ทำบัตรประชาชนต้องไปทำที่ไหน

บัตรประจำตัวประชาชนถือว่าเป็นเอกสารราชการที่สำคัญมากสำหรับคนไทยที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ใช้เพื่อเป็นเอกสารแสดงตนในการติดต่อราชการหรือทำธุรกรรมต่างๆโดยเฉพาะธุรกรรมทางด้านอสังหาริมทรัพย์

เมื่อบัตรประชาชนหาย ต้องทำอย่างไรบ้าง

  • กรณีบัตรประชาชนหาย ไม่จำเป็นต้องแจ้งความ สามารถยื่นเรื่องทำบัตรใหม่ได้ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตเทศบาล
  • ควรยื่นขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรสูญหาย หากเกินกว่านั้นจะเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท
  • กรณีไม่สามารถไปยื่นขอบัตรใหม่ได้ในกำหนดเวลา แนะนำให้ไปแจ้งความลงบันทึกเป็นหลักฐาน เพื่อป้องกันมิจฉาชีพนำเอาบัตรประชาชนไปใช้ในทางไม่ดี

หลักฐานและเอกสารที่ต้องใช้ เพื่อขอบัตรประชาชนใหม่

  • เอกสารราชการที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง
  • กรณีไม่มีหลักฐานข้างต้น ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือที่มีอายุเกิน 20 ปี มารับรองได้
  • ค่าธรรมเนียม 20 บาท

สถานที่ติดต่อเพื่อขอทำบัตรประชาชนใบใหม่ (กรณีสูญหาย)

  • สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอทุกจังหวัดทั่วประเทศ (ไม่จำเป็นต้องกลับไปยังภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน)
  • กรณีทำบัตรประชาชนใบใหม่เนื่องจากสูญหาย ไม่สามารถรับบริการที่จุดบริการตามห้าง/BTS หรือ BMA Express Service ได้ จำเป็นต้องไปขอที่สำนักงานเขตเท่านั้น

ข้อแนะนำ เมื่อได้รับบัตรประชาชนในใหม่เรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะออกเอกสารใบ บ.ป.7 ซึ่งเป็นเอกสารบันทึกว่าบัตรประชาชนใบเดิมได้สูญหาย แนะนำให้เก็บใบนี้ไว้เพื่อเป็นหลักฐาน

บัตรประชาชนหาย จำเป็นต้องแจ้งความหรือไม่

ไม่จำเป็นต้องแจ้งความก่อน สามารถติดต่อสำนักงานเขตเพื่อขอทำบัตรใหม่ได้เลย

กรณีบัตรหาย สามารถขอทำบัตรใหม่ที่จุดบริการ BMA Express Service ได้หรือไม่

ไม่ได้ กรณีบัตรสูญหาย ไม่สามารถยื่นขอบัตรใหม่ที่จุดบริการตามห้าง/BTS หรือ BMA Express Service จำเป็นต้องไปที่สำนักงานเขตเท่านั้น

  • ทำบัตรประชาชนต้องไปทำที่ไหน
DetailsDetails

การขอมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก

  บุคคลดังต่อไปนี้ให้ยื่นคำขอมีบัตรต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในกำหนดหกสิบวัน หากพ้นกำหนดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

  1. ผู้ที่มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์ 
  2. ผู้ที่ได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย  หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ หรือตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล
  3. ผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน (ทร.14) กรณีตกสำรวจหรือแจ้งเกิดเกินกำหนด
  4. ผู้ที่พ้นจากสภาพการได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

 หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง

  1. สูติบัตร หากไม่มีให้ใช้หลักฐานเอกสารอื่นที่ทางราชการอออกให้อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น สำเนาทะเบียนนักเรียน ใบสุทธิ ประกาศนียบัตร หนังสือเดินทาง เป็นต้น ในกรณีผู้ที่มีอายุครบเจ็ดปีบริบูรณ์ 
  2. หลักฐานใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดา และให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือไปรับรอง กรณีผู้ที่ได้สัญชาติไทย  หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย
  3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้นั้นเคยมีชื่ออยู่ก่อน หรือหลักฐานเอกสารที่ทำงานราชการออกให้อย่างใดอย่งหนึ่งและให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือไปรับรอง กรณีผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยตกสำรวจ
  4. สูติบัติ และให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือไปรับรอง กรณีผู้ที่ได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านโดยการแจ้งเกิดเกินกำหนด
  5. หลักฐานแสดงการพ้นจากสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร  กรณีผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร

1. ผู้ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนจะต้องไม่เป็นบุคคลที่มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง
2. ผู้ขอทำบัตรประจำตัวประชาชนจะต้องมีข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยและข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องถูกต้องตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร
3. สำหรับกรณีคนไทยที่ยังไม่เคยยื่นคำขอมีบัตร (กรณีมีบัตรครั้งแรก)ไม่สามารถยื่นขอทำบัตรในต่างประเทศได้ หากประสงค์จะทำบัตรจะต้องไปดำเนินการยื่นคำขอในประเทศไทยเท่านั้น โดยท่านสามารถศึกษาข้อมูลได้ที่ –> การมีบัตรประจำตัวประชาชนครั้งแรก
4. ท่านไม่สามารถทำบัตรประชาชนใหม่ได้ หากบัตรใบเดิมยังมีอายุเหลือเกินกว่า 60 วัน (ยกเว้นกรณีบัตรหาย)

บัตรประชาชนหาย บัตรประชาชนหมดอายุ ทำบัตรประชาชนชำรุด อยากเปลี่ยนบัตรใหม่ 2565 ทำที่ไหนได้บ้าง ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

วันนี้ Thainews จะพามาดู ขั้นตอนทำบัตรประชาชนใหม่ เปลี่ยนบัตรใหม่ 2565 ทำบัตรประชาชนใหม่ เอกสารมีอะไรบ้าง บัตรประชาชนหมดอายุ ไปทำที่ไหน บัตรประชาชนหาย ต้องทำอย่างไรบ้าง

การทำบัตรประจำตัวประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการที่ออกให้สำหรับคนไทยที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเท่านั้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตน ใช้พิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลในการติดต่อราชการ การขอรับบริการหรือสวัสดิการในด้านต่างๆ จากหน่วยงานของรัฐรวมทั้งใช้ประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ ทำนิติกรรม ฯลฯ เช่น การสมัครงาน การขอเปิดบัญชีเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคาร การโอนอสังหาริมทรัพย์/อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

บุคคลที่กฎหมายยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

1. สมเด็จพระบรมราชินี
2. พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
4. ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
5. ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้

ทำบัตรประชาชนต้องไปทำที่ไหน

ขั้นตอนทำบัตรประชาชนใหม่ 2565 ต้องทำอย่างไรบ้าง

คุณสมบัติการทำบัตรประชาชน

- มีสัญชาติไทย 

- อายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี และต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)

ทำบัตรประชาชนครั้งแรก ต้องทำยังไง?

ทำได้ทันทีเมื่อมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีทำบัตรครั้งแรก

- สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน

- หากเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย และหากบิดา มารดาของเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย

กรณีบัตรประชาชนหาย ต้องทำอย่างไรบ้าง

- หากทำสูญหาย ไม่ต้องแจ้งความสามารถขอยื่นเรื่องทำบัตรใหม่ได้เลย ณ ที่ว่าการอำเภอ หรือสำนักงานเขตเทศบาล ภายในเวลา 60 วันนับตั้งแต่วันที่บัตรหาย หากพ้นกำหนด ต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

หลักฐานในกรณีที่ทำบัตรประชาชนหายต้องใช้หลักฐาน ดังนี้

1. เอกสารที่มีรูปถ่าย ซึ่งออกให้โดยหน่วยงานราชการ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง ฯลฯ

2. หากไม่มีหลักฐานข้อแรก ให้นำเจ้าบ้าน หรือบุคคลน่าเชื่อถือไปรับรองต่อเจ้าหน้าที่

สถานที่ทําบัตรประชาชน มีที่ไหนบ้าง

1. สำนักงานเขต

2. สำนักงานเทศบาล

3. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง

4. ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ปัจจุบันสามารถทําบัตรประชาชนนอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ 

ทำบัตรประชาชนต้องไปทำที่ไหน

ขั้นตอนทำบัตรประชาชนใหม่ 2565 ต้องทำอย่างไรบ้าง

จองคิวนัดหมายล่วงหน้า ผ่านออนไลน์ที่ https://Q-online.bora.dopa.go.th โดยมี วิธีการลงทะเบียน ดังนี้

1. เข้าไปที่ https://Q-online.bora.dopa.go.th

2. ลงทะเบียนขอรับบริการล่วงหน้า

3. กรอกเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก

4. วัน เดือน ปี เกิด

5. เบอร์โทร 10 หลัก

ทำบัตรประชาชนต้องไปทำที่ไหน

วิธีการลงทะเบียน จองคิวนัดหมายล่วงหน้า ทำบัตรประชาชนใหม่

จุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) รวมสถานที่ทำบัตรประชาชน ตามสถานีรถไฟฟ้า (ยกเว้นกรณีบัตรหาย ไม่สามารถติดต่อทำที่ BTS ได้)

1. สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน)

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

2. สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต 

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

3. สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

4. สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

5. สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.

วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

กรณีที่บัตรประชาชนหายหรือถูกทำลาย

1. ให้ไปติดต่อแจ้งขอทำบัตรประชาชนใหม่ ณ สำนักงานเขต / ที่ว่าการอำเภอ / เทศบาล ภายใน 60 วัน (หากเกินเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับ 200 บาท)

2. เอกสารหลักฐาน ดังนี้

- สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)

- เอกสารราชการที่มีรูปถ่ายของเจ้าของบัตร เช่น ใบขับขี่ หนังสือเดินทาง เป็นต้น

- ค่าธรรมเนียม 20 บาท

ส่วนทะเบียนบ้าน ถือ เป็นเอกสารที่นายทะเบียนออกให้บ้านแต่ละหลัง กำหนดให้มีเลขประจำบ้าน (เลขที่บ้าน) ซึ่งปลูกสร้างโดยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือมีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างอาคาร

กรณีที่ทะเบียนบ้านหายหรือทะเบียนบ้านชำรุด สามารถทำได้ดังนี้ 

1. เจ้าบ้านสามารถติดต่อยื่นคำร้องขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ต่อนายทะเบียนในท้องที่ ที่บ้านหลังดังกล่าวตั้งอยู่ โดยไม่ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ แต่สามารถใช้หลักฐานเพียงบัตรประชาชนของเจ้าบ้านได้ 

2. หากเจ้าบ้านไม่สะดวกเดินทางไปดำเนินการด้วยตัวเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการมายื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแทนได้ แต่ต้องมีเอกสารเพิ่มเติมคือ

ทำบัตรประชาชนใหม่ได้ที่ไหนบ้าง

ทำบัตรประชาชนใหม่ได้ที่ไหนบ้าง.
1. สำนักงานเขต.
2. สำนักงานเทศบาล.
3. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.
4. ที่ว่าการอำเภอในจังหวัดที่อาศัยอยู่.
5. ศาลาว่าการ กทม..
6. จุดบริการด่วนมหานคร BMA Express Service. ... .
7. ห้างสรรพสินค้า.

ทำบัตรประชาชนต้องเตรียมอะไรไปบ้าง

หลักฐาน.
สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน.
บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี).
หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานมากแล้ว ต้องนำเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้มาแสดง พร้อมทั้งนำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง.

บัตรประชาชนหายไปทำที่ไหน

บัตรหาย ทําบัตรประชาชนใหม่ ทำได้ที่ไหนบ้าง สำนักงานเขต สำนักงานเทศบาล สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง

ทําบัตรประชาชนที่ไหนได้บ้าง 2565

1. สำนักงานเขต 2. สำนักงานเทศบาล 3. สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง 4. ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ปัจจุบันสามารถทําบัตรประชาชนนอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ