การพูดกำกวม เป็นเหตุผลวิบัติแบบใด

strawman อ้างอิงคลาดเคลื่อน หรือใส่สีตีไข่คำพูดอีกฝ่ายจนคาดเคลื่อน เพื่อให้โต้แย้งได้ง่ายขึ้น

slippery slope ระบุว่าหากเรายอมให้เกิด A ก็ย่อมจะเกิด Z ตามมาด้วย ดังนั้นเราต้องไม่ให้มี A เกิดขึ้น(เช่น อ้างว่าถ้ายอมให้ผู้ชายแต่งงานกันเอง ในที่สุดคนจะแต่งงานกับสัตว์ ดังนั้นเราต้องไม่ให้ผู้ชายแต่งงานกัน)

special pleading ย้ายประเด็นหรือเพิ่มข้อยกเว้นหลังจากที่คำอ้างกลายเป็นเท็จ(เช่น แน่จริงยกตัวอย่างAtheistที่บริจาคเยอะๆมาสิ….บิลเกตส์นั่นไม่นับ)

the gambler’s fallacy อ้างว่าผลแต่ละแบบ ย่อมมีโอกาสเกิดเท่าๆกัน เหมือนเล่นพนันรูเล็ต

black or white อ้างว่ามีทางเป็นไปได้แค่สองทางเท่านั้น ทั้งที่สามารถเกิดผลได้มากกว่าสองทางนั้น

false cause เมื่อเห็นสองสิ่งที่มาด้วยกัน แล้วอ้างว่าสิ่งหนึ่งในสองอย่างนั้นทำให้เกิดอีกสิ่งหนึ่ง(เช่น เดินผ่านวัวแล้วรุ่งขึ้นถูกหวย สรุปว่าการเดินผ่านวัวทำให้ถูกหวย)

ad hominem โจมตีลักษณะบุคลิกส่วนตัวของอีกฝ่าย แทนที่จะโต้แย้งในประเด็นที่เขาอ้างอิง(เช่น มึงมันเชื่อไม่ได้ เพราะมึงมันโง่)

loaded question ถามคำถามที่ไม่ว่าจะตอบยังไงก็มีความผิด นอกจากจะไม่ตอบ(เช่น เดี๋ยวนี้เลิกซ้อมเมียรึยัง…ไม่ว่าเราจะตอบว่าเลิกหรือไม่ เราก็มีความผิดฐานซ้อมเมีย)

bandwagon อ้างประชากรหรืออ้างว่าหลายๆคนทำอย่างนี้ ดังนั้นมันควรจะถูก

begging the question ข้ออ้างที่พิสูจน์โดยการอ้างข้ออ้างนั้นเอง(เช่น พระเจ้ามีจริง เพราะไบเบิลกล่าวไว้ และสิ่งที่ไบเบิ้ลกล่าวย่อมเป็นความจริงเพราะเป็นผลงานของพระเจ้า)

appeal to authority อ้างคำพูดของบุคคลหรือสถาบันที่มีอำนาจ(หรือมีชื่อเสียง)มาใช้เป็นข้อโต้แย้ง appeal to nature อ้างว่าสิ่งนั้นมาจากธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว

composition/division เหมาว่าหากสิ่งใดจริงกับส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว มันย่อมจริงกับทุกส่วนด้วย(เช่น เซลไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า สัตว์ประกอบด้วยเซล ดังนั้น สัตว์ย่อมไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า)

anecdotal ใช้ประสบการณ์ส่วนตัวหรือตัวอย่างเดี่ยวๆในการโต้แย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการแย้งสถิติ

appeal to emotion อาศัยปฏิกิริยาทางอารมณ์ แทนที่จะโต้แย้งด้วยเหตุผลอย่างถูกต้อง

tu quoqueเลี่ยงตอบประเด็นที่คนอื่นวิจารณ์ โดยการวิจารณ์คนอื่นกลับ

burden of proof อ้างว่า หน้าที่ในการพิสูจน์ว่าเป็นจริง ไม่ได้อยู่ที่ผู้กล่าวอ้าง แต่ผู้อื่นต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าไม่จริงยังไง

no true scotsman เริ่มจากการอ้างคุณสมบัติแบบเหมารวม แต่เมื่อมีการยกตัวอย่างขึ้นมาโต้แย้ง ก็อ้างว่าตัวอย่างที่ยกมานั้นไม่ใช่”ของแท้”(เช่น อ้างว่าชาวพุทธไม่เคยฆ่าใคร เมื่อมีคนยกตัวอย่างภิกษุชาวพุทธที่ก่อคดีฆาตกรรมก็อ้างว่า นั่นไม่ใช่ชาวพุทธแท้)

the texas sharpshooter วิเคราะห์เรื่องราวโดยเลือกมองเฉพาะจุดที่สนับสนุนคำอ้าง โดยละทิ้งบริบทอื่นๆที่แย้งหรือไม่สนับสนุนคำอ้างนั้น

the fallacy fallacy เมื่ออีกฝ่ายโต้แย้งได้ไม่ดี หรือมีการใช้ fallacyแล้ว ก็เหมาว่าข้อโต้แย้งของเขาย่อมผิด

personal increduly เหมาว่าเรื่องที่ตนไม่สามารถเข้าใจได้โดยง่าย ย่อมไม่ถูกต้อง(เช่น อย่ามาวิชาการกับผม ผมใช้ใจ) ambiguity อาศัยความกำกวมของคำที่แปลได้หลายอย่าง ในการตีความหมายเข้าข้างตัวเอง

genetic ตัดสินว่าสิ่งใดถูกหรือผิด ดีหรือเลว โดยดูจากแหล่งกำเนิดหรือผู้ผลิต

middle ground ตัดสินว่าจุดกึ่งกลางระหว่างขั้วตรงข้าม คือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด

Fallacy of accident – ละทิ้งข้อยกเว้น การสรุปเหตุผลโดยไม่สนใจข้อยกเว้น เป็น fallacy ที่ดูออกง่ายที่สุด แต่ก็ยังมีคนใช้อยู่เนืองๆ เช่น กระทู้ถามว่าเราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิตใดๆเลยเพราะการฆ่าสิ่งมีชีวิตเป็นการทำความชั่ว ดังนั้นจุลินทรีย์ แบคทีเรีย เชื้อราต่างๆเราก็ไม่ควรฆ่าใช่หรือไม่ กระทู้ดังกล่าวจัดเป็น Fallacy of accident แบบหนึ่ง

เราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราไม่ควรกินยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าแบคทีเรีย

เราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราไม่ควรช่วยตัวเองครับ

  1. http://youtu.be/EXMKPvWqgYk
  2. http://www.informationisbeautiful.net/visualizations/rhetological-fallacies/
  3. http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/06/X7930761/X7930761.html
  4. วิกิพีเดีย (ไทย) http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4
  5. https://en.wikipedia.org/wiki/Fallacy

ส่วนที่ 2

ตรรกะวิบัติ , เหตุผลวิบัติ(Fallacy ) หมายถึง การพิสูจน์โดยการอ้างเหตุผลที่มีน้ำหนักอ่อนเพื่อสนับสนุนในข้อสรุป การให้เหตุผลวิบัติมีความแตกต่างจากการให้เหตุผลแบบอื่น ๆ เนื่องจากหลายคนมักจะพบว่าการให้เหตุผลนั้นมีความน่าเชื่อถือในทางจิตวิทยา ซึ่งจะส่งผลให้คนจำนวนมากเกิดความเข้าใจผิดและยกเหตุผลอย่างผิด ๆ โดยใช้เป็นเหตุผลที่จะเชื่อในข้อสรุปนั้น การให้เหตุผลอาจจะกลายเป็น “เหตุผลวิบัติ” ได้ แม้ว่าข้อสรุปนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม

1. Fallacy of accident – ละทิ้งข้อยกเว้น คือการวางนัยทั่วไปโดยไม่คำนึงถึงข้อยกเว้น ตัวอย่างเช่น

  • การกล่าวอ้าง: การใช้ปืนยิงบุคคลคืออาชญากรรม ตำรวจใช้ปืนยิงโจรผู้ร้าย ดังนั้นตำรวจก็เป็นอาชญากร

ปัญหาที่เกิด: การใช้ปืนยิงบุคคลไม่ใช่อาชญากรรมในสถานการณ์จำเพาะ เช่น สถานการณ์ป้องกันตัว หรือคุ้มครองผู้ที่ร้องขอการคุ้มครองตามกฎหมาย

  • กระทู้ถามว่าเราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิตใดๆเลยเพราะการฆ่าสิ่งมีชีวิตเป็นการทำความชั่ว ดังนั้นจุลินทรีย์ แบคทีเรีย เชื้อราต่างๆเราก็ไม่ควรฆ่าใช่หรือไม่ กระทู้ดังกล่าวจัดเป็น Fallacy of accident แบบหนึ่ง

“เราไม่ควรฆ่าสิ่งมีชีวิต ดังนั้นเราไม่ควรกินยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าแบคทีเรีย”

2. Fallacy of relative to absolute – เหมารวมการสรุปแบบเหมารวม เป็นการสรุปตามโลกทัศน์ของผู้พูด เมื่อผู้พูดประสบกับเหตุการณ์หนึ่งๆเป็นประจำก็มักจะมองหาภาพรวมหรือรูปแบบของเหตุการณ์นั้นๆ ทั้งที่ความจริงแล้วสิ่งที่ผู้พูดประสบมาไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแทนของความจริงทั้งหมดก็ได้ ตัวอย่างเช่น

  • ที่ทำงานผมมีแต่คนจบจากมหาวิทยาลัย A ซึ่งเก่งๆกันทุกคนเลย ดังนั้นคนที่จบจากมหาวิทยาลัย A เก่งทุกคน
  • การกล่าวอ้าง: ทุกคนที่ฉันเคยพบมีนิ้วมือสิบนิ้ว ดังนั้นทุกคนในโลกล้วนมีนิ้วมือสิบนิ้ว

ปัญหาที่เกิด: เซตย่อยคนที่เคยพบไม่สามารถเป็นตัวแทนของทั้งเซต บางคนอาจจะมีน้อยหรือมากกว่าสิบนิ้ว การแก้ปัญหานี้ทำได้โดยการเติมคำว่า ส่วนใหญ่ ลงไป

3. Fallacy of begging question– เอาคำถามเป็นคำตอบ การนำเอาสิ่งที่เป็นประเด็นของคำถามมาเป็นคำตอบโดยทางตรงหรือทางอ้อม คาดคะเนบทสรุปจากข้อคำถามโดยไม่มีการพิสูจน์ใดๆทั้งสิ้น หรืออาจเรียกได้อีกอย่างว่าเป็นการให้เหตุผลแบบวกวน ใช้ข้อเสนอพิสูจน์บทสรุป และแล้วก็ใช้บทสรุปพิสูจน์ข้อเสนอ ตัวอย่างเช่น

  • การกล่าวอ้าง: ผู้ใช้แอสไพรินมีความเสี่ยงต่อการติดยา เพราะว่าแอสไพรินเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง

ปัญหาที่เกิด: สมมติฐานและข้อสรุปมีใจความอย่างเดียวกัน และข้อสรุปก็ไม่ได้ช่วยพิสูจน์สมมติฐาน ถ้ายอมรับสมมติฐานอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องให้เหตุผลเพื่อที่จะสรุปดังกล่าว

  • ทำไมเราจึงต้องกตัญญูต่อบิดามารดา

การกตัญญูเป็นคุณธรรมที่ลูกต้องมี

4. Fallacy of false cause (post hoc ergo propter hoc) – เพราะว่าสิ่งนี้เกิด…สิ่งนั้นจึงบังเกิด, การยกเหตุผลผิด คือการสรุปว่าเหตุการณ์ A เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ B โดยอาศัยแค่ว่า B เกิดขึ้นตาม A เท่านั้น ซึ่งอันที่จริงแล้วอาจจะเป็นแค่ความบังเอิญหรือมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง (fallacy of ignoring a common cause) ซึ่งความจริงควรมีการทดลองภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสมก่อนที่จะสรุป เช่น

  • “เด็กคนนี้ติดเกมที่มีความรุนแรงสูงและฆ่าคนโดยเลียนแบบพฤติกรรมในเกม ดังนั้น เกมเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นฆาตกร”
  • การกล่าวอ้าง:
  • ฉันได้ยินเสียงฝนตกข้างนอก แสดงว่าไม่มีแสงแดดส่อง

ปัญหาที่เกิด: การสรุปนี้ผิดเพราะแสงแดดสามารถส่องได้ยามฝนตก

  • กรณีพิเศษของการยกเหตุผลผิดมีดังนี้

เกิดหลังสิ่งนี้ จึงเป็นเพราะสิ่งนี้ คือ การเชื่อว่าเหตุการณ์ก่อนหน้าทำให้เกิดเหตุการณ์ภายหลัง เช่น การกล่าวอ้าง: ฝนตกแล้วรถก็เสีย ดังนั้นฝนตกทำให้รถเสีย ปัญหาที่เกิด: ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างสองเหตุการณ์ เหตุการณ์ทั้งสองที่เกิดร่วมกัน ไม่ได้เป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน เกิดพร้อมสิ่งนี้ จึงเป็นเพราะสิ่งนี้ คือ การเชื่อว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน เหตุการณ์หนึ่งทำให้เกิดอีกเหตุการณ์หนึ่ง การกล่าวอ้าง: วัวตายเป็นจำนวนมากในฤดูร้อน และไอศกรีมก็นิยมบริโภคมากในฤดูร้อน ดังนั้นการบริโภคไอศกรีมในฤดูร้อนเป็นการฆ่าวัว ปัญหาที่เกิด: ไม่มีสมมติฐานที่บอกว่าการบริโภคไอศกรีมทำให้วัวตาย การตายและการบริโภคอาจไม่เกี่ยวข้องกัน หรือมีสาเหตุอย่างอื่นที่ทำให้เกิดเงื่อนไขทั้งสองนี้ เช่นอากาศร้อน

5. False dilemma – ทางเลือกลวง, บังคับเลือก ผู้ให้เหตุผลสร้างทางเลือกขึ้นมาสองทางและบังคับให้เลือกทางใดทางหนึ่งเท่านั้นสำหรับแก้ปัญหา และเนื่องจากทางเลือกหนึ่งในนั้นไม่เป็นที่น่าปรารถนา จึงเป็นการบีบบังคับโดยกลายๆให้อีกฝ่ายเลือกทางที่ตนเองต้องการ ทั้งที่ในความจริงแล้ว คำถามดังกล่าวมีทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้นจริงหรือ? เช้น

  • ถ้าคุณไม่ใช่เสื้อแดง ก็ต้องเป็นเสื้อเหลือง

6. Irrelevant conclusion (ignoratio elenchi) – สรุปมั่วซั่ว, การสรุปนอกประเด็น การสรุปแบบไม่มีเหตุผลที่เหมาะสม นำประเด็นใดประเด็นหนึ่งมาสรุปผลอย่างที่ไม่น่าเกี่ยวข้องกับประเด็นของกระทู้ถาม ซึ่งเป็นประเด็นที่ทำให้ผู้ตอบรู้สึกสบายใจ

  • การกล่าวอ้าง: สมชายเชื่อว่าหมูสามารถบินได้ ดังนั้นหมูจึงบินได้

ปัญหาที่เกิด: สมชายผู้ซึ่งเป็นบุคคลต้นแบบอาจคิดผิด และผู้พูดประโยคนี้ไม่ได้ให้เหตุผลว่าหมูบินได้อย่างไร (กรณีนี้คือ การอ้างปฐมาจารย์) กรณีพิเศษของการสรุปนอกประเด็นมีดังนี้

  • การโจมตีตัวบุคคล (appeal to the person) คือการโจมตีที่ผู้ตั้งหรือผู้กล่าวประเด็นถกเถียง โดยไม่สนใจเนื้อหาของประเด็นนั้นๆ เช่น

นาย ก: การดื่มสุราแล้วขับรถจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในการขับขี่มากขึ้น ผมจึงรณรงค์ให้เมาไม่ขับ นาย ข: แต่เมื่อวานซืน คุณก็ถูกตำรวจจับเพราะเมาแล้วขับนี่ ปัญหาที่เกิด: พฤติกรรมของเจ้าของประเด็นไม่มีผลต่อเนื้อหาของประเด็นนั้นๆในทุกกรณี

  • การอ้างคนหมู่มาก (appeal to the majority) คือการใช้ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ยืนยันความถูกต้องของประเด็นต่างๆ

การกล่าวอ้าง: การลอกการบ้านไม่ผิด ใครๆก็ทำกันทั้งนั้น ปัญหาที่เกิด: ความคิดเห็นหรือการกระทำของคนส่วนใหญ่อาจเป็นการกระทำที่ผิดได้ เนื่องจากการวัดว่าอะไรถูกและผิดใช้การคำนวณว่า การกระทำนั้นๆส่งผลดีและผลร้ายต่อตัวเองหรือผู้อื่นอย่างไร

  • การอ้างอำนาจ (appeal to force) เป็นการใช้อำนาจหรือกำลังที่มีอยู่ ข่มขู่คุกคามให้ประเด็นดังกล่าวอ่อนลงไป เช่น

นาย ก: ผมว่าเจ้านายควรจะจ่ายโบนัสให้เขานะครับ เขาต้องเลี้ยงดูลูกน้อยที่แบเบาะ นาย ข: ผมไม่จ่ายโบนัสให้เขาหรอก แล้วถ้าคุณขออีก ผมจะไล่คุณออก ปัญหาที่เกิด: การประทุษร้ายไม่มีผลกับตัวประเด็นในทุกกรณี เนื่องจากมันไม่ใช่เหตุผล

  • การขอความเห็นใจ (appeal to pity) คือการสร้างความรู้สึกเห็นอกเห็นใจเพื่อสนับสนุนประเด็นของตัวเอง เช่น

การกล่าวอ้าง: ที่นาย ข ค้ายาเสพติดเพราะเขาต้องการเงินจำนวนมากเพื่อรักษาพ่อแม่ของเขา การที่ตำรวจจับเขาติดคุกเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาที่เกิด: การค้ายาเสพติดสร้างความเสียหายแก่สังคมในวงกว้าง ดังนั้นไม่ว่านาย ข จะมีแรงจูงใจอะไร ก็ไม่สามารถใช้เพื่อยืนยันความถูกต้องในการค้ายาเสพติดของเขา

  • การอ้างความไม่รู้ (appeal to ignorance) คือการด่วนสรุปประเด็นเพราะยังไม่มีหลักฐานหรือพยานยืนยัน เช่น

การกล่าวอ้าง: เพราะไม่มีหลักฐานยืนยันว่าการสะกดจิตเป็นความจริง ดังนั้นการสะกดจิตเป็นสิ่งที่ไม่จริง ปัญหาที่เกิด: เมื่อยังไม่สามารถหาหลักฐานหรือพยานได้ จึงยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการสะกดจิตมีจริงหรือไม่

7. Slippery slope – ทางลาดชันสู่หุบเหวหายนะ, การสรุปเกินจริง ผู้พูดนำพาผู้ฟังไปสู่ชุดของเหตุและผลจำนวนมาก และสรุปไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายที่แย่ที่สุด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเอาจริงเข้าแล้ว เหตุการณ์สุดท้ายไม่จำเป็นต้องเกิดจากเหตุการณ์แรกสุด เช่น

  • “การใช้เสื้อผ้าขนสัตว์เป็นการสนับสนุนการฆ่าสัตว์ หากเราฆ่าสัตว์เพื่อเอาขนสัตว์มาใช้ แสดงว่าเราไม่เคารพสัตว์ ถ้าเราไม่เคารพสัตว์ ก็เท่ากับว่าเราไม่เคารพสิ่งมีชีวิตทั้งมวล ถ้าเราไม่เคารพสิ่งมีชีวิต เราก็เริ่มฆ่ากันเอง สุดท้ายเราก็ฆ่ากันตายหมด ดังนั้นเราไม่ควรใช้เสื้อผ้าขนสัตว์”
  • คุณเหยีบมดตายโดยไม่รู้สึกเสียใจอะไรเลย แปลว่าคุณคงฆ่าคนได้โดยไม่รู้สึกอะไรเลยเช่นกัน

8. Fallacy of questionable analogy – การเปรียบเทียบอย่างไม่เหมาะสม เมื่อสิ่งหนึ่งเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่ง อีกสิ่งหนึ่งก็นำไปเปรียบเทียบกับอีกสิ่งหนึ่งที่คล้ายคลึงกันได้ เป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆจนได้ข้อสรุปที่ไม่เหมาะสมในที่สุด เช่น

  • หากเรายอมให้กฎหมายรองรับการแต่งงานระหว่างรักร่วมเพศผ่านมติ ต่อไปเราคงยอมให้มีกฎหมายรองรับการแต่งงานระหว่างคนกับสัตว์ด้วยกระมัง”
  • “แต่ก่อนไม่มีใครคิดว่าจะมีคนวิ่งเป็นระยะทางหนึ่งไมล์ภายในเวลาสี่นาทีหรือความเร็วเสียงจะถูกทำลายลงได้ แต่เราก็ทำได้ในที่สุด เพราะฉะนั้น เราอาจกล่าวได้ว่าความเร็วแสงที่หลายคนเคยเชื่อว่าทำลายไม่ได้ ก็น่าจะเป็นไปได้ในอนาคตข้างหน้า”
  • http://topicstock.pantip.com/wahkor/topicstock/2009/06/X7930761/X7930761-7.jpg

9. Double standard – สองมาตรฐาน คือการใช้มาตรฐานการตัดสินหรือการปฏิบัติต่างกันในสถานการณ์ที่เหมือนกัน ทั้งๆที่ในสถานการณ์นั้นไม่มีเหตุผลที่สมควรที่จะทำให้มีการใช้มาตรฐานต่างกันเลย เช่น

  • “ไม่รู้สิครับ ผมว่ามันต่างกันนะ คุณ Mr.X เขาอยู่มาก่อน และก็โพสอย่างนี้มาตั้งนานแล้ว ส่วนใครจะมาเลียนแบบนั้นรับไม่ได้หรอกครับ”

10. Intentional fallacy – อ้างเจตนา คือการให้เหตุผลกับสถานการณ์หรือเหตุการณ์หนึ่งๆว่ามีความชอบธรรมแล้ว เพราะทำไปด้วยเจตนาดี เช่น เมื่อถามว่าแต่งตัวโป๊ไม่กลัวอันตรายหรือ แล้วคนตอบว่าไม่ได้แต่งเพื่อยั่วใคร แต่จริงหรือไม่ที่หากไม่มีเจตนาให้เกิดผลอย่างใดแล้ว ผลอย่างนั้นจะไม่เกิด หากเป็นเช่นนั้น เวลาใส่ทองเส้นโตไปเดินที่โจรชุมก็คงไม่ต้องกลัวอะไรกัน เพราะคนที่ใส่ทองไม่ได้มีเจตนาให้โจรปล้น

11. การลงน้ำหนักFallacy of accent, ตัดข้อความเพียงส่วนหนึ่งมาอภิปรายคือการเน้นคำบางคำในประโยค มักปรากฏในการพูด อาจทำให้กลายเป็นการยกย่องหรือการดูถูกก็ได้ ตัวอย่างเช่น ประโยค:เขาเป็นนักเปียโนที่ดีพอประมาณคนหนึ่ง”เขา” เป็นนักเปียโนที่ดีพอประมาณคนหนึ่ง เป็นการเน้นเขาเพื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆเขา “เป็น” นักเปียโนที่ดีพอประมาณคนหนึ่ง เป็นการยืนยันว่าเขาเป็นเช่นนั้นเขาเป็น “นักเปียโน” ที่ดีพอประมาณคนหนึ่ง เป็นการยกความโดดเด่นในการเล่นเปียโนมากกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่นเขาเป็นนักเปียโน “ที่ดี” พอประมาณคนหนึ่ง เป็นการยืนยันว่าเขาเล่นดี หรือถึงขั้นประทับใจเขาเป็นนักเปียโนที่ดี “พอประมาณ” คนหนึ่ง เป็นการยืนยันว่าเล่นได้พอประมาณ ยังต้องฝึกฝนขึ้นไปอีกเขาเป็นนักเปียโนที่ดีพอประมาณ “คนหนึ่ง” เป็นการเน้นว่าเขาเป็นแค่คนหนึ่ง ยังมีคนอื่นอีกมาก

12. Argumentum ad Hominem Tu Quoque – แกก็เหมือนกัน ดังนั้นฉันไม่ผิด พูดง่ายๆคือกล่าวว่าอีกฝ่ายเองก็(เคย)กระทำตรงข้ามกับสิ่งที่พูด ดังนั้นข้อความที่พูดออกมาจึงเชื่อถือไม่ได้ เช่น

คุณหนุ่ยกล่าวว่าการดื่มเหล้านั้นไม่ดีต่อสุขภาพแต่ตัวคุณหนุ่ยเองก็ยังดื่มเหล้าอยู่ เด็กหญิงโหน่ยฟังแล้วก็คิดว่าสิ่งที่คุณหนุ่ยพูดนั้นไม่น่าจะถูกเพราะถ้าการดื่มเหล้าไม่ดีจริง ทำไมคุณหนุ่ยถึงยังดื่มล่ะ

13. Strawman fallacy – หุ่นไล่กา, การทับถมจุดอ่อน เป็นการโจมตีที่ช่องโหว่ของเหตุและผล กล่าวคือพยายามเบี่ยงประเด็นจากสิ่งที่โต้แย้งได้ยาก ไปสู่สิ่งที่มีช่องโหว่เยอะๆ ที่สามารถเถียงได้ง่ายกว่า เช่น

นาย A : ความคลั่งชาติเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก่อให้เกิดความรุนแรงต่างๆตามมาได้นาย B : เพราะชาติทำให้ผมมีชีวิตได้อยู่ทุกวันนี้ หากจะให้ทำอะไรเพื่อชาติผมทำได้ทั้งนั้น จะว่าคลั่งชาติก็ได้ แล้วตัวคนพูดล่ะรักชาติหรือเปล่า ถึงได้มากล่าวว่าคนอื่นคลั่งชาตินั้นไม่ดี

  • นาย ก: วันที่มีแดดจัดนั้นเป็นเรื่องดี

นาย ข: ถ้าทุกวันมีแดดจัด เราก็จะไม่มีฝน และเมื่อเราไม่มีฝน เราก็จะไม่มีน้ำ สิ่งมีชีวิตก็จะตาย ดังนั้นสิ่งที่คุณคิดจึงผิดปัญหาที่เกิด: นาย ข ได้เบี่ยงประเด็นแนวคิดของนาย ก โดยการทับถมแนวคิดอื่นจนสุดโต่ง ซึ่งนาย ก ไม่ได้มีแนวคิดว่า ทุกวันมีแดดจัดเป็นเรื่องดี

เพิ่มเติม

 -category mistake (สับสนประเภท) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่จัดหมวดหมู่ผิดว่าของบางอย่างอยู่อีกประเภท ทั้งที่มันอยู่ประเภทเดียวกัน

ตัวอย่าง:

“ถ้าเป็นเผด็จการจริง ป่านนี้คงโดนปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานยิงเป้าแล้ว”ถ้าเป็นเผด็จการจริง ป่านนี้ไม่ได้มาด่าในเฟซบุ๊กหรอก

เป็นตรรกะวิบัติแบบ category mistake เพราะผู้พูดเข้าใจผิดว่า เผด็จการ = ยิงเป้าคนด้วยปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และ เผด็จการ = ไม่ให้ด่าในเฟซบุ๊ก ทั้งที่นิยาม “เผด็จการ” หมายถึงการมีอำนาจเด็ดขาด มีแล้วจะใช้อำนาจนั้นอย่างไร จับใคร ลงโทษใคร เป็นเรื่องพฤติกรรมของเผด็จการแต่ละคณะ ไม่ใช่นิยาม ตัวอย่างเทียบเคียง: “นกทุกตัวบินได้ ฉะนั้นนกกระจอกเทศจึงไม่ใช่นก” เกิดจากความเข้าใจผิดว่า “นกทุกตัวบินได้” จึงจัดประเภทของนกกระจอกเทศผิด

 – nirvana fallacy / perfect solution fallacy (เห็นแต่นิพพาน) = คำเรียกตรรกะวิบัติชนิดที่บิดข้อถกเถียงไปเป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบ/ในอุดมคติที่ไม่มีวันเป็นไปได้จริง เพื่อมาปฏิเสธข้อถกเถียงนั้นว่ามันไม่จริง ตัวอย่าง:

“ประชาธิปไตยในไทยไม่เคยมีเลยตลอด 80 ปีที่ผ่านมา เพราะไม่เคยมีพรรคการเมืองที่ตอบสนองประชาชน ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต มีแต่พวกที่เข้ามาโกงกินเพื่อตัวเองทั้งนั้น”

เป็นตรรกะวิบัติแบบ nirvana fallacy เพราะบิดความหมายของ “ประชาธิปไตย” จากนิยามพื้นๆ (ระบอบที่ประชาชนปกครองตนเอง) ให้เป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ (“ประชาธิปไตย=ระบอบที่ไม่มีนักการเมืองโกง”) แล้วเอาเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบเป็นไปไม่ได้นั้นมาเป็นฐานในการปฏิเสธความจริง (ประชาธิปไตยไม่เคยมีจริง) ตัวอย่างเทียบเคียง:

“เข็มขัดนิรภัยในรถไม่เห็นจำเป็นเลย มีแล้วคนก็ยังเจ็บหรือตายจากอุบัติเหตุบนถนนอยู่ดี”

เกิดจากการบิดเป้าหมายของเข็มขัดนิรภัยไปเป็นเวอร์ชั่นสมบูรณ์แบบและไม่มีทางเป็นไปได้ นั่นคือ “ทำให้ทุกคนไม่เจ็บไม่ตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนน” ทั้งที่เป้าหมายจริงๆ ของเข็มขัดนิรภัยคือ ช่วย ลด อัตราการบาดเจ็บและตายจากอุบัติเหตุบนท้องถนนต่างหาก

พูดกำกวมเป็นเหตุผลวิบัติแบบใด

เหตุผลวิบัติเชิงวาจา มักจะเป็นการสรุปที่ใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ไม่สมบูรณ์หรือกำกวม ทำให้เข้าใจความหมายผิดไปหรือไม่กระจ่างชัด

ข้อใดคือเหตุผลวิบัติ

เหตุผลวิบัติหมายถึงการพิสูจน์โดยการอ้างเหตุผลที่มีไม่มีน้ำหนักเพื่อสนับสนุนในข้อสรุปการให้เหตุผล วิบัติมีความแตกต่างจากการให้เหตุผลแบบอื่นๆ เนื่องจากหลายคนมักจะพบว่าการให้เหตุผลนั้นมีความน่าเชื่อถือ ในทางจิตวิทยา ซึ่งจะส่งผลให้คนจำนวนมากเกิดความเข้าใจผิดและยกเหตุผล อย่างผิดโดยใช้เป็นเหตุผลที่ จะเชื่อในข้อสรุปนั้น การ ...

เหตุผลวิบัติแบ่งออกเป็นกี่รูปแบบ

เหตุผลวิบัติ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ 1. เหตุผลวิบัติทางรูปแบบ (Formal or Logical Fallacy) 2. เหตุผลวิบัติทางเนื้อหา (Informal or Material Fallacy) 3. เหตุผลวิบัติทางจิตวิทยา (Psychological Fallacy)

ข้อใดเป็นเหตุผลวิบัติทางเนื้อหา

เหตุผลวิบัติทางเนื้อหา (Informal or Material Fallacy) เป็นความผิดพลาดในการอ้างเหตุผล แบบอุปนัยที่จะนพบได้โดยการวิเคราะห์เนื้อหาของการอ้างเหตุผล แบบของเหตุผลวิบัติทางเนื้อหา เหตุผลวิบัติทางเนื้อหานั้นมีมาก แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะบางแบบเท่านั้นคือ 1. การด่วนสรุป 2. การใช้แนวเทียบผิด 3. การใช้สมมติฐานผิดความหมาย 4. การ ...