เงินอุดหนุนบุตรต้องไปลงทะเบียนที่ไหน

เปิดวิธีลงทะเบียน เงินอุดหนุนบุตร เดือนละ 600 บาท พร้อมเอกสารที่ต้องเตรียมก่อนยื่นกรอกข้อมูลขอรับสิทธิ

Show

โครงการเงินอุดหนุนบุตร เป็นมาตรการช่วยเหลือเยียวยาให้กับผู้ปกครองที่มีบุตรตั้งแต่เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี เป็นจำนวน 600 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่มีเกณฑ์ได้รับเงินอุดหนุนบุตรจากรัฐบาลจะต้องมีคุณบัติและเงื่อนไขดังต่อไปนี้

คุณสมบัติผู้ลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตร

  • ผู้ปกครอง
    • มีสัญชาติไทย
    • เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
  • เด็กแรกเกิด
    • มีสัญชาติไทย
    • เกิดตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 58 เป็นต้นไป จนมีอายุครบ 6 ปี
    • อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาทต่อคนต่อปี
    • ไม่อยู่ในสถานสงเคราะห์ของหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน

เอกสารประกอบการลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตร

  • แบบคำร้องขอลงทะเบียน (ดร.01) คลิกที่นี่
  • แบบรับรองสถานะของครัวเรือน (ดร.02) คลิกที่นี่
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ปกครอง
  • สูติบัตรเด็กแรกเกิด
  • สมุดบัญชีเงินฝากของผู้ปกครอง (กรุงไทย, ออมสิน หรือ ธกส.) อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
  • สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก (เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์)
  • ใบรับรองเงินเดือน หรือหนังสือรับรองรายได้ของทุกคนในครัวเรือนที่มีรายได้ประจำ
  • สำเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรแสดงสถานะหรือตำแหน่ง หรือเอกสารอื่นใด ที่แสดงตนของผู้รับรองคนที่ 1 และผู้รับรองคนที่ 2

สถานที่รับลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตร

  • กรุงเทพมหานคร : ณ สำนักงานเขต
  • เมืองพัทยา : ณ ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  • ส่วนภูมิภาค : ณ องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล

เงินอุดหนุนบุตรต้องไปลงทะเบียนที่ไหน

  • เช็กเงินอุดหนุนบุตร ได้ด้วยตนเอง ขั้นตอนง่ายๆ แค่กรอก-คลิกเท่านั้น!

  • เงินอุดหนุนบุตรไม่เข้าบัญชีเกิดจากอะไร พร้อมเฉลยวิธีแก้ไขได้ที่นี่!

โหลดเพิ่ม

เงินอุดหนุนบุตรต้องไปลงทะเบียนที่ไหน

แท็กที่เกี่ยวข้อง

วิธีลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตรเงินอุดหนุนบุตรเงินสงเคราะห์บุตรเด็กแรกเกิดเอกสารลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตรคุณสมบัติ เงินอุดหนุนบุตรข่าวเศรษฐกิจธุรกิจเรื่องเงินเรื่องง่าย

เปิดขั้นตอนการสมัครรับเงินอุดหนุนบุตร 600 บาท ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ใช้เอกสารอะไรประกอบ สมัครได้ที่ไหนบ้าง พร้อมแนะช่องทางตรวจสอบสิทธิการได้รับเงินช่วยเหลือ เช็คข้อมูลทั้งหมดได้ที่นี่

วันที่ 8 มีนาคม 2565 "ฐานเศรษฐกิจ"รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการสมัครรับเงินอุดหนุนบุตร หรือ เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 600 บาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการที่ภาครัฐฯต้องการจัดสวัสดิการพื้นฐานและเป็นหลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานให้เด็กแรกเกิด ที่อยู่ในภาวะยากลําบากได้รับการเลี้ยงดูที่มีคุณภาพ

 

ขณะเดียวกันยังเป็นมาตรการให้พ่อแม่ผู้ปกครองนําเด็กเข้าสู่ระบบบริการของรัฐเพื่อให้เด็ก ได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กแรกเกิดและเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ซึ่งเป็นพื้นฐาน สําคัญในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในช่วงวัยอื่น ๆ

 

สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องการสมัครลงทะเบียนเพื่อรับเงินอุดหนุนบุตร หรือเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด จำนวน 600 บาทต่อเดือน จะต้องมีคุณสมบัติ รวมไปถึงจะต้องจัดเตรียมเอกสารอะไรบ้าง วันนี้"ฐานเศรษฐกิจ"ได้รวบรวมข้อมูลมานำเสนอดังต่อไปนี้

ลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตร เงินเด็ก ผ่านแอปฯ และหน่วยรับลงทะเบียน เริ่ม วันนี้ 16 ก.ย. 65 ตรวจสอบคุณสมบัติเเละเอกสารที่จำเป็นต้องมี

 

กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดลงทะเบียนเพื่อขอรับเงินอุดหนุนบุตร เงินเด็กแรกเกิด โดยเพิ่มช่องทางจากการลงทะเบียน ณ ส่วนราชการในท้องที่ที่อาศัยอยู่ ได้แก่ สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ศาลาว่าการเมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล 

 

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เปิดรับลงทะเบียนโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดผ่านระบบดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย. 65 เป็นต้น

รู้หรือไม่ หากคลอดบุตรวันนี้รับทันที 600 บาท ผู้ปกครองหลาย ๆ คนคงเคยได้ยินว่ารัฐบาลมีเงินให้เด็กแรกเกิด  แต่ใครมีสิทธิได้รับเงินนี้ ลงทะเบียนที่ไหน ทำได้เมื่อไหร่ รวมถึงขั้นตอนการลงทะเบียนเป็นอย่างไร มาร่วมไขคำตอบไปพร้อมกันในบทความนี้ได้เลย

สารบัญ

  • เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด คืออะไร?
  • คุณสมบัติของคนที่ได้รับสิทธิ
  • พร้อมแล้วก็ลงทะเบียนไว้ จะมาขอสิทธิย้อนหลังไม่ได้
  • เตรียม 8 เอกสารสำคัญไว้ ได้เงินแน่
  • ลงทะเบียนได้ที่ไหน
  • ขั้นตอนการลงทะเบียน ทำอย่างไร
  • ได้ หรือ ไม่ได้? ตรวจสอบสิทธิอย่างไร

เงินอุดหนุนบุตรต้องไปลงทะเบียนที่ไหน

ตรวจสอบสิทธิและผลลงทะเบียน

เงินอุดหนุนบุตรต้องไปลงทะเบียนที่ไหน

ตรวจสอบสิทธิและเช็กเงินอุดหนุน

เงินอุดหนุนบุตรต้องไปลงทะเบียนที่ไหน

ลงทะเบียนเงินอุดหนุนฯ

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด คืออะไร?

โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เป็นหนึ่งในสวัสดิการที่รัฐช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ให้กับครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท/ปี เพื่อให้เด็กได้รับการดูแลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ช่วยให้เด็กได้รับสิทธิด้านการอยู่รอดและการพัฒนาตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หน่วยงานที่ดูแลโครงการนี้ จะจ่ายเงินให้ผู้ปกครองเป็นจำนวน 600 บาททุกเดือน ลงทะเบียนครั้งเดียวก็ใช้สิทธิได้ ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ 6 ปี

เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด เหมือนหรือต่างจาก เงินสงเคราะห์บุตรของประกันสังคมอย่างไร?

เงินสงเคราะห์บุตรของ ประกันสังคมเงินอุดหนุนบุตรของ พมจ.ผู้ที่มีสิทธิ

  • ผู้ประกัน ม.33
  • ผู้ประกัน ม.33 ม. 39
  • ผู้ประกัน ม.33ม. 40 (ทางเลือกที่ 3)
  • ครอบครัวที่มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท / ปี
  • จำนวนเงินที่ได้รับ
  • 800 บาท (200 บาท สำหรับผู้ประกันตน ม. 40 / ทางเลือกที่3)
  • 600 บาท
  • หน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • กองทุนประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
  • จำนวนบุตร ที่ขอใช้สิทธิ / 1 ครั้ง
  • 3 คน/ครั้ง
  • ไม่จำกัด
  • ผู้ปกครองของเด็กที่มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือจาก “เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด” จำนวน 600 บาทแล้ว สามารถรับ “เงินสงเคราะห์บุตร” จำนวน 800 บาทได้อีก รวมเป็นเงิน 1,400 บาทต่อเดือน หากมีคุณสมบัติตรงตามที่หน่วยงานนั้น ๆ กำหนด

    คุณสมบัติของคนที่ได้รับสิทธิ

    คนที่มีสิทธิรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด คือ “เด็กแรกเกิด” ที่มีสัญชาติไทย ซึ่งเกิดตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 เป็นต้นไป จนอายุครบ 6 ปี และต้องไม่ได้รับเงินช่วยเหลือในการเลี้ยงดูบุตรจากหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

    หากใครไม่แน่ใจว่าตนเองสามารถลงทะเบียนรับสิทธิได้หรือไม่ สามารถเช็กคุณสมบัติได้ ดังนี้

    เด็กที่มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ 

    • มีสัญชาติไทย (พ่อแม่มีสัญชาติไทย หรือ พ่อหรือแม่มีสัญชาติไทย)
    • แรกเกิด – 6 ปี
    • อาศัยอยู่กับผู้ปกครอง

    ผู้ปกครองที่สามารถลงทะเบียน

    • มีสัญชาติไทย
    • เป็นบุคคลที่รับเด็กแรกเกิดไว้ในความอุปการะ
    • เด็กแรกเกิดต้องอาศัยรวมอยู่ด้วย
    • อยู่ในครัวเรือนที่มีรายได้น้อย คือ สมาชิกครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 100,000 บาท /คน ต่อปี

    ทั้งนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 หรือ 40 ก็สามารถลงทะเบียนขอรับเงินอุดหนุนบุตรได้ หากรายได้เฉลี่ยต่อปีไม่เกินเกณฑ์ และมีคุณสมบัติตรงตามที่กำหนด

    แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าครอบครัวเรามีรายได้เฉลี่ยกี่บาทต่อปี เตรียมเครื่องคิดเลขให้พร้อม แล้วมาลองคำนวณตามวิธีด้านล่างได้เลย

    วิธีการคำนวณ

    รายได้เฉลี่ยของครัวเรือน = รายได้รวมกันของสมาชิกครอบครัวเด็กแรกเกิด (÷) จำนวนสมาชิกครอบครัวเด็กแรกเกิด

    *จำนวนสมาชิกครอบครัวเด็กแรกเกิดที่นำไปคำนวณ ให้นับรวมเด็กแรกเกิดด้วย แต่ไม่นับรวมรายได้ของสมาชิกที่อาศัยอยู่ในครอบครัวน้อยกว่า 180 วัน / ปี และไม่นับรวมลูกจ้างที่เป็นสมาชิกของครัวเรือน

    แต่ก็ไม่ต้องรีบจนเกินไป สำหรับคุณแม่ที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ยังไม่ต้องมายื่นคําร้องขอลงทะเบียน รอให้คลอดเสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วค่อยมาลงทะเบียน ส่วนผู้ปกครองท่านใดที่อ่านคุณสมบัติที่กล่าวไปข้างต้นแล้วยังไม่มั่นใจว่าเข้าข่ายได้จะรับเงินหรือไม่ สามารถเข้าไปอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์โครงการเงินอุดหนุนฯเพิ่มเติมได้ จะได้มั่นใจว่าไม่พลาดสิทธิ

    พร้อมแล้วก็ลงทะเบียนไว้ จะมาขอสิทธิย้อนหลังไม่ได้

    ผู้ปกครองสามารถไปลงทะเบียนได้ทุกเมื่อ หลังจากเช็กคุณสมบัติของตัวเองและลูกแล้วผ่านเกณฑ์ทุกข้อ ก็เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน เพื่อจะได้ไปลงทะเบียนที่จุดบริการตามพื้นที่ที่เด็กแรกเกิดและผู้ปกครองอาศัยอยู่กันได้เลย

    สำหรับผู้ลงทะเบียนรายใหม่ ที่มายื่นขอรับสิทธิ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป จะเริ่มได้รับเงินในเดือนที่ยื่นขอรับสิทธิ จะไม่สามารถรับเงินย้อนหลังถึงเดือนที่เด็กเกิดได้

    เตรียม 8 เอกสารสำคัญไว้ ได้เงินแน่

    เอกสารประกอบการลงทะเบียน ประกอบด้วย

    1. แบบคำร้องขอลงทะเบียน ดร.01(คลิกที่นี่)
    2. แบบรับรองสถานะของครัวเรือน ดร.02(คลิกที่นี่)
    3. บัตรประจําตัวประชาชนของผู้ปกครอง
    4. สูติบัตรเด็กแรกเกิด
    5. สมุดบัญชีเงินฝาก หรือหมายเลขพร้อมเพย์ (เลขบัตรประชาชน) ที่จะใช้รับเงิน
      • บัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย
      • บัญชีเงินฝากเผื่อเรียกธนาคารออมสิน
      • บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
    6.  สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก
      • เฉพาะหน้าที่ 1 ที่มีชื่อของหญิงตั้งครรภ์ (กรณีที่สมุดสูญหาย ให้ใช้เฉพาะสําเนาหน้าที่ 1 พร้อมให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบันทึกข้อมูลและรับรองสําเนา)
    7. กรณีเป็นลูกจ้างประจำของหน่วยงานรัฐและเอกชน ต้องมีสลิปเงินเดือน หรือเอกสารหลักฐานที่นายจ้างลงนาม
    8. สําเนาเอกสาร หรือบัตรข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเอกสารอื่นใดที่ผู้รับรองใช้แสดงตน (เพื่อใช้ยืนยันรายได้)
      • ผู้รับรองคนที่ 1 (อาสาสมัครสาธารณสุข/ ประธานชุมชน/กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน)
      • ผู้รับรองคนที่ 2 (ผู้อำนวยการเขต/ ปลัดเมืองพัทยา หรือข้าราชการที่ปลัดเมืองพัทยามอบหมาย/ ปลัดเทศบาลหรือข้าราชการที่ปลัดเทศบาลมอบหมาย)
      •  

    ใช้เอกสารอย่างละ 1 ฉบับ และรับรองสำเนาถูกต้องให้ครบ แต่หนังสือรับรองเงินเดือนต้องใช้ฉบับจริงเท่านั้น

    ลงทะเบียนได้ที่ไหน

    หลังจากผู้ปกครองเตรียมเอกสารลงทะเบียนพร้อมรับรองสำเนาครบถ้วนแล้ว ให้นำเอกสารไปยื่นลงทะเบียนได้ที่พื้นที่ที่เด็กแรกเกิดและผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง ดังนี้

    • กรุงเทพมหานคร : ลงทะเบียนที่สํานักงานเขต
    • เมืองพัทยา : ลงทะเบียนที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
    • ส่วนภูมิภาค : ลงทะเบียนที่องค์การบริหารส่วนตําบล หรือเทศบาล

    วิธีการลงทะเบียนเเบ่งเป็น 2 กรณี คือ

    เคยลงทะเบียนแล้วยังไม่เคยลงทะเบียนกรณีเคยลงทะเบียนไว้แล้วไม่จำเป็นต้องมาลงทะเบียนใหม่ เพราะจะได้รับโอนเงินต่อเนื่องจนบุตรมีอายุ 6 ปี บริบูรณ์กรณีที่ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน หรือเพิ่งคลอดบุตร หากเช็กคุณสมบัติแล้วว่าผ่านทุกข้อ ก็สามารถไปลงทะเบียน ตามสถานที่รับลงทะเบียนที่เปิดรับได้เลย

    ขั้นตอนการลงทะเบียน ทำอย่างไร

    หลังจากลงทะเบียนแล้ว ก็ต้องอดใจรอฟังผลกันอีกหน่อย เพราะการที่จะได้รับสิทธินั้นต้องผ่านการพิจารณาจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการลงทะเบียนจะมี ดังนี้่

    1. ผู้ปกครอง ยื่นเอกสารการลงทะเบียนขอรับสิทธิเงินอุดหนุน ณ หน่วยงานใกล้บ้าน
    2. หน่วยงานรับลงทะเบียนตรวจสอบเอกสาร
    3. หน่วยงานรับลงทะเบียนประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ 15 วัน
    4. หากไม่มีผู้คัดค้าน เจ้าหน้าที่จะบันทึกข้อมูลเข้าระบบ
    5. กรมกิจการเด็กและเยาวชนประมวลผลรายชื่อผู้มีสิทธิและส่งให้กรมบัญชีกลาง
    6. กรมบัญชีกลางส่งรายชื่อผู้มีสิทธิให้กรมการปกครองเพื่อตรวจสอบสถานะรายบุคคล
    7. กรมบัญชีกลางโอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้มีสิทธิ (ปัจจุบันโอนเงินผ่านพร้อมเพย์)
    8. กระทรวงสาธารณสุขติดตามประเมินผลพัฒนาการเด็กที่ได้รับเงินอุดหนุนฯ

    ได้ หรือ ไม่ได้? ตรวจสอบสิทธิอย่างไร

    ผู้ปกครองที่ลงทะเบียนไป สามารถเข้าไปตรวจสอบผลการยื่นผ่านระบบตรวจสอบสิทธิด้วยตนเอง (Self Service) ซึ่งทำได้ผ่านทางเว็บไซต์กรมกิจการเด็กและเยาวชน หรือ ผ่านทาง แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”

    ผ่านเว็บไซต์ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ"ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ ผ่านเว็บไซต์

    1. เข้าเว็บไซต์
    2. ระบุเลขประจำตัวประชาชนของผู้ลงทะเบียน
    3. ระบุเลขประจำตัวประชาชนของเด็ก
    4. กรอกหัสยืนยันรูปภาพ
    5. กดค้นหาข้อมูล
    6. หน้าจอจะแสดงผลการตรวจสอบ 3 กรณี ดังนี้
      1. ได้รับสิทธิ
      2. ไม่พบสิทธิ
      3. ขึ้นตัวอักษร E ซึ่งหมายความว่าเกิดปัญหาในการลงทะเบียน และต้องแก้ไขก่อนขอรับสิทธิ โดยติดต่อกับ พมจ. หรือ กรมกิจการเด็กและเยาวชน แต่หากขึ้นสถานะ EX (รอการจ่ายเงิน) ไม่ต้องกังวลใด ๆ รอรับเงินได้เลย
    ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ ผ่านแอปฯ “ทางรัฐ”
    1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ”
    2. สแกนบัตรประชาชนเพื่อทำการลงทะเบียน
    3. สแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน
    4. ระบุบัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน
    5. หลังลงทะเบียนเสร็จสิ้น จะเห็นหัวข้อ “สิทธิประโยชน์/สวัสดิการ” จากนั้นกดเข้าไปที่ “เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด” เพื่อตรวจสอบข้อมูลได้เลยทันที แต่สามารถตรวจสอบได้เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนเท่านั้น

    เช็กเงินเข้าอย่างไร

    สามารถตรวจสอบว่ามีเงินเข้าในบัญชีได้โดย 3 วิธี คือ

    • ตรวจสอบจากบัญชีที่ใช้ในการรับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด
    • ตรวจสอบจากการนำสมุดบัญชีธนาคารไปปรับที่ธนาคาร
    • ตรวจสอบจากระบบตรวจสอบสิทธิ ของโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

    หลังจากที่ได้อ่านรายละเอียดของเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิดไปแล้ว หากผู้ปกครองท่านใดที่รู้ตัวว่าคุณสมบัติผ่านครบถ้วนตามที่กำหนด ก็อย่ารอช้า รีบเตรียมเอกสารให้ครบ แล้วไปลงทะเบียนกันได้แล้ววันนี้ หรือหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง และช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เช่น