อน
          โกรธ - ไม่พอใจอย่างรุนแรง        เคือง - ไม่พอใจเพราะชักรู้สึกโกรธ
          พบ - เห็น, ประสบ        พาน - พบปะ
*********************************************
45. ข้อใดมีคำซ้ำที่แสดงความหมายต่างจากข้ออื่น
          1. ฝนตกพรำ ๆ ทั้งคืน
          2. ป้าของสมชาติชอบพูดซ้ำ ๆ
          3. สมศรีชอบใช้ดินสอให้หมดไปเป็นแท่ง ๆ
          4. สมชายร่ำ ๆ จะขอเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          คำซ้ำในข้อ 1, ข้อ 2 และข้อ 4 คือ พรำ ๆ ซ้ำ ๆ ร่ำ ๆ เป็นคำซ้ำที่มีความหมายว่าทำกิริยานั้นซ้ำต่อเนื่องกัน คำซ้ำในข้อ 3 แท่ง ๆ เป็นคำซ้ำที่มีความหมายแยกเป็นส่วน ๆ
*********************************************
46. ข้อใดใช้คำเชื่อม ไม่ถูกต้อง
          1. แม่ทำกับข้าวแปลก ๆ ให้เรากินเสมอ
          2. เขาเห็นกับตาว่าเธอหยิบของใส่กระเป๋า
          3. แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ
          4. เขารีบกลับจากต่างประเทศเพื่อจัดงานวันเกิดให้แม่
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          "เพราะ" เป็นคำเชื่อมที่ใช้แสดงเหตุผล ข้อความหน้าคำว่า "เพราะ" จะเป็นข้อสรุป ข้อความที่ตามหลังคำ "เพราะ" เป็นข้อสนับสนุน
          "แม่เห็นแก่ลูกเพราะมาอยู่กับลูกตอนสอบ" เนื้อความไม่ได้อยู่ในลักษณะที่กล่าวแล้ว ดังนั้นควรใช้คำว่า "จึง" ที่เป็นคำเชื่อมแสดงเหตุผลแทน เป็น "แม่เห็นแก่ลูก (ข้อสนับสนุน) / จึงมาอยู่กับลูกตอนสอบ" (ข้อสรุป)
*********************************************
47. ข้อความต่อไปนี้มีคำเป็นและคำตายกี่คำ
      "เกศาปลายงอนงามทรง        เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา"
          1. คำเป็น 12 คำ   คำตาย 2 คำ
          2. คำเป็น 11 คำ   คำตาย 3 คำ
          3. คำเป็น 10 คำ   คำตาย 4 คำ
          4. คำเป็น  9 คำ    คำตาย 5 คำ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          คำเป็น คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในมาตรา กง กน กม เกย เกอว
          คำตาย คือ พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก กา หรือพยางค์ที่มีตัวสะกดในมาตรา กก กด กบ
          "เกศาปลายงอนงามทรง" ข้อความนี้เป็นคำเป็นทั้งหมด (คำเป็น 6 คำ)
          "เอวองค์สารพัดไม่ขัดตา" ข้อความนี้มีคำเป็นคำตายเรียงตามลำดับดังนี้ คำเป็น คำเป็น คำเป็น คำตาย คำตาย คำเป็น คำตาย คำเป็น (คำเป็น 5 คำ คำตาย 3 คำ)
*********************************************
48. ข้อใดไม่มีคำภาษาต่างประเทศ
          1. ถึงทวารโรงหมอก็รอรถ        พร้อมกันหมดเดินเรียงเคียงไสว
          2. ยุรยาตรเยื้องย่างเข้าข้างใน        ตึกนั้นใหญ่กว้างรีสูงสี่ชั้น
          3. มีกระดูกคนตายทั้งชายหญิง        ประหลาดจริงหลากล้ำทำขันขัน
          4. อีกกระดูกคนโบราณที่นานครัน        ดูยืนยันเหมือนยังเปรตสังเวชใจ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 มีคำภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ทวาร รถ
          ข้อ 2 มีคำภาษาต่างประเทศ ได้แก่ ยุรยาตร
          ข้อ 3 ไม่มีคำภาษาต่างประเทศ
          ข้อ 4 มีคำภาษาต่างประเทศ ได้แก่ เปรต สังเวช
*********************************************
49. ข้อใดมีคำชนิดเดียวกับคำที่พิมพ์ตัวหนาในประโยค "ฉันจะซื้อหนังสือสามเล่ม"
          1. เขาสั่งก๋วยเตี๋ยวอีกชาม
          2. ฉันนั่งอ่านหนังสือคนเดียว
          3. แม่มีลูกคนที่สองเป็นชาย
          4. ในสวนมีต้นมะพร้าวหลายต้น
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          "ฉันจะซื้อหนังสือสามเล่ม" "สาม" ในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับ (บอกจำนวนเลข)
          "ฉันนั่งอ่านหนังสือคนเดียว" "เดียว" ในที่นี้เป็นคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับ ซึ่งเป็นคำวิเศษณ์ชนิดเดียวกันกับ "สาม" คือ ประมาณวิเศษณ์ซึ่งบอกจำนวนนับ
*********************************************
50. ข้อใดใช้คำบุพบทไม่ถูกต้อง
          1. เด็กจะถูกผลักดันเข้าสู่ระบบการศึกษาด้วยวิธีการแข่งขัน
          2. เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับบรรทัดฐานของสังคมจากโรงเรียน
          3. สถาบันที่มีอิทธิพลกับความคิดของเด็กมากก็คือโรงเรียน
          4. รางวัลสำหรับผู้ชนะการแข่งขันก็คือการได้เข้าเรียนในโรงเรียนที่ต้องการ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          คำบุพบทที่ใช้ไม่ถูกต้องคือ "กับ" ควรใช้ "ต่อ" "สถาบันที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเด็กมากก็คือโรงเรียน"
*********************************************
51. ข้อใดใช้คำผิดหน้าที่
          1. เด็กมักมีปฏิกิริยาต่อการห้าม
          2. เขาใช้ปฏิภาณในการตอบคำถาม
          3. ปฏิปักษ์ของความก้าวหน้าคือความเกียจคร้าน
          4. เขาทั้งสองมีปฏิญาณว่าจะซื่อสัตย์ต่อกันตลอดไป
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ปฏิญาณ เป็นคำกริยา หมายถึง ให้คำมั่นสัญญา โดยมากมักเป็นไปตามแบบพิธี ประโยคนี้นำมาใช้ผิดหน้าที่ ที่ถูกต้องควรใช้ว่า เขาทั้งสองปฏิญาณว่าจะซื่อสัตย์ต่อกันตลอดไป
*********************************************
52. ข้อใดใช้คำกริยาได้ถูกต้อง
          1. ถ้าเขาไม่จำกัดตัวเองจากคนกลุ่มอื่น เขาก็จะเป็นที่รู้จักมากกว่านี้
          2. เขาทำงานหนักมาก ไม่ค่อยมีเวลาให้ครอบครัว ในที่สุดก็ต้องเลิกรากับภรรยา
          3. นายช่างไม่ถือตัวเลย ช่วงพักกลางวันเขามักจะร่วมวงรับประทานอาหารกับคนงาน
          4. นักท่องเที่ยวประทับใจที่เครื่องประดับของไทยเราราคาถูกแต่มีคุณภาพต่ำ
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 คำกริยาที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ จำกัด ควรใช้ "แยก"
          ข้อ 2 คำกริยาที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ เลิกรา ควรใช้ "เลิก"
          ข้อ 3 ใช้คำกริยาได้ถูกต้อง ถือตัว หมายถึง ไว้ตัวไม่ยอมลดตัวเพราะหยิ่งในศักดิ์หรือฐานะของตน
          ข้อ 4 คำกริยาที่ใช้ไม่ถูกต้อง คือ ประทับใจ ใช้ไม่เหมาะกับบริบท "ราคาถูกแต่มีคุณภาพต่ำ"
*********************************************
53. ข้อใดใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้องเหมาะสม
          1. ถึงแม้เราจะพิถีพิถันล้างจานจนสะอาดเพียงใดก็อาจมีแบคทีเรียหลงเหลืออยู่
          2. คนที่มีความเครียดมักจะปวดหัวบ่อย ๆ บางคนปวดหัวข้างเดียวหรือที่เรียกกันว่าไมเกรน
          3. ถ้าใช้น้ำบาดาลมากเกินไปอาจเกิดปัญหาหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ดินทรุด และน้ำเค็มหนุน
          4. การประกอบอาชีพสุจริต การรับผิดชอบต่อครอบครัว ตลอดจนการทำประโยชน์ต่อสังคมล้วนเป็นคุณสมบัติที่น่ายกย่อง
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ประโยคนี้ใช้คำเชื่อมไม่เหมาะสมคือ "และ" ควรใช้ "หรือ" คำบอกความให้กำหนดเอา
*********************************************
54. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
          1. รถแล่นมาดี ๆ ก็พลิกคว่ำ
          2. งูตัวจ้อยเกาะกิ่งไม้ที่ริมรั้ว
          3. แม่น้ำสายยาวไหลเซาะตลิ่งพังทลาย
          4. คุณตานัดรำมวยจีนกับเพื่อน ๆ ทุกวันเสาร์
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ภาคประธาน คือ งูตัวจ้อย
          ภาคแสดง คือ เกาะกิ่งไม้ที่ริมรั้ว
*********************************************
55. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
          1. คนแก่ที่มีเงินไม่เคยขาดคนดูแล
          2. หลานสาววิ่งปร๋อไปหาคุณยายทันที
          3. สุดาไปซื้อของที่ตลาดกับคุณยายเสมอ
          4. แมวขโมยกระโจนขึ้นหลังคาอย่างรวดเร็ว
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ประโยคหลัก คือ คนแก่ไม่ขาดคนดูแล
          ประโยคย่อย คือ (คนแก่) มีเงิน
          ตัวเชื่อม คือ ที่
*********************************************
56. ข้อใดวางส่วนขยายผิดที่
          1. การตั้งครรภ์โดยไม่ทราบว่าเป็นเบาหวานมาก่อนมีปัจจัยความเสี่ยงอยู่หลายอย่าง
          2. สตรีมีครรภ์และเป็นเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะแท้งหรือมีลูกพิกลพิการมาก
          3. การควบคุมน้ำตาลอย่างจริงจังช่วยทำให้คนไข้เบาหวานตั้งครรภ์ได้เป็นปกติมากขึ้น
          4. ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะกรรมพันธุ์และความอ้วนต้องให้สูติแพทย์ตรวจเบาหวานอย่างละเอียด
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          คำว่า "มาก" วางไว้หลังข้อความ "มีลูกพิกลพิการ" จึงขยาย "ลูก" หมายความว่า ลูกพิกลพิการมาก ซึ่งแท้จริงแล้วหมายถึง สตรีที่มีครรภ์และเป็นเบาหวานนั้นมีความเสี่ยงมากที่จะมีลูกพิการ ดังนั้น ข้อความนี้จึงควรเป็นดังนี้ "สตรีมีครรภ์และเป็นเบาหวานมีความเสี่ยงมากที่จะแท้งหรือมีลูกพิกลพิการ"
*********************************************
57. ข้อความใดเป็นประโยคสมบูรณ์
          1. น้ำมันเครื่องสูตรสังเคราะห์เพื่อปิคอัพสมรรถนะสูง
          2. พลิ้วสวยสมบูรณ์แบบด้วยกระเบื้องหลังคาโกลด์
          3. แป้งเค้กอณูละเอียดอำพรางริ้วรอยได้แนบเนียน
          4. มาตรฐานประกันภัยที่ก้าวไกลระดับโลก
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ภาคประธาน คือ แป้งเค้กอณูละเอียด
          ภาคแสดง คือ อำพรางริ้วรอยได้แนบเนียน
*********************************************
58. ประโยคใดเรียงลำดับคำได้ถูกต้อง
          1. พ่อครัวทำต้มโคล้งปลาช่อนเมื่อวานนี้อร่อยมาก
          2. ฝนดาวตกครั้งนี้มีจำนวนไม่มากอย่างที่คิด
          3. ในห้องแสดงนิทรรศการมีศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชรูปจำลองตั้งไว้ให้ชม
          4. บัณฑิตใหม่กำลังถ่ายรูปก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรในบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า
เฉลยข้อ 2 เหตุผล 
          ข้อ 1 ควรเรียงว่า เมื่อวานนี้พ่อครัวต้มโคล้งปลาช่อนอร่อยมาก
          ข้อ 2 เรียงลำดับคำได้ถูกต้อง
          ข้อ 3 ควรเรียงว่า ในห้องแสดงนิทรรศการมีศิลาจารึกรูปจำลองของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตั้งไว้ให้ชม
          ข้อ 4 ควรเรียงว่า บัณฑิตใหม่กำลังถ่ายรูปในบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้าก่อนเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร
*********************************************
59. ข้อใดมีโครงสร้างของประโยคแบบ กรรม-ประธาน-กริยา
          1. มะเร็งบางชนิดรักษาให้หายได้
          2. หนังสือพิมพ์ฉบับเช้าเขามักอ่านเวลากินกาแฟ
          3. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ก่อสร้างสำเร็จแล้วอย่างงดงาม
          4. ไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดใหม่ระบาดทำให้ข้อมูลเสียหาย
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          กรรม คือ หนังสือพิมพ์
          ประธาน คือ เขา
          กริยา คือ อ่าน
*********************************************
60. ข้อใดเป็นประโยคกรรม
          1. ประโยชน์ที่เกิดจากโครงการนี้มีผลดีต่อสังคมในระยะยาว
          2. เพราะแม่สูบบุหรี่จัดลูกที่คลอดออกมาจึงมีขนาดเล็กกว่าปกติ
          3. คนที่เป็นเบาหวานมีโอกาสติดเชื้อทางกรวยไตมากกว่าคนทั่วไป
          4. อาคารผู้ป่วยนอกหลังนี้สร้างเสร็จภายในห้าเดือนด้วยเงินบริจาคของประชาชน
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ประโยคกรรม คือ ประโยคที่เอากรรมไว้ข้างหน้า
          ข้อความในข้อ 4 นำเอากรรมมาขึ้นต้นประโยค คือ "อาคารผู้ป่วยนอก" และละประธานไว้
*********************************************
61. ข้อใดมีโครงสร้างเช่นเดียวกับประโยค "ดอกบัวตองบานสะพรั่งชูไสวทั่วท้องทุ่ง"
          1. พวกเด็ก ๆ วิ่งเล่นกันเต็มสนามกีฬา
          2. ฟ้าคะนองผ่าเปรี้ยงลงที่ตึกหลังสูง
          3. เจ้าด่างครางหงิง ๆ วิ่งไปมาตามถนน
          4. แม่ครัวนอนเหยียดยาวกลางห้องครัว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          "ดอกบัวตองบานสะพรั่งชูไสวทั่วท้องทุ่ง" มีโครงสร้าง คือ
          ประธาน + กริยา + ขยายกริยา + กริยา + ขยายกริยา + ขยายกริยา (บอกสถานที่)
          "เจ้าด่างครางหงิง ๆ วิ่งไปมาตามถนน" มีโครงสร้าง คือ
          ประธาน + กริยา + ขยายกริยา + กริยา + ขยายกริยา + ขยายกริยา (บอกสถานที่)
*********************************************
62. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
          1. เจ้าหมาน้อยไม่สบายร้องครางทั้งวัน
          2. หลานสาวตัวน้อยเดินไปโรงเรียนใกล้บ้าน
          3. คนไทยแทบทุกคนรู้จักนักชกเหรียญทองคนนั้น
          4. สมบัติดูหนังสืออย่างเอาเป็นเอาตายมาหลายเดือน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ประโยคความรวม คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคความเดียว ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปไว้ด้วยกัน มีสันธานเป็นเครื่องเชื่อม
          ข้อ 1 เป็นประโยคความรวมที่ประกอบด้วยประโยคความเดียว 2 ประโยค คือ เจ้าหมาน้อยไม่สบาย และเจ้าหมาน้อยร้องครางทั้งวัน
          ข้อ 2 เป็นประโยคความเดียว ภาคประธาน คือ หลานสาวตัวน้อย ภาคแสดง คือ เดินไปโรงเรียนใกล้บ้าน
          ข้อ 3 เป็นประโยคความเดียว ภาคประธาน คือ คนไทยแทบทุกคน ภาคแสดง คือ รู้จักนักชกเหรียญทองคนนั้น
          ข้อ 4 เป็นประโยคความเดียว ภาคประธาน คือ สมบัติ ภาคแสดง คือ ดูหนังสืออย่างเอาเป็นเอาตายมาหลายเดือน
*********************************************
63. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
          1. ฉันพบอาจารย์ของลูกที่ตลาดเสมอ
          2. เราไปซื้อผลไม้ที่ร้านเจ้าประจำ
          3. มะม่วงต้นที่อยู่หลังครัวมีลูกหลายใบ
          4. กล้วยไม้ที่คาคบออกดอกแล้ว
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่ประกอบด้วยประโยคที่มีเนื้อความสำคัญ และประโยคเล็กที่ช่วยเสริมประโยคหลัก
          ข้อ 1, ข้อ 2 และ ข้อ 4 ไม่ใช่ประโยคความซ้อน "ที่" เป็นบุพบท แสดงสถานที่
          ข้อ 3 เป็นประโยคความซ้อน ประโยคหลัก คือ มะม่วงมีลูกหลายใบ ประโยคเล็ก คือ (มะม่วง) อยู่หลังครัว "ที่" เป็นประพันธสรรพนาม
*********************************************
64. ข้อใดเป็นประโยคที่สมบูรณ์
          1. หนึ่งในบรรดาสารพิษหรือสารเคมีที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมเพื่อการผลิตภาชนะบรรจุอาหาร
          2. เมื่อท่านทราบแล้วว่าอันตรายจากการบริโภคอาหารที่ใส่ถุงกระดาษหนังสือพิมพ์มีมากเพียงใด
          3. องค์การอนามัยโลกซึ่งชี้ปัญหาการขาดแคลนธาตุไอโอดีนว่ามักจะมีในประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณเทือกเขา
          4. การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไปจำเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโภชนาการของเด็กเป็นประจำ
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1, ข้อ 2 และ ข้อ 3 ไม่มีภาคแสดง จึงไม่เป็นประโยค
          ข้อ 4 เป็นประโยคที่สมบูรณ์ ภาคประธาน คือ การที่จะขจัดโรคขาดสารอาหารในเด็กให้หมดไป ภาคแสดง คือ จำเป็นต้องรณรงค์ให้เฝ้าระวังโภชนาการของเด็กเป็นประจำ
*********************************************
ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ 65-67
      "(1) ประชากรคือทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศ (2) เราต้องสูญเสียประชากรจำนวนหนึ่งให้แก่ยาเสพติด (3) คนเหล่านี้ไม่มีเรี่ยวแรงทำงาน ทั้งยังก่ออาชญากรรมและแพร่โรคเอดส์ไปพร้อมกัน (4) คิดดูเถิดว่าประเทศจะประสบความวิบัติสักเท่าใด"
65. ข้อความตอนใดมีการละประธานของประโยค
          1. ตอนที่ (1)
          2. ตอนที่ (2)
          3. ตอนที่ (3)
          4. ตอนที่ (4)
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 ประธานของประโยค คือ ประชากร
          ข้อ 2 ประธานของประโยค คือ เรา
          ข้อ 3 ประธานของประโยค คือ คน
          ข้อ 4 ละประธานของประโยค คือ เรา
*********************************************
66. ข้อความตอนใดเป็นประโยคความซ้อน
          1. ตอนที่ (1) และ (2)
          2. ตอนที่ (2) และ (3)
          3. ตอนที่ (3) และ (4)
          4. ตอนที่ (4) และ (1)
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ตอนที่ (1) ประโยคหลัก คือ ประชากรคือทรัพยากร
                           ประโยคย่อย คือ (ทรัพยากร) มีค่าที่สุดของประเทศ
                           ตัวเชื่อม คือ ที่
          ตอนที่ (4) ประโยคหลัก คือ คิดดูเถิด (ละประธาน)
                           ประโยคย่อย คือ ประเทศจะประสบความวิบัติสักเท่าใด
                           ตัวเชื่อม คือ ว่า
*********************************************
67. ข้อใดเป็นประโยคกรรม
          1. เรื่องของคำสรรพนามนี้นับว่าเป็นลักษณะที่น่าสนใจอย่างหนึ่งของภาษาไทย
          2. ท่วงทำนองการเขียนของนักเรียนนั้นครูไม่ควรพยายามเปลี่ยนให้เป็นไปตามที่ครูต้องการ
          3. การสอนเรื่องราชาศัพท์นั้นครูไม่จำเป็นต้องให้นักเรียนท่องจำโดยเฉพาะคำที่ไม่ค่อยได้ใช้
          4. จุดประสงค์ในการบรรยายเรื่องนี้ก็เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจวิธีทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ประโยคกรรม คือ ประโยคที่ใช้กรรมมาขึ้นต้นประโยค
          ประโยคในข้อ 2 เป็นประโยคกรรม ถ้าเปลี่ยนเป็นประโยคที่ใช้ประธานอยู่หน้า (ประโยคกรรตุ) จะเป็นดังนี้
          "ครูไม่ควรพยายามเปลี่ยนท่วงทำนองการเขียนของนักเรียนให้เป็นไปตามที่ครูต้องการ"
*********************************************
68. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
          1. บ่อรวมปลาใช้เป็นบ่ออนุบาลลูกปลาที่มีขนาดเล็ก
          2. ปลาพันธุ์ต่าง ๆ กินอาหารธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแปลงนา
          3. หลังจากที่ไถคราดและปักดำเสร็จแล้วจึงควรปล่อยปลา
          4. พันธุ์ปลาที่เหมาะแก่การเลี้ยงในนาข้าวควรมีคุณสมบัติเลี้ยงง่าย
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1, ข้อ 2 และ ข้อ 4 เป็นประโยคความซ้อน
          ข้อ 3 เป็นประโยคความรวม ประกอบด้วยประโยค 2 ประโยค คือ หลังจากที่ไถคราดและปักดำเสร็จแล้ว / จึงควรปล่อยปลา
*********************************************
69. ข้อใดวางส่วนขยายผิดที่
          1. กรมประชาสงเคราะห์ได้พยายามช่วยเหลือเด็กยากจนเร่ร่อนให้มีผู้ปกครองคอยดูแลที่เหมาะสม
          2. ทุกคนตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงพนักงานทำงานด้วยความมุ่งมั่นเพื่อความสำเร็จและชื่อเสียงขององค์กร
          3. ในการมารับตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดครั้งนี้ ข้าพเจ้าตั้งใจเป็นอย่างยิ่งที่จะฟื้นฟูประเพณีเก่า ๆ ขึ้นมา
          4. สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ปรับปรุงบริการรับแจ้งเหตุต่าง ๆ ทางโทรศัพท์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          วางส่วนขยายผิดที่ ข้อความ "ที่เหมาะสม" ควรเรียงไว้หลังข้อความ "ให้มีผู้ปกครอง"
*********************************************
70. ข้อใดเป็นประโยคกรรม
          1. ครูคนนี้เป็นต้นแบบและตัวอย่างที่ดีสมควรได้รับรางวัล
          2. เนื้อหาวิชาที่เข้มข้นทันสมัยได้มาจากการวิจัยต่อเนื่อง
          3. เด็กจะเรียนรู้ได้มากถ้าได้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
          4. ดินแดนแห่งนี้เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตรูปร่างประหลาดซึ่งไม่พบในที่อื่น ๆ ของโลก
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ประโยคนี้เป็นประโยคกรรม ถ้าเอาประธานขึ้นต้นได้ดังนี้ "การวิจัยต่อเนื่องทำให้ได้เนื้อหาวิชาที่เข้มข้นทันสมัย"
*********************************************
71. ข้อใดมีส่วนขยายของบทกรรม
          1. ลายเชิงเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่อ่อนช้อยงดงามของผู้ชายล้านนา
          2. คนหนุ่มสาวนั่งบนเสื่อแดงผืนยาวที่ปูอยู่บนพื้นด้านหน้า
          3. ครูใช้ดอกไม้หอมที่จุ่มน้ำขมิ้นส้มป่อยสะบัดพรมให้แก่ลูกศิษย์
          4. พิธีสืบสายลายเชิงเป็นการสืบทอดองค์ความรู้แบบเดิมของล้านนา
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          บทกรรม คือ ดอกไม้หอม
          ส่วนขยายของบทกรรม คือ ที่จุ่มน้ำขมิ้นส้มป่อย
*********************************************
72. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความรวม
          1. กายเขาสบายแต่ใจเขาไม่สบาย
          2. ปีนี้ฝนตกชุกร่มจึงขายดีกว่าปีก่อน
          3. มะลิวัลย์น้องสาวของมาลัยวัลย์เรียนและเล่นกีฬาเก่ง
          4. ผู้ไม่ประสงค์ออกนามบริจาคเงินสองแสนบาทให้โรงพยาบาล
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1 เป็นประโยคความรวม มี "แต่" เป็นตัวเชื่อม
          ข้อ 2 เป็นประโยคความรวม มี "จึง" เป็นตัวเชื่อม
          ข้อ 3 เป็นประโยคความรวม มี "และ" เป็นตัวเชื่อม
          ข้อ 4 เป็นประโยคความเดียว
                  ภาคประธาน คือ ผู้ไม่ประสงค์ออกนาม
                  ภาคแสดง คือ บริจาคเงินสองแสนบาทให้โรงพยาบาล
*********************************************
73. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความซ้อน
          1. พิมลทำงานหนักเพื่อเขาจะได้เงินมาก ๆ
          2. สคราญย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่เป็นเวลา 20 ปีแล้ว
          3. คุณพ่อเสนอแนะว่าควรตัดต้นไม้ที่ล้มอยู่หลังบ้าน
          4. วิมลทิพย์เก็บผลไม้ในสวนที่อยู่ติดกับสวนดอกไม้
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1. เป็นประโยคความซ้อน
                  ประโยคหลัก คือ พิมลทำงานหนัก
                  ประโยคย่อย คือ เขาจะได้เงินมาก ๆ
                  ตัวเชื่อม คือ เพื่อ
          ข้อ 2. เป็นประโยคความเดียว ภาคประธาน คือสะคราญ
                  ภาคแสดง คือ ย้ายไปอยู่ที่เชียงใหม่เป็นเวลา 20 ปีแล้ว
          ข้อ 3. เป็นประโยคความซ้อน
                  ประโยคหลัก คือ คุณพ่อเสนอแนะ
                  ประโยคย่อย คือ ควรตัดต้นไม้ที่ล้มอยู่หลังบ้าน
                  ตัวเชื่อม คือ ว่า
          ข้อ 4. เป็นประโยคความซ้อน
                  ประโยคหลัก คือ วิมลทิพย์เก็บผลไม้ในสวน
                  ประโยคย่อย คือ อยู่ติดกับสวนดอกไม้
                  ตัวเชื่อม คือ ที่
*********************************************
74. ข้อใดเป็นประโยคต่างชนิดกับข้ออื่น
          1. ของกินสำหรับเด็ก ๆ เต็มตระกร้าใบใหญ่
          2. เราจะได้นั่งรถรางรอบเกาะรัตนโกสินทร์
          3. สินค้าในร้านของเขาทันสมัยทุกชนิด
          4. เรื่องที่เสนอขึ้นไปติดขัดตรงไหนบ้าง
เฉลยข้อ 4 เหตุผล
          ข้อ 1, 2 และ ข้อ 3 เป็นประโยคความเดียว
          ข้อ 4 เป็นประโยคความซ้อน ประโยคหลัก คือ เรื่องติดขัดตรงไหนบ้าง ประโยคย่อย คือ (เรื่อง) เสนอขึ้นไป ตัวเชื่อม คือ ที่
*********************************************
75. ข้อใดใช้สำนวนไทยถูกต้อง
          1. ทำอะไรไม่อดทนเลยนะเธอ ใจปลาซิวเหลือเกิน
          2. เขาโกรธน้องชายมากจนเลือดเข้าตา แต่ทำอะไรไม่ได้
          3. พอเธอหายป่วยก็ปีกกล้าขาแข็ง ขับรถไปต่างจังหวัดคนเดียว
          4. หลังจากซื้อของเสร็จแล้ว เขากับเธอก็เดินเคียงบ่าเคียงไหล่กันออกมาจากร้าน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 ใช้สำนวนถูกต้อง ใจปลาซิว หมายถึง ไม่มีความอดทน
          ข้อ 2 ใช้สำนวนไม่ถูกต้อง เลือดเข้าตา หมายถึง ทำหรือสู้อย่างไม่กลัวตาย
          ข้อ 3 ใช้สำนวนไม่ถูกต้อง ปีกกล้าขาแข็ง หมายถึง พึ่งตัวเองได้ ใช้กล่าวเชิงตำหนิว่าหยิ่งยโส
          ข้อ 4 ใช้สำนวนไม่ถูกต้อง เคียงบ่าเคียงไหล่ หมายถึง ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน
*********************************************
76. ข้อใดใช้สำนวนไม่ถูกต้อง
          1. เขารับจะเป็นทนายหน้าหอว่าความคดียักยอกทรัพย์ของธนาคาร
          2. ทั้ง ๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นนางกลางเมือง หล่อนก็มิได้ขัดเคืองโต้ตอบใด ๆ
          3. เพื่อน ๆ คิดว่าเขาเป็นนกสองหัว จึงพากันรังเกียจไม่คบค้าสมาคมด้วย
          4. กีฬามหาวิทยาลัยแต่ละครั้ง สถาบันที่ไม่มีทีมชาติมักเป็นหมูสนามให้เขาต้อน
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          ข้อ 1 ใช้สำนวนไม่ถูกต้อง ทนายหน้าหอ หมายถึง ผู้รับหน้าแทนนาย
          ข้อ 2 ใช้สำนวนถูกต้อง นางกลางเมือง หมายถึง หญิงบำเรอ
          ข้อ 3 ใช้สำนวนถูกต้อง นกสองหัว หมายถึง คนที่เข้ากับทั้งสองฝ่าย
          ข้อ 4 ใช้สำนวนถูกต้อง หมูสนาม หมายถึง ผู้ที่ถูกล่อให้แพ้ได้ง่าย
*********************************************
77. ข้อใดใช้สำนวนได้ถูกต้อง
          1. ลูกทำกิจการขาดทุนหลายครั้ง แต่แม่ก็ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด ให้เงินช่วยทุกครั้ง
          2. ตอนนี้เขาร่ำรวย แต่เมื่อหนุ่ม ๆ ยากจนแทบไม่มีจะกิน เข้าทำนองตีนถีบปากกัด
          3. เธอบอกว่าไม่ชอบสมศักดิ์ แต่พอเขาชวนไปเที่ยวก็ไป เข้าตำราปากว่าตาขยิบ
          4. คุณปู่เล่าว่าแต่ก่อนเรามีฐานะดีมากขนาดที่เรียกว่าข้าวเหลือเกลืออิ่ม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1 ใช้สำนวนไม่ถูกต้อง ฆ่าไม่ตายขายไม่ขาด หมายถึง ตัดไม่ขาด (มักใช้แก่พ่อแม่ ถึงจะโกรธเกลียดลูกก็ตัดไม่ขาด)
          ข้อ 2 ใช้สำนวนไม่ถูกต้อง ตีนถีบปากกัด หมายถึง มานะพยายามทำงานทุกอย่างเพื่อปากท้อง โดยไม่คำนึงถึงความเหนื่อยยาก
          ข้อ 3 ใช้สำนวนถูกต้อง ปากว่าตาขยิบ หมายถึง ปากกับใจไม่ตรงกัน
          ข้อ 4 ใช้สำนวนไม่ถูกต้อง ข้าวเหลือเกลืออิ่ม หมายถึง บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร
*********************************************
78. สำนวนในข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับคำประพันธ์ต่อไปนี้มากที่สุด
     "พักตร์จิตผิดประมาณ        ยากรู้"
          1. ปากปราศรัย         ใจเชือดคอ
          2. ต่อหน้ามะพลับ         ลับหลังตะโก
          3. คบคนให้ดูหน้า         ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
          4. ข้างนอกสุกใส         ข้างในเป็นโพรง
เฉลยข้อ 1 เหตุผล
          "พักตร์จิตผิดประมาณ        ยากรู้" คือ ลักษณะของคนที่หน้าเนื้อใจเสือ คือ หน้าตาแสดงความเมตตาแต่ใจโหดเหี้ยม
          ข้อ 1. ปากปราศรัย         ใจเชือดคอ หมายถึง พูดดีแต่ใจคิดร้าย
          ข้อ 2. ต่อหน้ามะพลับ         ลับหลังตะโก หมายถึง ต่อหน้าทำเป็นดี แต่พอลับหลังก็นินทา หรือหาทางทำร้าย
          ข้อ 3. คบคนให้ดูหน้า         ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ หมายถึง จะคบใครให้พิจารณาเสียก่อน
          ข้อ 4. ข้างนอกสุกใส         ข้างในเป็นโพรง หมายถึง ภายนอกดูดีต่างจากข้างใน
*********************************************
79. ข้อความต่อไปนี้ตรงกับสำนวนใด
     "ข่าวความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีแทนนายเชี่ยวชาญนั้น น่าจะเป็นการปล่อยข่าวเพื่อต้องการทราบว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างไร"
          1. กวนน้ำให้ขุ่น
          2. โยนหินถามทาง
          3. หว่านพืชหวังผล
          4. ปากคนยาวกว่าปากกา
เฉลยข้อ 2 เหตุผล
          ข้อ 1. กวนน้ำให้ขุ่น หมายถึง ทำเรื่องราวที่สงบอยู่ให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา
          ข้อ 2. โยนหินถามทาง หมายถึง กระทำการอย่างหนึ่งเพื่อดูผลที่ตอบกลับมา
          ข้อ 3. หว่านพืชหวังผล หมายถึง ให้ประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อหวังผลตอบแทน
          ข้อ 4. ปากคนยาวกว่าปากกา หมายถึง ข่าวจากปากต่อปากแพร่ไปได้รวดเร็ว
*********************************************
80. ข้อความต่อไปนี้ตรงกับสำนวนในข้อใด
     "เขาโชคดีที่ได้รับจดหมายเรียกตัวเข้าทำงานทั้ง 2 แห่งพร้อม ๆ กัน จึงตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเลือกทำที่ไหนดี"
          1. จับปลาสองมือ
          2. สองฝักสองฝ่าย
          3. รักพี่เสียดายน้อง
          4. เหยียบเรือสองแคม
เฉลยข้อ 3 เหตุผล
          ข้อ 1. จับปลาสองมือ หมายความว่า ทำอะไรที่มุ่งหวังสองอย่างในขณะเดียวกัน
          ข้อ 2. สองฝักสองฝ่าย หมายความว่า ทำตัวเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย
          ข้อ 3. รักพี่เสียดายน้อง หมายความว่า ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี
          ข้อ 4. เหยียบเรือสองแคม หมายความว่า ทำทีเข้าด้วยทั้งสองฝ่าย
*********************************************
81. สำนวนในข้อใดนำมาเติมลงในช่องว่างได้เหมาะสมที่สุด
     "รายงานฉบับนี้วิชัยทำแบบ ................ พอให้มีส่งอาจารย์ เพราะยังมีรายงานอีกหลายฉบับที่ยังไม่ได้ทำทิ้งไว้จนเข้าตำรา ............. "