อารยธรรมใดในยุคโบราณที่มีลักษณะของสังคมเมืองตั้งแต่แรกเริ่ม

ใบความรู้ที่  8

เรื่อง  แหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณของโลก

อารยธรรม

คำว่า อารยธรรม มีความหมายตามศัพท์ว่า เจริญงอกงาม ตรงกับภาษาอังกฤษว่า civilization มาจากคำภาษาละตินว่า civilis ซึ่งหมายถึง พลเมือง civitas แปลว่า เมืองหรือนคร ความหมายของอารยธรรมทั่วไปจึงมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์อารยธรรมและสังคมเมืองพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (1367)ให้ความหมาย อารยธรรมว่า ความสงบสุขของสังคมที่ตั้งอยู่บนรากฐานแห่งศีลธรรมและกฎหมาย; ความเจริญเนื่องด้วยองค์การของสังคม เช่น การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรม, ความเจริญด้วยขนบธรรมเนียมอันดี โดยทั่วไปอารยธรรมหลักของโลกมีลักษณะเด่น คือ การมีความเจริญเป็นรุปแบบเฉพาะของตนเองและสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะร่วมกัน คือ อารยธรรมส่วนใหญ่เกิดขึ้นโดยได้รับแรงกระตุ้นจากอารยธรรมที่เก่าแก่กว่า ดังเช่น อารยธรรมอียิปต์โบราณ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียในช่วงระยะหนึ่ง

กำเนิดของอารยธรรกับพัฒนาการความคิด

ความเจริญและวิทยาการทั้งหลายที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบันล้วนมี รากฐานมาจากอารยธรรมในสมัยโบราณแทบทั้งสิ้น ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานกันและเชื่อมโยงกันระหว่างอารยธรรมเก่าและใหม่และมี การสืบทอดกันต่อๆ มา แหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลกสมัยโบราณเกิดขึ้นที่บริเวณราบลุ่มแม่น้ำที่ สำคัญ โดยเริ่มจากอารยธรรมเมโสโปเตเมีย อารยธรรมอียิปต์โบราณ อารยธรรมอินเดียโบราณ และอารยธรรมจีนโบราณ ต่อจากนั้นเป็นอารยธรรมที่เกิดขึ้นบริเวณริมฝั่งทะเล คือ อารยธรรมกรีกโบราณ และมาสิ้นสุดสมัยนี้ที่อารยธรรมโรมันโบราณ อารยธรรมเหล่านี้ถือว่าเป็นแหล่งเชื่อมสัมพันธ์และติดต่อกันและเป็นรากฐาน ของความเจริญให้แก่ดินแดนทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออกในปัจจุบัน

อารยธรรมเมโสโปเตเมีย 

คำว่า เมโสโปเตเมีย เป็นภาษากรีกมาจากคำว่า Mesos เท่ากับภาษาอังกฤษว่า Middle และคำว่า Potamos เท่ากับภาษาอังกฤษว่า River รวมความแล้วหมายถึง ดินแดนระหว่างแม่น้ำ” (land between the rivers) ได้แก่ที่ราบระหว่างแม่น้ำไทกริส (Tigris) ทางตะวันออก และแม่น้ำยูเฟรติส (Euphrates) ทางตะวันตก พื้นที่นี้ตั้งอยู่ทางทิสตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียในบริเวณที่เชื่อมต่อ ระหว่างทวีปเอเชีย ยุโรป และแอปริกา โดยเฉพาะทางตะวันตกเฉียงเหนือซึ่งหันออกสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นจุดเชื่อมโยงติดต่อกับอารยธรรมอียิปต์โบราณ พื้นที่ของแหล่งอารยธรรมทั้งหมดจะกินอาณาบริเวณจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไป สู่อ่าวเปอร์เซีย มีลักษณะเป็นรูปเสี้ยวจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ครอบคลุมดินแดนบางส่วนในประเทศอิรักและซีเรียในปัจจุบัน ถือเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมเก่าแก่แห่งแรก เมื่อราว 3,500 ปี ก่อนคริสตกาล

จากลักษณะทางภูมิศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีการทับถมของดินตะกอนตามชายฝั่งแม่น้ำทั้งสอง ทำให้บริเวณแถบนี้อุดมสมบูรณ์และมีสภาพเหมาะสมแก่การเพาะปลูก แม้ว่าสภาพอากาศในดินแดนแถบนี้จะแปรปรวนไม่จนสามารถคาดเดาได้ก็ตาม เกิดความแห้งแล้งลำน้ำท่วมเป็นประจำ อันเป็นเหตุให้การควบคุมน้ำหรือการชลประทานสำคัญจำเป็นต่อการทำกสิกรรมของ ผู้คนแถบนี้ นอกจากนั้นแล้ว ทางบกยังติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เชื่อมต่ออียิปต์และอารยธรรม  ที่กำลังก่อตัวในยุโรปได้ทางตอนใต้ก็ยังเปิดสู่ อ่าวเปอร์เซีย ซึ่งเออำนวยต่อการขนส่งค้าขายทางทะเลกับอารยธรรมที่ห่างไกล เช่น สินธุ ลักษณะเช่นนี้เอง ทำให้ดินแดนเมโสโปเตเมียแห่งนี้ เป็นที่หมายปองของชนกลุ่มต่างๆ

ช่วงประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาลลงมาพบว่า มนุษย์ที่เมโสโปเตเมียเริ่มเรียนรู้การใช้โลหะทองแดง และพบหลักฐานความรู้เกี่ยวกับภูมิศาสตร์ และดาราศาสตร์ เป็นต้น ถัดมาประมาณ 3600-2800 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งอยู่ในยุคอูรุก (Uruk) ถือเป็นการเริ่มต้นอารยธรรมเมืองในลักษณะนคร-รัฐ (city-state) และที่นี้มีวิหารสองแห่ง คือ วิหารสำหรับบูชาเทพอาทิตย์และวิหารสำหรับบูชาเทพอินันนา (Inanna) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์

เทพในช่วงนี้ของเมโสโปเตเมียมีหลายองค์ เช่น วัวกระทิง ซึ่งมีความหมายถึงสวรรค์ Enlil เป็นเทพของสายฟ้าหรือดินฟ้าอากาศ Ea เป็นเทพแห่งน้ำและมีการสร้างวิหารที่เรียกว่า ซิกกูแรต” (Ziggurat) หมายถึง ห้องรอคอยเพื่อบูชาหรือพบพระเจ้า สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นสถานที่ติดต่อหรือเชื่อมระหว่างโลกและสวรรค์

ช่วงประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล คนกลุ่มแรกที่สร้างอารยธรรมเมโสโปเตเมียขึ้นคือชาวสุเมเรียน ผู้คิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในโลก อารยธรรมที่ชาวสุเมเรียนขึ้นเป็นพื้นฐานสำคัญของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย สถาปัตยกรรม ตัวอักษร ศิลปกรรมอื่นๆ ตลอดจนทัศนคติต่อชีวิตและเทพเจ้าของชาวสุเมเรียน ได้ดำรงอยู่และมีอิทธิพลอยู่ในลุ่มแม่น้ำทั้งสองตลอดช่วงสมัยโบราณ

ลักษณะสังคมของชาวสุเมเรียนเป็นอารยธรรมแบบเมือง ประกอบด้วยผู้คนหลากหลายอาชีพ เช่น ชาวนา ช่างโลหะ ช่างทอง พระ ขุนนางและผู้ปกครองหรือกษัตริย์ ชาวสุเมเรียนมีการปกครองแบบรัฐศาสนา คือมีนักบวช ซึ่งนอกจากทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและความเชื่อแล้ว ยังเป็นผู้บริหารจัดการเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของราษฎรอีก เช่น การจักสรรน้ำและที่ดินเพื่อการเกษตร การแลกเปลี่ยนค้าขาย ธนาคาร เป็นต้น นักบวชและวัดในสมัยนี้จึงมีบทบาทสำคัญมาก

มรดกชิ้นสำคัญซึ่งชาวสุเมเรียนได้สร้างไว้ คือ การประดิษฐ์อักษรใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ โดยใช้ไม้หรือโลหะแหลมจารลงบนแผ่นดินเหนียวโดยพัฒนาจากตราประทับทรงกระบอก ที่เป็นอักษรภาพง่ายๆ เวลาใช้ต้องนำกระบอกกลิ้งหมุนบนแผ่นดินเหนียว เป็นจุดกำเนิดของตัวอักษรครั้งแรกจนกลายเป็นอักษรรูปลิ่ม และผ่านการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นต้นตอของตัวอักษรกรีก และละติน

จากความมั่งคั่งและเจริญรุ่งเรืองของชาวเมโสโปเตเมียได้ดึงดูดกลุ่มชนอัค คาเดียน ซึ่งเป็นกลุ่มของพวก Semite และบรรพบุรุษของชาวยิว Hebrew ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ในคาบสมุทรอารเบีย (Arabia) ได้แทรกซึมเข้ามาในดินแดนของชาวสุเมเรียนและได้ยึดครองเมโสโปเตเมีย ประมาณปี 2,360 ก่อนคริสตกาล ชาวอัคคาเดียนได้ปกครองดินแดนเมโสโปเตเมียอยู่ประมาณ 200 ปี กษัตริย์ที่สำคัญของอัคคาเดียนคือ พระเจ้าซาร์กอน (Sargon) ได้รวบรวมนครรัฐของสุเมเรียนทั้งหมด การรวมครั้งนี้มีผลให้อารยธรรมของพวกสุเมเรียนจากตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกริ สและยูเฟรติส ได้ขยายขึ้นเหนืออย่างกว้างขวาง ผลจากการครอบครองสุเมเรียนของชาวอัคคาเดียนทำให้เทพเจ้าของพวกเขาที่ชื่อว่า มาร์ดุก” (Marduk) เข้ามาเป็นเทพเจ้าสูงสุดแทนที่เทพ Enlil เดิม

ชนชาติถัดมาที่เข้ายึดครองดินแดนเมโสโปเตเมียคือ ชาวบาบิโลน ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเมืองยูรุก (Uruk) ใกล้แม่น้ำยูเฟรตีส ในสมัยนี้มีกษัตริย์ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม ฮัมมูราบีเป็นผู้สร้างความยิ่งใหญ่และความเจริญแก่ดินแดนเมโสโปเตเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบัญญัติกฎหมายบังคับใช้ในดินแดนของพระองค์ เรียกว่า ประมวลกฎหมายแห่งฮัมมูราบี” (Code of Hammurabi) กฎหมายนี้มีลักษณะการลงโทษแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน กฎหมายนี้มีวัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งเพื่อปรับเปลี่ยนวิธีการควบคุมคน แทนการใช้จารีตประเพณีและความเชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ และเทพเจ้า

หลังจากกษัตริย์ฮัมมูราบีสิ้นอำนาจลง ก็มีชนเผ่าหลายชนเผ่า ได้แก่ ชาวฮิตไตท์ (Hitties) ชาวแคสไซส์ (Kassites) ชาวอีลาไมล์ (Elamites) และชาวอัสซีเรียน (Assyrians) แต่ชาวอัสซีเรียนถือว่าเป็นชนเผ่าที่มีบทบาทในการสร้างอารยธรรมอย่างโดดเด่น โดยในช่วงแรกได้ย้ายเมืองจากหลวงจากกรุบาบิโลนมาตั้งที่เมืองอัสซูร์ (Assur) ซึ้งตั้งอยู่บนริมฝั่งตอนกลางของแม่น้ำไทกริส และได้ครองอำนาจถึงขีดสุดระหว่าง 712-612 ปีก่อนคริสตกาล ชาวอัสซีเรียนได้ขยายอำนาจการปกครองครอบคลุมไปถึงซีเรียน ปาเลสไตน์ และบางส่วนของอียิปต์

จากอำนาจและบทบาททางอารยธรรมของชาวอัสซีเรียนทำให้เทพอสูร (Assur) ซึ่งเป็นเทพประจำเมืองอัสซูร์ ได้รับการยอมรับนับถืออย่ากว้างขวางและมีความสำคัญเท่ากับเทพมาร์ดุก (Marduk) ซึ่งเป็นเทพเจ้าของชาวอัคคาเดียนเดิม และได้ขยายอิทธิพลความเชื่อต่ออารยธรรมอื่นๆ เช่น เปอร์เซีย และอินเดีย แต่ด้วยความโหดร้ายของชาวอัสซูร์ทำให้ประชาชนต่อต้านและเสื่อมอำนาจลงในที่ สุด ทำให้บทบาทของอสูรเทพของชาวอัสซีเรียนลดบทบาทลงและเสื่อมคลายไปจนกลายเป็น ตัวร้ายในนิทาน แนวความคิดเรื่องอสูรเทพนี้มีอิทธิพลต่อวรรณคดีไทย เพราะวรรณคดีไทยหลายเรื่องได้รับแนวคิดมาจากอารยธรรมอินเดียอีกทอดหนึ่ง

ต่อมาเมื่อชาวอัสซีเรียนพ่ายแพ้สงครามต่อชาวเมเดสและชาวเมืองบาบิ โลน อำนาจการปกครองจึงเปลี่ยนไปและเริ่มต้นยุคใหม่ เรียกยุคนี้ว่า ยุคบาบิโลนใหม่หรือ นีโอบาบิโลน” (Neo Babylon) ภายใต้การปกครองของพระเจ้าเนบุชัดเนซซาร์ที่สอง (Nebuchadnessar II) กษัตริย์พระองค์นี้ถือว่าเป็นกษัตริย์นักรบที่เก่งกาจ พระองค์ได้ยกทัพไปรบชนะชาวยิวยึดครองนครเยรูซาเล็ม ได้เชลยชาวยิวมาเป็นแรงงาน ในยุคของพระองค์ได้มีการก่อสร้างวิหารและพระราชวังหลายแห่ง และผลงานทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญและถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดแห่ง ของโลกสมัยโบราณคือ สวนลอยแห่งเมืองบาบิโลน” (The hanging gardens of Babylon) ซึ่งเป็นสวนที่มีถนนกว้างปูลาดด้วยแผ่นหินและลาดด้วยยางมะตอย เพื่อให้เป็นเส้นทางของขบวนแห่เฉลิมฉลองเทพมาร์ดุก (Marduk) ซึ่งกลับมามีบทบาทสำคัญต่อชาวเมืองบาบิโลนอีกครั้ง

จักรวรรดิบาบิโลนใหม่ รุ่งเรืองจนถึงประมาณ 539 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรบาบิโลนก้ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของพระเจ้าไซรัสมหาราช (Cyrus, the Great) ซึ่งเป็นกษัตริย์แห่งเปอร์เซีย ดินแดนเมโสโปเตเมียซึ่งรุ่งเรืองผ่านการปกครองและอารยธรรมชนเผ่าต่างๆ มายาวนาน ก็สิ้นสุดลงในที่สุด

อารยธรรมเมโสโปเตเมียได้พัฒนาขึ้นถึงขีดสุดผ่านกลุ่มชนหลายเผ่าพันธุ์ที่ เข้ามาครอบครองและผสมผสานความคิดความเชื่อของตนเองกับชนเผ่าต่างๆ ชีวิตของชาวเมโสโปเตเมียผูกพันกับพระและวัดอย่างมาก ชาวสุเมเรียนซึ่งเป็นชนกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาครอบครองดินแดนเมโสโปเตเมีย มีลักษณะความเชื่อในเทพเจ้าและโลกหลังความตายเป็นหลัก และมีการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ซึ่งเทพเจ้าแต่ละองค์ก็มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตให้คุณและโทษแก่ตนเอง เช่น อูโต เทพแห่งดวงอาทิตย์ อินันนา เทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และความรัก อินลิล เทพแห่งสายฟ้า หรือดิน ฟ้า อากาศ เป็นต้น นอกจากการนับถือเทพเจ้าแล้วแล้ว ชาวสุเมเรียนยังเชื่อในไสยศาสตร์ นับถือโชคลางและปรากฏการณ์ธรรมชาติอีกด้วย ผู้มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารระหว่างชุมชนกับเทพเจ้าคือ พระ โดยผ่านการทำพิธีกรรม เช่นการจัดหารอาหาร และที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ การสร้างที่พำนักให้แก่เทพเจ้า และมีเทพเจ้าหลายองค์ที่กลายเป็นเทพเจ้าประจำรัฐ แต่ในขณะเดียวกันก็ยอมรับนับถือเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย

พัฒนาการทางความคิดที่สำคัญของชาวสุเมเรียนอีกประการหนึ่ง คือ การรู้จักการคูณ การหาร ระบบหน่วยหกสิบ ได้แก่ 6,60,600,3,600 ซึ่งปัจจุบันใช้กับการนับเวลาและการคำนวณวงกลม นอกจากนี้ยังได้คิดระบบชั่ง ตวง วัด ซึ่งเป็นรากฐานที่มาของการชั่งที่คิดน้ำหนักเป็นปอนด์ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนชาวคาลเดียนสามารถคำนวณวันเกิดสุริยปราคาและจันทรุปราคา รวมทั้งสามารถจัดแบ่งสัปดาห์ออกเป็น 7 วัน

อารยธรรมอียิปต์ 

อารยธรรมที่มีความยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลกที่มีถิ่นกำเนิดใน ดินแดนใกล้เคียงกับอารยธรรมเมโสโปเตเมีย คือ อารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์เป็นอารยธรรมที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้างและมีผลต่อพัฒนาการ ทางความคิดในหลายๆ ด้าน เนื่องจากมีมรดกทางสถาปัตยกรรม เช่น ปิรามิดและแนวความคิดและความเชื่อเกี่ยวกับศาสนาและปรัชญาอีกด้วย

อียิปต์โปราณตั้งอยู่ระหว่างโลกตะวันตกและตะวันออก โลกตะวันตกคือดินแดนที่อยู่รอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนโลกตะวันออก ได้แก่ ดินแดนเมโสโปเตเมียและดินแดนในแถบลุ่มแม้น้ำสินธุ ทิศเหนือของอียิปต์จรดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ส่วนทิศตะวันตกติดกับทะเลทรายซาฮารา ทะเลทรายลิเบีย และทะเลทรายนูเบียทางทิศตะวันออก ถัดไปคือ ทะเลแดง ทิศใต้จรดประเทศนูเบียหรือซูดานในปัจจุบัน อียิปต์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่บนสองฟากฝั่งแม่น้ำไนล์ แม่น้ำไนล์มีลักษณะที่ต่างไปจากแม่น้ำอื่นๆ คือ ทอดตัวไหลจากภูเขาทางตอนใต้ลงสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ มีผลต่อการดำเนินชีวิตของชาวอียิปต์โบราณ มีนคือเส้นทางคมนาคมสายหลักและเป็นเสมือนเข็มทิศในการเดินทาง โดยใช้ร่วมกับทิศทางการขึ้นและตกของดาวอาทิตย์ ชาวอียิปต์แบ่งช่วงแม่น้ำไนล์เป็น 2 ช่วง คือ ต้นน้ำทางตอนใต้เรียกว่า อียิปต์บน” (Upper Egypt) และปลายแม่น้ำในดินแดนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำทางเหนือว่า อียิปต์ล่าง” (Lower Egypt)

ประมาณ 3,150 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าเมเนส (Menes) หรือนาเมอร์ (Narmer) สามารถรวบรวมเมืองต่างๆ ทั้งในอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และตั้งเมืองเมมฟิส (Memphis) เป็นเมืองหลวง ประวัติศาสตร์ของอียิปต์ยุคราชวงศ์จึงเริ่มต้นขึ้น ประวัติศาสตร์ของอียิปต์อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ยุค ดังนี้

1. ยุคราชวงศ์เริ่มแรก อยู่ในช่วง 3,100-2,686  ปีก่อนคริสตกาล โดยเริ่มตั้งแต่พระเจ้าเมเนส รวบรวมเมืองต่างๆ ได้ทั้งในอียิปต์ล้างและอียิปต์บนเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน และเข้าสู่ราชวงศ์ที่ 1 และ 2 ยุคนี้เป็นยุคการสร้างอียิปต์ให้มีความเป็นปึกแผ่นเข็มแข็ง

          2. ยุคราชวงศ์เก่า อยู่ในช่วง 2,686-2,181 ก่อนคริสตกาล โดยเริ่มจากราชวงศ์ที่ 3 อียิปต์ประสบความวุ่นวายทางการเมือง มีการย้ายเมืองหลวงไปตามเมืองต่างๆ แต่หลังจากนั้นก็มีราชวงศ์อียิปต์ปกครองต่อมาอีก 2 ราชวงศ์ คือ ราชวงษ์ที่ 9 และ 10 ในยุคนี้อียิปต์มีฟาโรห์ปกครองเริ่มตั้งแต่ราชวงศ์ที่ 3 ถึงราชวงศ์ที่ 6 ราชวงศ์ที่โดดเด่นในสมัยนี้คือ ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งมีการสร้างปิรามิดที่ยิ่งใหญ่มากมายโดยเฉพาะมหาปิรามิดของฟาโรห์คูฟูที่ เมืองเซห์ ซึ่งสร้างขึ้นประมาณ 2,500 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่ง และการสร้างสรรค์ความเจริญในยุคนี้ได้เป็นรากฐานและแบบแผนของความเจริญของ อียิปต์ในสมัยราชวงศ์ต่อๆ มา

3. สฟิงซ์ (Sphinx) 

4. ยุคราชวงศ์กลาง อยู่ในช่วง 2,040-1,782 ปีก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 11-13 ฟาโรห์ที่มีบทบาทในการสร้างความรุ่งเรืองให้กับอียิปต์ในยุคนี้คือ อเมนเนมเฮตที่หนึ่ง (Amenemhet I) จนเรียกได้ว่าเป็นยุคทองของอียิปต์ด้านเศรษฐกิจ สถาปัตยกรรม การสร้างคลองติดต่อไปถึงทะเลแดง การสร้างเขื่อนกั้นน้ำ วรรณคดีทั้งบทร้อยแก้วและร้อยกรอง ยุคนี้เป็นช่วงเดียวกันกับอารยธรรมบาบิโลนของพระเจ้าฮัมมูราบี แต่ความรุ่งเรืองของอียิปต์ก็หยุดชะงักลงจากการรุกรานของกลุ่มชนปศุสัตว์เร่ ร่อนคือ พวกฮิกโซส (Hyksos) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เข้ายึดครองซีเรีย ปาเลสไตน์ และเอเชียไมเนอร์ได้แล้ว เพราะพวกฮิกโซสมีความเก่งกาจในการรบกว่าชาวอียิปต์ ทำให้สามารถครอบครองอียิปต์ไว้ได้ตั้งแต่ 1,670-1,570 ปีก่อนคริสตกาล แต่เนื่องด้วยอียิปต์มีความเจริญที่เหนือกว่า พวกฮิกโซสจึงเป็นฝ่ายรับความเจริญไปจากอียิปต์ จึงทำให้อารยธรรมอียิปต์ไม่ขาดความต่อเนื่องแต่อย่างใด

5. ยุคราชวงศ์ใหม่ อยู่ในช่วง 1,570-332  ก่อนคริสตกาล ระหว่างราชวงศ์ที่ 18-31 เมื่อชาวอียิปต์ได้ก่อกบฏและมีชัยเหนือชาวฮิกโซส จึงเริ่มราชวงศ์ที่ 18 และขยายอำนาจการปกครองไปยังดินแดนซีเรีย ปาเลสไตน์และฟินิเซีย เพาะมีอาณาเขตกว้างมากขึ้น สมัยนี้จึงได้รับการขนานนามว่า สมัยจักรพรรดิ” (Empire) แต่ในช่วงหลังๆ อำนาจการปกครองจากส่วนกลางค่อยลดลง เหล่าขุนนางที่ปกครองเมืองที่หางไกลก็เริ่มแข็งขืนต่ออำนาจมากขึ้นจนถึง ประมาณ 700 ปีก่อนคริสตกาล อียิปต์ก็พ่ายแพ้ต่อชาวอัสซีเรียน และเมื่ออาณาจักรเปอร์เซียได้เข้ายึดครองเมโสโปเตเมีย อียิปต์ก็ตกเป็นส่วนหนึ่งของเปอร์เซีย และประมาณ 332 ปีก่อนคริสตกาล ดินแดนอารยธรรมทั้งเมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และอียิปต์ก็ได้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช

อารยธรรมของอียิปต์ได้สร้างมรกดมากมายหลายด้านแก่โลก การสร้างสรรค์สิ่งต่างๆของชาวอียิปต์โบราณนอกจากการต่อสู้เพื่อความอยู่รอด จากความโหดร้ายของธรรมชาติยังได้รับแรงผลักดันจากความคิดความเชื่อทางศาสนา และชีวิตหลังความตายอีกด้วย ชาวอียิปต์ยอมรับนับถือเทพเจ้ามากมาย ในแต่ละชุมชนมีวัดหรือวิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา บูชาเทพเจ้าและดวงวิญญาณของฟาโรห์ ชาวอียิปต์นับถือเทพแทบทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นหมาใน จระเข้ ฮิปโปโปเตมัส แมว แมลงเต่าทอง และในเวลาต่อมาการบูชาสัตว์ได้เปลี่ยนเป็นครึ่งคนครึ่งสัตว์ และเป็นคนโดยสมบูรณ์ เช่นการนับถือดวงอาทิตย์ ซึ่งถือว่าเป็นพลังอันยิ่งใหญ่ และเทพเจ้าที่สำคัญที่มีรูปร่างเป็นมนุษย์ซึ่งชาวอียิปต์ให้ความนับถือ คือ โอซิริส (Osiris) ถือว่าเป็นเทพเจ้าที่มีความอมตะ เป็นประมุขแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย และเป็นเทพแห่งความอุดมสมบูรณ์และความตาย เทพเจ้าเร (Re) เป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ผู้ประทานชีวิต

นอกจากนั้นแล้วยังนิยมบูชาพระเครื่องและตะกรุดเป็นเครื่องรางของ ขลัง จึงกล่าวได้ว่าความเชื่อเรื่องเทพเจ้า สิ่งศักดิ์สิทธิ์หยั่งรากลึกและเจริญเติบโตอยู่ในชีวิตและจิตวิญญาณของคน อียิปต์อย่างแท้จริง ความเชื่อที่โดดเด่นพิเศษของชาวอียิปต์อีกประการหนึ่ง คือ ความเชื่อในโลกหน้าหรือความเชื่อเกี่ยวกับโลกหลังความตาย ซึ่งเป็นแรงจูงใจที่สำคัญยิ่งในการก่อสร้างปิรามิดและการทำมัมมี่

ชาวอียิปต์เชื่อว่า วิญญาณเป็นอมตะ เรียกว่า Ka มาจากเทพสูงสุดเป็นคนสร้างวิญญาณให้มนุษย์ เพราะว่าวิญญาณเป็นอมตะจึงต้องสร้างปิรามิดเพื่อเก็บมัมมี่ เพื่อให้วิญญาณของผู้ตายกลับมาสู่ร่างเดิมได้ การสร้างปิรามิดในยุคแรกนั้น เป็นเนินหลุมฝังธรรมดา เรียกว่า มาสตาบา” (Mastabas) แปลว่า ม้านั่ง ในภาษาอารบิก ภายในลึกลงไปใต้ดินจะมีห้องหลายห้องสำหรับไว้เก็บศพหรือมัมมี่และสิ่งของผู้ ตาย ถัดมาจึงทำเป็นปิรามิดขนาดใหญ่มีทั้งรูปแบบที่เป็นปิรามิดแบบขั้นบันได ต่อจากนั้นมีการสร้างปิรามิดที่มีด้านแต่ละด้านเรียบลาดเทลงมายังฐานสี่ เหลี่ยม เรียกว่า ปิรามิดหลวง” (Royal Pyramids) เช่น ปิรามิด 3 องค์แห่งเมืองกีซา และระยะหลังนอกจากการสร้างปิรามิดแล้วยังมีการสร้างวิหารสำหรับบูชาเทพเจ้า เช่นในยุคราชวงศ์กลางมีการเน้นเรื่องเทพเจ้ามากขึ้น จึงมีการสร้างวิหารถวายเทพเจ้า ส่วนมัมมี่ของฟาโรห์ก็มีการเก็บไว้ในภูเขาหิน หรือที่เรียกว่า หุบเขากษัตริย์ต่อมาในยุคราชวงศ์ใหม่มีการสร้างวิหารขึ้นอีก 2 แห่ง คือ วิหารสำหรับทำพิธีพระศพของฟาโรห์วิหารถวายเทพเจ้า เช่นวิหารของพระนางฮัทเซพสุต (Queen Hatshepsut) และวิหารคาร์นัค (Karnak)

การสร้างปีรามิดของชาวอียิปต์สะท้อนให้เห็นความเชื่อใน เรื่องชีวิตหลังความตายและความเป็นอมตะของวิญญาณ ถ้าตายแล้วจะยังคงมีชีวิตอยู่ต่อไปและยังมีความเกี่ยวข้องกับร่างเดิมอยู่ จึงมีแนวความคิดในการรักษาร่างเดิมไว้ โดยการทำมัมมี่ นอกจากความเชื่อในเทพเจ้าและการหมกมุ่นอยู่กับโลกหลังความตายแล้ว ยังปรากฏว่า มีพัฒนาการความคิดทางด้านปรัชญาแฝงอยู่ในความเชื่อของชาวอียิปต์ เช่นในหนังสือของผู้ตาย (The Book of Dead) ซึ่งเป็นหนังสือทางศาสนาและพิธีกรรมที่มีบทบาทต่อวิถีชีวิตของชาวอียิปต์มากที่สุด

อารยธรรมเปอร์เซีย 

เมื่อประมาณ 1,000  ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ใช้ภาษาอินโด-ยุโรเปียน มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณทางเหนือของทะเลดำ ได้ก่อตัวและขยายอำนาจครอบครองอารยธรรมโบราณอื่นๆ และได้ก้าวขึ้นมามีบทบาทเป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองของโลกยุคโบราณ ภายใต้การปกครองของพระเจ้าไซรัสมหาราช พระองค์ได้ดำเนินนโยบายขยายดินแดนของเปอร์เซียออกไปอย่างกว้างขวาง มีอาณาจักรกว้างใหญ่ไพศาลกลายเป็นจุดศูนย์กลางของการเชื่อมโยงดินแดนทั้ง เอเชียตะวันออก เอเชียกลาง อินเดีย อียิปต์และดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน จนทำให้เปอร์เซียกลายเป็นจักรพรรดิใหญ่แห่งแรกหลังการล่มสลายของอาณาจักรยุค โบราณ

ความเชื่อของชาวเปอร์เซียไม่ได้ต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ มากนัก คือมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า แต่อารยธรรมเปอร์เซียได้พัฒนาความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าขึ้นได้เป็น ระบบศาสนาขึ้นมา คือ ศาสนาโซโรอัสเตอร์” (Zoroaster) เป็นศาสนาที่สอนให้นับถือบูชาเทพเจ้าสูงสุด ชื่อว่า อหุระ มาสดา” (Ahura Mazda) เป็นเทพแห่งปัญญา รวมถึงเป็นเทพเจ้าผู้สร้าง ดังคาถาที่ปรากฏในคัมภีร์อเวสตะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ว่า อหุระ มาสดา ผู้ทรงสร้าง มีรัศมีรุ่งโรจน์ ยิ่งใหญ่ที่สุด ดีที่สุด งามที่สุด มั่งคงที่สุด ฉลาดที่สุด เป็นวิญญาณที่มีมหากรุณาที่สุด

ศาสนาโซโรอัสเตอร์นี้บางครั้งเรียกว่า ลัทธิบูชาไฟในวิหารจะมีพระคอยจุดไฟศักดิ์สิทธิ์ให้ลุกช่วงอยู่ตลอดเวลา เป็นการจำเป็นที่จะต้องระวังรักษาอาคารบูชาไฟไว้ให้ดีและคอยระวังมิให้ไฟ ดับได้ สิ่งที่ไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์อย่าเอาใส่เข้าไปในไฟ และจะต้องให้สตรีมีระดูอยู่ห่างจากที่บูชาไฟ 3 ก้าว” (แหล่งเดิม, อ้างแล้ว) ชาวเปอร์เซียได้รับอิทธิจากคำสอนของศาสนาโวโรอัสเอตร์ว่า โลกประกอบด้วยสิ่งสองด้าน คือ ดีและชั่ว เทพเจ้าอหุระ มาสดา คือ ตัวแทนของความดี และเทพอาห์ริมัน (Ahriman) คือตัวแทนของความชั่วร้าย ต่อสู้กันในที่สุดฝ่ายดีจะเป็นฝ่ายมีชัยเหนือฝ่ายชั่ว ชะตากรรมของมนุษย์จึงขึ้นอยู่กับการเลือกว่าจะทำดีหรือชั่ว แนวความคิดนี้มีอิทธิพลต่อศาสนายูดายหรือยิวและคริสต์ศาสนา รวมทั้งความเชื่อในเรื่องเทวดา นางฟ้า วันสิ้นโลก การตัดสิ้นครั้งสุดท้ายและการไปสู่สวรรค์และนรกในเวลาต่อมา และประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 7 มุสลิมได้แผ่ขยายอำนาจเข้ามาครอบครองดินแดนเปอร์เซีย อาณาจักรแห่งนี้จึงตกอยู่ภายใต้การปกครองของศาสนาอิสลาม และแนวความคิดจากศาสนาโซโรอัสเตอร์ก็มีผลต่อการพัฒนาแนวความคิดและหลักคำสอน ของศาสนาอิสลาม

อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุและอินเดีย  

อินเดียเป็นอารยธรรมของคนในแถบเอเชียใต้และมีอิทธิพลต่อ อารยธรรมอื่นๆ โดยเฉพาะอารยธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออก อารยธรรมอินเดียโบราณหรืออารยธรรมลุ่มแม้น้ำสินธุ จัดเป็นอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก ดินแดนบริเวณนี้ประมาณ 3,000-2,500 ปีก่อนคริสตกาล จัดเป็นแหล่งอารยธรรมเมืองแห่งหนึ่งของโลกยุคโบราณ จากการขุดค้นพบ เมืองโมเฮนโจดาโร (Mohenjo-daro) และเมืองฮารัปปา (Harappa) ซึ่งเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมแห่งนี้ พบว่ามีความเจริญอย่างยิ่งในด้านการวางผังเมือง เพราะมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบระเบียบ มีระบบท่อระบายน้ำ มีสระขนาดใหญ่ภายใต้ตึก 3 ชั้น ยุ้งฉางสำหรับเก็บผลผลิตทางการเกษตร และมีหลักฐานการติดต่อค้าขายกับดินแดนเมโสโปเตเมียอีกด้วย

ผู้คนที่มีบทบาทในการพัฒนาและสร้างสรรค์อารยธรรมในแถบนี้มี ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในลุ่มแม่น้ำสินธุตั้งแต่ปลายยุคหินใหม่ เรียกว่า ดราวิเดียนมีรูปร่างเล็ก ผิวดำ จมูกแบน ส่วนอีกลุ่มหนึ่ง คือ อินโด-อารยันมีรูปร่างสูงใหญ่ จมูกโด่ง ผิวขาว มีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณภาคกลางของทวีปเอเซียรอบๆ ทะเลสาบแคสเปียน ต่อมาได้อพยพจากถิ่นเดิมไปยังดินแดนอื่นๆ กลุ่มหนึ่งอพยพไปตั้งถิ่นฐานบริเวณคาบสมุทรกรีซและในแหลมอิตาลี กลุ่มนี้เรียกว่า อินโดยูโรเปียนกลุ่มที่สองไปตั้งถิ่นฐานทางทิศตะวันออกเฉียงใต้บริเวณอัฟกานิสถานและขยาย สู่ทิศตะวันตกเข้าไปยังเปอร์เซีย กลุ่มนี้เรียกว่า เปอร์เซียและกลุ่มที่สามขยายมาทางตะวันออกเข้ามาด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย กลุ่มนี้เรียกว่า อินโดอารยันและได้พัฒนาอารยธรรม ต่อมาดินแดนแห่งนี้ได้กลายเป็นบ่อเกิดของลัทธิความเชื่อ ศาสนา และระบบปรัชญามากมาย

พัฒนาการทางความคิดที่สำคัญในอารยธรรมอินเดียเริ่มจากการนับถือ เทพเจ้าหลายองค์โดยการสวดสรรเสริญและอ้อนวอนเทพเจ้า ในช่วงแรกเป็นการสืบต่อกับด้วยการท่องจำแบบปากเปล่าในกลุ่มของผู้ทำพิธีกรรม เท่านั้น ต่อมาได้พัฒนาเป็นคัมภีร์ประกอบด้วยสามส่วนคือ ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท รวมเรียกว่า ไตรเวทภายหลังได้แต่งคัมภีร์ชื่ออถรรพเวทเพิ่มขึ้นรวมเป็นสี่ส่วน แต่ก็ยังเรียกว่าคัมภีร์พระเวทเหมือนเดิม เรียกยุคนี้ว่า ยุคพระเวทพัฒนาการความคิดของอินเดียในยุคถัดมามีความหลากหลายทางความคิด ในส่วนที่พัฒนาต่อจากพระเวท คือ มหากาพย์ที่สำคัญสอง เรื่อง คือ มหาภารตะและรามายณะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนากระแสความคิดอื่นที่แตกต่างไปจากความคิดแบบพระ เวท นั่นคือ กระแสความคิดจากพุทธศาสนาและจากศาสนาเชน

พัฒนาการความคิดจากคัมภีร์พระเวทนั้นมีหลายระดับ คือ เริ่มแรกเป็นความคิดความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าแบบ พหุเทวนิยม” (Polytheism) นั่นคือการนับถือเทพเจ้าหลายองค์ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นการยกย่องและให้การนับถือเทพเจ้าสูงสุดเพียงองค์เดียว เรียกว่า เอกเทวนิยม” (Monotheism) แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีการนับถือเทพองค์อื่นๆ ไปด้วยแต่ไม่ได้ยกย่องเป็นเทพสูงสุด ในช่วงหลังได้พัฒนาแนวความคิดให้เป็นปรัชญามากยิ่งขึ้น จึงเกิดคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งถือว่าเป็นพัฒนาการขั้นสุดท้ายของคัมภีร์พระเวทในนามของศาสนาฮินดู

แนวความคิดในปรัชญาอุปนิษัทได้พัฒนามาสู่ เอกนิยมอย่างสัมบูรณ์ นั่นคือมีความเชื่อในความจริงสูงสุดเพียงหนึ่งเดียว มีลักษณะเป็นอมตะ เที่ยงแท้แน่นอน และเป็นจุดหมายของมนุษย์ทุกคน เรียกว่า พรหมันหรือ ปรมาตมันแต่ความจริงที่ถูกเสนอโดยปรัชญาอุปนิษัทก็ถูกแย้งโดยพุทธศาสนา และศาสนาเชน ซึ่งทั้งสองแนวความคิดนี้ไม่เห็นด้วยกับแนวความคิดในปรัชญาอุปนิษัท โดยศาสนาเชนได้เสนอความคิดเรื่องความจริงสูงสุดนั้นคือ การเข้าถึง ไกรวัลย์หรือโมกษะ ด้วยการชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์ด้วยการทรมานตนเองเท่านั้น

ส่วนพุทธศาสนานั้นมีความคิดแย้งกับทั้งสองกระแสความคิด คือ พระเวทและศาสนาเชน โดยเสนอว่า การที่มนุษย์จะเข้าถึงความจริงสูงสุดได้นั้นจะต้องขจัดกิเลสด้วยการชำระจิต ใจให้บริสุทธิ์ไม่ใช่ด้วยการอ้อนวอนเทพเจ้าหรือการทรมานร่างกายแต่อย่างใด พุทธศาสนาจึงเสนอความคิดเรื่อง ไตรลักษณ์คือ หลักอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และหลักการปฏิบัติแบบทางสายกลาง เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทาคือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ การทำความเพียรชอบ การตั้งสติชอบ และการตั้งใจชอบ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มรรค 8ประการ

ความคิดจากอารยธรรมอินเดียได้แพร่กระจายได้ตามอาณาจักรต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะความคิดจากศาสนาฮินดูได้แพร่เข้าสู่อาณาจักรทางเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้จนก่อให้เกิดวิหารเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนา ก่อให้เกิดสถาปัตยกรรม จิตรกรรม และวรรณคดีทางศาสนามากมาย ต่อมาเมื่อพุทธศาสนาได้รับการยอมรับมากขึ้นและได้แพร่ขยายเข้ามาสู่ทั้ง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะการแพร่ขยายไปตามเส้นทางสายไหมจากอินเดียสู่จีนและเปอร์เซีย แนวความคิดทางพุทธศาสนาก็เข้ามาเจริญแทนที่กระแสความคิดเดิม

อารยธรรมจีน 

อารยธรรมจีนยุคโบราณเริ่มก่อตัวที่บริเวณลุ่มแม่น้ำฮวงโห เมื่อประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยเป็นชุมชนเกษตรกรรม บริเวณนี้พบหมู่บ้านเกษตรกรรมแห่งแรกเรียกว่า Ban Po ใกล้เมืองซีอาน เพราะความอุดมสมบูรณ์จากพื้นดินร่วนซุย ที่สะสมจากการพัดพาของลมและกระแสน้ำจนเป็นที่ราบลุ่มแม้น้ำเหลือง มีการทำปสุสัตว์ ทำเครื่องปั้นดินเผา เลี้ยงตัวหม่อนเพื่อนำมาทำผ้าไหม ความเจริญของจีนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ปรากฏอย่างเด่นชัดในยุคหินใหม่ตามมณฑล ต่างๆ ของจีนตั้งแต่ทางตอนเหนือจนถึงทางใต้จากแหล่งวัฒนาธรรม 2 แห่งคือ วัฒนธรรมหยางเฉา (Yang-Shao) และลุงซาน (Lung-Shan) วัฒนธรรมหยางเฉาโดดเด่นในเรื่องการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีการเขียนลายลาย บนผิวภาชนะ คือ สีแดง ขาว ส่วนวัฒนธรรมลุงซานทำเครื่องปั้นดินเผาสีดำเรียบไม่มีการระบายสี ทั้งสองวัฒนธรรมนี้ถือว่าเป็นรากฐานของอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหในเวลาต่อมา

อารยธรรมจีนหลังอารยธรรมยุคโบราณ และช่วงก่อนเส้นทางสายไหม อาจเริ่มต้นจากสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก โจรตะวันออก และราชวงศ์จิ๋น ประมาณ 1,000 ปี ก่อนคริสตกาล ช่วงสมัยราชวงศ์โจว กษัตริย์ได้ยกย่องฐานะของตนเองขึ้นเป็น โอรสสวรรค์โดยมีความเชื่อว่า เทียนเป็นเทพเจ้าสูงสุด ราชวงศ์โจวช่วงต้น ซึ่งเรียกว่า โจวตะวันตกครองอำนาจการปกครองจนถึงปี 770 ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้นมีกลุ่มอำนาจใหม่เกิดขึ้น เรียกว่า โจวตะวันออกเข้าปกครองต่อมาจนถึงประมาณ 403 ปีก่อนคริสตกาล ช่วงปลายราชวงศ์โจว เกิดความวุ่นวายยุ่งเหยิงทางการเมืองเพื่อแย่งความเป็นใหญ่ระหว่างรัฐต่างๆ จึงเรียกยุคนี้ว่า ยุคสงครามระหว่างรัฐประมาณ 403-221 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งมีศูนย์กลางการปกครองอยู่บริเวณใกล้เมืองซีอานในปัจจุบัน กระทั่ง 256 ปีก่อนคริสตกาลชิวั่งตี่แห่งแคว้นจิ๋นได้ปราบปรามรัฐต่างๆ แล้วรวบรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยใช้การปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ ศูนย์กลาง และสถาปนาตนเองเป็นจิ๋นซีฮ่องเต้ ต่อมาได้สร้างกำแพงเมืองจีนขึ้นและจัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก แม้ว่าช่วงปลายของราชวงศ์โจวเป็นยุคที่จีนมีความวุ่นวายทาง การเมืองระหว่างรัฐ แต่เป็นยุคที่มีการพัฒนาทางความคิดด้านศาสนาและปรัชญาอย่างโดดเด่น จนได้รับการขนานนามว่า ยุคทองของนักปรัชญาจีนหรือยุคปรัชญาร้อยสำนัก เช่น เหล่าจื้อ ผู้ก่อตั้งปรัชญาสำนักเต๋า ขงจื้อ ศาสดาของศาสนาหรือลัทธิขงจื้อ เม่งจื้อ และม่อจื้อ เป็นต้น แต่นักปรัชญาที่โดดเด่นและมีอิทธิพลต่อชาวจีนมาที่สุดคือ เหล่าจื้อและขงจื้อ  พัฒนาการของความคิดจีนก่อนยุคนักปราชญ์นั้น มีลักษณะเป้นควาเชื่อแบบวิญญาณนิยม (Animism) ซึ่งก็ไม่ต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ มาก เช่น การนับถือเทพเจ้าน้ำ เทพเจ้าแห่งลม แต่เทพเจ้าสูงสุดที่ชาวจีนให้ความเคารพนับถือคือ เทียนหมายถึง ฟ้า หรือสวรรค์ จนเข้าสู่ยุคนักปราชญ์ ความคิดจึงได้เริ่มพัฒนาอย่าเป็นระบบ

อารยธรรมกรีก 

กรีกเป็นคำที่ชาวโรมันเรียกชาวกรีก หรือกรีซในปัจจุบัน แต่ชาวกรีกเองเรียกตนเองว่า เฮลลีนส์และเรียกความเจริญอารยธรรมที่ตนสร้างสรรค์ว่า เฮเลนนิค” (Hellenic) ประเทศต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันออกคือ อินเดียและจีนส่วนต้นกำเนิดของอารยธรรมตะวันตกก็คือกรีกชาวตะวันตกทุกชาติ ไม่ว่าสหรัฐ แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ออสเตรีย อังกฤษ อิตาลี เยอรมนี ฯลฯ ใช้อารยธรรมที่ล้วนแล้วแต่มีรากดั้งเดิมมาจากกรีกทั้งนั้น

กรีกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาบริเวณรอบเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งอยู่ติดต่อกับอารยธรรมยุคเก่าซึ่งมีอำนาจในการปกครองดินแดนแถบนี้ 2 แห่งของโลก คือ อียิปต์และตอนเหนือของเมโสโปเตเมีย และที่สำคัญอีกอย่างคือ ดินแดนรอบเมดิเตอร์เรเนียน เป็นแหล่งเชื่อม 3 ทวีป คือ อาฟริกา เอเซียและยุโรป และเป็นชุมทางการเคลื่อนตัวของมนุษย์สมัยโบราณในยุคหินเก่าและหินใหม่ เนื่องจากกรีกเป็นเมืองค้าขายจึงมีโอกาสได้รับการถ่ายทอดความคิดอันหลากหลาย จากพ่อค้าจากต่างถิ่นที่แวะเข้ามาทำการค้าขาย

เมืองส่วนใหญ่ของกรีกเป็นเมืองค้าขายมีที่ราบเล็กๆ ในหุบเขาที่จะผลิตอาหารได้จำนวนจำกัด กรีกจึงมีแนวโน้มจัดตั้งองค์กรทางการเมืองที่ไม่รวมศูนย์ การเป็นเมืองค้าขายเปิดโอกาสให้ได้รับการถ่ายทอดความคิดจากพ่อค้าที่แวะเข้า มาจากการเดินทางออกไปยังอียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย เป็นต้น ทำให้กรีกสามารถตั้งคำถาม วิเคราะห์ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมได้มาก จากการที่กรีกปกครองเป็นนครรัฐ (Polis) จึงทำให้กรีกต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ ก่อนหน้านั้นหรือในยุคเดียวกัน คือ ไม่มีระบบความเชื่อเกี่ยวกับพระเจ้าที่มีอำนาจสูงสุดหรือสมบูรณ์ตายตัว จากจุดนี้จึงเป็นสาเหตุให้กรีกกลายเป็นนักวิเคราะห์ และนักเหตุผลนิยมได้ดีกว่าอารยธรรมอื่นที่ผ่านๆ มา และในที่สุดกรีกก็เป็นหนึ่งในอารยธรรมแรกๆ ที่สร้างระบบคิดแบบเปิด คือ ระบบปรัชญาที่มีการแลกเปลี่ยนความคิดเน้นการถกเถียงระหว่างปัญญาชนที่หลาย หลายขึ้น ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ส่วนที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กันในกรีก อินเดีย และจีน

ชาวกรีกให้การเทพเจ้าหลายองค์ เทพส่วนมากมีความเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติ เช่น Zeus ควบคุมท้องฟ้า พายุและฝน เทพ Poseidon ควบคุมทะเล เทพ Aphrodite เป็นเทพแห่งความรัก และเทพ เป็นต้น แต่การนับถือเทพของชาวกรีกมีความแตกต่างไปจากอารยธรรมอื่นๆ คือ แต่ละบุคคลสามารถบนบานต่อเทพได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านพระนักบวช และเทพในอารยธรรมกรีกนั้นมีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ตลอดเวลา

ส่วนในกรีกโบราณ ความคิดทางศาสนามีส่วนช่วยจรรโลงอารยธรรมกรีกเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ซึ่งปรากฏออกมาในรูปของการสร้างโบสถ์วิหารและปติมากรรมเพื่อถวายความเคารพ และบูชา สรรเสริญเทพเจ้า วิหารของเทพเจ้ากรีกล้วนก่อสร้างด้วยหินอ่อน และมีแบบของหัวเสา วิหารที่มีชื่อเสียงได้แก่ วิหารพาเธนอน (Pathenon) ในนครเอเธนส์ ซึ่งเป็นวิหารของเทพเจ้าอธีนาผู้คุ้มครองนครเอเธนส์ วิหารเทพเจ้าเหล่านี้ล้วนเป็นตัวอย่างแสดงแสดงฝีมือและความเป็นอัจฉริยะของก รีกโบราณด้านสถาปัตยกรรม

ความคิดเกี่ยวกับเทพเจ้าของกรีกโบราณสื่อออกมาในรูปลักษณะแบบ มนุษย์และคุณลักษณะบางประการของมนุษย์ เช่น ยังมีอารมณ์รัก โลภ โกรธ หลง มีการทะเลาะวิวาท อิจริษยา กันและกัน แต่มีความแตกต่างจากมนุษย์ตรงที่มีอาหารทิพย์ และมีความเป็นอมตะ แต่ละองค์ล้วนมีอานุภาพ และได้รับการกำหนดให้คุ้มครองธรรมชาติที่มีความสำคัญ เช่น ท้องทะเล ได้แก่ เทพเจ้าโพไวดอน (Poseidon) พื้นแผ่นดินได้แก่ เทพเจ้าซีรีส (Ceres) ความงาม ความรัก ได้แก่ เทพเจ้าอโพรไดท์ (Aphrodite) หรือที่ชาวโรมัน เรียกว่า วีนัส (Venus) ความฉลาด ได้แก่ เทพเจ้าอธีนา (Athena) แสงสว่างและการทำนาย ได้แก่ เทพเจ้าอพอลโล (Apollo) เป็นต้น

ส่วนเรื่องของความตายนั้น กรีกโบราณมีความคิดที่แตกต่างไปจากอียิปต์ คือ ชาวกรีกจะไม่สนใจความเป็นไปภายหลังความตาย ไม่สนใจต่อร่างกายที่ และเมื่อคนตายลงก็จะใช้วิธีเผาศพ และมีความคิดว่า เงาหรือผีจะอยู่ชั่วระยะหนึ่งหลังจากที่ตายไปทุกคนจะไปยังอาณาจักรแห่งความ ตาย ซึ่งอยู่ภายใต้ความควบคุมของเทพเจ้าใต้บาดาล คือ เฮเดส (Hades) แต่อาณาจักรแห่งความตายนี้มิใช่นรก หรือสวรรค์ ไม่มีการรับรางวัลแห่งความดี หรือการถูกลงโทษจากการกระทำผิด แต่จะอยู่ในลักษณะเดียวกันเหมือนกับการมีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์

กิจกรรมสำคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวกรีกก็คือ การรื่นเริงถวายเทพเจ้าที่ถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับศาสนปฏิบัติ ซึ่งแสดงออกโดยที่นครรัฐทุกแห่งจะมีงานรื่นเริงประจำนครรัฐของตนและมีการ แข่งกีฬา การแข่งขันกีฬาถวายเทพเจ้าที่สำคัญที่สุด คือ ที่โอลิมเบีย (Olympia) ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มในแคว้นเอลิส (Elis) ได้เริ่มแข่งขันมาตั้งแต่ 776  ปีก่อนคริสตกาล ณที่นี้มีวิหารของเทพเจ้าสูงสุด คือเทพเจ้าซีอุส (Zeus) และการแข่งขันกีฬาที่โอลิมเปียนี้เรียกว่า กีฬาโอลิมปิก (Olympic Game)

กิจกรรมต่างๆ ของชาวกรีกโบราณที่กล่าวมาแล้วนี้ นับเป็นตัวอย่างให้เห็นถึงความสอดคล้องผสมผสานระหว่างความคิดทางศาสนากับ อารยธรรมของมนุษย์ได้อย่างชัดเจนและมีความหมายที่ซ้อนเร้นอยู่ตาม สถาปัตยกรรมต่างๆ

ส่วนในสมัยโรมัน ปรากกว่าระยะแรกๆ ชาวโรมันมีชีวิตความเป็นอยู่แบบง่ายๆ มีการเลี้ยงสัตว์และทำการเพาะปลูก พวกเขานับถือผีวิญญาณ เชื่อว่ามีวิญญาณในทุกสิ่ง ไม่ว่าต้นไม้ ก้อนหิน สัตว์ในทุงหญ้า ท้องนา วิญญาณเหล่านี้อาจช่วยเหลือ หรือเป็นอันตรายต่อมนุษย์ ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่อวิญญาณเหล่านี้ จึงเป็นหน้าที่ของทางศาสนาที่จะหาวิธีปฏิบัติให้วิญญาณทั้งหลายนั้นมาเอื้อ ประโยชน์ต่อมนุษย์

ความคิดเรื่องวิญญาณที่สำคัญของชาวโรมันในระยะแรกได้แก่ เวสตา (Vesta) ซึ่งดูแลเตาไฟ แลรีส (Lares) ดูแลบ้านและขอบเขตที่นาของครอบครัว พิเนตีส (Penates) ดูแลที่เก็บเสบียงอาหาร และยังมีวิญญาณประจำตัวมนุษย์ได้แก่ จีเนียส (Genius) ซึ่งบำบัดรักษาครอบครัวโดยผ่านหัวหน้าครอบครัว จึงถือว่า จีเนียสเป็นวิญญาณประจำตัวผู้ชาย วิญญาณเหล่านี้จะต้องได้รับการกราบไหว้อย่างเหมาะสม

ในยุคโบราณ ตะวันตกถือว่ากรีกเป็นบ่อเกิดของความคิดแบบต่างๆ และถือว่าเป็นอาณาจักรที่มีอารยธรรมทั้งทางด้านความคิด การเมือง สถาปัตยกรรม เป็นต้นมีความก้าวหน้าแห่งหนึ่งในยุคโบราณ แต่ในยุคนี้ความคิดที่เด็นชัดและมีอิทธิพลต่อวิธีการคิดและการดำเนินชีวิต ของคนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในตะวันตก ก็คือความคิดทางปรัชญา ซึ่งมีนักคิดที่โดดเด่นที่สุดในยุคนั้น 3 ท่าน ก็คือ อริสโตเติล พลาโต้ และโสเครตีส แต่ตามประวัติศาสตร์แล้วนักคิดที่ถือว่ามีแนวคิดทางปรัชญาท่านแรกของกรี กโบราณก็คือ ธาเลส ซึ่งเป็นผู้ให้มุมมองเกี่ยวกับโลก จักรวาล และมนุษย์ที่แตกต่างออกไปจากมุมมองแบบยุคก่อนประวัติศาสตร์ และถือว่าเป็นผู้จุดประกายให้มีนักคิดท่านอื่นๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย ในยุคนี้สิ่งที่แตกต่างออกไปจากวิธีคิดแบบเดิมก็คือ การโต้แย้งประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับชีวิต ความจริง ธรรมชาติ โลก เป็นต้นด้วยเหตุผล แทนความเชื่อทางศาสนา จนเกิดทฤษฎีทางปรัชญาขึ้นอยากมากมาย แต่มีแนวความคิดหลักๆ ก็คือ

1. จิตนิยม ที่ถือว่าจิตหรือสภาวะที่เป็นนามธรรมเป็นความจริงสูงสุดหรือเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่ง

2. สสารนิยม ซึ่งเชื่อว่า ความจริงเป็นสสาร หรือในยุคนั้นเรียกว่า อะตอม เป็นความจริงสูงสุด และเป็นบ่อเกิดของสรรพสิ่งด้วย ซึ่งแต่ละความความคิดก็มีนักคิดหลายท่านเป็นฝ่ายสนับสนุน และก็มีหลายท่านเห็นแย้ง ความคิดแบบกรีกโบราณถือว่ามีอิทธิพลอย่างมากต่อสังคมในยุคต่อๆมา

ความคิดตะวันตกยุคกลาง

ยุคกลางเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคคริสเตียน ในยุคนี้ความคิดทางปรัชญาแบบกรีกโดยเฉพาะของนักคิดทั้งสามท่านก็ถูกปรับ ประยุกต์ให้มารับใช้หลักคำสอนของศาสนาคริสต์ ในยุคกลางอิทธิพลของศาสนาคริสต์แผ่ควบคลุมไปทั่วยุโรป จึงทำให้วิธีคิดและระบบความคิดต่างๆ ตกอยู่ภายใต้อำนาจของศาสนจักร ทำให้คนต้องคิดอยู่ภายในกรอบที่ถูกกำหนดมาไว้แล้วโดยศาสนจักร ถ้าใครคิดต่างออกไป ก็ถือว่ามีความผิดต้องถูกลงโทษถึงกับประหารชีวิตก็มี เพราะฉะนั้นในยุคนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ยุคมืดทางปัญญา (Dark Age)

แต่ต่อมาในยุคสมัยใหม่ ซึ่งนำโดยนักคิดหลายๆ ท่าน เช่น ฟรานซิส เบคอน เรเน่ เดกราตส์ เป็นต้นได้เสนอแนวคิดใหม่ ๆ ขึ้นมาทำให้ความคิดในยุคกลางมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของประชาลดลงไปมา เพราะในยุคนี้มีการให้หลักการทางวิทยาศาสตร์ และความเป็นเหตุเป็นผลในการต่อสู่กับวิธีคิดแบบเดิมๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ยุโรปส่วนมากสลัดตนเองออกมาจากอำนาจของศาสนจักร และเริ่มเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ (Modern Thought) และในยุคนี้ถือว่าเป็นยุคเริ่มต้นอย่างเป็นระบบของความคิดทางวิทยาศาสตร์ จนมีนักคือบางท่านถือว่า มนุษย์มิใช่สิ่งที่สร้างขึ้นจากพระเจ้าตามคติความสอนขอศาสนา แต่มนุษย์คือเครื่องจักร ซึ่งเป็นที่มาของแนวความคิดแบบจักรกลนิยม แต่ก็ยังจักอยู่ในประเภทสสารนิยมหรือวัตถุนิยม

ใบความรู้ที่ 9

เรื่อง  เศรษฐกิจโลก

ระบบเศรษฐกิจ (Economic System)  

หมายถึงหน่วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจย่อยมากมายมารวมตัวกันดำเนินการผลิตในสังคมโดยใช้หลักการแบ่งงานกันตามความถนัด มีการปฏิบัติภายใต้ระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบาย และแนวทางการปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน หน่วยเศรษฐกิจ คือ หน่วยงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ จะทำหน้าที่เกี่ยวกับกิจกรรมที่สำคัญทางด้านเศรษฐกิจอันได้แก่การผลิต การบริโภค และการแจกจ่ายสินค้าและบริการ 

หน่วยเศรษฐกิจเป็นหน่วยงานที่มีอยู่ในแต่ละระบบเศรษฐกิจจะทำหน้าที่แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยครัวเรือนหรือผู้บริโภค หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต และองค์การของรัฐบาล โดยจะทำหน้าที่ดังต่อไปนี้

หน่วยครัวเรือนหรือผู้บริโภค อาจจะเป็นบุคคลคนเดียวหรือหลายคนก็ได้ ซึ่งจะเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ทรัพยากร สมาชิกของครัวเรือนอาจเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต เป็นแรงงานเป็นผู้ประกอบการของกิจกรรมหนึ่งกิจกรรมใดในระบบเศรษฐกิจก็ได้ ถ้าเป็นเจ้าของที่ดินก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นค่าเช่า ถ้ารับจ้างทำงานก็จะได้ค่าจ้าง ถ้านำเงินให้กู้ยืมก็จะได้ดอกเบี้ย ถ้าเป็นผู้ประกอบการจะได้ผลตอบแทนในรูปของกำไรหรือขาดทุน แต่ทุกครัวเรือนจะต้องมีการบริโภคทั้งสิ้นและเป้าหมายหลักของผู้บริโภคเหล่านี้ก็คือความพึงพอใจสูงสุดนั้นเอง

หน่วยธุรกิจหรือผู้ผลิต เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำเอาปัจจัยการผลิตดังกล่าวข้างต้นมาทำการผลิตสินค้าและบริการ และนำไปจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคหน่อยธุรกิจประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้ขาย ซึ่งอาจจะเป็นบุคคลเดียวกันก็ได้ โดยมีจุดมุ่งหมาย คือ แสวงหากำไรสูงสุด 

องค์การของรัฐบาล เป็นหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยราชการต่างๆ ที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานตามนโยบาย โดยจะทำหน้าที่ในระบบเศรษฐกิจแทนรัฐบาล และสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นๆ ซึ่งจะมีบทบาทมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความแตกต่างของระบบเศรษฐกิจ ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมรัฐบาลจะควบคุมหน่วยธุรกิจและครัวเรือนน้อยหรือบางอย่างไม่ควบคุมเลย แต่ในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ รัฐบาลจะควบคุมทั้งหน่วยธุรกิจและหน่วยครัวเรือนมากกว่าระบบเศรษฐกิจแบบอื่น

ระบบเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในประเทศต่างๆ ย่อมมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการที่รัฐบาลจัดระเบียบทางเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจจัดตั้งสถาบันทางเศรษฐกิจ (Economic Institution) และให้ผู้ใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินความมั่งคั่ง ตลอดจนวางข้อบังคับและวิธีการควบคุมด้วย ดังนั้นการที่แต่ละสังคมมีขนบธรรมเนียมประเพณีและระบบการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันไป ทำให้วิธีการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าผลิตอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร การตัดสินใจปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจว่าจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับระบบเศรษฐกิจของสังคมนั้นๆ 

ระบบเศรษฐกิจสามารถจำแนกออกเป็น 4 ระบบด้วยกัน คือ ระบบทุนนิยม สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ และแบบผสม โดยมีลักษณะสำคัญและข้อดี-ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี (Free Economy) หรือทุนนิยม (Capitalism)    

เป็นระบบเศรษฐกิจที่เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยที่รัฐบาลจะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องหรือแทรกแซงในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รัฐทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกและการจัดสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ดังนั้นเอกชนจึงเป็นผู้ตัดสินแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่างๆ โดยใช้ระบบราคาหรือระบบตลาดช่วยในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ทั้งนี้ราคาเป็นตัวกำหนดว่ามีผู้บริโภคมากน้อยเพียงใดหรือมีผู้ผลิตจำนวนเท่าใด ณ ราคานั้นๆ กำไรคือแรงจูงใจของการผลิต จึงทำให้ระบบเศรษฐกิจนี้มีการแข่งขันทางราคาสูงมากและเป็นไปอย่างเสรี ทั้งนี้เพราะราคาถูกกำหนดขึ้นมาจากอุปสงค์และอุปทานของตลาด 

อังกฤษเป็นประเทศแรกที่ใช้ระบบนี้ เพราะมีความรุ่งเรืองทางด้านธุรกิจและอุตสาหกรรมมาก่อน ประชาชนชาวอังกฤษเองก็มีอาชีพทางด้านการค้ามาช้านานโดยใช้ทรัพยากรทั้งในและนอกประเทศมีอาณานิคมอยู่รอบโลก และภายใต้ระบบเศรษฐกิจในลักษณะนี้บุคคลมีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ที่จะถือทรัพย์สินส่วนตัว มีเสรีภาพที่จะเลือกการบริโภคการตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ จะทำโดยผ่านระบบตลาดแข่งขัน โดยที่ราคาในตลาดจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความต้องการของสังคม

หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ในระบบแบบเสรีมีหลักการที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้ (สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2538:57

1. การถือสิทธิ์ในทรัพยากร ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยมยอมรับเรื่องกรรมสิทธิ์ คือ ยอมให้หน่วยธุรกิจหรือเอกชนเป็นเจ้าของทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตได้ ผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เหล่านี้จึงมีสิทธิเสรีภาพในการจัดกระทำใดๆ กับทรัพย์ของตนก็ได้ 

2. เสรีภาพในการประกอบการ ทั้งปัจเจกบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เป็นองค์การหรือหน่วยธุรกิจ ต่างมีเสรีภาพอย่างเต็มเปี่ยมในการประกอบการใดๆ เพื่อจัดดำเนินการกับปัจจัยการผลิตและทรัพย์สินของตนได้อย่างอิสระ ปราศจากการบังคับควบคุมจากสิ่งใดทั้งสิ้น 

3. กำไรเป็นเครื่องจูงใจ ในระบบเศรษฐกิจแบบเสรี กำไรซึ่งเป็นส่วนของผลได้ที่เพิ่มขึ้นมาจากการลงทุนเป็นสิ่งสำคัญในการจูงใจให้หน่วยธุรกิจผู้ผลิตทำการผลิต โดยมุ่งนำเทคนิคใหม่ๆ ที่มาช่วยลดต้นทุนการผลิตมาใช้ในการดำเนินการ เพื่อที่จะได้กำไรสูงสุด ส่วนผู้บริโภคจะยึดเกณฑ์การเลือกบริโภคสินค้าและบริการที่จะนำความพอใจสูงสุด ด้วยการจ่ายเงินน้อยที่สุด โดยทำการเปรียบเทียบความต้องการของตนเองจากบรรดาสินค้าชนิดค่างๆ 

4. กลไกของราคา ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีใช้ราคาเป็นตัวตัดสินปัญหาพื้นฐานด้านการผลิต คือ ผู้ผลิตตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร เป็นจำนวนเท่าใด โดยดูแนวโน้มความต้องการของผู้จ่ายเงินซื้อสินค้าชนิดต่างๆ และดูระดับราคาสินค้าที่ผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายซื้อ ถ้าผู้บริโภคต้องการสินค้าชนิดใดมากก็จะใช้เงินซื้อสินค้านั้นมาก แม้ราคาจะสูงก็ยังจะซื้ออยู่ เมื่อเป็นดงนั้นผู้ผลิตก็จะทุ่มทุนกำลังการผลิต ผลิตสินค้าชนิดนั้น เพราะแน่ใจว่าขายได้แน่นอน วิธีดูแนวโน้มของราคาและพฤติกรรมของผู้บริโภคนี้เองเป็นตัวกำหนดที่ผู้ผลิตใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ราคาในระบบเศรษฐกิจเสรีจึงทำหน้าที่บ่งชี้และควบคุมการทำงานภายในระบบเศรษฐกิจจนกล่าวกันว่า ราคาทำหน้าที่แทนผู้บริโภค ชี้ทางให้ผู้ผลิตผลิตเฉพาะสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการ

5. บทบาทของรัฐ ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี รัฐจะไม่มีบทบาทในทางเศรษฐกิจเลย รัฐทำหน้าที่เพียงด้านความยุติธรรมและป้องกันประเทศ โดยที่รัฐบาลจะเป็นฝ่ายให้บริการและอำนวยความสะดวกแก่เอกชนหรือผู้ผลิตสินค้าและบริการ ดังเช่น อดัม สมิธ ได้กำหนดและวางหน้าที่บางอย่างแก่รัฐ ดังนี้

­ การป้องกันประเทศจากการรุกรานโดยใช้กำลัง ไม่ว่ารูปแบบใดๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ

­ การคุ้มครองมิให้พลเมืองได้รับความอยุติธรรม หรือการกดขี่ข่มเหงจากการกระทำของพลเมืองด้วยกันเอง

­ การสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อประชาชน

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีดังนี้

เกิดแรงจูงใจในการทำงาน เพราะทำแล้วรายได้ตกเป็นของตนเอง

เนื่องจากผู้ผลิตแต่ละรายต้องแข่งขันกันขายสินค้าและบริการให้มากที่สุด จึงต้องปรับปรุงเทคนิคการผลิตอยู่เสมอทำให้คุณภาพของงานและคุณภาพของสินค้าดีขึ้น

ผู้ผลิตสินค้ามีเสรีภาพในการตัดสินใจว่าจะผลิตอะไร ผลิตอะไร และผลิตมาปริมาณเท่าใด

ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ในราคาที่เป็นธรรมมากที่สุด   

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม มีข้อบกพร่องหลายประการด้วยกัน คือ

ทำให้การกระจายรายได้ของประชาชนไม่เท่าเทียมกัน เพราะบุคคลในสังคมต่างมีทรัพย์สินไม่เท่าเทียมกัน บุคคลที่มีทรัพย์สินมากย่อมมีความได้เปรียบบุคคลที่มีทรัพย์สินน้อยกว่าทั้งนี้เพราะทรัพย์สินเป็นแหล่งกำหนดรายได้ คนที่มีทรัพย์สินมากย่อมแสวงหารายได้จากทรัพย์สินของตนได้มาก โอกาสที่จะสร้างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ของบุคคลในสังคมจึงมีมาก ซึ่งหากคนที่มีทรัพย์สินมากหรือที่เรียกว่า นายทุนเป็นบุคคลที่ขาดจริยธรรมแล้ว โอกาสที่นายทุนจะเอาเปรียบผู้อื่นย่อมมีมากเพราะมักจะขาดจริยธรรมและคำนึงถึงแต่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจและกำไรมากๆ เป็นสำคัญ จะส่งผลให้เกิดแรงกดดันและความระส่ำระสายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม จึงมีผลให้ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมต้องเสื่อมลงในบางประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม ฯลฯ ต้องเลิกล้มไปในที่สุด

ในบางสถานการณ์ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมไม่สามารถจะนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ได้ เช่น ในภาวะฉุกเฉินหรือภาวะสงคราม หากรัฐบาลปล่อยให้เอกชนดำเนินการเศรษฐกิจเองโดยเสรี สถานการณ์ทางเศรษฐกิจอาจจะเลวลงกว่าที่เป็นอยู่ เช่น ประเทศอังกฤษสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐบาลต้องหันมาแทรกแซงกิจกรรมของเอกชน เพราะกลไกราคาใช้ไม่ได้ผล ทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าและบริการต่างๆ จนต้องใช้วิธีปันส่วน

ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม หากมีผู้ผลิตสินค้าและบริการน้อยราย โอกาสที่ผู้ผลิตที่จะรวมตัวกันเพื่อผูกขาดการผลิตสินค้าและบริการย่อมเป็นไปได้ง่าย เพราะรัฐบาลไม่สามารถจะเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ ผลเสียจะตกอยู่กับผู้บริโภคและผู้ใช้แรงงานซึ่งถูกเอาเปรียบ โดยการขึ้นราคาสินค้าให้สูง และกดค่าจ้าง ค่าแรงงานให้ต่ำ

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม (Socialism) หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน (Planned Economy)    

ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปควบคุมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความยุติธรรมในการกระจายผลผลิตแก่ประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลยังเป็นผู้ตัดสินใจในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ โดยมีการวางแผนการดำเนินงานทางเศรษฐกิจจากส่วนกลาง ในระบบเศรษฐกิจแบบนี้รัฐบาลจะเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตส่วนใหญ่ แต่ยังคงให้เอกชนมีสิทธิในการถือครองทรัพย์สินส่วนตัว อาทิ ที่พักอาศัย 

หลักการสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม หรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน มีหลักที่สำคัญ 2 ประการ คือ (สาขาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช 2538:63

1. กรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตเป็นขององค์การหรือหน่วยงานสาธารณะ (คือรัฐบาลและองค์การบริหารต่างๆ) ทั้งนี้เพื่อให้กิจกรรมผลิตสำคัญที่มีขนาดใหญ่อยู่ภายใต้การควบคุมดำเนินการในวิถีทางที่จะยังผลประโยชน์แก่ส่วนรวม

2. รัฐเป็นผู้ดำเนินการกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ การดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจของชาติทั้งด้านการผลิตและการจำหน่าย ทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติเป็นงานหน้าที่ของรัฐ โดยมีเป้าหมายให้บรรลุแผนเศรษฐกิจรวมของชาติ เพื่อยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้คือ

ประชาชนมีความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจมากกว่าระบบที่ต่างคนต่างอยู่

ประชาชนมีรายได้ใกล้เคียงกัน เศรษฐกิจไม่ค่อยผันแปรขึ้นลงมากนัก 

รัฐจะครอบครองปัจจัยขั้นพื้นฐานไว้ทั้งหมด และความคุมกิจการสาธารณูปโภคทั้งหมด 

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม มีดังนี้

แรงจูงใจในการทำงานต่ำ เพระกำไรตกเป็นของรัฐ คนงานจะได้รับส่วนแบ่งตามความจำเป็น 

ผู้บริโภคไม่มีโอกาสเลือกสินค้าได้มาก 

ประชาชนไม่มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการทำธุรกิจที่ตนเองมีความรู้ ความสามารถหรือต้องการจะทำ 

ไม่ค่อยมีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพราะไม่มีการแข่งขัน สินค้าอาจไม่มีคุณภาพ

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ (Communism)   

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐเป็นเจ้าของทุนแลละปัจจัยการผลิตทุกชนิด โดยรัฐเป็นผู้กำหนดการตัดสินใจในทางเศรษฐกิจและสังคมทั้งหมด ซึ่งเป็นระบบที่ตรงกันข้ามกับระบบทุนนิยมโดยสิ้นเชิง รัฐจะเข้ามาควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ทั้งหมด โดยจะกำหนดว่าจะผลิตสินค้าและบริการอะไร ผลิตอย่างไร และผลิตเพื่อใคร เอกชนไม่มีสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สินเพื่อการผลิตต่างๆ เช่น การถือครองที่ดิน เป็นต้น ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้นพัฒนามาจากแนวความคิดทางเศรษฐกิจของคาร์ล มาร์ค (Karl Marx) นักเศรษฐศาสตร์ผู้ซึ่งได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์และวาลาดิเนีย อิสยิช อัลยานอบ (Vladinir Ilych Ulyanov) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในนามของ เลนิน (Lenin) นักปฏิวัติโซเวียต ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงการปกครองและนำระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มาใช้กับสหภาพรัสเซียเป็นประเทศแรก

ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์มีลักษณะที่แตกต่างจากระบบทุนนิยม ที่เห็นได้เด่นชัด ดังนี้  

1. ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกสรรบริโภคสินค้าและบริการต่างๆ ตามความพอใจของตน เพระรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดสินค้าและบริการต่างๆ ให้ประชาชนเป็นผู้บริโภคตามความเหมาะสมและความจำเป็นเท่านั้น

2. ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในการถือครองและเป็นเจ้าของทรัพย์สินซึ่งสามารถนำไปผลิตสินค้าและบริการต่างๆ หรือนำไปแสวงหารายได้ เช่น ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร ฯลฯ 

3. ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกทำงานหรืออาชีพตามอำเภอใจเพราะรัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการทำงานและค่าจ้างให้แก่ประชาชนตามความสามารถ ประชาชนจึงมีสภาพเป็นลูกจ้างของรัฐบาลทุกคน

4. รัฐบาลจะเป็นผู้กำหนดการผลิตสินค้าและบริการ ว่าจะผลิตอะไร ผลิตอย่างไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด เอกชนไม่มีเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการต่างๆ ได้เอง ทั้งนี้สืบเนื่องจากปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่จะใช้ผลิตสินค้าและบริการเป็นของรัฐ การกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ รัฐจะเป็นผู้กำหนดโดยไม่ใช้กลไกราคาดังเช่น ระบบทุนนิยม

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์  

ไม่เกิดการได้เปรียบ เสียเปรียบของประชาชนในเชิงเศรษฐกิจ 

เกิดความเสมอภาค เพราะรัฐเป็นผู้แจกจ่ายผลผลิต ให้แก่บุคคลต่างๆ ในสังคมโดยเท่าเทียมกัน 

ไม่เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจโดยผลิตรายใด 

ข้อเสียของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์

ตามที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์นั้น ความแตกต่างในฐานะทางเศรษฐกิจมีน้อยกว่าระบบทุนนิยม เพราะประชาชนเป็นลูกจ้างของรัฐ แต่จากอดีตที่เป็นความจริง ปรากฏว่าระบบนี้ยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ คือ 

ประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าและบริการไม่พัฒนาเจริญก้าวหน้าเท่าที่ควรทั้งนี้เพราะขาดแรงจูงใจในการผลิตไม่มีผลกำไรที่เป็นสิ่งล่อใจ 

สิทธิและเสรีภาพของประชาชนถูกจำกัดโดยรัฐบาล 

การดำเนินงานล่าช้าเพราะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ มากมาย มีลักษณะคล้ายกับระบบราชการ 

ในปัจจุบันประเทศที่พอจะอนุโลมให้เป็นแบบอย่างของระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ได้แก่ สหภาพโซเวียต (ซึ่งปัจจุบันล่มสลายไปแล้ว) สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้เนื่องจากระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์จริงๆ นั้นเป็นเพียงอุดมคติยังไม่มีประเทศใดก้าวไปถึง

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม (Mixed Economy)  

ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หมายถึง ระบบเศรษฐกิจที่รวมเอาลักษณะสำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและสังคมนิยมเข้าไว้ด้วยกัน ระบบเศรษฐกิจแบบผสม หรือที่เรียกกันโดยทั่วๆ ไปอีกอย่างหนึ่งว่า ระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมใหม่เป็นระบบเศรษฐกิจที่ทั้งรัฐบาลและเอกชนรับผิดชอบร่วมกันในการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ อันได้แก่จะผลิตอะไร ในปริมาณเท่าใด ผลิตอย่างไร และแบ่งปันผลผลิตในหมู่สมาชิกของสังคมอย่างไร ระบบนี้รัฐบาลจะเข้ามามีบทบาทในการวางแผนในกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประการ ขณะเดียวกันก็ปล่อยให้เอกชนดำเนินการทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่โดยอาศัยกลไกราคาเป็นเครื่องนำทาง 

ลักษณะที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจแบบผสม มีดังนี้  

1. เอกชนและรัฐบาลมีส่วนร่วมกันในการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศว่าจะเป็นการผลิตสินค้าและบริการอะไร ปริมาณมากน้อยเท่าใด และการกระจายสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปสู่ใครอย่างไรบ้าง ทั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือกันทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล 

2. ทั้งเอกชนและรัฐบาลสามารถจะเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิตสินค้าและบริการอย่างเสรี แต่อาจมีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการผลิตสินค้าและบริการบางประเภทที่รัฐบาลพิจารณาแล้วเห็นว่าหากปล่อยให้เอกชนดำเนินงานอาจไม่ปลอดภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือเอกชนอยู่ในฐานะที่เหมาะสมซึ่งจะดำเนินงานได้เพราะอาจจะขาดแคลนเงินทุน ขาดเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ ฯลฯ กิจกรรมดังกล่าวนี้ เช่น กิจกรรมสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การรักษาความปลอดภัย การป้องกันประเทศ เป็นต้น 

3. กลไกราคายังเป็นสิ่งที่สำคัญในการกำหนดราคาสินค้าและบริการต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจแบบผสมนี้ แต่รัฐบาลยังมีอำนาจในการเข้าไปแทรกแซงภาคเอกชนเพื่อกำหนดราคาสินค้าให้มีเสถียรภาพและเกิดความเป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค 

4. รัฐจะคอยให้ความคุ้มครองและความช่วยเหลือ ตลอดจนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการในภาคเอกชนด้วยการสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ เช่น การสร้างถนน สะพาน สนามบิน ฯลฯ ไว้คอยอำนวยประโยชน์ต่อเอกชนในการดำเนินธุรกิจ 

ข้อดีของระบบเศรษฐกิจแบบผสม

เป็นการยกฐานะของคนในสังคมให้เท่าเทียมกันและเป็นการแลกเปลี่ยนแปลงจากทุนนิยมเป็นแบบสังคมนิยม โดยสันติวิธีทางรัฐสภา 

รายได้ถูกนำมาเฉลี่ยให้ผู้ทำงานตามกำลังงานที่ได้กระทำ มิใช่ตามความจำเป็นแรงจูงใจในการทำงานจึงดีกว่า 

เอกชนยังมีบทบาททางเศรษฐกิจ มีการแข่งขัน สินค้าจึงมีคุณภาพสูง

ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสินค้าได้มากพอสมควร

ความไม่เท่าเทียมในรายได้ และทรัพย์สินมีน้อย 

ข้อเสียระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ระบบนี้มีการวางแผนเพียงบางส่วน จึงอาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในกรณีที่ต้องการเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เช่น ยามสงคราม 

การควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางส่วนโดยรัฐ เป็นเครื่องกีดขวางเสรีภาพของเอกชน

การวางแผนจากส่วนกลางเพื่อประสานประโยชน์ของรัฐบาลเข้ากับเอกชนให้เกิดผลดีแก่ส่วนรวมอย่างแท้จริงทำได้ยาก 

นักธุรกิจขาดความมั่นใจในการลงทุน เพราะไม่แน่ใจว่าในอนาคตกิจกรรมของตนจะถูกโอนเป็นของรัฐหรือไม่ 

การบริหารงานอุตสาหกรรมของรัฐมีประสิทธิภาพไม่ดีไปกว่าสมัยที่อยู่ในมือของเอกชน

การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นกระบวนการที่ทำให้รายได้ต่อบุคคลที่แท้จริงของคนในประเทศเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุด ประเทศต่างๆ จำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือเพื่อการยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น การวัดว่าประเทศมีการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งเครื่องมือสำคัญ คือ รายได้ต่อบุคคล และหลักเกณฑ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่เศรษฐกิจ ซึ่งค่าใช้จ่ายหรือรายได้ต่อบุคคลเป็นเครื่องวัดฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งสามารถแบ่งประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 

กลุ่มโลกที่หนึ่ง (ประเทศที่พัฒนาแล้ว) เป็นประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลสูงมาก และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมก้าวหน้ามาก เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น 

กลุ่มโลกที่สอง (ประเทศสังคมนิยม) เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เกาหลีเหนือ คิวบา 

กลุ่มโลกที่สาม (ประเทศด้อยพัฒนา) เป็นประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศในทวีปแอฟริกา ละตินอเมริกา และเอเชีย  

อารยธรรมในยุคแรกของโลกมักกำเนิดขึ้นที่ใด

“อียิปต์” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ไอยคุปต์” เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความเก่าแก่ไม่น้อยไปกว่าอารยธรรมเมโสโปเตเมียที่อยู่ใกล้กัน ในสมัยโบราณ อียิปต์นั้นแบ่งเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ อียิปต์ตอนบน และอียิปต์ตอนล่าง โดยอียิปต์ตอนบน (พื้นที่สูงกว่า) จะอยู่ด้านทิศใต้ ส่วนอียิปต์ตอนล่าง (พื้นที่ต่ำกว่า) ...

อารยธรรมใดเป็นอารยธรรมแรกของโลก

เมโสโปเตเมียเป็นอู่อารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกสมัยโบราณ โดยตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ 2 สาย คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) และแม่น้ำยูเฟรทีส (Euphrates) ซึ่งปัจจุบันนี้อยู่ในประเทศอิรัก แม่น้ำทั้ง 2 สายมีต้นน้ำอยู่ในอาร์มีเนียและเอเชียไมเนอร์มาบรรจบกันเป็นชัฏฏุลอะร็อบแล้วไหลลงสู่ทะเลที่อ่าวเปอร์เซีย

สมัยโบราณมีลักษณะอย่างไร

สมัยโบราณ (อังกฤษ: Ancient history) ในความหมายที่เป็นสากล จะหมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการตั้งถิ่นฐานถาวร สร้างอารยธรรม วัฒนธรรม อักษรต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งในแต่ละประเทศ สมัยโบราณจะมาถึงเร็วหรือช้า จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาใดทีประเทศนั้นอยู่ในช่วงสร้างและประดิษฐ์อารยธรรมที่จะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าอารยธรรมของ ...

เหตุการณ์ใดที่ถือว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการสร้างอารยธรรม

การเริ่มต้นของอารยธรรมยุคแรกเริ่ม เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ยุติการเร่ร่อนและตั้งถิ่นฐานเป็นการถาวรทำให้ลดการสูญเสียเวลา ที่ต้องหาอาหารเพราะมนุษย์สามารถผลิตอาหารไว้บริโภคเองได้ ความอุดมสมบูรณ์ ความปลอดภัยในชีวิต ความสงบเรียบร้อยของสังคมทำให้มนุษย์มีเวลาที่จะคิดประดิษฐ์สร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ที่จะนำมาใช้พัฒนาชีวิตและสังคมให้ดี ...

อารยธรรมในยุคแรกของโลกมักกำเนิดขึ้นที่ใด อารยธรรมใดเป็นอารยธรรมแรกของโลก สมัยโบราณมีลักษณะอย่างไร เหตุการณ์ใดที่ถือว่าเป็นยุคเริ่มต้นของการสร้างอารยธรรม ข้อสอบอารยธรรมโบราณ พร้อมเฉลย งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของกรีก เกิดจากคุณลักษณะเฉพาะตัวของกรีกโบราณในเรื่องใด แบบฝึกหัด อารยธรรมของโลกยุคโบราณ อารยธรรมโลกยุคโบราณที่ยังคงมีอิทธิพลต่อโลกปัจจุบัน มีอะไรบ้าง ปัญหาการขาดแคลนอาหารในโลก ควรใช้การสร้างสรรค์ของอารยธรรมโบราณในเรื่องใด อารยธรรมของโลกยุคโบราณ สรุป แหล่งอารยธรรมโบราณของโลกแหล่งต่างๆมีความสัมพันธ์ และมีอิทธิพลต่อกันอย่างไร