ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกได้ตอนไหน

สิทธิประกันสังคมคนท้อง หรือสิทธิของคู่สมรสนั้น สามารถใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรประกันสังคม และสิทธิการฝากครรภ์ ประกันสังคม ได้เมื่อเข้าหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการเบิก โดยในปี 2564 ได้มีการเพิ่มค่าคลอดบุตรให้เบิกได้ 15,000 บาท และฝากครรภ์ ให้เป็น 1,500 บาทแล้ว มาดูกันว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง กี่วันได้เงิน? (อัพเดท 2565)

เบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกได้ตอนไหน

หนึ่งในสิทธิประกันสังคมคนท้องคือสามารถเบิก ค่าคลอดบุตร ให้เบิกในอัตราเหมาจ่ายที่จำนวน 15,000 บาทต่อครั้ง (จากเดิมให้ 13,000) ในจำนวนนี้จะรวมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งค่าทำคลอด, ค่ายา, ค่าห้อง, ค่ารถพยาบาล หรือค่าบริการอื่น ๆ จะเป็นคุณพ่อหรือคุณแม่ก็เบิกได้

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกได้ตอนไหน

ต้องคลอดบุตรที่โรงพยาบาลไหน: สามารถใช้สิทธิคลอดบุตรที่โรงพยาบาลไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงพยาบาลตามสิทธิ สำรองจ่ายไปก่อนแล้วนำมาเบิกภายหลัง ดังนั้นจะขอค่าคลอดบุตรโรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนก็ได้

ใครถึงมีสิทธิเบิกได้: ถ้าส่งสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนคลอดบุตร โดยจะต้องเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ลูกจ้าง) หรือ 39 (ส่งเอง) ส่วนผู้ประกันตนมาตรา 40 (อาชีพอิสระ) จะไม่สามารถใช้สิทธิได้ (ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม)

มีเอกสารเบิกค่าคลอดบุตร ประกันสังคม ดังนี้

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกได้ตอนไหน

  1. เอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน สปส. 2-01 (ดาวน์โหลด) กรอกให้ครบถ้วน แล้วเซ็นต์เอกสาร
  2. สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (ถ้าคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย)
  3. สำเนาหน้าแรกสมุดบัญชีธนาคาร (ออมทรัพย์) ให้เห็นชื่อ เลขที่บัญชีชัดเจน มี 8 ธนาคารที่ใช้ได้คือ กรุงเทพ, กสิกร, ไทยพาณิชย์, กรุงไทย, กรุงศรีฯ, ทหารไทยธนชาติ, ธ.อิสลามฯ และ CIMB
  4. หากคุณพ่อเป็นคนเบิก ให้แนบสำเนาทะเบียนสมรสมาด้วย แต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส (ดาวน์โหลด) มาแทนได้

หลังจากนั้นส่งเอกสารได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ รวมถึงสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทุกแห่งทั่วประเทศ

กรณีรับเงินด้วยตนเองต้องนำบัตรประชาชนตัวจริงไปแสดงด้วย ในขณะที่รับเงินแบบธนาณัติให้ระบุชื่อสาขาที่จะไปติดต่อรับเงิน กรณีชำระเงินโอน ประกันสังคมจะโอนเข้าบัญชีของผู้ประกันตนภายใน 5-7 วันทำการ จากวันที่เอกสารได้รับอนุมัติ

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกได้ตอนไหน

หรือจัดส่งเอกสารไปทางไปรษณีย์ที่ “ฝ่ายสิทธิประโยชน์” สำนักงานประกันสังคมตามที่อยู่ใกล้บ้าน

นอกจากสิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรที่ได้เหมาจ่าย 15,000 บาทแล้ว คุณแม่จะได้รับสิทธิสงเคราะห์หยุดงาน 3 เดือน โดยคำนวณจาก 50% ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยค่าจ้างเฉลี่ยสูงสุดที่ 15,000 บาท ใช้เบิกได้สูงสุด 2 สิทธิเท่านั้น เช่น เงินเดือน 15,000 จะเบิกได้ 7,500 บาท x 3 เดือนเป็นเงินอีก 22,500 บาท

และยังมีสิทธิเบิกสงเคราะห์บุตร เดือนละ 800 บาทต่อลูก 1 คนที่อายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ สูงสุดคราวละไม่เกิน 3 คน (สำหรับผู้ที่จ่ายประกันสังคมมามากกว่า 12 เดือนแล้ว ภายใน 36 เดือน)

กลับสู่ด้านบน ↑

สิทธิประกันสังคมฝากครรภ์

สำหรับคุณแม่ที่ยังไม่ได้คลอดบุตร (หรือคลอดบุตรไปแล้วจะยื่นฝากครรภ์พร้อมกับคลอดบุตรก็ได้) สามารถใช้สิทธิเบิกค่าตรวจครรภ์-ฝากครรภ์ได้ด้วย สูงสุดจำนวน 1,500 บาท แบ่งการจ่ายเงินเป็น 5 ครั้ง ดังนี้ (เพิ่มจากเดิม 1,000 บาท ที่จ่าย 3 ครั้ง) 

  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ (3 เดือน) จ่ายสูงสุด 500 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ระหว่าง 12-20 สัปดาห์ (3-5 เดือน) จ่ายสูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 3 อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายสูงสุด 300 บาท
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 4 อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายสูงสุด 200 บาท (ใหม่)
  • ฝากครรภ์ครั้งที่ 5 อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายสูงสุด 200 บาท (ใหม่)

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกได้ตอนไหน

การเบิกฝากครรภ์ประกันสังคมจะให้ฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายมาใช้สิทธิก็ได้ เบิกที่สำนักงานประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ลูกจ้าง) หรือ มาตรา 39 (ส่งเอง) หรือ เป็นบุคคลตามมาตรา 38 (2) หรือมาตรา 41 (3), (4), (5) ที่นำส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเดือนที่ใช้สิทธิ

มีเอกสารที่ต้องใช้ในการเบิกฝากครรภ์ ประกันสังคมดังนี้

ค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม เบิกได้ตอนไหน

  1. แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กองทุนประกันสังคม สปส. 2-01 (ดาวน์โหลด)
  2. ใบเสร็จจากสถานพยาบาลที่เข้ารับการฝากครรภ์
  3. ใบรับรองแพทย์ หรือ อนุโลมให้ใช้สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กประจำตัวหญิงตั้งครรภ์ ที่มีชื่อแม่ผู้ตั้งครรภ์และรายละเอียดการบันทึกตามแต่ละช่วงอายุครรภ์แทนได้
  4. ถ้าคุณพ่อมาเบิก ให้นำสำเนาทะเบียนสมรส หรือ หนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส (ดาวน์โหลด) มาด้วย แต่ถ้าคุณแม่มาเบิกต้องใส่เลขบัตรประชาชนของคุณพ่อเพื่อป้องกันการใช้สิทธิซ้ำ

อ้างอิง ประกันสังคม, สื่อประชาสัมพันธ์ประกันสังคม,3

เบิกค่าฝากครรภ์ ประกันสังคม 2565 ได้กี่บาท

อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 500 บาท อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 28 สัปดาห์ จ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 300 บาท

ฝากครรภ์ที่คลินิกสามารถเบิกประกันสังคมได้ไหม

1. ค่าตรวจครรภ์และฝากครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นค่าฝากครรภ์ครั้งแรก อัลตร้าซาวด์ วัคซีน หรือค่ายาต่าง ๆ ก็สามารถเบิกได้โดยจะแบ่งเกณฑ์ การจ่ายเงินดังนี้ครับ ครั้งที่ 1 อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 500.- ครั้งที่ 2 อายุครรภ์ระหว่าง 12-20 สัปดาห์ จ่ายให้ไม่เกิน 300.-

เบิกเงินค่าคลอดบุตรประกันสังคมกี่วันได้

กฎหมายใหม่ กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ให้ผู้ประกันตนหญิงลาคลอดได้ 98 วัน โดยรับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน ในอัตรา 100% ของค่าจ้าง และสำนักงานประกันสังคมจ่ายเพิ่มอีก 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 98 วัน เช่น ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท จะได้รับ 24,500 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับค่าคลอดบุตร 15,000 บาท ผู้ประกันตนจะได้รับทั้งสิ้น 39,500 ...

เบิกค่าคลอดประกันสังคมได้ที่ไหน

การยื่นขอรับ เงินค่าคลอดบุตร สามารถยื่นได้ผ่านสำนักงานประกันสังคมที่สะดวกทั่วประเทศ ยกเว้นที่สาขาสำนักงานใหญ่ภายในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข และถ้าไม่เห็นด้วยกับเงินประโยชน์ทดแทนที่ได้รับ สามารถยื่นเรื่องอุทธรณ์ภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันที่ได้รับเอกสารแจ้ง