โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

Your browser does not support the video tag.

โรค NCDs ; Non-Communicable Diseases คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค และไม่สามารถติดต่อกันได้ โดยจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ มีอาการอย่างต่อเนื่อง และเรื้อรังในที่สุด หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย และคนรอบข้าง

สาเหตุของโรค NCDs

ส่วนใหญ่เกิดจากการดำเนินชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่

  • บริโภคอาหารรสหวานจัด ไขมันสูง หรือเค็มจัด
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • สูบบุหรี่
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ความเครียด
  • ซื้อยามารับประทานเอง

ความรุนแรงของโรค NCDs

โรค NCDs เป็นปัญหาใหญ่ที่กำลังทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ คนไทยป่วยด้วยโรค NCDs 14 ล้านคน เสียชีวิตมากกว่า 340,000 ราย/ปี หรือ 75% ของการเสียชีวิตในแต่ละปีของคนไทยทั้งหมด คิดเป็นเสียชีวิตเฉลี่ยชั่วโมงละ 37 คน และมีแนวโน้มการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

ตัวอย่างโรค NCDs และอาการเตือนที่ควรระวัง ได้แก่
  • โรคเบาหวาน อาการเตือน ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน น้ำหนักลด อ่อนเพลีย เป็นแผลแล้วหายยาก
  • โรคความดันโลหิตสูง อาการเตือน ได้แก่ ปวดศีรษะบ่อย หลังตื่นนอนจะมึนงง ตาพร่ามัว เหนื่อยง่าย ใจสั่น
  • โรคหลอดเลือดสมอง อาการเตือน ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง ชาที่ปลายมือปลายเท้า ปากเบี้ยว พูดลำบาก
  • โรคหัวใจขาดเลือด อาการเตือน ได้แก่ ปวดแน่นบริเวณหน้าอก จุกที่คอหอยหรือลิ้นปี่ หน้ามืด ใจสั่น
  • โรคถุงลมโป่งพอง อาการเตือน ได้แก่ ไอเรื้อรัง เป็นหวัดง่ายหายช้า เหนื่อยหอบ หายใจมีเสียงวี้ด
  • โรคมะเร็ง อาการเตือน ได้แก่ เป็นแผลเรื้อรังไม่หาย มีตุ่มก้อนที่โตเร็วผิดปกติ ระบบขับถ่ายมีปัญหา มีเลือดออกมาอย่างผิดปกติ
  • โรคอ้วนลงพุง อาการเตือน ได้แก่ ผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90 ซม.และผู้หญิงรอบเอวเกิน 80 ซม. เหนื่อยง่าย ข้อเข่ารับน้ำหนักไม่ไหว
การป้องกันและลดความเสี่ยงโรค NCDs โดยการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานจัด เค็มจัด หรือไขมันสูง
  • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • งดสูบบุหรี่
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ผ่อนคลายความเครียด
  • หากมีอาการผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ซื้อยามารับประทานเอง
  • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ

ปัญหาของโรค NCDs เหล่านี้ จัดว่าเป็นภัยเงียบ ที่ซ่อนอยู่ในตัวเราจริงๆ และมักจะไม่แสดงอาการให้เห็นตั้งแต่เริ่มต้น แต่เราสามารถเริ่มต้นดูแลสุขภาพตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเหล่านี้ได้ตั้งแต่วันนี้

NCDs ย่อมาจาก Non-communicable diseases คือโรคกลุ่มที่ไม่ติดต่อ เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไม่ติดต่อแม้มีการสัมผัส คลุกคลี หรือมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆ

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่เกี่ยวกับนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งโรคกลุ่มนี้จะค่อยๆสะสมอาการ ค่อยเกิด ค่อยทวีความรุนแรง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วจะเกิดการเรื้อรังของโรคตามมาด้วย ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและคนรอบข้าง และพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มนี้

โรคกลุ่ม NCDs มีโรคอะไรบ้าง

อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้นว่าโรคในกลุ่ม NCDs เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การกิน การนอน การพักผ่อน การออกกำลังกาย และการทำงานต่างๆ ดังนั้นโรคในกลุ่มนี้จึงได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตเรื้อรัง โรคไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคทางพันธุกรรม โรคตับแข็ง และโรคสมองเสื่อม (อัลไซเมอร์) เป็นต้น
โรคกลุ่ม NCDs บางครั้งเรียกว่า โรคที่เราสร้างขึ้นมาเอง เนื่องจากโรคในกลุ่มนี้เกิดจากการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง เช่น การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารรสจัดเกินไป เช่น เค็มจัด หวานจัด มันจัด เป็นต้น รับประทานอาหารไขมันสูง การสะสมความเครียด การรับสารพิษอย่างสม่ำเสมอ เช่นการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ กินอาหารปิ้งย่างบ่อยเกินไป เป็นต้น

สำหรับ 6 โรคในกลุ่มโรค NCDs ที่มีอัตราผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง เกิดจาก 6 ปัจจัยเสี่ยง คือ เหล้า บุหรี่ อาหาร (หวาน-มัน-เค็มจัด) การออกกำลังกายไม่เพียงพอ ความเครียด และกรรมพันธุ์

การป้องกันตัวเองจากโรคกลุ่ม NCDs

โรคกลุ่ม NCDs สามารถป้องกันได้โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเสียใหม่ เช่น การออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง 5ครั้ง/สัปดาห์ งดดื่มเหล้า ไม่สูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอาหารรสหวาน มัน และเค็มจัด หลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่าง ไม่รับประทานอาหารหรือเนื้อสัตว์แบบสุกๆดิบๆ รับประทานผักและผลไม้มากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกเกินไป ไม่เครียด ไม่ซื้อยากินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เป็นต้น

ที่มา :- สสส.

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรค NCDs คืออะไร

โรค NCDs หรือ Non-Communicable Diseases เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ซึ่งจะมีการดำเนินโรคอย่างช้าๆ ค่อยๆ สะสมอาการอย่างต่อเนื่อง และเมื่อมีอาการของโรคแล้วมักจะเกิดการเรื้อรังของโรคด้วย จึงอาจจัดว่าโรค NCDs เป็นกลุ่มโรคเรื้อรังได้

ตัวอย่างของโรค NCDs

    • โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ
    • โรคหลอดเลือดสมอง
    • โรคเบาหวาน
    • โรคมะเร็งต่างๆ
    • โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง
    • โรคไตเรื้อรัง
    • โรคอ้วนลงพุง
    • โรคตับแข็ง
    • โรคสมองเสื่อม

พฤติกรรมเสี่ยง...ตัวการก่อโรค NCDs

สาเหตุหลักสำคัญของกลุ่มโรค NCDs คือพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหารรสจัด เช่น หวานจัด เค็มจัด อาหารที่มีไขมันสูง อาหารปิ้งย่าง การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย การนอนดึก การมีความเครียดสูง การรับประทานยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นคนที่มีพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเช่นนี้จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ได้มากกว่าคนอื่นๆ

ความรุนแรงของโรค NCDs

แม้โรค NCDs จะไม่ใช่โรคติดต่อ แต่จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมากลุ่มโรค NCDs เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนไทย โดยมีคนไทยป่วยด้วยโรค NCDs ถึง 14 ล้านคน เสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี

ปรับพฤติกรรม ลดความเสี่ยงโรค NCDs

การป้องกันโรค NCDs ทำได้ง่ายๆ โดยเริ่มจากตัวเรา นั่นก็คือการปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต เช่น

    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เน้นการรับประทานผักและผลไม้
    • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด เค็มจัด อาหารมัน รวมถึงอาหารปิ้งย่าง
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง สัปดาห์ละ 5 ครั้ง
    • งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
    • งดสูบบุหรี่
    • พักผ่อนให้เพียงพอ
    • ผ่อนคลายความเครียด
    • ตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
    • รับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ซื้อยารับประทานเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
    • หากมีอาการผิดปกติใดๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

โรคใดอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ncds

ปวดประจำเดือนแบบนี้ ผิดปกติหรือเปล่า?

บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์

ปวดประจำเดือนแบบนี้ผิดปกติหรือเปล่า? “อาจไม่ใช่เร…

Read more

โรคใดเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งหมด

โรคไม่ติดต่อ หรือ โรค NCDs คือ อะไร.
7 โรคไม่ติดต่อ NCDs ยอดฮิตของคนไทย 1. โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ... .
2. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ... .
3. โรคเบาหวาน ... .
4. โรคมะเร็งปอด/ถุงลมโป่งพอง ... .
5. โรคอ้วนลงพุง ... .
6. โรคความดันโลหิตสูง ... .
7. โรคมะเร็ง.

โรคไม่ติดต่อ NCDs มีอะไรบ้าง

กลุ่มโรค NCDs นี้ ประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น

ข้อใดคือสาเหตุการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)

พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตที่เป็นสาเหตุของการป่วยโรค NCDs ชอบรับประทานอาหารไขมันสูง แป้ง น้ำตาล มากเกินความจำเป็น รับประทานอาหารรสเค็มจัด รับประทานผักและผลไม้น้อย กิจกรรมในแต่ละวันน้อยไม่เพียงพอ ทำงานนั่งโต๊ะตลอดทั้งวัน ไม่ได้ออกกำลังกาย

โรคไม่ติดต่อเกิดจากอะไร

โรคไม่ติดต่อ คือ โรคที่ไม่ใช่โรคติดเชื้อ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคจึงติดต่อไม่ได้ด้วยการสัมผัสคลุกคลีหรือติดต่อผ่านตัวนำโรค (Vector) หรือผ่านทางสารคัดหลั่งต่างๆ ซึ่งโรคไม่ติดต่อมีปัจจัยเสี่ยงมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่าง เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ รับประทานอาหารหวาน มัน เค็ม และขาดการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ก่อให้ ...