น้ํายาอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ทำมาจากสารชนิดใด

น้ํายาอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ทำมาจากสารชนิดใด

เติมน้ำในแบตเตอรี่ ข้อสงสัยที่หลายคนไม่เข้าใจ


เป็นที่ถกเถียงกันทั้งมือใหม่และมือเก่า และบางคนที่ไม่รู้เรื่องหรือไม่เข้าใจในการทำงานของแบตเตอรี่ ที่ว่า เติมน้ำในแบตเตอรี่ เนี่ย มันจำเป็นหรือไม่ ไม่ใช่ว่าต้องเติมสารละลายอิเล็กโทรไลท์หรอ สำหรับคนที่เข้าใจการทำงานของแบตเตอรี่ก็ไม่มีข้อสงสัยแน่ๆ แต่คนที่ไม่เข้าใจก็จะยังมึนๆกับการทำงานของแบตเตอรี่ วันนี้เราจะมาอธิบายกันว่า การทำงานของมันเป็นยังไง และน้ำที่เติมควรเป็นน้ำอะไร

สารละสายอิเล็กโทรไลท์คืออะไร?

น้ํายาอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ทำมาจากสารชนิดใด

มาคุยกันก่อนว่า สารละลายอิเล็กโทรไลท์คืออะไร สารละลายอิเล็กโทรไลท์มาจากน้ำผสมกับกรดหรือเบส โดยในแบตเตอรี่จะใช้ น้ำผสมกับกรดซัลฟิวริกเป็นร้อยละ 40 เรียกโดยรวมว่า สารละลายอิเล็กโทรไลท์ และการทำงานของอิเล็กโทรไลท์ในแบตเตอรี่ ก็คือ การเกิดปฏิกิริยากับแผ่นตะกั่วในแบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดการเก็บและการปล่อยพลังงาน


การเติมน้ำเข้าไปในแบตเตอรี่

น้ํายาอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ทำมาจากสารชนิดใด

ถ้าแบตเตอรี่อยู่ภายในการใช้งานปกติ การเติมสารละลายอิเล็กโทรไลท์ถือว่าตัดออกไปได้เลย ให้มาดูที่การเติมน้ำดีกว่า โดยทั่วไปเมื่อแบตเตอรี่ปล่อยประจุออกมาทำงาน แผ่นตะกั่วที่ได้รับประจุจะค่อยๆถูกเกาะไปด้วยซัลเฟต ซึ่งแสดงว่าสารละลายอิเล็กโทรไลท์ได้สูญเสียกรดซัลฟิวริกไป ทำให้น้ำในสารละลายได้สูญหายไปมาก จึงเป็นเหตุที่ต้องเติมน้ำเข้าไป

การสูญเสียน้ำโดยปกติเกิดจากกระบวนการอิเล็กโทรไลซิสและน้ำในสารละลายอิเล็กโทรไลท์สามารถระเหยออกไปได้ในอากาศร้อน ซึ่งแน่นอนว่ากรดซัลฟิวริกก็แอบหายไปกับน้ำด้วย ดังนั้นเราจึงควรเติมน้ำเข้าไปในแบตเตอรี่ถ้าอากาศร้อนจัด เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงและไปทดแทนจากการระเหยครั้งที่แล้ว


การเติมสารละลายอิเล็กโทรไลท์ในแบตเตอรี่

น้ํายาอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ทำมาจากสารชนิดใด

โดยปกติจะไม่เติมสารละลายอิเล็กโทรไลท์ในแบตเตอรี่ ยกเว้นบางกรณีที่จำเป็นจริงๆ เช่น เติมในแบตเตอรี่ที่แห้ง โดยการเติมสารละลายอิเล็กโทรไลท์ต้องเติมในแบตเตอรี่ที่เคยผ่านการใช้งานมาจนกรดซัลฟิวริกเหลือน้อย หรือเติมเมื่อแบตเตอรี่เคยถูกคว่ำจะเจ้ากรดซัลฟิวริกหกออกมา การทดแทนสารละลายอิเล็กโทรไลท์ต้องเติมเข้าไปชดเชยกับส่วนที่หายไป


น้ำอะไรที่เติมเข้าไปในแบตเตอรี่?

น้ํายาอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ทำมาจากสารชนิดใด

หลังจากที่พอเข้าใจการทำงานของแบตเตอรี่แล้ว ทีนี้ก็มาดูกันว่า เราควรเติมน้ำอะไรลงไปในแบตเตอรี่ เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยชนิดของน้ำที่แนะนำการเติมในสารละลายอิเล็กโทรไลท์คือ น้ำกลั่น โดยทั่วไปหลายคนใช้น้ำประปาในการเติม แต่น้ำประปามีข้อควรระวังคือ ถ้าใช้น้ำที่มีไอออนเจือปนหรือมีของแข็งเจือปน (มองในตาเปล่าไม่เห็น) จะทำให้การทำงานของแบตเตอรี่มีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากน้ำที่เจือปนจะไปขัดการถ่ายไอออนของสารละลายให้ทำงานได้ยากขึ้น

การกลั่นน้ำประปาเองก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยในการประหยัดค่าน้ำกลั่นได้ เพราะไม่ต้องเสียเงินซื้อน้ำกลั่นมาเติมแบตเตอรี่ เนื่องจากน้ำประปากลั่นก็มีความละเอียดสูงพอที่จะไม่ไปขัดขวางระบบการทำงานของอิเล็กโทรไลท์ในแบตเตอรี่


การดูแลน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพ

น้ํายาอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ทำมาจากสารชนิดใด

ระดับของน้ำกลั่นไม่ควรมีเยอะเกินไปหรือแห้งจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้แบตเตอรี่ไม่มีกำลังประจุพอที่จะนำไปใช้งาน ซึ่งอาจส่งผลให้แบตเตอรี่เสียได้ โดยปกติระดับน้ำกรดจะมีผลต่อกำลังไฟในแบตเตอรี่ ถ้าน้ำกรดมีน้อยกำลังไฟก็มีน้อยตามไปด้วย

โดยทั่วไปแบตเตอรี่มีอยู่ 2 ชนิดคือ แบตเตอรี่ชนิดน้ำ และ แบตเตอรี่ชนิดแห้ง โดยแบตเตอรี่ชนิดน้ำ ผู้ใช้ต้องหมั่นตรวจระดับน้ำกรดทุกๆสัปดาห์ เพื่อป้องกันน้ำแห้ง อันเป็นสาเหตุทำให้แผ่นตะกั่วไหม้ได้ อีกชนิดหนึ่งคือแบบแห้ง หรือแบตเตอรี่ที่พร้อมใช้งาน การตรวจน้ำกรดกับชนิดนี้ควรตรวจทุกๆครึ่งปี

การเติมน้ำกลั่นที่ดีที่สุดคือ เติมน้ำในแบตเตอรี่ให้อยู่ในระดับคอล่าง ถ้าเติมสูงกว่าคอล่างจะทำให้น้ำกลั่นล้นออกมาเวลาเครื่องทำงาน ซึ่งทำให้น้ำระเหยไวขึ้น และจะเกิดคราบขี้เกลือ ซึ่งทำให้ห้องเครื่องยนต์สกปรก

สำหรับการดูแลรักษาและการเติมน้ำกลั่นก็เป็นเรื่องที่ไม่ยาก สามารถเข้าใจได้ และการเติมสารละลายอิเล็กโทรไลท์ก็เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่มีกรดในแบตเตอรี่เหลือน้อยเท่านั้น ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือการเติมน้ำกลั่นธรรมดา ซึ่งจะเป็นผลดีกับแบตเตอรี่ แต่ก็อย่าคิดว่ายิ่งเยอะยิ่งดี เพราะผลเสียมันจะตามมาอย่างไม่คาดคิด ทางที่ดีทำตามคำแนะนำดีกว่า – ถ้าคุณสนใจเกี่ยวกับแบตเตอรี่ที่นิยมที่สุดในไทย >> http://thaiengine.org/แบตยี่ห้อไหนดี

น้ํายาอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่ทำมาจากอะไร

โพลาไรเซชัน แบตเตอรี่สำหรับสะสมไฟฟ้าแบบตะกั่วหรือแบตเตอรีรถยนต์ที่เรารู้จักกันดีนั้น มีสารอิเล็กโทรไลต์เป็นสารละลาย คือสารละลายกรดกำมะถัน มีตะกั่ว (Pb) เป็นขั้วแอโนด และตะกั่ว (TV) ออกไซด์ (PbOy) เป็นขั้วแคโทด จุ่มแช่อยู่ เมื่อแบตเตอรี่จ่ายไฟจะมีศักย์ไฟฟ้าประมาณ 2 โวลต์ต่อเซล การใช้สารละลายเป็นอิเล็กโทรไลต์จะทำให้เกิด ...

สารในข้อใดเป็นนอนอิเล็กโทรไลต์

นอนอิเล็กโทรไลต์ (Non-electrolyte)หมายถึง สารที่ไม่สามารถนำไฟฟ้าได้เมื่อละลายน้ำ ทั้งนี้ เนื่องจาก สารพวกนอนอิเล็กโทรไลต์ จะไม่สามารถแตกตัวเป็นไอออนได้ เช่น น้ำบริสุทธิ์ น้ำตาล แอลกอฮอล์ เป็นต้น

สารในข้อใดเป็นอิเล็กโทรไลต์แก่

1. อิเล็กโทรไลต์แก่ (strong electrolyte) หมายถึง สารที่ี่ละลายน้ำแล้วแตกตัวเป็นไอออนได้มาก อาจจะแตกตัวได้ 100% และนำไฟฟ้าได้ดีมาก เช่น กรดแก่ และเบสแก่ และเกลือส่วนใหญ่จะแตกตัวได้ 100% เป็นต้น

ส่วนประกอบของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ มีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ขั้วแอโนด (Anode) เป็นขั้วที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน ซึ่งเป็นขั้วบวก (+) ที่ต่อเข้ากับขั้วบวกของแบตเตอรี่หรือแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ขั้วแคโทด (Cathode) เป็นขั้วที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน ซึ่งเป็นขั้วลบ (-) ที่ต่อเข้ากับขั้วลบของแบตเตอรี่หรือแหล่งกำเนิดไฟฟ้า