เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะขาดน้ำ

เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะขาดน้ำ

ควรดื่มน้ำให้พอเพียงต่อร่างกาย อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว แต่เมื่อร่ายกายขาดน้ำ อาการที่ร่างกายจะบอกเราได้อย่างไรบ้าง

กระหายน้ำ

อาการนี้เป็นอาการพื้นฐาน เลยเราจะทราบได้จากในปากของเราไม่มีน้ำลาย แม้ขณะที่ดื่มน้ำ ร่างกายเราอาจยังรู้สึกว่าน้ำไม่เพียงพออาการเหมือนดื่มน้ำไม่อิ่ม เมื่อร่างกายรู้สึกว่าดื่มพอแล้ว ก็ต่อเมื่อระดับของเหลวในร่างกายคืนสู่สภาวะปกติ

ปากแห้ง คอแห้ง

เป็นอาการต่อเนื่องจากอาการกระหายน้ำ จะรู้สึกว่าริมฝีปากแห้ง รู้สึกคอแห้ง การดื่มน้ำจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุภายในช่องปากและลำคอ ทำให้ริมฝีปากชุ่มชื้นไม่แห้ง

ผิวแห้ง ผิวหยาบ

สังเกตได้จากการที่ผิวตามแขนหรือขา เมื่อสัมผัสไม่รู้สึกชุ่มชื้น ผิวสากๆ หรือ แลดูผิวแห้ง ควรหาน้ำดื่มให้เพียงพอกับร่างกาย  บางกรณีเมื่อร่างกายมีการขาดน้ำเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้ ผิวแตก ผิวแห้งกร้าน

ตาแห้ง

เวลาร่างกายเราขาดน้ำท่อน้ำตาก็จะแห้งไปด้วย ส่งผลให้ตามีสีแดงก่ำ เนื่องจากเส้นเลือดฝอยในตาแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่ใส่คอนแทคเลนส์ ภาวะร่างกายการขาดน้ำจะส่งผลอันตรายมากกว่าคนปกติทั่วไป

อาการเหนื่อยล้า

เมื่อร่างกายขาดน้ำ ร่างกายก็จะไปยืมน้ำจากอวัยวะส่วนอื่นภายในร่างกาย เช่น เลือดในร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงทั่วร่างกาย  การขาดออกซิเจน จะทำให้ร่างกายเหนื่อยล้า ง่วงนอน และ ซึมตามมาได้ด้วย

มีอาการท้องผูก

หากร่างกายขาดน้ำจะทำให้เกิดปัญหาลุกลาม จนทำให้มีอาการท้องผูก ดังนั้นควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ และ รับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ดีด้วย

ปัสสาวะน้อย

ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ และปัสสาวะเป็นสีเหลืองเข้ม แสดงว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ และในกรณีอาการหนักอาจเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบร่วมด้วย

ควรดื่มน้ำวันละกี่ลิตรต่อวัน คำนวณอย่างไร… = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) 2.2 = (?) × 30 ÷ 2 = ปริมมาณที่ควรดื่มในแต่ละวัน (มิลิลิตร)

ยกตัวอย่าง เช่น  น้ำหนัก 50 กิโลกรัม = (50 × 2.2 × 30)÷2 = 1,650 มิลลิลิตร

 4,835 total views,  8 views today

สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่อขาดน้ำ

เมื่อ :

วันอังคาร, 28 พฤษภาคม 2562

          เหงื่อออก อาเจียน ท้องร่วง หรือการรับประทานยาที่มีผลข้างเคียงให้ปัสสาวะมาก สาเหตุเหล่านั้นสามารถทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและอิเล็กโทรไลต์ได้มากกว่าที่คิด และหากสิ่งที่เสียไปทำให้ร่างกายขาดสมดุล วิธีการเดียวที่จะสามารถรักษาภาวะขาดน้ำได้ ก็คือการแทนที่ของเหลวและอิเล็กโทรไลต์ร่างกายของสูญเสียไปด้วยการดื่มน้ำ

เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะขาดน้ำ

ภาพการดื่มน้ำเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย
ที่มา https://pixabay.com ,Engin_Akyurt

ภาวะขาดน้ำคืออะไร เหตุใดจึงเกิดขึ้น?

          เมื่อกล่าวถึงการสูญเสียน้ำในร่างกาย ทางการแพทย์จะหมายความถึง ภาวะของเหลวในร่างกายพร่อง (volume depletion) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาตรน้ำลดลงในหลอดเลือด ถือเป็นภาวะปริมาตรน้ำในร่างกายลดลงจากองค์ประกอบในหลอดเลือด ในขณะที่ ภาวะขาดน้ำ (Dehydration) เป็นภาวะที่ร่างกายสูญเสียน้ำจากทั้งหลอดเลือดและเซลล์ของร่างกาย ภาวะขาดน้ำจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายสูญเสียน้ำจากหลอดเลือดและเซลล์ของร่างกาย ซึ่งแตกต่างจากภาวะของเหลวในร่างกายพร่อง แต่ก็ยังคงมีอาการหลายอย่างที่ทับซ้อนกัน เช่น ความกระหาย ความดันโลหิตลดต่ำลงจนก่อให้เกิดความสับสน นอกจากนี้ภาวะขาดน้ำยังสัมพันธ์กับระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะดึงน้ำออกจากเซลล์เพื่อลดระดับน้ำตาล ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงควรรักษาระดับน้ำของร่างกายให้สมดุล และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ

          การมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำให้ปัสสาวะมากขึ้น ซึ่งกรณีนี้ควรระมัดระวัง เนื่องจากมีการสูญเสียของเหลวจากทั้งในเซลล์ภายในและนอกเซลล์  ดังนั้นการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ที่เป็นเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่อง คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อลดระดับน้ำตาลลงอย่างปลอดภัยทั้งยังช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำได้เป็นอย่างดี

          อย่างไรก็ดีแพทย์มีความกังวลเกี่ยวกับภาวะทั้งสองถึงการรักษาสมดุลของร่างกาย เนื่องจากน้ำช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ช่วยในการหล่อลื่นของข้อต่อ และที่สำคัญเซลล์ร่างกายของเราพึ่งพาน้ำเพื่อการทำงานภายในระบบไหลเวียนโลหิต ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร และระบบประสาท อย่างไรก็ดี ในกรณีที่เกิดภาวะของเหลวในร่างกายพร่องอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดการช๊อกและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

          น้ำมีอยู่ทุกที่ในร่างกาย

          คนที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม ประกอบไปด้วยน้ำประมาณ 40 ลิตร (40 กิโลกรัม) โดย 2 ใน 3 ของน้ำเหล่านั้นคิดเป็นน้ำภายในเซลล์ (intracellular) และอีก 1 ส่วนคือน้ำภายนอกเซลล์ (Extracellular) ทั้งนี้น้ำภายนอกเซลล์นั้น ร้อยละ 20 เป็นน้ำที่อยู่ในพลาสมา (ประมาณ 3 ลิตร) กับน้ำในเซลล์เม็ดเลือดแดงประมาณ 2 ลิตร รวมทั้งสิ้น 5 ลิตร ซึ่งไหลเวียนภายในร่างกาย และช่วยรักษาสมดุลขององค์ประกอบทางชีวเคมีของมนุษย์แต่ละคน และช่วยให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ

          ปริมาตรน้ำในร่างกายรวมทั้งน้ำภายในหลอดเลือดและน้ำในเซลล์ต่าง ๆ ของแต่ละคนที่สูญเสียไปในแต่ละวันจะมีความแตกต่างกัน ทั้งนี้ปริมาณการดื่มน้ำของมนุษย์จะถูกควบคุมโดยไต ซึ่งมีหน้าที่หลักในการควบคุมปริมาตรและองค์ประกอบของของเหลวในร่างกาย

          เมื่อคุณดื่มน้ำปริมาณมาก ร่างกายจะขับน้ำผ่านทางปัสสาวะที่เจือจางและมีปริมาณมาก ในขณะเดียวกัน เมื่อดื่มน้ำในปริมาณน้อย ปริมาณน้ำปัสสาวะก็จะลดลงและมีสีเข้ม นั่นทำให้คุณตระหนักได้ว่าถึงเวลาที่ต้องดื่มน้ำให้มากขึ้นแล้ว นอกจากนี้การสูญเสียน้ำในกรณีที่เกิดอาการท้องเสีย อาเจียน หรือมีเลือดออก สามารถสังเกตภาวะของเหลวในร่างกายพร่อง ได้จากอาการดังต่อไปนี้

  • อาการกระหายน้ำ และริมฝีปากแห้ง

  • เวียนศีรษะ โดยเฉพาะอยู่ในท่ายืน เนื่องจากความดันโลหิตต่ำ และเมื่อสูญเสียน้ำในระดับที่รุนแรง จะก่อให้เกิดอาการสับสน ซึ่งเป็นผลมาจากออกซิเจนภายในสมองไม่เพียงพอ

  • ผิวหนังจะสูญเสียความยืดหยุ่น

  • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ด้วยร่างกายพยายามรักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ปกติ

  • น้ำหนักลดลง เนื่องจากการสูญเสียของเหลวภายในเซลล์ โดยการเสียของเหลว 1 ลิตร จะอ่านค่าได้ว่าน้ำหนักลดลง 1 กิโลกรัม

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่อภาวะปริมาตรน้ำในร่างกายพร่อง หรือการสูญเสียน้ำ ได้แก่

  • ผู้สูงอายุ ด้วยน้ำในร่างกายจะลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น และผู้สูงอายุเองจะรู้สึกกระหายน้ำลดลง ทั้งนี้ผู้สูงอายุจำนวนมากยังมีปัญหาสุขภาพในด้านอื่น ๆ เช่นโรคไตเรื้อรัง ที่อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการกรองของเสียและขับน้ำปัสสาวะ เมื่อน้ำในร่างกายมีปริมาณลดลง

  • เด็กทารก เพราะพวกเขาไม่สามารถพูดได้เมื่อพวกเขากระหายน้ำ พวกเขามีอัตราการเผาผลาญสูงกว่าผู้ใหญ่หมายความว่าพวกเขาต้องการของเหลวมากขึ้น

  • ผู้ที่มีกลไกการกระหายน้ำบกพร่อง เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีอาการบาดเจ็บที่สมอง

  • ผู้ที่มีอาการท้องเสีย

  • ผู้ที่รับประทานยาที่มีผลข้างเคียงที่ส่งเสริมการสูญเสียน้ำ โดยเฉพาะการขับออกทางขับปัสสาวะ

          น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำงานของร่างกาย การขาดน้ำ (Volume Depletion) สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่จะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูร้อน กุญแจสำคัญคือ การป้องกันและการรู้ว่าสัญญาณและอาการคืออะไร ดังนั้นในฤดูร้อนควรรักษาระดับของเหลวเอาไว้โดยการรู้จักดื่มน้ำให้เพียงพอ

แหล่งที่มา

Karen Dwyer. (2019. 10 January). Health Check: how do I tell if I’m dehydrated?
Retrieved February 19, 2019, from https://theconversation.com/health-check-how-do-i-tell-if-im-dehydrated-107437

William Blahd, MD. (2017, 2 May). What Should I Do If I'm Dehydrated?

Retrieved February 19, 2019, from https://www.webmd.com/a-to-z-guides/dehydration-in-adults-treatment#1

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

ประสบการณ์ใกล้ตาย, สมอง

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอังคาร, 19 กุมภาพันธ์ 2562

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

ชีววิทยา

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม