เมื่อหายใจออก

หายใจเข้าและหายใจออกได้อย่างไร

โดย :

สาขาวิทยาศาสตร์ภาคบังคับ

เมื่อ :

วันอังคาร, 11 มิถุนายน 2562

หายใจเข้าและหายใจออกได้อย่างไร

วีดิทัศน์ ตอนหายใจเข้าและหายใจออกได้อย่างไร เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจ ได้แก่ จมูก โพรงจมูก ท่อลม หลอดลม หลอดลมฝอย ปอด กระดูกซี่โครง และกะบังลม ที่ทำงานร่วมกันในระหว่างการหายใจเข้าและการหายใจออก รวมทั้งแสดงความแตกต่างของปริมาตรที่มีผลต่อความดันอากาศ ที่ทำให้เกิดเคลื่อนที่เข้าและออกของอากาศจากปอด

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

การหายใจเข้า, การหายใจออก, ท่อลม หลอดลม, หลอดลมฝอย, ปอด, กระดูกซี่โครง, กะบังลม, inhalation, exhalation, trachea, bronchus, lungs, ribs, diaphragm,

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

วิทยาศาสตร์ทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

เมื่อหายใจออก

Hits

เมื่อหายใจออก
(22261)

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนหาคำตอบว่า แยกของแข็งออกจากของแข็งได ...

เมื่อหายใจออก

Hits

เมื่อหายใจออก
(46463)

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนหาคำตอบว่าแยกสารโดยวิธีการสกัดด้วยตัวทำ ...

เมื่อหายใจออก

Hits

เมื่อหายใจออก
(26957)

ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนหาคำตอบว่า กลุ่มดาวมีปรากฏการณ์กา ...

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การหายใจ (อังกฤษ: breathing) เป็นกระบวนการซึ่งนำอากาศเข้าหรือออกจากสิ่งมีชีวิตที่ต้องการออกซิเจนต้องการไปเพื่อปลดปล่อยพลังงานผ่านการหายใจระดับเซลล์ในรูปเมแทบอลิซึมโมเลกุลพลังงานสูง เช่น กลูโคส การหายใจเป็นเพียงกระบวนการเดียวซึ่งส่งออกซิเจนไปยังที่ที่ต้องการในร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก อีกกระบวนการหนึ่งที่สำคัญเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของเลือดโดยระบบไหลเวียน การแลกเปลี่ยนแก๊สเกิดขึ้นในถุงลมปอดโดยการแพร่ของแก๊สระหว่างแก๊สในถุงลมและเลือดในหลอดเลือดฝอยปอด เมื่อแก๊สที่ละลายนี้อยู่ในเลือด หัวใจปั๊มเลือดให้ไหลไปทั่วร่างกาย

นอกเหนือไปจากการนำคาร์บอนไดออกไซด์ออก การหายใจส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้ำจากร่างกาย อากาศที่หายใจออกมีความชื้นสัมพัทธ์เท่ากับ 100% เพราะน้ำแพร่ข้ามพื้นผิวที่ชุ่มชื้นของทางเดินหายใจและถุงลมปอด

คู่รักกำลังเล่นโยคะอยู่ที่ริมชายหาด

การหายใจเข้าออกลึก ๆ หรือบางครั้งเรียกว่า การหายใจโดยใช้กะบังลม คือการหายใจเข้าลึก ๆ อย่างช้า ๆ ให้อากาศผ่านเข้าทางจมูกจนเต็มปอด และทำให้กะบังลมยกสูงขึ้น

การหายใจเข้าออกลึก ๆ บางครั้งอาจทำให้รู้สึกไม่เป็นธรรมชาติ โดยทั่วไป เรามักจะใช้กล้ามเนื้อท้องในการหายใจ ซึ่งเรียกว่าเป็นการหายใจตื้น

การหายใจตื้นจะจำกัดการเคลื่อนที่ของกะบังลม ทำให้มีออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายน้อยลง ทำให้เราหายใจถี่ขึ้้น และมีความรู้สึกกังวลเกิดขึ้นได้

งานวิจัยพบว่าการหายใจเข้าออกลึก ๆ ส่งผลดีต่อสุขภาพกายและใจหลายด้านเลยทีเดียว

คลายความเครียด

ผู้หญิงกำลังยืดตัว

สมองคนเราจะปล่อยฮอร์โมนคอร์ติซอล เมื่อรู้สึกเครียดและกังวล

เมื่อเราฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ หัวใจจะเต้นช้าลง และออกซิเจนจะเข้าสู่กระแสเลือด พร้อมกับสื่อสารไปที่สมองให้ผ่อนคลาย

การศึกษาในมหาวิทยาลัยพบว่า นักศึกษาที่ได้เข้าคอร์สฝึกการหายใจเข้าออกลึก ๆ จะรู้สึกซึมเศร้าน้อยลง กังวลน้อยลง และดื่มแอลกอฮอล์น้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนกลุ่มอื่น

การหายใจเข้าออกลึก ๆ ยังช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน ซึ่งสามารถลดความรู้สึกเจ็บปวดได้ แม้การถอนหายใจง่าย ๆ เพียงครั้งเดียวยังช่วยลดความตึงเครียดทางร่างกาย และปรับอารมณ์ให้ดีขึ้นได้

ปรับการทำงานของสมองให้ดีขึ้น
การศึกษาชิ้นหนึ่งได้ขอให้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยหายใจเข้าลึก ๆ เป็นเวลา 5 วินาที และหายใจออกยาว ๆ เป็นเวลา 5 วินาที รวมทั้งหมด 10 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 6 ครั้ง เป็นเวลานาน 6 สัปดาห์

ผลพบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษานี้สามารถใช้สมองคิดได้เร็วขึ้น และทำคะแนนได้ดีขึ้น ในการทดสอบคิดเลขเร็ว

การเล่นโยคะและเทคนิคการหายใจบางอย่างก็พิสูจน์แล้วว่าสามารถเพิ่มความสามารถของสมองในการจดจ่อและทำงานอย่างตั้งใจ

ช่วยบรรเทาโรคเรื้อรังต่าง ๆ

ผู้ชายกำลังนั่งสมาธิ

การหายใจเข้าออกลึก ๆ ช่วยลดความดันโลหิตได้ด้วยการทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เพิ่มการหมุนเวียนเลือด และควบคุมการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ

งานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าเทคนิคการหายใจแบบสลับข้างจมูก (ซ้ายและขวา) เป็นเวลา 10 นาทีสามารถช่วยลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

การหายใจเข้าออกลึก ๆ ยังช่วยบรรเทาโรคเบาหวานได้ด้วย

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ฝึกการหายใจเข้าออกลึก ๆ เป็นเวลา 3 เดือน มีค่า BMI ลดลงและยังมีค่าน้ำตาลในกระแสเลือดหลังรับประทานอาหารที่ลดต่ำลงอีกด้วย

เทคนิคการหายใจอย่างผ่อนคลายสามารถทำให้การนอนหลับของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามีคุณภาพมากขึ้น และยังช่วยลดอาการของการอักเสบหรือติดเชื้อได้อีกด้วย

ประโยชน์อื่น ๆ ต่อร่างกาย
สิ่งสำคัญเหนือสิ่งอื่นใด การหายใจเข้าออกลึก ๆ จะช่วยเพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด ซึ่งทำให้เกิดผลดีต่าง ๆ ต่อไปนี้

  • เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในร่างกาย – ร่างกายจะสามารถดูดซึมแร่ธาตุและวิตามินต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • เพิ่มพลังให้กับร่างกาย - ร่างกายจะทำงานได้ดีขึ้น และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย

  • ขจัดสารพิษให้กับร่างกาย – ออกซิเจนที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ร่างกายปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์และสารพิษอื่น ๆ ได้มากขึ้น

  • ทำให้ระบบการย่อยทำงานดีขึ้น – อวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้ จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

มาเริ่มฝึกหายใจเข้าออกลึก ๆ กันตั้งแต่วันนี้เถอะ

อ้างอิง:

  1. Harvard Health Publishing – Harvard Medical School. Relaxation techniques: Breath control helps quell errant stress response. [Internet]. 2018 [cited 4 June 2020];. Available from: https://www.health.harvard.edu/mind-and-mood/relaxation-techniques-breath-control-helps-quell-errant-stress-response

  1. Watkins A. Benefits of Deep Breathing. Urban Balance [Internet]. [cited 4 June 2020];. Available from: https://urbanbalance.com/benefits-deep-breathing/

  1. INFOGRAPHIC: The Benefits of Deep Breathing [Internet]. Happify. 2020 [cited 1 June 2020]. Available from: https://www.happify.com/hd/the-benefits-of-deep-breathing/

เมื่อหายใจออกการทำงานของกระบังลมจะเป็นอย่างไร

การหายใจออก (Expiration) กะบังลมจะเลื่อนสูง กระดูกซี่โครงจะเลื่อนต่ำลง ทำให้ปริมาตรของช่องอกลดน้อยลง ความดันอากาศในบริเวณรอบ ๆ ปอดสูงกว่าอากาศภายนอก อากาศภายในถุงลมปอดจึงเคลื่อนที่จากถุงลมปอดไปสู่หลอดลมและออกทางจมูก

การหายใจเข้าหมายถึงอะไร

เป็นกลไกการขยายของช่องอกและปอด แล้วอากาศจากภายนอกไหลเข้าสู่ปอด การขยายของช่องอกอาศัยการหดตัวของกระบังลม (diaphragm) และการหดตัวของ external intercostal muscle ดังนั้นในการหายใจปกติการหายใจเข้าจึงต้องใช้พลังงานมากกว่าการหายใจออก

การหายใจของมนุษย์มีความสําคัญอย่างไร

เพิ่มพลังให้กับร่างกาย - ร่างกายจะทำงานได้ดีขึ้น และเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกาย ขจัดสารพิษให้กับร่างกาย – ออกซิเจนที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ร่างกายปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์และสารพิษอื่น ๆ ได้มากขึ้น ทำให้ระบบการย่อยทำงานดีขึ้น – อวัยวะต่าง ๆ เช่น ลำไส้ จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สิ่งที่กําหนดอัตราการหายใจเข้าและหายใจออก คือข้อใด

สิ่งที่กาหนดอัตราการหายใจเข้าและออก คือ ปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในเลือด ถ้าปริมาณ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดต่าจะทาให้การหายใจช้าลง เช่น เวลานอนหลับ ถ้าปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ในเลือดสูงจะทาให้การหายใจเร็วขึ้น เช่น เมื่อเราออกกาลังกาย