อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด เพราะเหตุใด

สารอาหารเด็กเล็ก สำคัญต่อการเจริญเติบโต จำเป็นต่อพัฒนาการ เมื่อลูกรักผ่านพ้นวัย 6 เดือน ก็จำเป็นต้องเริ่มอาหารเสริม ที่นอกเหนือจากน้ำนม และช่วงวัย 1 - 3 ปีแรกของชีวิต ก็มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับปัญหาน่าห่วงของเด็กไทย โดยเฉพาะเด็กเล็กวัยเตาะแตะอายุ 1-3 ปี คือการขาดวิตามินแร่ธาตุและการเจริญเติบโตไม่สมดุล ส่งผลให้เด็กเติบโตแคระแกร็น อ้วนเกิน-ผอมเกิน และไอคิวต่ำ

วิตามินแร่ธาตุ สารอาหารเด็กเล็กที่วัยเตาะแตะได้รับไม่เพียงพอ

จากการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 11 อาหารสุขภาพเพื่อชีวิต ในหัวข้อ "นมสำหรับเด็กเล็กกับภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต" มีการนำเสนอหัวข้อปัญหาที่พบในเด็กวัยเตาะแตะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยวิตามินแร่ธาตุที่พบว่าเด็กวัยเตาะแตะได้รับไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ได้แก่

  • วิตามิน A
  • วิตามิน D
  • วิตามิน C
  • โฟเลต
  • แคลเซียม
  • เหล็ก
  • ไอโอดีน

แม้ว่าในแต่ละวัน ร่างกายเด็กมีความต้องการสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณน้อย แต่หากร่างกายขาดวิตามินแร่ธาตุอย่างต่อเนื่อง ก็ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต ทั้งทางร่างกายและสมองของลูกน้อย ที่สำคัญ เด็กวัยเตาะแตะเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตมากที่สุดอีกช่วงหนึ่งของชีวิต สารอาหารเด็กเล็กจึงสำคัญมาก พ่อแม่จะละเลยไม่ได้

เด็กเล็กวัยเตาะแตะใช้พลังงานวันละ1,000 กิโลแคลอรี่

วัยเตาะแตะเป็นช่วงที่เด็กมีพัฒนาการด้านร่างกายเพิ่มขึ้นมาก เพราะเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นทั้งการเดินวิ่ง ปีนป่าย จึงเป็นวัยที่ใช้พลังงานประมาณวันละ 1,000 กิโลแคลอรี่ ในแต่ละวัน หากเด็กได้รับสารอาหารจำเป็นน้อยกว่าความต้องการที่กำหนด จะเป็นด้วยพฤติกรรมการกิน เช่น เลือกกิน กินน้อย กินยาก หรือเหตุจากความไม่มั่นคงทางอาหารของครอบครัว จะทำให้ภาวะโภชนาการเด็กขาดสมดุล

ลูกได้รับอาหารที่เหมาะสมกับวัยทารก 1-3 ปี หรือไม่

ดร.อุรุวรรณ แย้มบริสุทธิ์นักวิชาการหน่วยมนุษยโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รวบรวมงานวิจัยที่เคยมีในต่างประเทศมาสรุป เรื่อง ความไม่มั่นคงทางอาหารและโรคอ้วนในเด็ก ตีพิมพ์ในวารสารสาธารณสุขศาสตร์ปีที่ 48 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2561) กล่าวโดยสรุปว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ทำงานนอกบ้านทั้งคู่ และในครอบครัวที่ยากจน ไม่สามารถจัดหาอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็ก ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาเตรียมอาหารให้ลูกเอง ส่งผลต่อคุณภาพอาหารของเด็ก เช่น เด็กอาจได้รับมื้ออาหารต่อวันลดลง กินผักผลไม้สดน้อยมาก ทำให้เกิดการขาดวิตามินแร่ธาตุในช่วงวัยนี้ และเด็กอาจได้รับอาหารทอดอาหารรสหวานมากขึ้น จึงมีโอกาสสูงมากที่จะทำให้เด็กได้รับพลังงานมากเกิน

วิธีป้องกันเด็กเล็กได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

แม่ต้องมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิธีจัดอาหารมื้อหลักคือ อาหาร 5 หมู่วันละ 3 มื้อและอาหารว่างวันละ 2 มื้อ เพื่อให้ลูกได้รับพลังงานและสารอาหารต่าง ๆ อย่างเพียงพอ ผัก ผลไม้สดต้องมีให้ลูกกินทุกวัน และสร้างนิสัยการดื่มนมให้ลูกตั้งแต่เล็ก โดยตัวอย่างความรู้โภชนาการที่พ่อแม่มีลูกวัยเตาะแตะต้องรู้ เช่น

  • ผัก ผลไม้สด เป็นแหล่งรวมวิตามินแร่ธาตุจำเป็นต่อการเจริญเติบโต อาทิ วิตามินเอมีในตับ ฟักทอง ผักใบเขียวและผักที่มีสีเหลือง ช่วยบำรุงเนื้อเยื่อร่างกายและประสาทตาธาตุเหล็กได้จากเนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดงและผักใบเขียวเช่นกัน เป็นส่วนประกอบสำคัญของเม็ดเลือดแดง นำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • วิตามินบี 12 ช่วยกระตุ้นระบบประสาทและสมองมีมากในไข่และเนื้อสัตว์ เช่น ปลา ไก่
  • วิตามินบี 6 อยู่ในเนื้อสัตว์ ปลา ถั่ว มันฝรั่ง กล้วย มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของสมองและเนื้อเยื่อ
  • โฟเลต ได้จากผักใบเขียวต่าง ๆ เห็ด ถั่วเมล็ดแห้ง และตับ ซึ่งมีส่วนช่วยการสร้างส่วนประกอบของเซลล์และเม็ดเลือดแดง ป้องกันอาการซีดยังมีสารอาหารดีเอชเอ
  • โอเมก้า 3 ที่ได้จากปลาทะเล สารอาหารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยพัฒนาสมองและระบบประสาทสัมผัสซึ่งกำลังเติบโตมากในช่วงวัยนี้

สารอาหารเด็กเล็กในแต่ละมื้อจึงต้องให้ลูกกินอาหารซึ่งมาจากแหล่งต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน รวมทั้งให้ลูกกินนมเป็นอาหารเสริม เพราะนมมีบทบาทสำคัญต่อการเสริมโภชนาการสำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ เพราะโดยธรรมชาติแล้วนมเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่เด็กวัยเตาะแตะต้องการ อาทิ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินบีสอง วิตามินเอแคลเซียม และฟอสฟอรัส สำหรับเด็กเล็กที่แพ้นมวัว สามารถเลือกดื่มนมอื่น ๆ หรือเสริมอาหารให้ครบ 5 หมู่

สำหรับช่วงวัยทารกขวบปีแรก หรือ วัย 0-1 ปีแรกของลูกนั้น การได้รับโภชนาการที่ดี ถูกต้อง เหมาะสม มีส่วนสำคัญสำหรับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของลูกเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณแม่จึงควรใส่ใจและดูแลเรื่องโภชนาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด ที่สำคัญ การเสริมอาหารของลูกในแต่ละวัยมีความแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ในวันนี้เราจะมาแนะนำอาหารที่เหมาะสมกับลูกตั้งแต่แรกเกิด (0 เดือน) จนถึง 1 ขวบปีกัน

ฟังบทความ

แชร์ได้เลย

  • อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด เพราะเหตุใด
  • อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด เพราะเหตุใด
  • อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด เพราะเหตุใด
  • อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด เพราะเหตุใด
  • อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด เพราะเหตุใด
  • อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด เพราะเหตุใด

4 นาที อ่าน

 โภชนาการลูกวัย 0-1 ปี


สารอาหารที่สำคัญสำหรับวัยทารก 0-1 ปี

พลังงานและโปรตีน : แหล่งอาหารที่ดีที่สุดในช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือนคือนมแม่ หลังจากนั้นควรเพิ่มเติมเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่นเนื้อหมู เนื้อไก่ และปลา เป็นต้น

ธาตุเหล็ก :  แหล่งของธาตุเหล็กที่สำคัญได้แก่ ตับ ไข่แดง เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ เป็นต้น ดังนั้น หลังอายุ 6 เดือน ทารกที่ทานแต่นมจึงเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก

ไอโอดีน :  ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ ช่วยในการพัฒนาสมอง และการเจริญเติบโตของร่างกาย  ควร ใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหาร

แคลเซียม :  จำเป็นในการสร้างกระดูกและฟัน พบได้มากในนม 

สังกะสี : มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของทารก ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย พบได้มากในเนื้อสัตว์ 

วิตามินเอ : เสริมสร้างเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนช่วยในการมองเห็น แหล่งอาหารที่สำคัญได้แก่ตับ   ไข่แดง  ผักใบเขียวเข้ม และผักผลไม้สีเหลืองแสด

อาหารและโภชนาการที่เหมาะสมแก่ลูกวัย 0-1 ปี

  • วัยแรกเกิด (0 เดือน) – 6เดือน อาหารที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับลูกในวัยนี้คือนมแม่ เพราะธรรมชาติได้จัดสรรให้นมแม่นั้นมีคุณค่าทางอาหารที่เหมาะสมกับทารกมากที่สุด อุดมไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ครบถ้วน ทั้งโปรตีน วิตามิน ไขมัน แร่ธาตุต่าง ๆ ที่จะช่วยให้ลูกเติบโตได้ดี มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง ทั้งร่างกายและสมอง ที่สำคัญในนมแม่นั้นยังมีสารอาหารสำคัญที่มีชื่อว่า สฟิงโกไมอีลิน ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้าง ไมอีลิน ปลอกหุ้มแขนงประสาทนำออก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณประสาท ทำให้สมองของลูกสามารถส่งข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 7 เดือน ในวัยนี้แนะนำให้กินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 1 มื้อ เช่นข้าวบดละเอียดกับน้ำแกงจืด เพิ่ม เนื้อปลา และเนื้อสัตว์บด ผักหั่น และผลไม้
  • 8-9 เดือน กินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 2 มื้อ ชนิดของอาหารไม่ต่างจากช่วงวัย 7 เดือนนัก แต่ให้เพิ่มปริมาณให้มากขึ้น และทำให้เนื้อของอาหารบดนั้นข้น หนืดขึ้น เพื่อช่วยให้ลูกได้ฝึกการกลืน
  • 10-12 เดือน ให้ลูกกินนมแม่และเสริมด้วยอาหาร 3 มื้อ เพิ่มปริมาณให้มากขึ้นกว่าเดือนก่อน ๆ และแนะนำให้ลูกได้กินอาหารที่หลากหลายชนิดมากขึ้น โดยเนื้อสัมผัสของอาหารควรหยาบและเพิ่มเป็นชิ้นเล็ก ๆ
  • 1 ปี ให้ลูกได้กินอาหาร 3 มื้อ และเสริมด้วยนมอีก 3 มื้อ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนเหมือนกับผู้ใหญ่ แนะนำให้อาหารปรุงสุกอ่อนนุ่ม เป็นชิ้นเล็ก ๆ ให้เคี้ยวได้ ในวัยนี้ลูกจะเริ่มใช้ช้อนตักเองได้แต่อาจจะยังหกหรือเลอะเทอะอยู่ พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ช่วยตัวเองในการหัดตักอาหารและให้ลูกได้ร่วมโต๊ะอาหารกับผู้ใหญ่บ่อย ๆ เพื่อฝึกวินัยและมารยาทบนโต๊ะอาหารที่ดี

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

โภชนการลูกวัย 1-2 ปี

โภชนาการลูกวัย 2-3 ขวบ 

กินอะไรให้ลูกฉลาด 

อาหารตามวัย บำรุงร่างกายและสมองลูก

อ้างอิง

1.https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=1325

2.http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20171010123052.pdf

3.https://www.tmwa.or.th/new/lib/file/20170121162528.pdf
 

แชร์ได้เลย

บทความแนะนำ

อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด เพราะเหตุใด

เทคนิคคุยกับลูก ฝึกลูกพูดตามวัย เสริมพัฒนาการเด็กวัยแรกเกิด – 1 ปี

การเรียนรู้ การตอบสนอง และการสื่อสารกับเด็กในช่วงขวบปีแรกมีความสำคัญต่อพัฒนาการเด็กเป็นอย่างมาก หากพ่อแม่พยายามสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อยผ่านการเล่นที่เหมาะสมกับวัย รวมถึงพยายามพูดคุยกับลูกอยู่เป็นประจำจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของลูกน้อยในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี 

  • คัดลอกลิงค์

    https://www.s-momclub.com/article/baby/100%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87100%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2

    อาหารประเภทใดเหมาะกับทารกมากที่สุดเพราะเหตุใด

    - พลังงานและโปรตีน แหล่งอาหารในช่วงแรกเกิดถึง 4 เดือนที่ดีที่สุดคือนมแม่ หลังจากนั้นเพิ่มเติมจากไข่ เนื้อสัตว์ต่าง ๆ - ธาตุเหล็ก ร้อยละ 90 ของธาตุเหล็กที่ทารกต้องการได้จากอาหารเสริมตามวัย ได้แก่ ตับ ไข่แดง เนื้อสัตว์ ดังนั้น หลังอายุ 4 เดือน ทารกที่ทานแต่นมจึงเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็ก

    อาหารประเภทใดที่เหมาะสมกับวัยผู้ใหญ่

    วัยผู้ใหญ่ อาหารสำคัญของคนวัยนี้ควรเลือกอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ ข้าว/แป้งที่ไม่ผ่านกระบวนการขัดสี ได้แก่ ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลต์วีต และธัญพืชต่างๆ รับประทานอาหารที่ให้โปรตีนพอประมาณ เช่น เนื้อสัตว์ นม ไข่และถั่วต่างๆ สิ่งสำคัญที่สุด คือ การควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับส่วนสูงของตยอง

    วัยชราควรเพิ่มอาหารประเภทใด

    กินอาหารให้หลากหลายในสัดส่วนที่เหมาะสม และหมั่นดูแลน้ำหนักตัว.
    กินข้าวเป็นหลัก เน้นข้าวกล้อง ข้าวขัดสีน้อย.
    กินพืชผักและผลไม้ตามฤดูกาลให้มากเป็นประจำ.
    กินปลา ไข่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่วเป็นประจำ.
    ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำ.
    หลีกเลี่ยงอาหาร ไขมันสูง หวานจัด เค็มจัด.