ระบบอัตราแลกเปลี่ยน มีกี่ประเภท

    ระบบอัตราแลกเปลี่ยน หมายถึง ราคาของเงินตราต่างประเทศคิดเทียบต่อราคาของเงินภายในประเทศ เช่น เงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา เท่ากับ 40 บาท
    การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะเลือกหน่วยเงินตราของตนเกี่ยวกันกับหน่วยเงินตราของปรเทศอื่น ๆ โดยสามารถให้ระบบเงินตราของตนเป็นอิสระ ทั้งนี้โดยการใช้นโยบายการเงินของตนเพื่อที่จะรักษามูลค่าภายใน (Internal Value) หรือก็คืออำนาจการซื้อของหน่วยเงินตราของประเทศอื่น ๆ ถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาดเงินตราต่างประเทศตลอดจนปล่อยให้มีการเคลื่อนไหวอย่างเสรี หรืออีกประเทศหนึ่งอาจจะกำหนดมูลค่าภายนอก (External Value) ของหน่วยเงินตราของตนมีลักษณะคงที่ (Fixed) เมื่อเทียบค่ากับหน่วยเงินตราของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือเทียบค่ากับหน่วยเงินตราของหลาย ๆ ประเทศในลักษณะคงที่
1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่1 (Fixed Exchange Rate System) เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ทางการกำหนดให้คงที่ระดับหนึ่ง โดยไม่เปลี่ยนแลงในช่วงเวลาที่ต้องการ ซึ่งภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่จะเกิดจากหน่วยเงินตราแต่ละประเทศอิงกับมาตฐานโลหะที่มีค่า เช่น ระบบมาตรฐานทองคำ (The Gold Standard) รัฐบาลของทุกประเทศจะใช้ทองคำเพียงชนิดเดียวเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ และจะกำหนดค่าหน่วยเงินตราของประเทศเทียบกับน้ำหนักทองคำ เช่น เงินหนึ่งดอลลาร์สหรัฐอเมริกาอิงน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์เท่ากับ 23.22 เกรน ส่วนเงินปอนด์ของอังกฤษหนึ่งปอนด์อิงน้ำหนักทองคำบริสุทธิ์เท่ากับ113.0016 เกรน ดังนั้น อัตราแลกเปลี่ยนหนึ่งปอนด์ของอังกฤษเท่ากับ 4.87 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา อัตราแลกเปลี่ยนภายใต้มาตรฐานทองคำระหว่างประเทศจะมีความเคลื่อนไหวน้อยมาก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายในการส่งออกทองคำจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง
2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรี (Freely Exchange Rate System) ภายใต้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบเสรีนั้น อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ โดยเจ้าหน้าที่ทางการเงินไม่ต้องกำหนดค่าเสมอภาค หรือเข้าแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศ อัตราแลกเปลี่ยนจึงเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี (Independent หรือ Free Float)

สำหรับระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี อัตราแลกเปลี่ยนจะถูกกำหนดโดยกลไกตลาดเป็นหลัก ดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนในระบบนี้จะขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ เช่นจุด A ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ดังภาพที่ 1 โดยเมื่ออุปสงค์และ/หรืออุปทานของเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลง จะทำให้เส้นอุปสงค์และ/หรือเส้นอุปทานเงินตราต่างประเทศเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยจากภาพที่ 1 เกิดอุปสงค์ต่อเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นจนเส้นอุปสงค์เลื่อนไปทางขวาจนระดับดุลยภาพของอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ดุลยภาพใหม่ที่ 40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ณ จุด B ดังนั้นจึงเห็นว่าในประเทศที่มีระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ค่าเงินอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ ทั้งนี้จะเป็นไปตามปัจจัยต่างๆ ทางเศรษฐกิจที่เป็นตัวกำหนดความต้องการและปริมาณของเงินตราต่างประเทศในตลาดเงินตราต่างประเทศนั่นเอง

ระบบอัตราแลกเปลี่ยน มีกี่ประเภท

ภาพที่ 1 ดุลยภาพในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อมีอุปสงค์ของเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้น

ตัวอย่างของประเทศที่ใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบเสรี ได้แก่ แซมเบียแอลเบเนีย ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยี่ยม บราซิล แคนาดา ชิลี ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี เกาหลีใต้ ลักแซมเบิก มอลตา เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ ฟิลิปปินส์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลเวเนีย แอฟริกาใต้ สเปน สวีเดน ตุรกี สหราชอาณาจักร คองโก ญี่ปุ่น โซมาเลีย สวิสเซอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
ข้อดี

• สร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและลดการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในประเทศเนื่องจากค่าเงินผูกติดกับประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ

• ช่วยสร้างบรรยากาศของความมั่นคงต่อการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ

ข้อดี

• มีความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงิน

• มีความยืดหยุ่นในการปรับตัวกับความผันผวนจากภายนอก เนื่องจากเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่ถูกกำหนดโดยกลไกตลาด

ข้อเสีย

• ธนาคารกลางแบกรับภาระในการตรึงอัตราแลกเปลี่ยนให้คงที่ ซึ่งอาจเป็นจุดอ่อนที่นำไปสู่การเก็งกำไรค่าเงิน

• ขาดอิสระในการดำเนินนโยบายการเงินในประเทศเนื่องจากต้องคำนึงถึงการรักษาอัตราแกลเปลี่ยนเป็นหลัก

ข้อเสีย

• ในการดำเนินนโยบายการเงิน จะมีตัวแปรมากขึ้นที่ต้องพิจารณา ในการดูแลระดับราคาในประเทศ เนื่องจากอัตราแกลเปลี่ยนที่อ่อนค่าสามารถส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้น

• ในกรณีที่เป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ธนาคารกลางอาจขาดความโปร่งใสในการดำเนินงาน

วันนี้เราไปดู นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนมีกี่แบบ แต่ละแบบใช้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ในโลกนี้มีกี่แบบแต่ละประเทศใช้แบบไหนกันบ้าง เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชมกันเลย

นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนมีกี่แบบ แต่ละแบบใช้อย่างไรบ้าง

ระบบอัตราแลกเปลี่ยน มีกี่ประเภท

รูปภาพจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

สำหรับนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนนั้นโดยปกติแต่ประเทศมีการเลือกใช้นโยบายที่แตกต่างกันตามบริบทของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ โดยเราไปดูรายละเอียดของแต่ละประเภทกันดีกว่า

นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Free Floating)

  • คือการปล่อยให้มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยน โดยจะปรับตัวขึ้นลงตามกลไกตลาด อัตราแลกเปลี่ยน ปราศจากการแทรกแซงจากภาครัฐบาลและธนาคารการ
  • สำหรับประเทศที่เลือกใช้ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เม็กซิโก สหภาพยุโรป ยูโร สหราชอาณาจักร รัสเซีย

ระบบอัตราแลกเปลี่ยน มีกี่ประเภท

อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ (Managed Float)

  • คืออัตราแลกเปลี่ยนขึ้นลงตามกลไกตลาด แต่มีการแทรกแซง จากภาครัฐหรือธนาคารกลางบ้าง หากไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
  • สำหรับประเทศที่เลือกใช้ อัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวแบบมีการจัดการ ได้แก่ บราซิล อินโดนีเซีย ไทย เกาหลีใต้ อินเดีย มาเลเซีย เซาท์ แอฟริกา ฟิลิปปินส์ ตุรกี

ระบบอัตราแลกเปลี่ยน มีกี่ประเภท

อัตราแลกเปลี่ยนแบบ ผูกค่าเงินแบบอ่อน (Soft Peg)

  • คือการปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดแค่ระดับหนึ่ง แต่จำกัดการเปลี่ยนแปลงด้วยวิธีต่างๆ โดยจะมีการกำหนดกรอบค่าเงินและภาครัฐหรือธนาคารกลางจะเข้ามาแทรกแซงมากกว่า Managed Float เพื่อให้ค่าเงินอยู่ในกรอบ
  • สำหรับประเทศที่เลือกใช้ อัตราแลกเปลี่ยนแบบผูกค่าเงินแบบอ่อน ได้แก่ เวียดนาม ลาว สิงคโปร์ เมียนมา

ระบบอัตราแลกเปลี่ยน มีกี่ประเภท

อัตราแลกเปลี่ยนแบบ ผูกค่ากับเงินสกุลอื่นแบบตายตัว (Fixed/Pegged)

  • คือการกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนมีมูลค่าที่เทียบกับสถุลเงินหนึ่งหรือมูลค่าตามเงินในตะกร้าสกุลเงินที่กำหนดไว้เท่านั้น และจะปรับมูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนไม่บ่อย
  • สำหรับประเทศที่เลือกใช้ ผูกค่ากับเงินสกุลอื่นแบบตายตัว ได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย เขตปกครองพิเศษ ฮ่องกง บรูไน เดนมาร์ก จีน

ระบบอัตราแลกเปลี่ยน มีกี่ประเภท

​อัตราแลกเปลี่ยนและดัชนีค่าเงินบาทในประเทศไทย (NEER&REER) ​

สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนในประเทศไทยนั้นทาง ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธปท. ได้ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) ตั้งแต่ กรกฎาคม 2540 ทั้งนี้ ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะตลาด ซึ่งสะท้อนความต้องการและอุปทานของเงินบาทเทียบกับเงินตราต่างประเทศทั้งนี้ในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการนั้น ธปท. คือ

  • (1) จะไม่กำหนดระดับอัตราแลกเปลี่ยน ณ ค่าใดค่าหนึ่ง
  • (2) จะดูแลไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวผันผวนมากเกินไป โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวจากเงินทุนไหลเข้าเพื่อเก็งกำไร โดยการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนต้องไม่ขัดกับนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ตาม ในบางขณะ ความต้องการระหว่างอุปสงค์และอุปทานมิได้พอดีกัน ทำให้ค่าเงินบาทแกว่งขึ้นลงตลอดเวลา โดย ธปท. มีนโยบายให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดภายใต้เงื่อนไขดังนี้

  • (1) ดูแลความผันผวน (volatility) ของค่าเงินให้อยู่ในระดับที่เศรษฐกิจรับได้
  • (2) รักษาความสามารถในการแข่งขันโดยพิจารณาจาก Nominal effective exchange rate (NEER) เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยสกุลเงินของคู่ค้าและ คู่แข่งที่สำคัญในตลาดที่สาม ไม่ใช่เฉพาะ ดอลลาร์ สรอ.
  • (3) ไม่ฝืนแนวโน้มที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพราะจะนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุล (Imbalances)

พิเศษสำหรับท่านที่กำลังจะออกรถช่วงเวลานี้ MoneyGuru แจกบัตรเติมน้ำมัน 1,500 บาท ฟรี..!! เพียงแค่ท่านซื้อประกันรถยนต์กับทางเว็บไซต์ MoneyGuru.co.th เนื่องจากในทุกวันนี้ การใช้รถใช้ถนนมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากผู้ใช้รถทุกคนต้องไม่ประมาทและควรระมัดระวังในการขับขี่แล้ว การทำประกันภัยรถนั้นก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ท่านเพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น

ไม่พลาดทุกเรื่องราวข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @MoneyGuruThailand

ระบบอัตราแลกเปลี่ยน มีกี่ประเภท

อ้างอิงข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย