Citibank ขายกิจการ เมื่อ ไหร่

Citibank ขายกิจการ เมื่อ ไหร่

“ซิตี้กรุ๊ป” ประกาศขายกิจการลูกค้ารายย่อยใน 13 ประเทศทวีปเอเชียและยุโรปตะวันออก จากแรงกดดันของนักลงทุนที่ต้องการให้ธนาคารลดต้นทุน โดยหนึ่งในประเทศที่อยู่ในรายชื่อตัดขายคือประเทศ “ไทย” ธุรกิจบัตรเครดิต สินเชื่อ เงินฝากจะถูกขายออกทั้งหมด และซิตี้จะหันไปเน้นธุรกิจบริหารความมั่งคั่งแทน

The Financial Times รายงานเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 เม.ย. 2021 ถึงความเคลื่อนไหวดังกล่าวของ “ซิตี้กรุ๊ป” โดยเป็นการตัดสินใจที่เกิดขึ้นหลังซีอีโอคนใหม่ “เจน เฟรเซอร์” เข้ารับตำแหน่งได้กว่า 1 เดือน เฟรเซอร์เข้าประชุมร่วมกับนักลงทุนรายใหญ่ของธนาคารหลายครั้งก่อนจะเกิดการตัดสินใจครั้งนี้ขึ้น

“แม้ว่าธุรกิจใน 13 ประเทศเหล่านี้ต่างทำได้อย่างยอดเยี่ยม แต่ตลาดไม่สามารถขยายตัวได้อย่างที่เราต้องการเพื่อจะแข่งขันต่อ” เฟรเซอร์กล่าว “ฉันวางนโยบายอย่างชัดเจนถึงการให้ความสำคัญสูงสุดของเรา นั่นคือการให้ผลตอบแทนกับนักลงทุน”

ซิตี้กรุ๊ป เป็นธนาคารสัญชาติอเมริกันที่ขยายตัวไปยังลูกค้ารายย่อยต่างประเทศได้มากที่สุด หากเปรียบเทียบกับธนาคารอเมริกันอื่นๆ

13 ประเทศเหล่านี้จะถูกตัดขายกิจการรายย่อยออกไป ได้แก่ ออสเตรเลีย บาห์เรน เกาหลีใต้ จีน ไต้หวัน อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม โปแลนด์ และรัสเซีย

Citibank ขายกิจการ เมื่อ ไหร่
(Photo : Shutterstock)

ซิตี้กรุ๊ปประกาศด้วยว่า ธนาคารจะหันไปมุ่งเน้นธุรกิจบริหารจัดการความมั่งคั่งแทน โดยมีศูนย์กลางการดำเนินกิจการเพียง 4 แห่ง คือ สิงคโปร์ ฮ่องกง UAE และลอนดอน (อังกฤษ)

“เราได้ตัดสินใจว่า เราจะเสี่ยงทุ่มลงทุนในธุรกิจความมั่งคั่ง” เฟรเซอร์กล่าว

ทั้งนี้ ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของ 13 ประเทศที่ซิตี้จะออกจากตลาด ทำรายได้รวมกันอยู่ที่ 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็นสัดส่วนที่ไม่สูงมากหากเทียบกับรายได้รวมทั้งเครือปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 7.43 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยปีก่อนซิตี้กรุ๊ปมีผลขาดทุน

ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของธนาคารซิตี้แบงก์ในไทยนั้น มีบริการประกอบด้วย บัตรเครดิต สินเชื่อ และเงินฝาก สำหรับธุรกิจบัตรเครดิตซิตี้แบงก์ เมื่อปี 2561 ซิตี้แบงก์เคยรับซื้อพอร์ตบัตรเครดิตกว่า 1 แสนรายมาจากธนาคารทิสโก้ โดยธนาคารทิสโก้เองก็รับซื้อจากสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดมาเมื่อปี 2559 แต่ตัดสินใจขายให้ซิตี้แบงก์เพราะมองว่าไม่ใช่ความถนัดของธนาคาร

  • ตลาดบัตรเครดิต 2563 และคาดการณ์ 2564

ไมค์ มาโย นักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก Wells Fargo สนับสนุนการตัดสินใจครั้งนี้ของซิตี้กรุ๊ป โดยมองว่าเป็นการพัฒนาที่ชัดเจนที่สุดของธนาคารในรอบทศวรรษ

เขายังให้ความเห็นด้วยว่า เฟรเซอร์ตัดสินใจขายกิจการภายในระยะเวลาแค่ 46 วันหลังรับตำแหน่ง นั่นทำให้เห็นสัญญาณว่าธนาคารกำลังรับมือกับปัญหาด้วยความรู้สึกของ “ความฉุกเฉิน”

Source

กลุ่มยูโอบีคว้าชัย ควักเงินเกือบ 5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ซื้อธุรกิจลูกค้ารายย่อย ‘ซิตี้กรุ๊ป’ ในไทย-อินโดฯ-มาเลเซีย-เวียดนาม เตรียมผงาดความยิ่งใหญ่ในอาเซียน

สำนักข่าวต่างประเทศอย่าง Bloomberg และ The Straits Times ของสิงคโปร์คาดการณ์ว่า ดีลนี้จะมีมูลค่าประมาณ 3.6 พันล้านดอลลาร์ หรือ 4.9 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (คิดเป็นเงินไทยประมาณ 1.2 แสนล้านบาท)

หลังสรรหาด้วยการประกวดราคากันมาอยู่พักใหญ่ว่าใครกันจะได้เป็นผู้ซื้อกิจการธุรกิจลูกค้ารายย่อย (เช่น ธุรกิจบัตรเครดิต) ของ Citi Group (ซิตี้กรุ๊ป) ในไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีทั้งชื่อของแบงก์กรุงเทพและกรุงศรีฯ

แต่ในที่สุด ผู้ที่คว้าชัยปิดดีลในครั้งนี้ไปได้นั้นคือ ‘กลุ่มธนาคารยูโอบี’ (UOB) ที่นอกจากซื้อกิจการในไทยแล้ว ยังพ่วงอีก 3 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนามด้วย

โดยยูโอบีระบุว่า ธนาคารในเครือของกลุ่มธนาคารยูโอบี ได้ทำข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป ซึ่งรวมถึงสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกันและมีหลักประกัน ธุรกิจบริหารความมั่งคั่ง และธุรกิจเงินฝากรายย่อย (ธุรกิจลูกค้ารายย่อย) ในอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม (การเสนอซื้อกิจการ)

และรวมไปถึงพนักงานธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ป การเสนอซื้อกิจการครั้งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งและขยายขอบเขตธุรกิจของธนาคารยูโอบีในอาเซียน

ธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปมีสินทรัพย์สุทธิรวมทั้งสิ้นประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ และฐานลูกค้าราว 2.4 ล้านราย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 และมีรายได้ประมาณ 0.5 พันล้านดอลลาร์สิงคโปร์ ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564

หากไม่รวมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกรรมนี้ในครั้งเดียว การเสนอซื้อกิจการนี้คาดว่าจะช่วยเพิ่มกำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของธนาคาร และผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) ของธนาคารยูโอบีได้ทันที

การพิจารณาข้อเสนอเงินสดสำหรับการเสนอซื้อกิจการนี้จะคำนวณจากค่าพรีเมียมรวมซึ่งเทียบเท่ากับ 915 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ บวกกับมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของธุรกิจลูกค้ารายย่อยเมื่อการโอนย้ายกิจการเสร็จสมบูรณ์ ธนาคารยูโอบีจะใช้ทุนส่วนเกินของธนาคารเพื่อการเสนอซื้อกิจการครั้งนี้

ซึ่งคาดว่าจะลดอัตราส่วนของเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Common Equity Tier 1 หรือ CET1) ของธนาคารลง 0.7% เป็น 12.8% ตามสถานะเงินทุน ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ผลกระทบต่ออัตราส่วน CET1 คาดว่าจะมีไม่มาก และจะยังอยู่ภายในข้อกำหนดด้านกฎระเบียบของหน่วยงานกำกับดูแล

การเข้าซื้อกิจการในแต่ละประเทศจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคารตามเงื่อนไขของแต่ละประเทศ รวมถึงประเทศสิงคโปร์ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จระหว่างกลางปี 2565 ถึงต้นปี 2567 ขึ้นอยู่กับความคืบหน้าและผลของกระบวนการอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคาร

ซิตี้กรุ๊ปจะทำงานร่วมกับยูโอบีและธนาคารในเครือ (รวมเรียกว่ากลุ่มธนาคารยูโอบี) อย่างใกล้ชิดเพื่อให้การโอนย้ายธุรกิจลูกค้ารายย่อย ทั้งในส่วนของลูกค้าและพนักงานเป็นไปอย่างราบรื่น

มร.วี อี เชียง รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารยูโอบี กล่าวว่า “การซื้อกิจการลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปใน 4 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม นับเป็นโอกาสครั้งใหญ่ที่มาถึงในเวลาที่เหมาะสม

ยูโอบีเชื่อในศักยภาพการเติบโตในระยะยาวของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเรามีวินัยและอดทนรอในการเสาะหาโอกาสที่ใช่เพื่อการเติบโตทางธุรกิจ

ในระหว่างการรอความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลธนาคาร เรามุ่งหวังที่จะโอนย้ายพอร์ตโฟลิโอธุรกิจที่มีคุณภาพของซิตี้กรุ๊ป และเตรียมต้อนรับทีมงาน รวมถึงสร้างคุณค่าให้กับฐานลูกค้า พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ของเราที่ขยายใหญ่ขึ้น

การซื้อกิจการนี้เมื่อรวมกับจำนวนผู้บริโภคของยูโอบีในภูมิภาค จะเป็นการรวมตัวที่ทรงพลังในการขยายธุรกิจของกลุ่มธนาคารยูโอบี และก้าวสู่ตำแหน่งธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว”

กลยุทธ์ธุรกิจรายย่อยของธนาคารยูโอบี ได้แก่ การเจาะกลุ่มลูกค้ามั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การรุกกลุ่มคนรุ่นใหม่ผ่าน UOB TMRW แพลตฟอร์มดิจิทัลของธนาคาร และให้บริการด้านการเงินผ่านช่องทางที่หลากหลาย (Omni-channel) เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งอย่างต่อเนื่อง

การเสนอซื้อกิจการนี้จะขยายเครือข่ายพันธมิตรของยูโอบี และเพิ่มขนาดธุรกิจลูกค้ารายย่อยในทั้ง 4 ประเทศขึ้นเป็นสองเท่า เร่งให้บรรลุเป้าขยายฐานลูกค้าในภูมิภาคเร็วขึ้นถึงห้าปี

โดยธุรกิจลูกค้ารายย่อยของซิตี้กรุ๊ปมีพนักงานประมาณ 5,000 คน ซึ่งรวมถึงผู้บริหารระดับสูงและทีมงานมากประสบการณ์ การเข้ามาร่วมงานกับธนาคารยูโอบีจะเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธนาคารยูโอบี

กลุ่มธนาคารยูโอบีพร้อมที่จะต้อนรับลูกค้าและพนักงานของซิตี้กรุ๊ป ซึ่งจะได้รับข้อมูลความคืบหน้าของการเสนอซื้อกิจการในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

ด้าน มร.ปีเตอร์ บาเบจ ซีอีโอประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซิตี้กรุ๊ป กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีที่จะประกาศการทำธุรกรรมนี้กับยูโอบี ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

เรามั่นใจว่ายูโอบี มีวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็งและมีความต้องการในการเติบโตในระดับภูมิภาค พร้อมที่จะมอบโอกาสที่ดีในการทำงานแก่พนักงานในกลุ่มธุรกิจธนาคารลูกค้าบุคคลของเราในประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม

ในขณะเดียวกันเรามีความมุ่งมั่นในการนำเงินทุนที่เกิดจากการทำธุรกรรมนี้ไปใช้ในพื้นที่เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของเรา รวมถึงเครือข่ายสถาบันของเราทั่วเอเชียแปซิฟิก เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจและสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุดสำหรับซิตี้”