ชื่อเดิมของกรุงธนบุรีคือชื่อใด

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงประกอบวีรกรรมในการกอบกู้และสร้างชาติ ป้องกันบ้านเมืองและสร้างความเป็นเอกภาพ ตลอดจนขยายราชอาณาจักร เมื่อปราบดาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ทรงเฉลิมพระนามว่าสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ หรือสมเด็จพระบรมราชาที่ 4 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีพระนามเดิมว่า สิน ประสูติประมาณ พ.ศ.2277 ในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรม พระบิดาเป็นชาวจีนแซ่เจิ้ง ส่วนพระมารดาเป็นหญิงไทย ชื่อนางนกเอี้ยง (กรมพระเทพามาตย์)อาจมีภูมิลำเนาจากเมืองเพชรบุรี พระองค์สมรสกับหญิงสามัญชนชื่อสอน (กรมหลวงบาทบริจาริกา) มีพระราชโอรสพระราชธิดารวม 29 พระองค์สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเดิมเป็นพ่อค้าเกวียนได้บรรทุกสินค้าไปขายที่หัวเมือง ต่อมาเข้ารับราชการจนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นพระยาวชิรปราการเจ้าเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันได้ไปปกครองเมือง พม่ายกทัพเข้ามาโจมตีหัวเมืองฝ่ายเหนือใน พ.ศ.2309 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์จึงโปรดให้พระองค์ลงมาช่วยป้องกันกรุงศรีอยุธยา

ด้วยเหตุผลจากสถานการณ์สงครามที่เหลือกำลังหรืออาจมีหมายให้ไปหาคนจากเมืองมาช่วย หรือความจำเป็นอื่นใด ทำให้พระองค์จึงพาไพร่พลไทยจีนตีฝ่าวงล้อมกองทัพพม่า (มีเอกสารการค้าทางการธนบุรี ถึงบริษัท VOC กล่าวว่า พระองค์ทรงไปตามคำสั่งพระมหากษัตริย์) มุ่งไปทางทิศตะวันออกสู่จันทบูรณ์หรือจันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่ จันทบูรจึงเป็นเมืองทางเศรษกิจทำเลที่ตั้งทางน้ำเหมาะสมกับยุทธศาสตร์ทางทหารเรียกว่า “สมุททานุภาพ”

หลัง "พระเจ้าตากสินมหาราช" กู้เอกราชคืนมาจากพม่าแล้ว สภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมาก ด้วยเหตุผลนานาประการจึงทรงตัดสินใจเลือกเอา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานีใหม่ ในชื่อ "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

วันที่ 4 ตุลาคม 2313 เมืองธนบุรีได้ถูกสถาปนาเป็นราชธานีแห่งใหม่ หลังจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ "สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" สามารถกู้เอกราชคืนมาจากพม่า  

และเมื่อสภาพบ้านเมืองของกรุงศรีอยุธยาทรุดโทรมมากไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นเมืองหลวง  เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายและทรุดโทรมยากแก่การบูรณะ นอกจากนี้กรุงศรีอยุธยายังมีพื้นที่กว้างขวางยากแก่การรักษาบ้านเมือง และอยู่ห่างจากปากแม่น้ำไม่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ 

 

สำหรับสาเหตุที่พระเจ้าตากสินมหาราชเลือกที่นี่ เพราะ "กรุงธนบุรี" เป็นเมืองขนาดเล็ก เหมาะสมกับกำลังป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ โดยตั้งอยู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะดวกในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ และยังสะดวกในการควบคุมการลำเลียงอาวุธและเสบียงต่างๆ ไปตามหัวเมืองเมื่อเกิดศึกสงคราม

ชื่อเดิมของกรุงธนบุรีคือชื่อใด

ดังนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงตัดสินใจเลือกเอา "กรุงธนบุรี" เป็นราชธานี ทรงพระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"

นอกจากนี้ หากข้าศึกยกกำลังมามากเกินกว่ากำลังจะต้านทานก็ยังสามารถย้ายไปตั้งมั่นที่จันทบุรีได้โดยอาศัยทางเรือ อีกทั้งยังมี 2 ป้อมปราการทั้งป้อมวิไชยประสิทธิ์ และป้อมวิไชเยนทร์ อยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำที่สร้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใช้ป้องกันข้าศึกที่จะเข้ามารุกรานโดยยกกำลังมาทางเรือ 

 

"สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช" ทรงสร้างพระราชวังขึ้นทางทิศใต้ของกรุงธนบุรี ขนาบข้างด้วยวัดแจ้ง หรือวัดมะกอก (ปัจจุบันคือ วัดอรุณราชวรารามราชวรวิหาร) และวัดท้ายตลาด (ปัจจุบันคือวัดโมลีโลกยารามราชวรวิหาร) โดยเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๓๑๓ พระราชทานนามว่า "กรุงธนบุรีศรีมหาสมุทร"               

ชื่อเดิมของกรุงธนบุรีคือชื่อใด

สมเด็จพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงแสดงความคิดเห็นไว้ว่า..

"ที่เจ้าตากลงมาตั้งเมืองธนบุรีเป็นราชธานี ครั้งนั้นเหมาะแก่ประโยชน์ทุกอย่าง ถ้าหากว่าสมเด็จพระอดีตมหาราชได้มาขับไล่เจ้าตากมิให้ตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ก็ขับไล่ด้วยไมตรีจิต ตักเตือนมิให้พลาดพลั้งไปด้วยเห็นแก่เกียรติยศ

เพราะกรุงศรีอยุธยาถึงเป็นที่มีชัยภูมิด้วยลําน้ำล้อมรอบ และเป็นเมืองมีป้อมปราการมั่นคงก็จริง แต่รี้พลของเจ้าตากที่มีอยู่ไม่พอจะรักษากรุงศรีอยุธยาต่อสู้ข้าศึก และขณะนั้นศัตรูก็ยังมีมาก ทั้งพม่าและไทยก๊กอื่นอาจจะยกมาย่ำยีในเมื่อหนึ่งเมื่อใด กรุงศรีอยุธยาอยู่ในทางที่ ข้าศึกจะมาถึงได้สะดวกทั้งทางบกและทางน้ำ ถ้ามีกําลังไม่พอรักษา ขืนตั้งอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาก็คงเป็นอันตราย

การที่ลงมาตั้งอยู่เมืองธนบุรีก็ไม่ห่างไกลกับกรุงศรีอยุธยา มีอํานาจอยู่ที่เมืองธนบุรีก็เหมือนมีอํานาจอยู่ในกรุงศรีอยุธยา แต่ได้เปรียบที่เมืองธนบุรีตั้งอยู่ที่ลําน้ำลึกใกล้ทะเล แม้ข้าศึกมาทางบกไม่มีทัพเรือเป็นกําลังด้วยแล้วก็ยากที่จะมาตีเมืองธนบุรี"

อย่างไรก็ดี "อาณาจักรธนบุรี" เป็นอาณาจักรเพียงแค่ช่วงสั้นๆ ระหว่างปี 2310 - 2325 หรือเพียง 15 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครองเพียงพระองค์เดียว คือ "สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

และต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และทรงย้ายเมืองหลวงไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

กรุงเทพฯ - ธนบุรี จังหวัดคู่แฝดที่แยกกันไม่ออก! ร.๑ ก็ไม่ได้ทรงย้ายวังหลวงออกจากกรุงธนบุรี!!

เผยแพร่: 7 มิ.ย. 2562 12:02   โดย: โรม บุนนาค

ชื่อเดิมของกรุงธนบุรีคือชื่อใด

กรุงเทพฯและธนบุรี เป็นจังหวัดคู่แฝดที่แยกกันไม่ค่อยออก จังหวัดธนบุรีเป็นนครหลวงในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่าง พ.ศ.๒๓๑๐ - พ.ศ.๒๓๒๕ ก่อนพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจะทรงย้ายพระราชวังมาอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แต่ก็ไม่ได้ย้ายออกจากกรุงธนบุรี ยังอยู่ภายในเขตคูเมืองของกรุงธนบุรี คือ “คลองคูเมืองเดิม” จากปากคลองตลาดมาถึงใต้สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าในปัจจุบัน ซึ่งเป็นคูเมืองของกรุงธนบุรี

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.๒๔๕๗ รวมกรุงเทพมหานครและธนบุรี ทั้งนนทบุรี ปทุมธานี นครเขื่อนขันธ์ สมุทรปราการ ธัญบุรี และมีนบุรี เป็นมณฑลกรุงเทพมหานคร มีเสนาบดีเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อมาได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๗๖ ให้จัดระบบการปกครองประเทศ แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน มณฑลกรุงเทพมหานครจึงถูกแยกออกเป็นจังหวัด มี จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรีด้วย  มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการบริหารงานของจังหวัด

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ ได้มีประกาศคณะปฏิวัติให้ปรับปรุงระบบการปกครองจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี ให้รวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกัน เป็น จังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรี  มีผู้ว่าราชการจังหวัดบริหารงานเช่นเดิม

ต่อมาในวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ คณะปฏิวัติได้มีประกาศฉบับที่ ๓๓๕ ให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใหม่อีกครั้ง คือ ให้รวมกิจการปกครองนครหลวงกรุงเทพธนบุรี องค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เทศบาลนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ตลอดจนสุขาภิบาลต่างๆในเขตนครหลวงกรุงเทพธนบุรี เป็นหน่วยการปกครองเดียวกัน คือ "กรุงเทพมหานคร" ให้มีผู้ว่าราชการและรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นข้าราชการการเมือง แต่งตั้งและถอดถอนโดยคณะรัฐมนตรี และให้มีสภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้ง เขตละหนึ่งคน และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง มีจำนวนเท่ากับจำนวนเขตในกรุงเทพมหานคร

ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร มีผลให้ กรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง  และให้แบ่งเขตพื้นที่ปกครองของกรุงเทพมหานครออกเป็นเขตและแขวงตามลำดับ มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ๑ คน และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อีก ๔ คน ทั้งหมดมาจากการเลือกตั้ง และให้มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตปกครอง เขตละ ๑ คน ถ้าเขตใดมีประชาชนเกิน ๑๕๐,๐๐๐ คน สามารถเลือกจำนวนสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเพิ่มได้อีก ๑ คน

ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๒๘ ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารกรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๒๘ กำหนดการบริหารกรุงเทพมหานคร ให้เลือกผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเพียงคนเดียว ส่วนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีก ๔ คน ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นคนแต่งตั้ง นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับสภาเขตที่ประชาชนเลือกตั้งเข้ามา เป็นตัวแทนสอดส่องดูแลการดำเนินงานของเขต เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนอย่างน้อยเขตละ ๗ คน ซึ่งก็คือระบบการบริหารกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

ถึงแม้กรุงเทพฯและธนบุรีจะรวมกันอย่างแน่นแฟ้นเป็น กรุงเทพมหานคร แล้วก็ตาม แต่ความคิดที่จะให้แยกกลับไปเป็นจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีก็ยังมีเสมอมา

ในปี ๒๕๑๙ พรรคประชาธิปัตย์ก็เคยขานรับคำเรียกร้องของชาวฝั่งธน ขอแยกตัวออกจากกรุงเทพมหานคร จึงยื่นเสนอเรื่องนี้ต่อสภาผู้แทนราษฎร แต่เมื่อสภารับหลักการในวาระที่ ๑ แล้ว ก็ถูกรัฐประหารไปในวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ร.บ.แยกกรุงเทพฯ-ธนบุรีจึงตกไป ต่อมาในปี ๒๕๒๖ ก็ได้รับคำเรียกร้องจากชาวธนบุรีอีก แต่ก่อนที่จะนำ พ.ร.บ.ฉบับนี้เสนอต่อสภาอีกครั้ง พรรคประชาธิปัตย์จึงทำการสำรวจประชามติ โดยใช้นักศึกษา ๒๐๐ คน สำรวจความเห็นจากประชาชน ๓,๐๐๖ คนจาก ๑๐ อาชีพ ใน ๙ เขตฝั่งธนบุรี ซึ่งนายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรค ได้แถลงผลของการสำรวจประชามติในครั้งนี้เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๒๖ ว่า ผู้มีความเห็นให้แยก ๑,๒๙๖ คน เป็นร้อยละ ๔๓.๑๖ ผู้ไม่เห็นด้วย ๑,๓๘๖ ราย เป็นร้อยละ ๔๖.๑๑ และ ๓๒๒ ราย หรือร้อยละ ๑๐.๗๑ ไม่ออกความเห็น เมื่อความเห็นออกมาเช่นนี้ แม้จะใกล้เคียงกัน ความคิดแยกกรุงเทพฯ-ธนบุรีจึงตกไปจนบัดนี้
ใครอยู่ว่างๆไม่มีอะไรทำก็ลองเสนอใหม่ดูอีกทีก็ได้

กำลังโหลดความคิดเห็น