ผลกระทบที่สำคัญจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างร้ายแรงในสมัยรัชกาลที่ 7 คือข้อใด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผลกระทบที่สำคัญจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างร้ายแรงในสมัยรัชกาลที่ 7 คือข้อใด

ประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540

วิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 หรือเรียกทั่วไปในประเทศไทยว่า “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เป็นช่วงวิกฤตการณ์ทางการเงินซึ่งส่งผลกระทบถึงหลายประเทศในทวีปเอเชียเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2540 ก่อให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการล่มสลายทางเศรษฐกิจทั่วโลกเนื่องจากการแพร่ระบาดทางการเงิน

วิกฤตดังกล่าวเริ่มขึ้นในประเทศไทย เมื่อค่าเงินบาทลดลงอย่างมากอันเกิดจากการตัดสินใจของรัฐบาลไทย ซึ่งมีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ลอยตัวค่าเงินบาท ตัดการอิงเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ หลังจากความพยายามทั้งหมดที่จะสนับสนุนค่าเงินบาทเมื่อเผชิญกับการแผ่ขยายแบบเกินเลยทางการเงิน (financial overextension) อย่างรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนขับเคลื่อนอสังหาริมทรัพย์ ในเวลานั้น ประเทศไทยมีภาระหนี้สาธารณะ และเมื่อวิกฤตดังกล่าวขยายออกนอกประเทศ ค่าเงินของประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นก็ได้ทรุดตัวลงเช่นกัน ตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงและรวมไปถึงราคาสินทรัพย์อื่น ๆ และทำให้หนี้เอกชนเพิ่มสูงขึ้น[1]

แม้จะทราบกันดีแล้วว่าวิกฤตการณ์นี้มีอยู่และมีผลกระทบอย่างไร แต่ที่ยังไม่ชัดเจนคือสาเหตุของวิกฤตการณ์ดังกล่าว เช่นเดียวกับขอบเขตและทางแก้ไข อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ และไทยได้รับผลกระทบมากที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ฮ่องกง มาเลเซีย ลาวและฟิลิปปินส์ก็เผชิญกับปัญหาค่าเงินทรุดเช่นกัน สาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย ไต้หวัน สิงคโปร์ บรูไนและเวียดนามได้รับผลกระทบน้อยกว่า ถึงแม้ว่าทุกประเทศที่กล่าวมานี้จะได้รับผลกระทบจากการสูญเสียอุปสงค์และความเชื่อมั่นตลอดภูมิภาค

สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นจาก 100% เป็น 167% ในสี่ประเทศใหญ่อาเซียน ระหว่างปี พ.ศ. 2536 - 2538 ก่อนจะขึ้นไปสูงถึง 180% ในช่วงที่วิกฤตการณ์เลวร้ายที่สุด ในเกาหลีใต้ สัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก 13% เป็น 21% และแตะระดับสูงสุดที่40%ขณะที่ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ที่อยู่ทางเหนือได้รับผลกระทบน้อยกว่ามาก มีเพียงในไทยและเกาหลีใต้เท่านั้นที่หนี้สัดส่วนบริการต่อการส่งออกเพิ่มขึ้น[2]

ถึงแม้ว่ารัฐบาลส่วนใหญ่ในเอเชียได้ออกนโยบายการเงินที่ดูแล้วสมบูรณ์ แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ก้าวเข้ามาเพื่อริเริ่มโครงการมูลค่า 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพของสกุลเงินในเกาหลีใต้ ไทย และอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุดจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว ความพยายามที่จะยับยั้งวิกฤตการณ์เศรษฐกิจระดับโลกได้ช่วยรักษาเสถียรภาพสถานการณ์ในประเทศในอินโดนีเซียได้เพียงเล็กน้อย ประธานาธิบดีซูฮาร์โตถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 หลังจากครองอำนาจมายาวนานกว่า 30 ปี ท่ามกลางการจลาจลที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าอย่างรุนแรง อันเป็นผลมาจากค่าเงินรูเปียห์อ่อนตัวลงอย่างร้ายแรง ผลกระทบของวิกฤตการณ์ดังกล่าวกินเวลาไปจนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2541 ในปีเดียวกันนั้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ลดลงจนเกือบเป็นศูนย์ มีเพียงสิงคโปร์และไต้หวันเท่านั้นที่พิสูจน์แล้วว่าเกือบจะไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งในวิกฤตการณ์เลย แต่ทั้งสองประเทศก็ยังได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงตามปกติ สิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย อย่างไรก็ตาม จนถึงปี พ.ศ. 2542 นักวิเคราะห์ได้มองเห็นสัญญาณว่าเศรษฐกิจเอเชียกำลังเริ่มฟื้นตัว

ประวัติ[แก้]

จนถึง พ.ศ. 2540 ทวีปเอเชียได้ดึงดูดการไหลเข้าของทุนรวมเกือบครึ่งเข้าไปในประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้รักษาอัตราดอกเบี้ยที่สูงซึ่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติที่กำลังมองหาผลตอบแทนในอัตราที่สูง ผลคือ เศรษฐกิจในภูมิภาคมีเงินไหลเข้าในปริมาณมากและมูลค่าสินทรัพย์สะสมเพิ่มขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกัน เศรษฐกิจภูมิภาคอย่างไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และเกาหลีใต้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงมาก คิดเป็น 8-12% ของจีดีพี ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 198 และต้นคริสต์ทศวรรษ 199 สัมฤทธิ์ผลดังกล่าวได้รับการกล่าวถึงโดยสถาบันการเงิน ซึ่งรวมไปถึงไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก และเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจเอเชีย"

  • ในปี พ.ศ. 2537 นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง พอล ครุกแมน ได้ตีพิมพ์บทความซึ่งโจมตีแนวคิด "ปาฏิหาริย์เศรษฐกิจเอเชีย" เขาโต้แย้งว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกนั้นตามประวัติศาสตร์แล้วเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการลงทุน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยรวมในด้านผลิตภาพเพิ่มขึ้นอย่างจำกัดหรือไม่เพิ่มขึ้นเลย ครุกแมนแย้งอีกว่ามีเพียงการเติบโตในผลิตภาพปัจจัยรวม มิใช่การลงทุน เท่านั้นที่สามารถนำไปสู่ความมั่งคั่งในระยะยาวได้ หลังจากวิกฤตการณ์การเงินอุบัติขึ้น หลายคนมองว่าครุกแมนสามารถรู้ล่วงหน้า แม้เขาว่า เขาไม่ได้ทำนายถึงวิกฤตการณ์หรือคาดการณ์ความลึกของมันได้

สาเหตุ[แก้]

คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (ศปร.) สรุปว่า วิกฤตดังกล่าวเกิดจากการก่อหนี้ของเอกชน แต่การดำเนินการของภาครัฐที่ผิดพลาดทำให้วิกฤตบานปลาย[3]:(9) คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีนโยบายเปิดตลาดเงิน พร้อมกับรักษาช่วงอัตราแลกเปลี่ยนที่แคบมาก ปล่อยให้เงินกู้ไหลเข้าประเทศปริมาณมากเกินควบคุม[3]:(9–10) ธปท. เลือกใช้วิธีใช้ swap ในการปกป้องค่าเงินบาท ซึ่งเป็นการทุ่มเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างขาดความรอบคอบ[3]:(11) ทั้งนี้ ธปท. ได้รับคำเตือนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) แล้ว[3]:(10)

ศปร. ยังมองว่า ธปท. ไม่ได้ดำเนินการเปลี่ยนตัวผู้บริหารของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด ซ้ำมีการเอื้อต่อผู้บริหารเดิมโดยตลอด[3]:(11) และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีบทบาทผิดไปจากเจตนารมณ์ตามกฎหมาย บกพร่องในการฟื้นฟูกิจการ[3]:(12)

ผลกระทบ และสิ่งที่เกิดขึ้นตามมา[แก้]

ต่างประเทศ[แก้]

  1. สัดส่วนระหว่างหนี้ต่างประเทศ กับ GDP เพิ่มสูงขึ้นมาก เช่น ประเทศในอาเซียนเพิ่มจาก 100% กลายเป็น 180% ในช่วงที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติการณ์
  2. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เข้ามารักษาเสถียรภาพสกุลเงินของ ประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเกาหลีใต้ โดยการลงทุน 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพราะ 3 ประเทศดังกล่าวได้รับผลกระทบมากที่สุด
  3. ประเทศสิงคโปร์ และไต้หวัน ถือว่าได้รับผลกระทบน้อยมาก จนอาจกล่าวได้ว่า ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจนี้ แต่สิงคโปร์ได้รับผลกระทบมากกว่าเนื่องจากขนาดและที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างมาเลเซียกับอินโดนีเซีย
  4. ประธานาธิบดีซูฮาร์โตของอินโดนีเซียถูกบีบให้ลาออกจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 หลังจากครองอำนาจมายาวนานกว่า 30 ปี
  5. เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในอาร์เจนติน่า กับ วิกฤตการณ์การเงินในรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2541 โดยตรง และ เกิดภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอมโดยทางอ้อม

ภายในประเทศไทย[แก้]

  1. ธุรกิจของเอกชน ไม่ว่าจะเป็น สถาบันการเงิน หรือ บ้านจัดสรร เป็นต้น ต่างพากันปิดกิจการลง พนักงานถูกปลดออก มีหนี้สินเกิดขึ้นมหาศาล จนมีการประท้วงโดยประชาชนส่งผลทำให้พลเอกชวลิต ตัดสินใจลาออกและต้องพ้นจากการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 โดยมีนายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยที่ 2 สืบต่อมาในวันถัดไป (คือเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540)
  2. ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามพยุงค่าเงินบาท โดยใช้เงินสำรองเงินตราต่างประเทศจนหมด ประกอบกับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ต้องใช้เงินของกองทุนในการให้ความช่วยเหลือแก่สถาบันการเงินหลายแห่ง(หมายถึง ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ เป็นต้น)ในประเทศไทย ด้วยจำนวนเงินสูงสุดถึง 6 แสนล้านบาท ทำให้การใช้เงินในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ครั้งนี้ของทั้ง 2 หน่วยงานเองหมดลงทันทีและต้องกู้จาก ไอเอ็มเอฟ จำนวน 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
  3. อุตสาหกรรมการเงินในประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้เข้ายึดใบอนุญาตการประกอบกิจการของสถาบันการเงิน(ประกอบไปด้วยประเภทบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟรองซิเอร์ เป็นต้น) โดยสรุปรวมได้แล้วถึง 58 แห่ง ทำให้จำนวนดังกล่าว ต้องมีการปิดกิจการลงอย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ตาม กลับมีเพียงแค่ 2 บริษัทเท่านั้น คือบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) (ปัจจุบันคือ ธนาคารเกียรตินาคินภัทร) และบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์ บางกอกอินเวสต์เมนท์ จำกัด (มหาชน) (ต่อมาคือบริษัท อยุธยา โทเทิล โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ปัจจุบันปิดกิจการแล้ว) ที่สามารถกลับมาประกอบกิจการได้ตามปกติ ต่อมาได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พุทธศักราช 2540 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เพื่อจัดตั้งองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน เพื่อฟื้นฟูฐานะ การช่วยเหลือให้แก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงินที่มีความสุจริต และชำระบัญชีกับบริษัทการเงินที่ถูกยึดใบอนุญาตก่อนหน้านี้ ซึ่งไม่สามารถดำเนินการเองได้[5] ต่อมาหลังจากเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2541 ก็ได้ออกประกาศบังคับใช้มาตรการหนึ่งเพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาโครงสร้างสถาบันการเงินประเภทธนาคารครั้งใหญ่ ซึ่งก็คือ มาตรการ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2541 ซึ่งมาตรการนั้น ทำให้เกิดการควบโอน ควบรวม การซื้อขายกิจการธนาคารบางแห่ง ซึ่งมีปัญหาเพราะเรื่องสินทรัพย์ หนี้สิน และการเพิ่มทุน (ทั้งนี้รวมไปถึงการเข้ายึดกิจการโดยรัฐบาล และการยกเลิกธุรกิจธนาคาร ของบางธนาคารไปด้วย) จึงส่งผลทำให้จำนวนธนาคารถูกลดลงไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นอกเหนือจากนี้แล้ว ยังได้มีการปรับปรุงโครงสร้างด้านกิจการเงินทุนและหลักทรัพย์ โดยให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ที่ดำเนินกิจการอย่างปกติและไม่ถูกปิดกิจการในขณะนั้น ให้ดำเนินการแยกธุรกิจเงินทุน และธุรกิจหลักทรัพย์ ในบริษัทเดียวกันออกจากกัน กล่าวคือธุรกิจเงินทุนในบริษัทเดิม ก็ให้ดำเนินกิจการต่อไปโดยไม่ต้องปิดกิจการ เพียงแต่ต้องเปลี่ยนชื่อเรียกนิติบุคคลว่า บริษัทเงินทุน (ต่อมาบริษัทเงินทุนบางแห่ง พัฒนาตัวเองเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทประเภทอื่น) แต่ในขณะที่ธุรกิจหลักทรัพย์นั้น ให้แยกการประกอบธุรกิจจากบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (หรือบริษัทเงินทุนในภายหลัง) ออกไปจัดตั้งเป็นนิติบุคคลอิสระ เป็นบริษัทหลักทรัพย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการประกอบธุรกิจ
  4. การปฏิบัติต่อหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลได้ส่งเสริมการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยการออกพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจในรูปแบบองค์การของรัฐบาล ที่มีผลประกอบการทั้งด้านการบริหารงานและทางการเงินอยู่ในระดับดี ให้ดำเนินการแปรรูปจากนิติบุคคลในรูปแบบองค์การของรัฐบาล (ซึ่งการลงทุนและรายได้รายจ่ายเป็นทุน) ไปเป็นนิติบุคคลหุ้นส่วน หรือในรูปแบบบริษัท(มหาชน)จำกัด เพื่อให้สามารถแข่งขันกับหน่วยงานภาคเอกชนได้ และเพื่อเป็นช่องทางหาผลประโยชน์หรือรายได้ให้กับประเทศต่อไป ส่งผลทำให้มีการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางราย และบางรายเมื่อแปรรูปแล้ว ก็ได้เป็นบริษัทจดทะเบียน เพื่อซื้อขายตราสารทุนที่ตลาดหลักทรัพย์ เป็นการต่อไป แต่ในทางกลับกัน รัฐบาลก็ได้มีการประกาศให้ยุบเลิกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางแห่ง ที่ไม่สามารถดำเนินกิจการเพื่อเข้ากับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับภาคเอกชนประกอบกิจการดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้วนั้น จึงทำให้มีการออกพระราชกฤษฎีกาเพื่อยุบเลิกหน่วยงานรัฐวิสาหกิจบางหน่วยงานไปโดยปริยาย
  5. หลังวิกฤตการณ์นี้ รัฐบาลได้มีนโยบายให้ย่นการประชาสัมพันธ์ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทยที่มีถึง 2 ปีซ้อน คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2542 มาเป็นช่วงปลายปี พ.ศ. 2540 เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวภายในประเทศไทยอันจะก่อให้เกิดการสร้างและนำรายได้จากการท่องเที่ยวเข้ามาในงบประมาณและสถานะภาพความคล่องของประเทศไปด้วย[6]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kaufman: pp. 195–6
  2. "สัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อจีดีพีเพิ่มสูงขึ้นจาก 100% เป็น 167%" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-23. สืบค้นเมื่อ 2013-05-29.
  3. ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 คณะกรรมการศึกษาและเสนอแนะมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการระบบการเงินของประเทศ (2542). รายงานผลการวิเคราะห์และวินิจฉัยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ (4 ed.). มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย. ISBN 9748663965.
  4. ↑ 4.0 4.1 Cheetham, R. 1998. Asia Crisis. Paper presented at conference, U.S.-ASEAN-Japan policy Dialogue. School of Advanced International Studies of Johns Hopkins University, 7–9 June, Washington, D.C.
  5. พระราชกำหนดการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน พุทธศักราช 2540 จัดทำข้อมูลโดย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย (สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560)
  6. Amazing Thailand ต้องช่วยกันทั้งประเทศ[ลิงก์เสีย] จากนิตยสารผู้จัดการ

ผลกระทบที่สำคัญที่สุดจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำร้ายแรงในสมัยรัชกาลที่ 7 คือข้อใด

ผลกระทบที่สำคัญที่สุดจากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำร้ายแรงในสมัยรัชกาลที่ 7 คือข้อใด กลุ่มนายทหารถือโอกาสก่อการปฏิวัติ ราษฎรอยู่ในสภาพยากจนเป็นส่วนใหญ่ รัฐบาลต้องซื้ออาหารแจกจ่ายให้ สภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไปในด้านเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน มากขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดผลกระทบอะไรบ้าง

ในสมัยรัชกาลที่ 7 ประเทศไทยกำลังประสบภาวะทรุดโทรมอย่างยิ่ง โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลได้ ตัดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็นออกไปอย่างมากมาย ในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตัดทอนรายจ่ายในราชสำนัก เพื่อเป็นตัวอย่าง แก่หน่วยงานราชการต่าง ๆ มีการลดจำนวนข้าราชการ ในกระทรวงต่าง ๆ ให้น้อยลง พระองค์ยินยอมลดราย ...

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดขึ้นเพราะ เหตุใด

แต่เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่จะ ไม่กู้ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศเพื่อลดภาระการเสียดอกเบี้ย รวมทั้งการจำกัดการใช้จ่ายให้อยู่แต่เฉพาะกำลังเงินรายได้ภายในประเทศเท่า นั้น ทำให้สภาพเศรษฐกิจของประเทศตกอยู่ในภาวะชะงักงัน การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเผชิญกับความผันผวนทางการเงินใน ขณะเมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์ดัง ...

การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในสมัยรัชกาลที่ 7 ข้อใดมีผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล *

โดยทรงดำเนินนโยบายตัดทอนรายจ่ายอย่างเข้มงวด และการหารายได้ใหม่ๆ เพิ่ม เช่น โปรดให้ลดเงินงบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์จากเดิมปีละ 9 ล้านบาท เหลือปีละ 6 ล้าน, ปลดข้าราชการออกจากตำแหน่ง, ยุบมณฑลต่างๆ ทั่วประเทศ, งดจ่ายเบี้ยเลี้ยงและเบี้ยกันดารแก่ข้าราชการ, ประกาศเพิ่มภาษีราษฎรบางรายการ, เรียกเก็บภาษีเงินเดือนจากข้าราชการ ฯลฯ ...