สมเด็จพระพันปีหลวงมีโครงการพระดำริใดบ้าง

โครงการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนี พันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

โครงการศึกษาเรียนรู้และเผยแพร่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนี พันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565

สมเด็จพระพันปีหลวงมีโครงการพระดำริใดบ้าง

“อยากให้มีน้ำ ต้องไม่ตัดป่า”

พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2542

สมเด็จพระพันปีหลวงมีโครงการพระดำริใดบ้าง

โครงการป่ารักน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร

ข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)  และ สำนักบริหารจัดการน้ำ

ภาพประกอบจาก สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ สำนักบริหารจัดการน้ำ

 

สมเด็จพระพันปีหลวงมีโครงการพระดำริใดบ้าง

ปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ มีจำนวนลดน้อยถอยลง ส่วนหนึ่งของปัญหานอกจากเกิดจากภัยธรรมชาติแล้ว ยังเกิดจากการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า และมีจำนวนไม่น้อยของการลักลอบตัดไม้ทำลายป่า ที่เกิดจากความยากจนของราษฎร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ทรงห่วงใยปัญหานี้ และทรงวิตกว่า ประเทศชาติกำลังสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญไป พระองค์จึงพระราชทานพระราชดำริ ให้จัดตั้งโครงการที่จะช่วยเหลือราษฎร ที่ทุกข์ยากเหล่านี้ได้มีอาชีพที่สุจริต มีรายได้เพื่อประทังชีวิต โดยไม่ตัดไม้ทำลายป่าอีกต่อไป ซึ่งโครงการนี้ คือ โครงการป่ารักน้ำ นั่นเอง

โครงการป่ารักน้ำ เริ่มทดลองเป็นครั้งแรกที่บ้านน้ำติ้ว ตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2525 เป็นโครงการเพื่อปลูกป่า ด้วยพันธุ์ไม้ที่เติบโตเร็ว โดยราษฎรเป็นผู้ลงแรงปลูกและดูแลบำรุงเลี้ยง บนพื้นดินที่ทรงซื้อ และทรงเช่าพระราชทาน รวมทั้งเงินเดือนที่พระราชทานแก่ราษฎรผู้ยากจนที่เข้าโครงการ

โครงการป่ารักน้ำ มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ

  1. เพื่อฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรม ให้เป็นบริเวณต้นน้ำลำธารกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์
  2. เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้เดิมเอาไว้ให้ได้ ในเวลาเดียวกันก็ปลูกเสริมขึ้น เพื่อให้มีป่าไม้ช่วยในการควบคุม ความปรวนแปรของดินฟ้าอากาศ และภัยแล้ง
  3. เพื่อเสริมสร้างและปลูกฝังให้ราษฎรเกิดความรักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้ให้มากยิ่งขึ้น
  4. เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นมีไม้ไว้ใช้สอย และเพิ่มพูนรายได้
  5. เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนขาดแคลนที่ดินทำกินและบุกรุกกระจัดกระจายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้มีที่อยู่ เป็นหลักแหล่งมีอาชีพแน่นอน เพื่อจะได้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวต่อไป

นับเป็นบุญของพสกนิกรชาวไทย เพราะไม่ว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร จะเสด็จพระราชดำเนินไปในท้องที่ใด จังหวัดใดก็ตาม เมื่อทรงพบและทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยาก หรือความเดือดร้อนของราษฎร พระองค์จะมีพระราชดำริให้ความช่วยเหลือทันที และโครงการตามพระราชดำริของพระองค์มักจะเน้น เรื่อง การปลูกป่า ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ราษฎรของพระองค์ทั้งสิ้น

 

สมเด็จพระพันปีหลวงมีโครงการพระดำริใดบ้าง

พระราชดำริ

การตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ไปทรงเยี่ยมราษฎรตามต่างจังหวัดทุกภูมิภาคของประเทศเป็นเวลายาวนาน ทำให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงทราบด้วยพระเนตรพระกรรณว่าป่าไม้มากมายได้ถูกทำลายไปโดยฝีมือมนุษย์ สาเหตุของการตัดไม้ทำลายป่า เกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์บ้าง เพราะความเห็นแก่ตัวบ้าง และความยากจนทำให้ต้องรับจ้างตัดไม้เลื่อยไม้ เผาถ่าน เพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัว เป็นการดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตรอด เมื่อป่าหมดสภาพไป นอกจากทำให้เกิดภาวะฝนแล้ง ปลูกพืชพรรณธัญญาหารไม่ได้ผล สัตว์ป่าเมืองไทยที่เคยมีชุกชุมตามป่าเขาลำนำไพร ก็พลอยลดจำยวนลง บางชนิดสูญพันธุ์ไปก็มี

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงห่วงใยในปัญหาดังกล่าว ดังนั้นในขณะที่ทรงสร้างงานด้านศิลปาชีพเพื่อให้ราษฎรมีรายได้เสริม มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ก็ทรงสร้างงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนปลูกฝังคุณธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่นพร้อมกันไปด้วยดังจะเห็นว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรแหล่งน้ำ เรื่องดิน เพื่อพัฒนาที่ทำกินให้แก่ราษฎร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ก็สนองแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  และทรงเห็นว่าประชาชนในภาคอีสานขาดแคลนน้ำ ทรงคิดว่าป่าไม้เป็นที่ดูดซึมกักเก็บน้ำไว้ในรากใต้ดินทำให้เกิดน้ำซับเป็นลำธารขึ้น จึงทรงชักชวนให้ประชาชนร่วมมือร่วมใจกันปลูกป่า จึงจัดตั้งโครงการป่ารักน้ำแห่งแรกขึ้นที่บ้านถ้ำติ้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ได้พระราชทานเงินของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพและเงินของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จำนวนหนึ่ง ตั้งเป็นกองทุนอาชีพสำหรับโครงการป่ารักน้ำ ทรงมอบหมายให้ท่านผู้หญิงสุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์ และพันเอกเรวัต บุญทับ (ปัจจุบันคือ พลเอกณพล บุญทับ) ผู้บังคับการกรมทหาราบที่ 23 เตรียมพื้นที่ 1 ไร่ เพื่อทรงปลูกป่าเป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพราหมณ์มาทำพิธีบวงสรวงประกาศอัญเชิญเทพยดาอารักษ์ เจ้าป่า มาสถิตอยู่ ณ ป่าที่ทรงปลูก เพื่อรวมน้ำใจชาวบ้านและสร้างความศักดิ์สิทธิ์แก่โครงการ ทรงปลูกอย่างถูกวิธีเป็นตัวอย่าง แล้วทรงชวนราษฎรร่วมกันปลูกป่า ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ได้ทรงนำข้าราชการ และประชาชน ปลูกป่าในที่ที่เตรียมไว้ และได้ทรงประราชทานชื่อโครงการนี้ว่า “โครงการป่ารักน้ำ”

การประกอบพิธีในครั้งนี้ ได้มีประชาชนจากอำเภอสว่างแดนดิน อำเภอส่องดาว และอำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร ทรงปลูกไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้ซ้อ กระถินณรงค์ ยูคาลิปตัส ประมาณ 100 ต้น ในเนื้อที่ 1 ไร่ เพื่อให้ราษฎรได้เห็นการปลูกอย่างถูกวิธี ทรงมอบหมายให้ราษฎรบ้านถ้ำติ้ว 35 ครอบครัว ช่วยดูแลรักษาป่า โดยได้พระราชทานเงินครอบครัวละ 3,000 บาท พร้อมทั้งทรงเช่าที่จากราษฎรที่ทิ้งรกร้างว่างเปล่า และทรงมอบหมายให้ราษฎรปลูกป่าเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก

สมเด็จพระพันปีหลวงมีโครงการพระดำริใดบ้าง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการป่ารักน้ำ “…เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ว่า ทำอย่างไรจะให้ชาวบ้านไม่เห็นว่าป่าเป็นศัตรูกับเขา ชาวบ้านโดยมากมักจะได้รับลูกยุ แล้วบุกเข้าไปตัดป่า ตำรวจจะไปจับชาวบ้านซึ่งยากจนนี่ก็ลำบาก จะทำให้ศัตรูของประเทศได้โอกาส จะทำอย่างไรดี ในที่สุดท่านก็คิดออก ท่านบอกว่า ถ้าชาวบ้านปลูกป่าเสียเอง ดูแลป่าเสียเอง เขาได้กินได้อยู่มีความสุขความเจริญในป่า เขาก็จะดูแลป่า ถึงได้เกิดโครงการป่ารักน้ำขึ้น…” พระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  พระราชทาน ณ ศาลาดุสิดาลัย เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2526

เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นเห็นความสำคัญในการช่วยกันปลูกและดูแลรักษาป่าไม้ ตามหลักการของพระองค์ที่ว่า “ให้ป่าอยู่กับคนได้ คนอยู่กับป่าได้ โดยไม่มีการทำลาย” ซึ่งต่อมาได้ขยายไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตลอดจนเพื่อการฟื้นฟูสภาพป่าที่เสื่อมโทรมบริเวณของต้นน้ำลำธาร ให้กลับสภาพเป็นพื้นที่ดูดซับน้ำได้เหมือนเดิม พื้นที่บริเวณป่าชุ่มชื้น การอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า ส่งเสริมให้ราษฎรรักท้องถิ่น บ้านเกิดตนเอง ไม่ต้องจากพื้นที่บ้านของตนเองเพื่อไปหาอาชีพที่อื่น โดยให้อยู่ที่บ้านพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอน ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี  ยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่า การย้ายถิ่นฐานไปอยู่อื่น

ลักษณะโครงการ

นายสหัส บุญญาวิวัฒน์ ผู้ถวายงานด้านการเกษตร ย้อนความหลังเมื่อมีโอกาสถวายรายงานว่า “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  เสด็จฯ ที่บ้านถ้ำติ้ว ทอดพระเนตรเห็นว่าชาวบ้านยากจนและถางป่ากันมาก เมื่อมีพระราชปฏิสันถารกับชาวบ้านว่าอยู่กันอย่างไร ทำมาหากินอะไร ชาวบ้านก็บอกว่าถางป่า ทีหนึ่งก็ห้าสิบหกสิบไร่ แต่ใช้ทำประโยชน์กันจริง ๆ แค่ห้าไร่สิบไร่ เพราะไม่มีน้ำ พระองค์ท่านก็ทรงสอนชาวบ้านว่าป่านี่เป็นที่เก็บน้ำนะ ถ้าถางป่ามาก ๆ ก็ไม่มีที่เก็บน้ำ แห้งแล้ง พื้นที่ที่ถางต้นไม้ไปมากมายก็ทำไร่ได้นิดเดียว

พระองค์ท่านทรงขอซื้อที่ที่ชาวบ้านถางเพื่อปลูกมันสำปะหลังแล้วทิ้งร้างไป มาทำโครงการป่ารักน้ำ จัดที่ให้ชาวบ้านอยู่ หาอาชีพให้ ชวนให้เขาปลูกและดูแลป่า ทำให้เขาเข้าใจว่าป่าเป็นที่เก็บน้ำ แรก ๆ พื้นที่ไม่กว้าง คนหนึ่งได้ไปสองไร่ ในนั้นจะมีบ้าน มีที่ทำกินให้ปลูกผัก ปลูกไม้ผล แล้วก็เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงสัตว์ที่เป็นอาหารโปรตีน มีส่วนหนึ่งเป็นนารวม นอกนั้นก็ปลูกป่าทั้งหมด ให้ชาวบ้านช่วยกันดูแลโดยที่ทรงว่าจ้างเป็นรายเดือน จนกระทั่งชาวบ้านตั้งตัวได้ มีรายได้จากการประกอบอาชีพ พระองค์ท่านก็ทรงลดความช่วยเหลือ จนเขาพึ่งตัวเองได้ โครงการก็ชะลอและหยุดไป แล้วพระองค์ท่านก็ทรงงานอื่น ๆ ที่ต้องการความช่วยเหลือต่อไป”

จนโครงการป่ารักน้ำ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจำนวน 5 โครงการ ได้แก่ โครงการป่ารักน้ำ บ้านถ้ำติ้ว ตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร โครงการป่ารักน้ำ บ้านป่ารักน้ำ ตำบลโคกสี อำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร โครงการป่ารักน้ำ บ้านกุดนาขาม ตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร โครงการป่ารักน้ำ บ้านจาร ตำบลม่วง อำเภอบ้านม่วง จังหวัดสกลนคร โครงการป่ารักน้ำ บ้านทรายทอง ตำบลปทุมวาปี อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร

นอกจากนี้มีการสนับสนุนโครงการส่งเสริม ศิลปาชีพในท้องถิ่น การจัดครูเข้าอบรมสั่งสอนวิธีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับอาชีพในหมู่บ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษและรับสืบทอดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า จะถูกนำมาและเพิ่มการสนับสนุน เพื่อให้ใช้วัสดุ และทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น เพื่อผลิตงานด้านศิลปะเผยแพร่ ทรงสนับสนุนวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ได้กลับมาช่วยส่งเสริมชีวิตและความเป็นอยู่แบบ “เศรษฐกิจพอเพียง”

ผลการดำเนินงานและกิจกรรมโครงการ

โครงการป่ารักน้ำ ได้ขยายผลอย่างรวดเร็ว สื่อทุกชนิดแพร่ภาพทั้งทางสถานีโทรทัศน์ วิทยุและสื่อสิ่งพิมพ์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งข่าวในพระราชสำนัก เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงหาวิธีการที่จะช่วยเหลือพสกนิกร พระองค์เสด็จไปแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทย ทั้งชาวไทยและชาวไทยภูเขา แม้พระองค์จะทรงเหน็ดเหนื่อยพระวรกายเพียงใด แต่พระองค์ จะทรงแย้มพระสรวล อยู่ตลอดเวลา พระองค์ทรงเชื่อแน่ว่า คนไทยที่มีความขยันอยู่ในตัว จะไม่มีวันอับจนบนผืนแผ่นดินแห่งนี้ เพราะความขยันขันแข็งจะเอื้ออำนวยให้คนไทย เป็นคนที่ช่วยเหลือตนเองได้อย่างแน่นอน  ทุกคนพร้อมที่จะช่วยเหลือคนไทยด้วยกัน แม้จะอาศัยอยู่ในภาคใด ๆ การปลูกฝังความตระหนัก และความสำนึก ให้พี่น้องพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง เพื่อให้เป็นดินแดนแห่งความสุข สืบชั่วลูกชั่วหลานตลอดไป จากโครงการป่ารักน้ำ และโครงการอื่น ๆ ที่หลากหลาย

ทำให้วันนี้ชาวไทยมีอาชีพทางด้านการเกษตรมากมาย เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด อาชีพดั้งเดิมที่บรรพบุรุษรักษามาอย่างต่อเนื่อง คือ การทำนา การเลี้ยงสัตว์เพื่อการเกษตรและเพื่อเศรษฐกิจ อาชีพดังกล่าวแม้จะเปลี่ยนรูปแบบในแนวของการปฏิบัติไปบ้าง เพราะความเจริญด้านเทคโนโลยีเข้าในพื้นที่ แต่ก็ไม่ควรให้หายไป ลูกหลานที่เดินทางไปศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะทางด้านการเกษตรจากสถานศึกษาในระดับวิทยาลัยฯ หรือมหาวิทยาลัย การกลับสู่มาตุภูมิเพื่อนำเอาวิชาการความรู้มาพัฒนาและพลิกฟื้นผืนแผ่นดิน ให้กลับเป็นประโยชน์ต่อวิชาการด้านเกษตร   เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ อบรมส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนที่อยู่ในหมู่บ้านมีความรู้ในการปลูกพืชผัก ตลอดจนเพื่อขยายผลองค์ความรู้สู่ราษฎรในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป

ความสำเร็จของโครงการ

“โครงการป่ารักน้ำ” เป็นพระราชปณิธานอันแน่วแน่ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ที่จะบรรเทาวิกฤติการขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรง พระองค์ทรงตรัสว่า “ขาดน้ำ ทุกชีวิตสิ้นสุดทันที” การรักษาแหล่งน้ำไว้เป็นที่พึ่งพาอาศัยของมวลสัตว์โลกทั้งหลายนั้นน่าจะเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด น้ำ นอกจากจะมีประโยชน์ในการอุปโภคและบริโภคกับคนแล้ว ยังมีประโยชน์กับระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมและสัตว์ป่าทุกชนิด เพราะเป็นการฟื้นฟูสภาพของป่าที่เสื่อมโทรม บริเวณของต้นน้ำลำธาร ให้กลับสภาพเป็นพื้นที่ดูดซับน้ำได้เหมือนเดิม ซี่งการอนุรักษ์ป่าไม้และสัตว์ป่า จะทำให้พื้นที่บริเวณป่าชุ่มชื้น อุดมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่ เป็นการรักษาป่าและต้นน้ำลำธาร ของพื้นที่ป่าและบริเวณใกล้เคียงได้เป็นอย่างดียิ่ง

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระเมตตาและพระมหากรุณาธิคุณ ในการรับมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพืชพรรณแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ พระองค์ทรงส่งเสริมให้ราษฎร รักในท้องถิ่น  ไม่ต้องจากพื้นที่บ้านของตนเอง เพื่อไปหาอาชีพที่อื่น โดยให้อยู่ที่บ้าน พัฒนาบ้านเกิดเมืองนอน ใช้เวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่งเสริมอาชีพต่าง ๆ ทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ที่ดี ยับยั้งการตัดไม้ทำลายป่า และการย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น เพราะการกระทำดังกล่าว ไม่สามารถแก้ปัญหาความยากจนได้ การสนับสนุน โครงการส่งเสริมศิลปาชีพ ในท้องถิ่น การจัดหาครูที่มีความชำนาญเฉพาะอาชีพ มาให้การอบรม วิธีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับอาชีพต่าง ๆ ในหมู่บ้าน สนับสนุน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่มีมาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษและสืบทอดความรู้อาชีพเฉพาะอย่างกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า มาให้ความรู้กับชาวบ้านที่สนใจ ทรัพยากร ที่มีในท้องถิ่น จะถูกนำมา เพื่อผลิตงานด้านศิลปะเผยแพร่ นอกจากนั้น พระองค์ยังทรงสนับสนุนวัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิม ได้กลับมา ช่วยส่งเสริมชีวิตและความเป็นอยู่แบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” อันเป็นหลักและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

พระราชกรณียกิจพระพันปีหลวงมีด้านใดบ้าง

9 พระราชกรณียกิจ 'สมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง' โอบอุ้มประชาราษฎร์ให้ยั่งยืน.
๑ 'ศิลปาชีพ' ราชินีแห่งไหมไทย ทรงเป็นต้นแบบอนุรักษ์ผ้าไทยให้โด่งดังไกล ... .
๒ น้ำพระทัยสมเด็จพระพันปีหลวง ชุปชีวิตยามวิกฤติสาธารณสุข ... .
๓ 'บ้านเล็กในป่าใหญ่' โครงการพระราชดำริฯ ... .
๔ ทรงต่อลมหายใจ 'โขน' ศิลปะการแสดงชั้นสูงของไทยให้คงอยู่สืบไป.

รัชกาลใดพระราชทานพระนาม “สิริกิติ์”

สำหรับพระนาม "สิริกิติ์" ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีความหมายว่า "ผู้เป็นศรีแห่งกิติยากร" เรียกโดยลำลองว่า "คุณหญิงสิริ" ส่วนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงเรียกว่า "แม่สิริ"

โครงการศูนย์ศิลปาชีพ มีกี่แห่ง

กว่า ๓๐ ปีที่ผ่านมา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงขยายงานศิลปาชีพไปทั่วทุก ภูมิภาคของประเทศ ปัจจุบันมีศูนย์ศิลปาชีพ จานวน ๑๔๑ แห่ง ตัวอย่างเช่น “โครงการศูนย์ศิลปาชีพเกาะเกิด” ต าบเกาะเกิด อ าเภอปางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นศูนย์รวมศิลปวัฒนธรรมในทุกภาค

โครงการป่ารักน้ำเป็นของใคร

โครงการรักษ์น้ำเพื่อพระแม่ของแผ่นดิน” เป็นโครงการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำขึ้นเพื่อสนองพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่เสด็จ พระราชดำเนินทอดพระเนตรการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างวันที่ 3-5 มีนาคม 2549 และได้ทรงมี ...