ห จก ต้องยื่นภาษี อะไรบ้าง

หจก. หรือชื่อเต็มๆก็คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นนิติบุคคลประเภทหนึ่งที่เกิดจากการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำธุรกิจร่วมกัน โดยหวังนำผลกำไรมาแบ่งกัน ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจในทุกแง่มุมของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) กัน

Show

ท่านใดต้องการบริการรับทำบัญชี ทางเรามีโปรแกรมบัญชีออนไลน์ให้ใช้ฟรี สามารถออกเอกสารหน้าตาสวยงามผ่านโปรแกรมได้ ดูรายละเอียดที่นี่ : รับทำบัญชี

ประวัติผู้เขียน / ผู้สอน

ห จก ต้องยื่นภาษี อะไรบ้าง

  • ปริญญาตรีบัญชี ธรรมศาสตร์
  • ปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเงิน NIDA
  • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
  • ประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย (DipTFR)
  • Audit Manager ที่ EY (ประสบการณ์ 8 ปี ใน Big4)
  • ดูใบประกาศทางวิชาชีพ
  • ดูรีวิวจากลูกค้า
  • About me

สารบัญ

  1. หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) คืออะไร?
  2. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ หจก.(ห้างหุ้นส่วน)
  3. หน้าที่ทางด้านบัญชี กับภาษีของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) มีอะไรบ้าง?
  4. การแบ่งกำไรของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ทำอย่างไร?
  5. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง หจก. (ห้างหุ้นส่วนจำกัด) กับ บริษัท
  6. เหตุใดผู้ประกอบการส่วนหนึ่งจึงต้องการจดทะเบียนเป็น หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ?
  7. สรุปการจดทะเบียนเป็น หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ดีหรือไม่?

หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) คืออะไร?

ตามที่ผมได้เกริ่นนำไปแล้วว่า หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) เป็นรูปแบบในการทำธุรกิจแบบนิติบุคคล ซึ่งมีรายละเอียดที่เราควรทราบดังต่อไปนี้

  • เป็นนิติบุคคล
  • จะต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป
  • ผู้เป็นหุ้นส่วนจะแบ่งเป็น 2 จำพวก คือหุ้นส่วนที่จำกัดความรับผิด และหุ้นส่วนที่ไม่จำกัดความรับผิด
  • หุ้นส่วนผู้จัดการจะเป็นหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดความรับผิด

อันนี้เป็นการสรุปหลักการที่สำคัญของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) หากท่านไหนต้องการศึกษาเกี่ยวกับนิติบุคคลอย่างละเอียดผมเคยเขียนบทความเอาไว้แล้ว เชิญศึกษาได้เลยครับ : นิติบุคคลคืออะไร

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ หจก.(ห้างหุ้นส่วน)

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ หจก.(ห้างหุ้นส่วน) คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หุ้นส่วนและบริษัท สามารถแบ่งประเภทของห้างหุ้นส่วนเอาไว้ดังนี้

  1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ

ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญคือ ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกๆคนจะต้องรับผิดอย่างไม่จำกัด กล่าวคือหากมีหนี้สินต่างๆที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจ หากห้างหุ้นส่วนสามัญไม่มีเงินมาชำรำหนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนก็จะต้องนำเงินส่วนตัวมาชำระหนี้แทนจนครบตามจำนวนหนี้ที่ค้าง ห้างหุ้นส่วนสามัญสามารถแบ่งย่อยได้อีก 2 ประเภท คือ

  • ห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน (ไม่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒน์) มีสถานะเหมือนกับบุคคลธรรมดา ไม่ต้องนำส่งงบการเงิน และยื่นเสียภาษีเหมือนบุคคลธรรมดา
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน (จดทะเบียนกับกรมพัฒน์) มีสถานะเป็นนิติบุคคล ต้องนำส่งงบการเงิน และยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
  1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด

รายละเอียดของห้างหุ้นส่วนจำกัด ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อแรก มีสถานะเป็นนิติบุคคล ต้องนำส่งงบการเงิน และยื่นเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

หน้าที่ทางด้านบัญชี กับภาษีของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) มีอะไรบ้าง?

ทางด้านภาษี หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามภาษีต่างๆให้ถูกต้อง เหมือนกันกับ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างจากนิติบุคคลอื่นเลย ดังต่อไปนี้

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ (ถ้ามี)

เรื่องภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้องอันนี้ผมก็เคยเขียนบทความไปแล้วหลายบทความทางด้านภาษี ท่านใดต้องการศึกษาเพิ่มเติม เชิญอ่านทางนี้ได้เลยครับ : ภาษีที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล

ทางด้านบัญชี หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) มีหน้าที่นำส่งงบการเงินตามกฎหมายเป็นประจำทุกปี เหมือนกันกับ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งไม่ได้มีความแตกต่างจากนิติบุคคลอื่น

ในการจัดทำงบการเงิน หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) จะต้องว่าจ้างผู้ทำบัญชี และผู้สอบบัญชี (ขึ้นทะเบียนกับทางสภาวิชาชีพบัญชี) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ขึ้นทะเบียนกับทางกรมสรรพากร) มาดำเนินการจัดทำ ตรวจสอบ และนำส่งงบการเงินของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ให้ถูกต้องตามกฎหมาย

การแบ่งกำไรของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ทำอย่างไร?

ในการแบ่งกำไรของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ให้แก่หุ้นส่วน โดยหลักการแล้วจะคล้ายๆกับของบริษัท แต่มีรายละเอียดปลีกย่อยบางอย่างที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. ของ หจก. โดยมากจะเรียกว่า “การแบ่งกำไร” แต่หากเป็นบริษัทเราจะเรียกว่า “การจ่ายเงินปันผล”
  2. ในการแบ่งเงินกำไรของ หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) หากในสัญญาจัดตั้ง หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ไม่มีระบุเอาไว้ ก็ให้แบ่งตามสัดส่วนเงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคน แต่หากเป็นบริษัท ในการจ่ายเงินปันผลจะจ่ายตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นแต่ละคนถือ

ยกตัวอย่างเช่น หจก. พอเพียง จัดตั้งขึ้นมาโดยนาย A และนาย B นาย A นำเงินมาลงทุน 60,000 บาท นาย B นำเงินมาลงทุน 40,000 บาท โดยสิ้นปีแรก หจก. พอเพียง มีกำไร 20,000 บาท โดยหุ้นส่วนตกลงนำกำไรทั้งหมดมาแบ่งกัน สามารถคำนวณการแบ่งกำไรได้ดังนี้

ห จก ต้องยื่นภาษี อะไรบ้าง

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า นาย A มีสัดส่วนการลงทุนที่มากกว่านาย B (60 ต่อ 40) ดังนั้นเมื่อมีการแบ่งกำไรกันนาย A จึงได้ส่วนแบ่งที่มากกว่าเป็นเงิน 12,000 บาท ส่วนนาย B ได้ส่วนแบ่งน้อยกว่าเป็นเงินจำนวน 8,000 บาท

ทีนี้เรามาดูตัวอย่างกรณีการจ่ายเงินปันผลของบริษัทกันบ้าง บริษัท พอดี จำกัด จัดตั้งขึ้นมาโดยนาย A B และ C โดยมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 1,000 หุ้น ราคาพาร์หุ้นละ 100 บาท นาย A ถือ 400 หุ้น นาย B ถือ 300 หุ้น และนาย C ถือ 300 หุ้น เช่นกัน โดยสิ้นปีแรก บริษัท พอดี จำกัด กำไร 20,000 บาท โดยผู้ถือหุ้นทั้งหมดตกลงนำกำไรทั้งหมดมาจ่ายเงินปันผล สามารถคำนวณการจ่ายเงินปันผลได้ดังนี้

ห จก ต้องยื่นภาษี อะไรบ้าง

จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า นาย A ถือหุ้นในบริษัทมากที่สุด ดังนั้นเมื่อมีการจ่ายเงินปันผลนาย A จึงได้เงินปันผลมากที่สุดเป็นจำนวน 8,000 บาท ส่วนนาย B และ นาย C ถือจำนวนหุ้นเท่ากันจึงได้เงินปันผลเท่ากันที่ 6,000 บาท

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) กับ บริษัท

ผมได้ทำตารางเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) กับ บริษัท มาให้ด้วยเผื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านนะครับ

ห จก ต้องยื่นภาษี อะไรบ้าง

เหตุใดผู้ประกอบการส่วนหนึ่งจึงต้องการจดทะเบียนเป็น หจก.?

จากประสบการณ์ทำงานของผมที่ผ่านมา ผมมักจะได้ยินว่า อยากจดทะเบียนเป็น หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ก่อนเพราะว่าธุรกิจยังเล็กอยู่ เลยยังไม่อยากจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เพราะกลัวความยุ่งยากที่จะตามมา จริงๆแล้วผมมีความเห็นว่าเหตุผลดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องนะครับ เพราะตามที่ได้อธิบายไปแล้วว่า ไม่ว่าจะจดทะเบียนเป็น หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) หรือ บริษัทจำกัด ก็ต้องมีหน้าที่ต่างๆเหมือนกันเกือบทุกประการดังนี้

  • เรื่องภาษีต่างๆที่เกี่ยวข้องระหว่าง หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) และบริษัทจำกัด จะเหมือนกันทุกประการทั้ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • เรื่องบัญชี ทั้ง หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) และบริษัทจำกัด ก็มีหน้าที่นำส่งงบการเงินเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่เหมือนๆกัน แต่ตรงจุดนี้จะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อยในเรื่องการตรวจสอบบัญชี หากเป็น หจก.ขนาดเล็ก (ทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท รายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท) จะให้ผู้สอบบัญชี (ขึ้นทะเบียนกับทางสภาวิชาชีพบัญชี) หรือ ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (ขึ้นทะเบียนกับทางกรมสรรพากร) ตรวจสอบให้ก็ได้ แต่หากเป็น หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ขนาดใหญ่ หรือเป็นบริษัทจำกัด จะต้องให้ผู้สอบบัญชี ตรวจสอบบัญชีให้เท่านั้น

สรุปการจดทะเบียนเป็น หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) ดีหรือไม่?

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่าในปัจจุบันนี้เราควรจะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดดีกว่าครับ จากเหตุผลที่กล่าวไปแล้วว่าทางด้านภาษี และทางด้านบัญชี นั้น หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) กับบริษัทจำกัด นั้นเกือบเหมือนกับทุกประการเลย แต่การจดทะเบียน หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) นั้น จะมีข้อเสียประการหนึ่งที่สำคัญมากๆนั่นคือ หุ้นส่วนผู้จัดการ จะต้องรับผิดแบบไม่จำกัด กล่าวคือถ้า หจก.(ห้างหุ้นส่วนจำกัด) มีหนี้ที่ยังไม่ได้จ่าย เจ้าหนี้ก็อาจมีสิทธิมาเรียกเก็บจากเงินส่วนตัวของหุ้นส่วนผู้จัดการได้ แต่หากเป็นบริษัทจำกัดผู้ถือหุ้นทุกคนจะรับผิดจำกัด เจ้าหนี้จะไม่สามารถมาเรียกเก็บเงินจากเงินส่วนตัวของผู้ถือหุ้นได้

ทุกท่านสามารถลองดูตารางสรุปความแตกต่างระหว่าง หจก.และบริษัทจำกัด ที่ผมทำมาให้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจอีกทีได้ครับ

ห จก ต้องยื่นภาษี อะไรบ้าง

ช่วยแชร์บทความให้หน่อยครับ

บริษัทจำกัดต้องยื่นเสียภาษีแบบใด

ทั้งนี้ กิจการมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีนิติบุคคล 2 รอบ ซึ่งประกอบด้วย ภ.ง.ด.50 และ ภ.ง.ด.51 ลักษณะการใช้งานต่างกันคือ – ภ.ง.ด.51 สำหรับรอบครึ่งปี โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือน แรกของรอบระยะเวลาบัญชี – ภ.ง.ด.50 สำหรับรอบสิ้นปี โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบ

กิจการต้องยื่นภาษีอะไรบ้าง

ภาษีอะไรบ้าง ที่คนทำธุรกิจต้องทำความรู้จัก.
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ... .
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ... .
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ... .
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ... .
5. อากรแสตมป์.

หจก ต้องยื่นงบอะไรบ้าง

ประกอบด้วยงบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุนหมายเหตุประกอบงบการเงิน และงบการเงินเปรียบเทียบกับปีก่อน และต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็นเว้นแต่ห้างหุ้นส่วนสที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีสินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท ไม่ต้องมีผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตตรวจ ...

หจก ต้องยื่นงบการเงินไหม

นิติบุคคลที่จดทะเบียนแล้วมีหน้าที่ต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นประจำทุกปี ไม่ว่าจะดำเนินกิจการหรือไม่ ตามกฎหมายได้กำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องยื่นงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าดังนี้ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล