ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

การประกันภัยสุขภาพ (Health Insurance)

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

การประกันภัยสุขภาพ คือ การประกันภัยที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นจะเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

ประเภทของการประกันภัยสุขภาพ

การประกันภัยสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ การประกันภัยสุขภาพส่วนบุคคล และการ ประกันภัยสุขภาพกลุ่ม

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

ทั้ง 2 ประเภท ให้ความคุ้มครองที่เหมือนกัน โดยแบ่งความคุ้มครองหลักออกได้เป็น 7 หมวด ได้แก่

1.ให้ความคุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล เพราะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือการป่วยไข้ โดยจะชดเชยค่าใช้จ่าย

  • - ค่าห้องและค่าอาหาร
  • - ค่าบริการทั่วไป
  • - ค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน หลังการเกิดอุบัติเหตุ

2.ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด
3.ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้แพทย์มาดูแล
4.ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่คลินิก หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
5.ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
6.ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน
7.การชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการโดยพยาบาลพิเศษขณะอยู่ในโรงพยาบาล หรือที่บ้านภายหลังจากการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์

ความคุ้มครองเบื้องต้น

การประกันภัยสุขภาพให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัยที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยจากโรคภัย หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยมีการคุ้มครองผลประโยชน์ในการรักษาพยาบาล ดังนี้

หลักเกณฑ์ในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน

การจ่ายค่าสินไหมทดแทนสำหรับการประกันสุขภาพ ยึดหลักเกณฑ์เดียวกับการประกันภัยประเภทอื่นๆ คือ “จ่ายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงแต่สูงสุดไม่เกินจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้”

ปัจจัยการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

1.อายุ

ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับอายุของผู้ทำประกัน ซึ่งช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันถูกสุด ได้แก่ อายุที่อยู่ระหว่าง 20-40 ปี หรือคนวัยทำงาน เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ร่างกายแข็งแรงมากที่สุด ส่วนช่วงอายุที่ค่าเบี้ยประกันค่อนข้างสูงได้แก่ ช่วงวัยเด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี และช่วงวัยสูงอายุ 50-60 ปี

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

2.เพศ

อัตราเบี้ยประกันภัยเพศหญิงจะสูงกว่าเพศชาย เนื่องจากความแข็งแรงของสุขภาพร่างกายที่แตกต่างกัน โดยเพศหญิงจะใช้เวลาในการฟื้นตัวจากการเจ็บป่วย หรือการบาดเจ็บทางร่ายกายนานกว่าเพศชาย

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

3.สุขภาพ

ประวัติเกี่ยวกับสุขภาพและการรักษาพยาบาล รวมทั้งสภาพร่ายกายของผู้ขอเอาประกันภัยเป็นปัจจัยหนึ่งในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย ทั้งนี้บุคคลที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ไม่เคยมีประวัติการเจ็บป่วยรุนแรง เบี้ยประกันภัยย่อมถูกกว่าบุคคลที่มีสภาพร่างกายอ่อนแอหรือเคยมีประวัติการเจ็บป่วยร้ายแรง เนื่องจากบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงย่อมมีความเสี่ยงน้อยกว่าในการที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยร้ายแรงในอนาคต

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

4.อาชีพ

อาชีพเป็นปัจจัยหนึ่งที่บ่งบอกถึงกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลว่ามีความเสี่ยงมากน้อยเพียงใด อาชีพที่มีความเสี่ยงภัยหรือมีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยสูง เช่น อาชีพวิศวกรคุมงานก่อสร้าง หรือช่างทำงานในโรงงาน เบี้ยประกันภัยย่อมสูงกว่าอาชีพพนักงานบริษัททั่วไปที่ไม่มีความเสี่ยง

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

5.การดำเนินชีวิต

การใช้ชีวิตหรือ Life Style ของแต่ละบุคคล แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพ หรืออุบัติเหตุของบุคคลที่แตกต่างกันไป เช่น คนที่กินเหล้า สูบบุหรี่ หรือเล่นกีฬาที่เสี่ยงอันตราย ย่อมมีความเสี่ยงสูงกว่าคนทั่วไป ดังนั้นอัตราเบี้ยประกันจึงสูงกว่า เป็นต้น

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

6.สำหรับการประกันภัยหมู่

อัตราเบี้ยประกันภัยพิจารณาจากจำนวนบุคคลที่จะเอาประกันภัย ถ้าจำนวนบุคคลมาก การกระจายความเสี่ยงย่อมมีมากกว่า ซึ่งจะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยต่ำลงได้

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน

ข้อแนะนำในการทำประกันสุขภาพ

1.ควรศึกษาข้อมูลของแบบประกันสุขภาพเปรียบเทียบกันหลายๆ แห่ง ว่ามีลักษณะหรือรูปแบบในการคุ้มครองเป็นแบบใด และเลือกแผนประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองเหมาะสมกับความต้องการของตนเองมากที่สุด เช่น

  • ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD) เหมาะสำหรับผู้ที่เจ็บป่วยบ่อย เป็นหวัด แพ้อากาศ เป็นไข้ เจ็บคอ เป็นประจำ การทำประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอกนี้จะช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลในแต่ละครั้งได้ โดยปกติประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยนอก จะชดเชยค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน และสูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี

    ตัวอย่าง นายดำซื้อประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกเพิ่มเติม โดยจ่ายเบี้ยประกัน 3,000 บาทต่อปี ได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 90,000 บาทต่อปี เบิกค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยได้สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี (ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน และไม่เกิน 7 ครั้งต่อโรค)

  • ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD) เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยหนัก และต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยใน เช่น นอนให้น้ำเกลือ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัด เป็นต้น โดยปกติประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยใน จะกำหนดวงเงินในการรักษาพยาบาลไว้ เช่น ค่าห้องต่อวัน ค่าผ่าตัดต่อโรค ค่ายา รวมถึงกำหนดวงเงินในการรักษาพยาบาลต่อครั้งไว้ด้วย

    ตัวอย่าง กรณีผู้ป่วยในที่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล วงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อปี 300,000 บาท เบิกได้สูงสุดต่อโรคหรืออุบัติเหตุรวมกันแล้วไม่เกิน 30,000 บาทหรือไม่เกิน 30 ครั้งต่อปีต่อรอบกรมธรรม์ มีค่าห้องพักและค่าอาหารต่อวัน 1,400 บาท และค่ารักษาพยาบาลทั่วไปต่อครั้ง 20,000 บาท เป็นต้น

  • ประกันสุขภาพโรคร้ายแรง เหมาะสำหรับคนที่ต้องการความคุ้มครองจากกรณีเกิดโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับวาย เป็นต้น

    ตัวอย่าง นางอรอายุ 35 ปี ซื้อความคุ้มครอง 4 โรคร้าย ได้แก่ ไตวาย หัวใจวาย หลอดเลือดสมองแตก และภาวะโคม่า จ่ายเบี้ยประกันภัยประมาณ 4,000 บาทต่อปี วงเงินคุ้มครองสูงสุดต่อปี 1,800,000 บาท หากแพทย์วินิจฉัยพบว่าเป็นโรคเหล่านี้ รับค่าสินไหมทดแทนทันที 100% ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

2. ถ้าเป็นไปได้ ควรเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งเรื่องค่ารักษาตัวในโรงพยาบาล สำหรับกรณีเจ็บป่วยทั่วไป รวมถึงเรื่องอุบัติเหตุและโรคร้ายแรงไว้ด้วย เพื่อคุ้มครองความเสี่ยงกรณีทุพพลภาพ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากอุบัติเหตุทำให้พิการ หรืออาจเกิดจากโรคร้ายแรง เช่น หลอดเลือดในสมองแตกทำให้เป็นอัมพาต จะได้ครอบคลุมความเสี่ยงเรื่องสุขภาพไว้ได้ทั้งหมด

3. ควรพิจารณาเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยเกินไป โดยพิจารณาศักยภาพของตนเองว่าสามารถจ่ายเบี้ยประกันได้ในระดับใด ซึ่งโดยปกติไม่ควรจะเกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี เช่น นายดำมีรายได้เดือนละ 50,000 บาท หรือรายได้รวมทั้งปีเท่ากับ 600,000 บาท นายดำควรจ่ายเบี้ยประกันโดยเฉลี่ยประมาณไม่เกิน 60,000-90,000 บาทต่อปี

4. ควรตรวจสอบว่ามีโรงพยาบาลในเครือครอบคลุมการใช้สิทธิ์ประกันภัยสุขภาพมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ หากมีโรงพยาบาลในเครือข่ายที่อยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน กรณีที่มีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นสามารถที่จะเข้าใช้บริการได้ทันเวลา

5. ควรวางแผนจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไว้ล่วงหน้า เพราะประกันสุขภาพบางตัวค่าเบี้ยประกันจะปรับเพิ่มขึ้นตามอายุที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นอาจจะต้องวางแผนการจ่ายเบี้ยประกันให้เหมาะสม ว่าในอนาคตยังสามารถจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไหวหรือไม่ เมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ

ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
การประกันสุขภาพ
  อ่านต่อ
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
การประกันสุขภาพให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
PDF
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
695.00 KB
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
กรอบแนวทางปฏิบัติการกำหนดคำนิยามโรคร้ายแรง
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
PDF
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
307.00 KB
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
การประกันภัยสุขภาพลูกกตัญญู
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
PDF
ประกันสุขภาพ เริ่มคุ้มครองตอนไหน
147.00 KB

ทำประกันกี่วันถึงจะใช้ได้

ประกันภัยสุขภาพจะไม่ได้เริ่มคุ้มครองทันที ในกรณีที่เจ็บป่วยทั่วไปต้องรอ 30 วัน นับจากวันที่ทำประกันภัย ส่วนบางโรคต้องรอประมาณ 90-120 วัน ประกันภัยสุขภาพไม่ได้คุ้มครองทุกโรค มีบางอย่างที่ไม่สามารถเคลมได้ อาทิ การรักษาสิว ฝ่า หรือเลเซอร์กำจัดขน

ประกันสุขภาพใช้ได้กี่ครั้ง

ข้อแนะนำในการทำประกันสุขภาพ ตัวอย่าง นายดำซื้อประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกเพิ่มเติม โดยจ่ายเบี้ยประกัน 3,000 บาทต่อปี ได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 90,000 บาทต่อปี เบิกค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยได้สูงสุดไม่เกิน 30 ครั้งต่อปี (ไม่เกิน 1 ครั้งต่อวัน และไม่เกิน 7 ครั้งต่อโรค)

ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง อะไรบ้าง

โรคที่ประกันสุขภาพไม่คุ้มครอง โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น HIV นั้น ถ้าเป็นก่อนทำประกันจะไม่สามารถรับทำประกันได้ แต่ถ้าเป็นหลังประกันแล้วจะไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายการรักษานั้น แต่ไม่ยกเลิกสัญญาลูกค้า การรักษาเกี่ยวกับความผิดปกติของสายตา อย่างการทำเลสิค การรักษาเกี่ยวกับทันตกรรม เช่น อุดฟัน ถอนฟัน ฟันปลอม

ประกันกลุ่มมีระยะเวลารอคอยไหม

ระยะเวลารอคอย คือ ระยะเวลาที่ไม่คุ้มครอง เจ็บป่วยยังไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ จนกว่าจะพ้นระยะที่กำหนดหรือครบจำนวนวัน เช่น พ้น 14 วัน 30 วัน 90 วัน หรือ 120 วัน ซึ่งเงื่อนไขนี้ถูกกำหนดเอาไว้ในทุกธุรกิจประกันชีวิต และประกันภัย (ยังเคลมไม่ได้ หากเจ็บป่วยต้องชำระเงินเอง)