ยาเลื่อนประจําเดือน แบบไหนดี

ยาเลื่อนประจําเดือน แบบไหนดี

  • ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร
  • วิธีรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน (1)
  • ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรยาติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์
  • หากรับประทานยาคุมอยู่แล้ว จะใช้ยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่ (1)
  • รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในช่วงเวลาใกล้ๆกับยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่? (2)
  • รับประทานยาเลื่อนประจำเดือนบ่อยๆ จะมีผลเสียหรือไม่? (2)
  • ผู้หญิงทุกคนสามารถรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่

ประจำเดือนเป็นเรื่องที่อยู่กับผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคน แล้วการมาแต่ละครั้งก็เรียกได้ว่าไม่สบายตัวเอาสะเลย หลาย ๆ คนก็มีอาการปวดท้องตอนมีประจำเดือนหรือมีอาการปวดเมื่อยตามตัวจนต้องรีบหาถุงน้ำร้อนมาประคบหรือทานยาแก้ปวดใช่มั้ยคะ? แล้วถ้าประจำเดือนมาในวันที่เรามีแพลนที่จะไปไหนมาไหนหรือทำอะไรที่ต้องใช้กิจกรรมเยอะ ๆ อย่างเช่น ต้องทำกิจกรรมทางน้ำ คุณก็ต้องมีความกังวลมากขึ้นไปอีกหลายเท่า บางคนอาจจะหาวิธีแก้โดยการใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือถ้วยประจำเดือน (ถ้วยอนามัย) บางคนอาจจะนับวันที่ประจำเดือนมาแล้วค่อยเลื่อนวันทำกิจกรรมแทน ซึ่งเราเชื่อว่าคงจะมีผู้หญิงจำนวนมากที่อาจจะไม่สะดวกกับวิธีเหล่านี้ แต่ไม่ต้องกังวลมากจนเกินไปค่ะ เพราะตอนนี้เขามีสิ่ง ๆ หนึ่งที่จะมาช่วยเลื่อนประจำเดือนให้ออกไปจากวันที่เราเฝ้ารอ สิ่งนั่นเรียกว่า “ยาเลื่อนประจำเดือน” หลายคนอาจจะได้ยินชื่อนี้มาแล้ว หลายคนมีคำถามว่ามันคืออะไร?

ยาเลื่อนประจำเดือน คืออะไร

การรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน จึงส่งผลให้ ระดับ Progesterone ในร่างกายเราสูงขึ้น ในขณะที่รับประทานยาจึงทำให้ไม่มีรอบเดือน และมดลูกหนาตัวขึ้น เมื่อไข่ไม่ได้รับการผสม และหยุดรับประทานยาเลื่อนประเดือนจำเดือนให้ Progesterone ลดต่ำลง เป็นผลให้เยื่อบุมดลูกที่หนาตัวหลุดออกไปเป็นประจำเดือน เข้าสู่ภาวะของรอบเดือน ซึ่งไม่สามารถนับรอบเดือนครั้งนี้ได้ตามปกติ จึงไม่ควรใช้วิธีนับวันสำหรับเดือนในครั้งต่อไป

วิธีรับประทานยาเลื่อนประจำเดือน (1)

ยาเลื่อนประจำเดือน จะมีตัวยาที่สำคัญ คือ นอร์เอทีสเตอโรน (Norethisterone) ขนาด 5 มิลลิกรัม  โดยวิธีการใช้ ควรเริ่มรับประทานอย่างน้อย 3 วัน ก่อนที่ประจำเดือนจะมา ให้รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง (เช้าและเย็น) หรือวันละ 3 ครั้ง (เช้า กลางวัน เย็น) หลังจากหยุดยา ประจำเดือนจะมาภายใน 2-3 วัน ยาตัวนี้ไม่ได้ใช้เป็นยาคุมกำเนิด ดังนั้นหากคุณมีเพศสัมพันธ์ช่วงนั้นอาจส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ ดังนั้น ควรใช้ถุงยางอนามัยในการคุมกำเนิดร่วมด้วย

ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรยาติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์

การกินยาเลื่อนประจำเดือน อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ ดังนี้

  • รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ปวดศีรษะ
  • คัดตึงเต้านม
  • คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ
  • มีอารมณ์ทางเพศพันธ์ที่มากขึ้น

หากรับประทานยาคุมอยู่แล้ว จะใช้ยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่ (1)

เนื่องจากยาคุมมีหลายประเภท จึงขอแยกเป็น2 กรณีดังนี้

กรณีที่ 1 รับประทานยาคุมกำเนิดแบบแผงละ 21 เม็ด โดยปกติแล้วจะต้องหยุด 7 วันแล้วรับประทานแผงต่อไป แต่ถ้าต้องการเลื่อนประจำเดือน เมื่อรับประทานยาคุมจนหมดแผง สามารถรับประทานแผงต่อไปได้เลย โดยไม่ต้องหยุดยาจะทำให้สามารถเลื่อนประจำเดือนได้

กรณีที่ 2 รับประทานยาคุมกำเนิดแบบแผงละ 28 เม็ด โดยปกติเมื่อรับประทานยาคุมไป 21 เม็ดแล้วนั้น จะเหลือยาอยู่ 7 เม็ด ซึ่งแล้วต้องรับประทานไปจนครบ 28 วัน แต่หากต้องการเลื่อนประจำเดือน เมื่อรับประทานยาครบ 21 วัน แล้วให้เริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดแผงใหม่ได้เลย โดยไม่ต้องรับประทาน 7 เม็ดที่เหลือในแผงเดิม

ซึ่งหากมีข้อสงสัยว่ายาคุมกำเนิดที่ท่านรับประทานอยู่จะสามารถใช้เลื่อนประจำเดือนได้อย่างไร ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้

การกินยาเลื่อนประจำเดือน และการรับประทานยาคุมเพื่อเลื่อนประจำเดือน อาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้ ดังนี้

  • รู้สึกไม่สบายตัว
  • ปวดศีรษะ
  • ท้องเสีย
  • รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ประจำเดือนมาถี่ แต่มาแบบกะปริบกะปรอย หรือไม่มาเลย

รับประทานยาคุมกำเนิดฉุกเฉินในช่วงเวลาใกล้ๆกับยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่? (2)

เนื่องจากทั้งยาคุมกำเนิดฉุกเฉินและยาเลื่อนประจำเดือน มีตัวยาอยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน หากหยุดยาจะทำให้มีเลือดออกมาเหมือนกัน ดังนั้นการใช้ยาทั้งสองชนิดในเวลาใกล้เคียงกัน เช่น ในเดือนเดียวกัน เป็นต้น นอกจากจะทำให้เสียเลือดบ่อยกว่าปกติแล้ว ยังมีผลให้รอบเดือนผิดปกติได้ด้วย ทั้งนี้ หากมีเพศสัมพันธ์บ่อยครั้งและไม่พร้อมจะตั้งครรภ์ ควรใช้ถุงยางอนามัยป้องกันทุกครั้ง หรือเปลี่ยนมาใช้ยาคุมกำเนิดแบบปกติจะเหมาะสมกว่า

รับประทานยาเลื่อนประจำเดือนบ่อยๆ จะมีผลเสียหรือไม่? (2)

อาการที่พบบ่อยจากการใช้ยาเลื่อนประจำเดือน คือ ประจำเดือนผิดปกติ เช่น รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาถี่แต่มาแบบกะปริบกะปรอย หรือบางครั้งอาจประจำเดือนไม่มาเลย ดังนั้น จึงไม่ควรใช้ยาเพื่อเลื่อนประจำเดือนบ่อยๆ จนเกินไป

ผู้หญิงทุกคนสามารถรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนได้หรือไม่

ยาเลื่อนประจำเดือนปลอดภัยสำหรับผู้หญิงส่วนใหญ่ แต่ไม่ควรใช้กับผู้หญิงที่มาอาการเหล่านี้ (2)

  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ
  • ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม
  • ผู้ที่มีประวัติของโรคดีซ่าน ในระหว่างตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดอุดตัน
  • ผู้หญิงที่กำลังต้องครรภ์
  • ผู้หญิงที่ให้นมลูก

ดังนั้น การรับประทานยาเลื่อนประจำเดือนนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งนะคะ และศึกษาข้อมูลก่อนการใช้ยาก่อน เพราะยาเลื่อนประจำเดือนก็ไม่ได้เหมาะกับผู้หญิงทุกคน รวมถึงไม่ควรใช้ยาตามอำเภอใจ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายของตัวคุณเอง

References

  1. How can I delay my period?
  2. ยาเลื่อนประจำเดือน โดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ยาเลื่อนประจําเดือน แบบไหนดี

เขียน เรียบเรียงบทความ และพิสูจน์อักษร จากทีม เบสท์รีวิว เอเชีย เราหวังว่าบทความนี้จะให้ประโยชน์กับทุก ๆ คนค่ะ

ควรกินยาเลื่อนประจําเดือนตอนไหน

ด้วยธรรมชาติของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะอยู่ประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนประจำเดือนจะมา ดังนั้นวิธีดีที่สุดต้องเริ่มกินยาก่อนวันที่คาดว่ามีประจำเดือนประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้ทัน หากกินยาเพื่อเลื่อนในวันที่มีประจำเดือนแล้ว หรือก่อนมีประจำเดือนเพียง 2-3 วัน อาจจะไม่ได้ผล เนื่องจากธรรมชาติรู้ว่าไม่มีการฝังตัว ...

ยาเลื่อนประจําเดือน ยี่ห้อไหน

ราคาและยี่ห้อของ 'ยาเลื่อนประจำเดือน'.
ยี่ห้อ Primolut N ตัวยาขนาด 5 ม.ก. / เม็ด ในแผงมี 15 เม็ด แบ่งเป็น 2 แผง ราคากล่องละ 100-200 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับแต่ละร้าน).
ยี่ห้อ Steron ตัวยาขนาด 5 ม.ก. / เม็ด หนึ่งแผงมีทั้งหมด 5 เม็ด ราคาแผงละประมาณ 50 บาทขึ้นไป (ราคาขึ้นอยู่กับแต่ละร้าน).

กินยาเลื่อนประจําเดือน อันตรายไหม

การกินยาเลื่อนประจำเดือนเป็นวิธีที่ปลอดภัยก็จริง แต่ก็ไม่แนะนำให้ใช้บ่อยครั้ง หรือใช้ติดต่อกันนานเกิน 10-14 วัน อาจได้รับผลข้างเคียงบางประการ ได้แก่ - คลื่นไส้ อาเจียน - ปวดศีรษะ - มีอาการซึมเศร้า

กินอะไรเลื่อนประจําเดือน

เลื่อนประจำเดือนด้วยวิธีธรรมชาติ 🌿 สาวๆบางคนยังกังวล เพราะไม่อยากกินยา ที่อาจจะมีเอฟเฟคกับสุขภาพ โซฟีก็ยังมีวิธีการเลื่อนประจำเดือนด้วยวิธีธรรมชาติ อย่างการกินอาหารหรือออกกำลังกาย มาฝากกันด้วย เช่น ดื่มน้ำทับทิม( 3 ครั้งต่อวัน หรือ น้ำทับทิมผสมน้ำตาลอ้อย 4 ครั้งต่อวัน ทำให้รอบเดือนมาก่อนเวลาปกติได้