ถ้าประจําเดือนไม่มาควรทําอย่างไร

ประจำเดือนเคลื่อน อันตรายหรือเปล่า ?

ถ้าประจําเดือนไม่มาควรทําอย่างไร

รอบประจำเดือน ที่ถือว่าปกติอยู่ คือเคลื่อนเข้าหรือออกไม่เกิน 7วัน หรืออยู่ในช่วง 21-35วัน  ในแต่ละช่วงอายุ ลักษณะประจำเดือนอาจแตกต่างกันได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเมื่อ 3 ปีก่อน ประจำเดือนมาทุก 25 วัน แต่ตอนนี้มาช้าลง เป็นทุก 35วัน ถ้ายังมาสม่ำเสมอ ไม่มีเลือดออกระหว่างรอบเดือน “ถือว่าปกติ”อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอย่างแรกเมื่อประจำเดือนไม่มาตามปกติ ก็คือ “เรามีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์รึเปล่า” ในวัยที่มีประจำเดือน   หากมีเพศสัมพันธ์ก็อาจตั้งครรภ์ได้ (ต้องอย่าลืมว่าการคุมกำเนิด ไม่ว่าวิธีใดก็ไม่ได้คุมได้ 100%) ดังนั้นจึงควรตรวจการตั้งครรภ์ก่อน หากไม่ตั้งครรภ์ ถึงจะไปพิจารณาสาเหตุอื่น ๆ

  • สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของประจำเดือนไม่มาก็คือภาวะฮอร์โมนที่ไม่ปกติ เป็นได้ตั้งแต่สาเหตุง่ายๆ เช่น มีภาวะเครียด ออกกำลังกายหักโหม น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างรวดเร็ว พักผ่อนไม่เพียงพอ มีอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือการได้รับฮอร์โมนมาก่อนหน้านี้ เช่น การใช้ยาคุมฉุกเฉิน หรือการกินยาคุมต่อเนื่องนานๆประจำเดือนอาจมาน้อยลงได้ การฉีดยาคุม ก็จะทำให้ไม่มีประจำเดือนได้
  • ภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อยก็คือ ภาวะการไม่ตกไข่เรื้อรัง (Anovulation) ซึ่งพบได้ใน PCOS หรือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ มักจะมาด้วยอาการประจำเดือนไม่มา สิวขึ้น หน้ามัน ขนดก

ดังนั้น หากประจำเดือนมาไม่ตรงรอบหรือมีอาการสงสัยอื่น ๆ เช่น ประจำเดือนมากระปริบกระปรอย ปวดท้องประจำเดือนมากผิดปกติ แนะนำมาพบแพทย์สูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจวินิฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดจะดีที่สุดค่ะ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์สุขภาพสตรี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 3200, 3204

  • Readers Rating
  • Rated 2.9 stars
    2.9 / 5(19 Reviewers)
  • Good

  • Your Rating


ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะมามากเกินไป มากระปริดกระปรอย มาขาดๆ หายๆ หรือการปวดท้องประจำเดือนที่มากจนต้องหยุดงาน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย จึงควรรีบปรึกษาแพทย์

20 ข้อควรรู้เกี่ยวกับประจำเดือน

  1. ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น คืออายุประมาณ 12-13 ปี แต่ก็เคยพบว่าเด็กผู้หญิงอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนแล้ว และในปัจจุบันเด็กผู้หญิงมีแนวโน้วการมีประจำเดือนในอายุที่น้อยลง
  2. ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีประจำเดือนเร็วคือ...โรคอ้วน
  3. ในช่วง 2 ปีแรกของการมีประจำเดือน มักจะมีมาไม่สม่ำเสมอ เพราะการผลิตฮอร์โมนยังไม่สมดุล
  4. โดยปกติรอบเดือนจะมีทุกๆ 28 วัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุด้วย ถ้าอายุยังไม่ถึง 21 ปี มักจะมีระยะห่างประมาณ 33 วัน พออายุ 21 ปีขึ้นไปมักจะมีระยะห่าง 28 วัน และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีระยะห่างลดลง คือประมาณ 26 วัน
  5. ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ยคือ 6 วัน โดยพบว่า มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน
  6. หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก
  7. ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน
  8. หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%
  9. สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก มักเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป ทำให้กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือนมากตามไปด้วยนั่นเอง
  10. ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาฮอร์โมน การให้เคมีบำบัด การใส่ห่วงคุมกำเนิด ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด หรือการกินยาคุมกำเนิด
  11. ประจำเดือนมามากและหลายวันเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ อาการที่เด่นชัดคือ เพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น
  12. ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนเอสโตเจนต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต การได้รับฮอร์โมนจะช่วยได้
  13. เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป หรือใกล้เข้าวัยทอง แทนที่ประจำเดือนจะมาน้อยลงกลับมามากกว่าปกติซะอีก
  14. อาการปวดประจำเดือนเกิดจากมดลูกมีการบีบตัวและคลายตัวอย่างแรงเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกออกมา
  15. การปวดท้องอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวัน เมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการปวดจะดีขึ้นได้เอง
  16. ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนมาก หรือประจำเดือนมาผิดปกติบ่อยๆ อาจจะมีเนื้องอกในมดลูก และเป็นหมัน
  17. ผู้หญิงราว 10-15% จะมีอาการปวดประจำเดือนมากจนถึงขั้นต้องหยุดงาน
  18. ยาที่นิยมใช้บรรเทาปวดประจำเดือนได้แก่ aspirin, ibuprofen
  19. ความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อยๆ คือ ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา กับประจำเดือนมามากเกินไป
  20. หากประจำเดือนมามากเกินไป อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ จึงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจดูช่องคลอด ปากมดลูก ว่ามีก้อน แผล หรือติ่งเนื้อหรือไม่ ทำการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อตรวจว่าติดเชื้อหรือมีการอักเสบหรือไม่ แพทย์จะคลำตรวจมดลูกและรังไข่ว่ามีขนาดปกติหรือไม่ กดแล้วเจ็บไหม หรือพบก้อนผิดปกติหรือเปล่า

เพราะมดลูกมีความเกี่ยวโยงกับประจำเดือน หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่มดลูก ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ประจำเดือนก็จะผิดปกติไปด้วย ดังนั้น หากมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมาๆ หายๆ รวมถึงอาการปวดประจำเดือนที่มากขึ้น หรือมีตกขาวมามาก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

ประจําเดือนไม่มาเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง

สาเหตุของการขาดประจำเดือน การขาดประจำเดือนปฐมภูมิ (Primary amenorrhea) สาเหตุอาจเกิดจากพันธุกรรม ความผิดปกติทางกายวิภาคของระบบสืบพันธุ์มาตั้งแต่กำเนิด หรือมีความผิดปกติของโครโมโซม ทำให้มีผลต่อการทำงานของรังไข่ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเพศได้ตามปกติ การขาดประจำเดือนทุติยภูมิ (Secondary amenorrhea) การตั้งครรภ์

ประจําเดือนไม่มานานสุดกี่วัน

โดยปกติประจำเดือนจะมาทุก ๆ 21-35 วัน แต่บางครั้งอาจมาเร็วหรือมาช้ากว่ารอบเดือนปกติประมาณ 3-7 วัน ซึ่งประจำเดือนเลื่อนอาจขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาเร็วหรือมาช้ากว่าปกติ อย่างไรก็ตาม ในแต่ละรอบประจำเดือนไม่ควรมามากกว่า 7 วัน

ประจําเดือนไม่มานับยังไง

การนับรอบเดือน โดยจดวันแรกที่มีประจำเดือน แล้วนับย้อนหลังไปอีก 14 วัน นั่นคือวันที่ไข่ตกในรอบเดือนนั้น หรือง่ายๆก็คือ เกิดการตกไข่ 14 วันก่อนที่จะมีประจำเดือน เช่น รอบเดือน 28 วัน จะตกไข่วันที่ 14 ของรอบเดือน, รอบเดือน 30 วัน จะตกไข่วันที่ 16 ของรอบเดือน คนที่มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอมักจะมีปัญหาเรื่องการตกไข่

ประจําเดือนไม่มาจะเป็นอะไรไหม

ประจำเดือนไม่มาเกิดจากอะไร สาเหตุของภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นภายใต้ปัจจัยอยู่ในชีวิตประจำวันก็มีผลทำให้ประจำเดือนไม่มาได้ เช่น น้ำหนักที่มากเกินไป การออกกำลังกายอย่างหนัก ความเครียด ส่วนสาเหตุที่พบได้เป็นปกติ ได้แก่ ภาวะการตั้งครรภ์ที่สามารถเกิดประจำเดือนไม่มา หรือผู้ที่ให้นมบุตร