การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

ภาษา ActionScript3.0 สามารถทำงานพัฒนาโปรแกรม บน Adobe Flash Professional หรือ Adobe Flash Builder ได้ดียิ่งๆ ขั้น เพราะรู้ว่า ActionScript3.0 นี้ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด

นับจากต้นกำเนิดปี 2539  Future Splash Animator ได้ถือกำเนิด จากสองคู่หู Jonathan Gay และ Charlie Jackson ทั้งสองเป็นหุ้นส่วนกัน เปิดบริษัทในนาม Future Wave software หลังจากปล่อยผลิตภัณฑ์ อันยอดเยี่ยมไม่นาน (เพียง 7 เดือน) บริษัทที่มีสายตาเฉียบคมอน่าง Macromedia ก็จัดการซื้อบริษัท Future Wave software ไป และได้ทำการเปลี่ยนชื่อจาก Future Splash เป็น flash ในเวลาต่อมา นับเป็นชื่อที่เรียบง่าย ยังสื่อถึงความเป็นเอกักษณ์ที่มีความเร็วในการแสดงผลบนหน้าจออีกด้วย นับได้ FutureSplash Animator เป็นบรรพบุรุษของ Flash ในสมัยนี้

เมื่อตกอยู่ในมือของบริษัท Macromedia ทำให้การพัฒนานั้นยังมีต่อเนื่องอย่างไม่หยุดยั้ง เพราะผู้ให้กำเนิดอย่าง Jonathan Gay ได้เข้ามาเป็นหัวเรือหลักในการพัฒนา Flash ให้มีความสามารถมากยิ่ง ๆ ขึ้น

ในเวอร์ชั่นแรก ๆ Flash  ยังมุ่งเน้นในการสร้างงาน Animation อย่างเดียว จนมาถึง Flash 4 ได้เริ่มนำ Script เข้ามาใช้งาน และปรับปรุงให้มีดีขึ้น ใน Flash 5 และเรียกมันว่า ActionScript ซึ่งถือเป็น ActionScript รุ่นที่ 1 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ActionScript1.0 นั้นเอง

จุดที่ทำให้ Flash โด่งดังมาก คือ Flash MX (เวอร์ชั่น6) ท่าพร้อมกับ ActionScript 1.5 นับเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงมากและทำให้ Flash  เป็นที่รู้จักของคนทุกคน การเดินทางก็เดินต่อไปอีกสองรุ่น มาถึง รุ่นที่ 8 ซึ่งถือเป็นรุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อ Macromedia ถูกรวมเข้ากับบริษัทยักษ์ใหญ่ของวงการ อย่าง Adobe System Inc. และออก Flash Professional 8 ซึ่งมาพร้อมกับ ActionScript2.0 ที่ทำให้เราสามารถเขียนโปรแกรมแบบเชิงวัตถุได้(Object Oriented Programming หรือ OOP)ทำให้ภาษา ActionScript2.0 ขึ้นมาอยู่ในแถวหน้า เทียบภาษารุ่นพี่อย่าง Java, C++

เมื่อ ActionScript2.0 มีความสามารถมาก เทียบเคียงได้กับ Java ทำให้นักพัฒนาเริ่มให้ความสนใจมากยิ่งขึ้น จากเป็นเพียง Script ธรรมดา ๆ ก็ยกระดับเป็นภาษาที่ใช้พัฒนา หรือบางคนเรียกเป็นเครื่องมือในการพัฒนา Application ไปเลย

จาการที่มีคนใช้งานมากเข้า สิ่งหนึ่งที่เห็น ถูกกล่าวถึงกันมากขึ้น เพราะความสามารถของ ActionScript2.0 นั้น มันยังได้แต่คล้าย รุ่นพี่เท่านั้น แต่เมื่อทำงานจริง ๆ หนัก ๆ แล้วกับไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่คิดๆ กัน เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะจากการที่เขียน ActionScript2.0 ไว้ตามตำแหน่งต่าง ๆ ไปทั่วโปรแกรม อาทิ เช่น เขียนไว้ใน ปุ่ม ใน Movie clip ใส่ไว้ใน Symbol และยางอิงกับโครงสร้างเดิมที่ ตั้งแต่ถือกำเนิดมาก

เมื่อเห็นจุดอ่อนเช่นนี้ และประกอบกับเป็นช่วงเวลาที่ Flash นั้นตกมาอยู่ในมือของ Adobe ได้ทำให้การสร้าง ActionScript ใหม่ขึ้นมา โดยไม่ได้อิงจากของเดิม นั้นคือ ActionScript3.0 ซึ่งถือว่าไม่ได้เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจาก ActionScript2.0 แต่อย่างไร เป็นการถือกำเนิดใหม่ ทั้งแท่ง เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่ ActionScript2.0 ไม่สามารถแก้ไขได้

ด้วยจุดประสงค์ของการที่นักพัฒนาต้องการนำ ActionScript มาใช้งานในการพัฒนา เพื่อให้โปรแกรม มีประสิทธิภาพสูง จึง ทำให้ ActionScript3.0 เป็นทางเลือกใหม่ของ Flash Developer และยังลดข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เคยมีมา

จึงทำให้เรายังเห็นในโปรแกรม Adobe Flash Professional ยังมีให้เราเลือกใช้(New Document) ทั้ง ActionScript2.0 และ ActionScript3.0 ทั้งนี้เพราะยังเปิดทางเลือกให้นักพัฒนาได้เลือกใช้งานแต่ความสามารถใหม่ ๆ จำเป็นที่จะต้องทำงานบน ActionScript3.0 เท่านั้น จึงให้นับวัน นักพัฒนาที่ใช้ ActionScript2.0 ลดน้อยลง และยังไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่การพัฒนา Mobile Application ได้ ถ้านักพัฒนาคนนั้น ๆ ไม่ใช้ ActionScript3.0

ActionScript3.0 นั้นมีพี่คือ ActionScript2.0 ซึ่งมีการพัฒนาเติบโตจาก ActionScript1.0 และ ActionScript1.5 แต่มีพี่เพียงคนเดียวคือ ActionScript2.0 แต่แบ่งย่อย ๆ ให้เห็น ActionScript2.0 กับ ActionScript3.0 มันเป็นคนะตัวกัน เขียนไม่เหมือนกัน มีชีวิตความเป็นอยู่คนละแบบ และที่สำคัญใช้ AVM (ActionScript Virtual Machine) คนละตัวกัน

จึงเรียกได้ว่า ActionScript3.0 เป็นภาษาที่นำไปสู่การพัฒนาที่มันเป็นอนาคต และยังพาไปสู่โลกของ Mobile Application ทั้ง Smartphone และ Tablet ไม่ว่าจะเป็นระปฎิบัติการ Android หรือ iOS (iPhone, iPad)

ActionScript3.0 นั้นถือเป็น Object Oriented Programming ที่มีความสามารถในการสร้าง Interactive ให้กับโปรแกรม Adobe Flash ได้เป็นอย่างดี นอกจากการสร้าง Interactive ได้แล้วนั้น ความสามารถของ ActionScript3.0 ยังล้นเหลือ โดยสามารถพัฒนา Application ได้ทั้งบนเครื่อง Desktop และ MobileDevices ได้อีกด้วยและจุดเด่นที่ชัดเจนคือ สามารถพัฒนาเป็น Adobe AIR Application ที่ใช้ทำงานข้าม Platform ได้อีกด้วย เรีกว่า ทำครั้งเดียว ใช้ได้ทุก Platform

กล่าวโดยสรุป ActionScript3.0 ด้วยโครงสร้างมาตรฐานของ ECMAScript  ทำให้ทำงานได้เร็วกว่า ActionScript2.0 และยังสามารถรองรับการพัฒนาบนอุปกาณ์โมบาย(MobileDevices) ต่าง ๆ ได้ อาทิเช่น iOS (iPhone, iPad และ iPod Touch), Android และ BlackBerry Playbook ได้อีกด้วย

ActionScript ไม่ใช่จะเขียนตรงไหนก็เขียนได้ ใน Adobe Flash Professional มีเครื่องมือที่ให้ไว้ใช้เขียน ActionScript นั้นคือ Action Panel

Action Panel เป็นสิ่งที่ทาง Adobe Flash ได้เตรียมพร้อมไว้ให้ใช้เขียน ActionScript ได้อย่างสะดวกสบาย ไม่ว่าเราจะเขียนเป็น เขียนได้ หรือเขียนไม่เป็นเลย ด้วยการออกแบบที่เข้าใจทั้ง Developer และ Designer ให้สามารถทำงานได้ง่าย และเหมาะกับคน ๆ นั้น

ก่อนอื่น ถ้าไม่เห็น Actions Panel ให้กดปุ่ม F9 ใน Windows หรือ Control +F9 ใน Mac แต่ถ้ากดแล้วไม่ปรากฎขึ้นมา ไปที่เมนูบาร์แล้ว แล้วคลิกที่คำสั่ง windows จะปรากฎเมนูคำสั่งไหลลงมา จากนั้นคลิกเลือก Actions เท่านั้น

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

หน้าต่าง Action Panel

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

เมื่อคลิกคำสั่งเรียก Action Panel ออกมาแล้ว

1.       Script Panel เป็นพื้นที่ที่ให้ใช้พิมพ์ หรือ แก้ไข Code ที่พิมพ์ลงไป

2.       ActionScript Toolbox เป็นที่เก็บคำสั่งต่างๆ ของ ActionScript โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่

3.       Script Navigator Panelists เป็นที่ๆ บอกว่าเขียน Code ไว้ที่ใดบ้าง

4.       Script Pane Toolbar  เป็นที่ๆ ปุ่มที่เป็นคำสั่งในการทำงานต่างๆ ดังต่อไปนี้

คำสั่ง

รายละเอียด

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

คำสั่งต่างๆ ของ ActionScript ที่แบ่งออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

ใช้ค้นหาข้อความใดๆ ในโปรแกรมที่เขียน

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด


ใช้อ้างอิงลำดับวัตถุ

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

ใช้ตรวจสอบไวยกรณ์ของคำสั่ง

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

ใช้จัดรูปแบบคำสั่งในโปรแกรม ให้มีความสวยงาม

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

แสดงหรือซ้อน การใบ้คำสั่ง (Code hint)

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

คำสั่ง Debug โปรแกรม

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

คำสั่งซ่อน คำสั่ง ActionScript บรรทัดที่เคอร์เซอร์ กระพริบอยู่

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

คำสั่งซ่อน คำสั่ง ActionScript บรรทัดที่เลือก

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

ยกเลิกคำสั่งซ่อน ทั้งหมด

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

ใช้ใส่ Comment แบบหลายบรรทัด

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

ใช้ใส่ Comment แบบบรรทัดเดียว

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

ยกเลิก Comment

การเขียนคำสั่ง actionscript 3.0 ต้องเขียนคำสั่งไว้ที่ตำแหน่งใด

แสดงหน้าต่าง Action Toolbox

                                                ActionScript3.0

 สิ่งที่ควรจำให้ขึ้นใจ ทั้ง Developer และ Designer

1. เวลาจบคำสั่งใดๆ หรือสิ้นสุด Statement ให้ปิดท้ายด้วย “Semicolons (;)” เสมอ เช่น
 var myName:String = “Apichai”;
2.  เวลาพิมพ์คำสั่ง สร้างตัวแปร เขียนชื่อฟังก์ชั่น หรือกระทำการใดๆ ตัวอักษรพิมพ์เล็กพิมพ์ใหญ่ ถือเป็นคนละตัวกัน หรือ เรียกง่ายๆ กันว่า “Case Sensitive” เช่นตัวแปร Name กับ name ถือเป็นคนละตัวกัน

3.  ช่างว่าง(Whitespace)ไม่มีผลต่อการเขียนโปรแกรม

4.   Dot Syntax หรือ จุด ใช้เพื่อย้ายชื่อวัตถุออกจาก Properties หรือ Method

5.  วงเล็บปีกกา (Curly Braces) มักจะล้อมรอบ Action ที่จะเกิดขึ้น

6.  วงเล็บ (Parentheses) ใช้วงเล็บ เพื่อใส่ค่าใดๆ ให้กับ Action นั้นๆ เพื่อให้เกิดการทำงานตามต้องการ

การเขียนคำอธิบาย (Comment)

          การใส่คำอธิบายสิ่งต่างๆ โดยนำเครื่องหมายไว้ส่วนหน้าของข้อความ เพื่อให้ตัว Interpreter ไม่อ่านหรือข้ามไป ไม่มีผลกับโปรแกรมที่เขียนขึ้น โดยส่วนใหญ่ จะนิยมเขียน Comment เพื่ออธิบายว่า คำสั่งบรรทัดนี้ เขียนขึ้นมาเพื่ออะไร หรือเพื่อต้องการอะไรสักอย่างของคำสั่งที่เขียนขึ้นมา สามารถเขียนเป็นภาษาไทย ก็ได้ เพื่อให้เข้าใจได้ง่าย และไม่มีผลกับการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งมันจะมีประโชน์มากๆ เมื่อเวลาผ่านไป แล้วจะลืมว่าคำสั่งบรรทัดนี้เขียนขึ้นมาเพื่ออะไร หรือคนที่จะพัฒนาต่อจะได้อ่าน และเข้าใจคำสั่งที่เขียนว่า เราต้องการอะไร

          ตัวอย่างการเขียน Comment

1.   Comment แบบบรรทัดเดียว ใช้เครื่องหมาย // แล้วตามด้วยข้อความที่ต้องการ เช่น

//ประกาศตัวแปรเพื่อเก็บ Score

2.    Comment แบบหลายบรรทัด ให้เราพิมพ์ /* ข้อความที่ต้องการแล้วปิดท้ายด้วย */ จะเขียนกี่บรรทัดก็ได้ เช่น

/*

          ข้อความที่เราต้องการเขียน

          ข้อความที่เราต้องการเขียน

*/

ทำความรู้จักกับนามสกุลไฟล์ .as ของ ActionScript3.0

          ก่อนที่จะไปสู่การเขียนภาษา ActionScript3.0 มาทำความรู้จักไฟล์อีกหนึ่งนามสกุลที่เกิดจากแม่ Flash เช่นกัน คุ้นๆกับนามสกุลอย่าง .fla หรือ .swf กันมาบ้างแล้ว คราวนี้ มาพบกับอีกไฟล์นึง คือ ไฟล์ที่นามสกุลว่า .as

          ไฟล์นามสกุล อย่าง .as หรือ ActionSript file เป็นไฟล์นามสกุลที่ใช้เก็บคำสั่งต่างๆ ของ ActionScript3.0 ไว้ภายนอกไฟล์อย่าง .fla จากนั้นค่อยนำเข้ามาเชื่อมกับสิ่งที่เขียน ในงาน

          ไฟล์ ActionScript3.0 ไว้ภายนอก ไฟล์ .fla ได้ และที่สำคัญ ยังสามารถใช้ Text Editor ทั่วๆไป ตัวใดก็ได้เขียน ActionScript3.0 เก็บไว้ในไฟล์ 

แหล่งที่มา : อภิชัย เรืองศิริปิยะกุล.2556.The Fundamentals of ActionScript3.0.บริษัท ธิงค เทคโนโลยี จำกัด E-SAAN Software Park, มหาวิทยาลัยขอนแก่น