เรื่องสามก๊กเป็นงานแปลในสมัยใด

 

เรื่องสามก๊กเป็นงานแปลในสมัยใด

เรื่องสามก๊กเป็นงานแปลในสมัยใด
เรื่องสามก๊กเป็นงานแปลในสมัยใด
เรื่องสามก๊กเป็นงานแปลในสมัยใด
เรื่องสามก๊กเป็นงานแปลในสมัยใด

   

 สามก๊ก ผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ประวัติผู้แต่ง เจ้าพระยาพระคลัง(หน)เกิดในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในแผ่นดิน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับราชการเป็นหลวงสรวิชิต แล้ว ไปเป็นนายด่านเมืองอุทัยธานี ในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เลื่อนเป็น
พระยาพิพัฒน์โกษา และเป็นเจ้าพระยาพระคลังในที่สุด เจ้าพระยาพระคลัง(หน)เป็นกวียอดเยี่ยมคนหนึ่งของไทย งานที่สำคัญ เช่น สามก๊ก
ราชาธิราชร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก (กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี) บทมโหรี เรื่อง กากี ลิลิตเพชรมงกุฎ และอิเหนาคำฉันท์ เป็นต้น
เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. 2348 เรื่องสามก๊ก ตอนจูล่งฝ่าทัพรับอาเต๊า คัดมาจากหนังสือสามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ตอนที่ 37 ฉบับราชบัณฑิตยสภาชำระ เป็นวรรณกรรมร้อยแก้วประเภทนิทานที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นหนังสือที่แต่งดียอดเยี่ยมประเภทร้อยแก้ว คู่กับหนังสือราชาธิราช

จัดทำโดย

นางสาวธัชชา ไตรทอง ม.6/3 เลขที่ 4

นางสาวกานต์สินี บุญพัชรนนท์ ม.6/3 เลขที่ 35

โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย กรุงเทพมหานคร

Copyright(c) 2006 Ms. Tatcha Trithong.Ms. Karnsinee Boonpatcharanon. All right reserved.

จำนวนผู้เข้าใช้งาน
ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2549

thaigoodview.com Version 13.0
บริหารและจัดการโดยทีมงานชาวมัธยมศึกษาและประถมศึกษา
e-mail:

สามก๊ก เป็นวรรณคดีซึ่งแปลมาจากนิยายอิงพงศาวดารจีน เดิมเป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อกันมาในประเทศจีน ต่อมาในสมัยราชวงศ์ไต้เหม็ง จึงมีปราชญ์จีนคนหนึ่งชื่อว่า ล่อกวนตง คิดแต่งสามก๊กขึ้นเป็นหนังสือ ความยาวทั้งหมด ๑๒๐ ตอน ความเริ่มในปี พ.ศ. ๗๑๑ พระเจ้าเลนเต้ทรงเป็นกษัตริย์ที่ปราศจากความสามารถ หลงเชื่อถ้อยคำยุยงจากขุนนางและผู้ที่แสวงหาผลประโยชน์ ประเทศจีนจึงแตกแยกเป็นก๊กเป็นเหล่า ก๊กที่สำคัญคือ จ๊กก๊ก (เล่าปี่) วุ่ยก๊ก (โจโฉ) และง่อก๊ก (ซุนกวน) ทั้งสามก๊กทำสงครามแย่งชิงอำนาจกัน บ้านเมืองเกิดกบฏ ราษฎรได้รับความเดือดร้อนทั่วทุกหย่อมหญ้า จนกระทั่งปี พ.ศ. ๘๒๓ ปีที่ ๑๖ ในรัชกาลพระเจ้าจิ้นอู่ตี้ (สุมาเอี๋ยน) ประเทศจีนจึงได้กลับมารวมกันเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนเรื่อง สามก๊ก ฉบับภาษาไทยนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นผู้อำนวยการแปลจากหนังสือนิยายอิงพงศาวดารของจีนเรื่อง สามก๊กเอี้ยนหงี (ซันกั๋วเอี่ยนอี้) เรื่อง สามก๊ก ฉบับที่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) แปลนี้ วรรณคดีสโมสรได้ยกย่องให้เป็นยอดความเรียงเรื่องนิทาน เพราะเนื้อความที่แปลนั้นชัดเจน สำนวนภาษาไพเราะสละสลวย เป็นต้นแบบการแปลหนังสือนิยายอิงพงศาวดารจีนและบันเทิงคดีเรื่องอื่นๆ อีกทั้งเป็นต้นเค้าของวรรณคดีไทยบางเรื่อง และมีผู้นำมาแต่งเป็นบทร้องในเพลงไทยหลายตอน นอกจากนี้เรื่องสามก๊กยังให้ความรู้ด้านการปกครอง การทหาร และตำราพิชัยสงคราม ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์แก่ราชการบ้านเมือง ด้วยเหตุนี้เรื่อง สามก๊ก จึงนับเป็นวรรณคดีที่ทรงคุณค่ายิ่ง

ประวัติการพิมพ์หนังสือสามก๊กฉบับภาษาไทย หมอบรัดเล มิชชันนารีชาวอเมริกันได้รวบรวมต้นฉบับและจัดพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๘ เป็นหนังสือชุด ๔ เล่มจบ ดังนั้นจึงมีผู้เรียกหนังสือสามก๊กฉบับพิมพ์ครั้งแรกนี้ว่า สามก๊ก ฉบับโรงพิมพ์หมอบรัดเล การพิมพ์ครั้งนี้ได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นจำนวนมาก จึงทำให้โรงพิมพ์อื่นๆ พิมพ์สามก๊กออกจำหน่ายอีกหลายครั้ง แต่การพิมพ์ในชั้นหลังมิได้ตรวจพิสูจน์อักษรให้สมบูรณ์เหมือนฉบับพิมพ์ครั้งแรก ทำให้หนังสือสามก๊กฉบับต่อมาเกิดความลักลั่นคลาดเคลื่อนจากต้นฉบับเดิมมากขึ้น ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงพระดำริห์จะจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง สามก๊ก เพื่อเป็นมิตรพลีในงานพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ใน พ.ศ. ๒๔๗๑ ราชบัณฑิตยสภาจึงดำเนินการตรวจสอบชำระหนังสือสามก๊กขึ้น โดยสอบทานกับฉบับโรงพิมพ์หมอบรัดเลที่พิมพ์ครั้งแรก ฉบับตัวเขียนของเก่าที่มีอยู่ในหอพระสมุด และฉบับภาษาจีน การตรวจสอบชำระครั้งนั้นมีมหาเสวกโท พระยาพจนปรีชา (หม่อมราชวงศ์สำเริง อิศรศักดิ์) เป็นบรรณาธิการตรวจชำระต้นฉบับ พระพินิจวรรณการ (แสง สาลิตุล) เลขานุการราชบัณฑิตยสภาเป็นผู้ตรวจฉบับพิมพ์และจัดทำสารบัญ พระเจนจีนอักษร (สุดใจ ตัณฑากาศ) เป็นผู้เชี่ยวชาญความรู้ฝ่ายจีน และศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์เป็นผู้ช่วยหาความรู้เพิ่มเติมในส่วนอื่น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายว่าสามก๊กฉบับที่ราชบัณฑิตสภาชำระนี้ได้เพิ่มเติมปีพุทธศักราชและรูปภาพประกอบ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้มากขึ้น กล่าวได้ว่า หนังสือเรื่อง สามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภาตรวจสอบชำระ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด

อธิบดีกรมศิลปากร

สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร

พฤศจิกายน ๒๕๕๔

สามก๊กแปลในสมัยใด

สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นแม่กองแปล ตั้งแต่ พ.ศ. 2345 และเป็นร้อยแก้วของไทยที่ได้รับการตีพิมพ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2417 ก่อนที่จะสังคมไทยจะได้อ่าน ความพยาบาท นิยายแปลโดยแม่วัน และ ละครแห่งชีวิต โดยหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง รพีพัฒน์ ซึ่งถือเป็นนิยายเล่มแรกของวงวรรณกรรมไทย จึงเป็นนิยายร้อยแก้วที่เก่าแก่ที่สุดในสังคมไทย ...

การแปลวรรณกรรมของต่างชาติเรื่อง สามก๊ก และราชาธิราช มีขึ้นในสมัยใด

ชี้ให้เห็นว่าราชาธิราช สามก๊ก และไซ่ฮั่น เป็นวรรณกรรมแปลจากต่างชาติในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ที่มิใช่เป็นเพียงเรื่องบันเทิงหรือเรื่องพิชัยสงคราม แต่มุ่งที่จะกล่อมเกลาทางการเมือง โดยอธิบายถึงอุดมคติแบบใหม่ของการเป็นผู้นำ คุณสมบัติ บทบาทและภาระหน้าที่ที่กษัตริย์และขุนนางพึงมีตลอดจนความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

สามก๊ก เป็นวรรณคดีประเภทใด

๑. สามก๊กเป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ได้รับการยกย่อง จากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของความเรียงนิทานคู่กับราชาธิราช เพราะมีศิลปะการประพันธ์ในการดำเนินเรื่องให้ผู้อ่านตื่นเต้นไปกับเหตุการณ์ ใช้ถ้อยคำแสดงถึงพฤติกรรมของตัวละคร ภาษาสั้นกะทัดรัด เข้าใจง่ายแฝงคติธรรมในการดำเนินชีวิต สำนวนร้อยแก้วถือเป็นต้นฉบับในการเรียบเรียง ...

ใครเป็นผู้แปลเรื่องสามก๊ก

ในเรื่องนี้มีข้อน่าสังเกตในส่วนของผู้อำนวยการแปล สามก๊ก คือ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เพิ่มเติมว่า เจ้าพระ ยาพระคลัง (หน) ผู้นี้ แม้จะเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นกวีเอกคนสำคัญในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่ตามประวัติของท่านก่อนที่จะเป็นเจ้าพระยาพระคลังนั้นก็แสดงว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีความจงรักภักดีในตัวพระบาท สมเด็จ ...