ข้อใดคือภูมิปัญญาด้านประณีตศิลป์ของอยุธยา

อยุธยารับศิลปวัฒนธรรมไทยจากสุโขทัยเข้ามาผสมเข้ากับวัฒนธรรมของอยุธยา จนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยาในที่สุด และในระยะต่อมาได้กลายเป็นรากฐานของศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยต่างๆจนถึงปัจจุบัน อยุธยาได้รับวัฒนธรรมจากสุโขทัยมาผสมผสานเข้าด้วยกันจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยา ซึ่งมีทั้งทางด้านศิลปกรรม อันประกอบด้วย สถาปัตยกรรม ประติมากรรมจิตรกรรม ประณีตศิลป์ และ ศิลปการแสดง นอกจากนี้มีด้านวรรณกรรม ด้านประเพณี และ ด้านพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยาทั้งในตอนต้นและตอนปลาย ล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น หรือที่กล่าวอย่าสั้นๆคือ จาก “วัง” กับ “วัด”ศิลปกรรมต่างๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งวังและวัดเป็นส่วนใหญ่ ศิลปะการแสดงมาจากวังเป็นส่วนใหญ่และส่วนหนึ่งเป็นของชาวบ้าน วรรณกรรมส่วนใหญ่ได้สะท้อนเรื่องราวในราชสํ านัก และสะท้อนให้เห็นถึงหลักคํ าสอนของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์

ศิลปวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยา

ข้อใดคือภูมิปัญญาด้านประณีตศิลป์ของอยุธยา

การสถาปนาอาณาจักรอยุธยาใน พ.ศ.๑๘๙๓ นับเป็นการเริ่มต้นศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยาซึ่งมีรากฐานมาจากสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันศาสนา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านศิลปกรรม วรรณกรรมประเพณี รวมทั้งพระพุทธศาสนา ซึ่งคนไทยศรัทธาและยึดมั่นเป็นสรณะมาโดยตลอดศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยอยุธยาเกิดจากการผสมผสานระหว่างศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทย และ ศิลปวัฒนธรรมที่รับมาจากภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัฒธรรมจากอินเดียที่อยุธยารับมาจากเขมรและจากอินเดียโดยตรง
นอกจากนี้ อยุธยายังรับศิลปวัฒนธรรมไทยจากสุโขทัยเข้ามาผสมเข้ากับวัฒนธรรมของอยุธยา จนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยาในที่สุด และในระยะต่อมาได้กลายเป็นรากฐานของศิลปวัฒนธรรมไทยในสมัยต่างๆจนถึงปัจจุบัน อยุธยาได้รับวัฒนธรรมจากสุโขทัยมาผสมผสานเข้าด้วยกันจนกลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของอยุธยา ซึ่งมีทั้งทางด้านศิลปกรรม อันประกอบด้วย สถาปัตยกรรม ประติมากรรมจิตรกรรม ประณีตศิลป์ และ ศิลปการแสดง นอกจากนี้มีด้านวรรณกรรม ด้านประเพณี และ ด้านพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยาทั้งในตอนต้นและตอนปลาย ล้วนแต่เป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และสถาบันพระพุทธศาสนาแทบทั้งสิ้น หรือที่กล่าวอย่าสั้นๆคือ จาก “วัง” กับ “วัด”ศิลปกรรมต่างๆ จะมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งวังและวัดเป็นส่วนใหญ่ ศิลปะการแสดงมาจากวังเป็นส่วนใหญ่และส่วนหนึ่งเป็นของชาวบ้าน วรรณกรรมส่วนใหญ่ได้สะท้อนเรื่องราวในราชสํ านัก และสะท้อนให้เห็นถึงหลักคํ าสอนของพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมเหล่านี้ได้รับการสืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมาจนถึงสมัยรัชรัตนโกสิน

ข้อใดคือภูมิปัญญาด้านประณีตศิลป์ของอยุธยา

                                                                                  ประณีตศิลป์
ศิลปวัฒนธรรมสมัยอยุธยา
ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา แบ่งได้หลายประเภท โดยสรุปลักษณะที่สำคัญแต่ละประเภท ดังนี้
1. ศิลปกรรมสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ประณีตศิลป์
2. วรรณกรรม
3. ประเพณี
4. พระพุทธศาสนา
ประณีตศิลป์
งานประณีตศิลป์สมัยอยุธยาถือได้ว่ามีความเจริญถึงขีดสุดเหนือกว่าศิลปะแบบอื่นๆ งานประณีตศิลป์ที่เกิดขึ้นมีหลายประเภท เช่น
– เครื่องไม้จำหลัก
ได้แก่ ตู้พระธรรม ธรรมาสน์ พระพุทธรูป บานประตู หน้าต่าง หน้าบันพระอุโบสถ ตู้เก็บหนังสือ
– ลายรดน้ำ คือการนำทองมาปิดลงบนรักสีดำบนพื้นที่เขียนภาพหรือลวดลายแล้วรดน้ำล้างออก นิยมใช้ในบานประตูโบสถ์วิหาร ตู้พระธรรม ตู้ใส่หนังสือ เป็นต้น
– การประดับมุก
ได้มาจากจีน แต่ได้ปรับให้เป็นลวดลายอย่างไทย พบในบานประตูที่วิหารพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
– เครื่องเบญจรงค์ เป็นการออกแบบลวดลายบนเครื่องเคลือบถ้วยชามด้วยสี 5 สี คือ สีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ และสีน้ำเงิน ลวดลายที่ใช้มักเป็นลายก้นขด หรือลายก้านแย่ง หรือใช้รูปตกแต่ง เช่น เทพนมสิงห์ ลายกนก กินรี กินนร นรสิงห์ เป็นต้น
– เครื่องทองประดับ
มีทั้งเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ เครื่องทองประดับอัญมณี ทองกร เป็นต้น
– ลายปูนปั้น คือลวดลายที่ปั้นด้วยปูนเพื่อประดับตกแต่งตามส่วนต่างๆ ของหน้าบันประตู เจดีย์ และปรางค์ ได้รับอิทธิพลทั้งจากขอมและตะวันตก เช่น ที่วัดมหาธาตุ วัดราษฎร์บูรณะ วัดตะเว็ต วัดพระราม วัดภูเขาทอง เป็นต้น

ข้อใดคือภูมิปัญญาด้านประณีตศิลป์ของอยุธยา

 

 

ลักษณะสังคมสมัยอยุธยา
– – – ชนชั้นทางสังคม – – –

สามารถแบ่งตามยุคของแต่ละสมัยได้ดังนี้
สังคมในสมัยอยุธยาประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ ทาส และพระสงฆ์ โดยมีอำนาจและหน้าที่ที่แตกต่างกันไป แบ่งได้เป็น 2 ชนชั้นใหญ่ๆ คือ

1. ชนชั้นปกครอง
2. ชนชั้นใต้การปกครอง

– – -การศึกษา – – –

สามารถแบ่งได้ดังนี้
ในสมัยอยุธยา การศึกษาถูกจำกัดอยู่ในวงจำกัด ไม่ได้มีมากเหมือนในปัจจุบัน เป็นการศึกษาแบบไม่บังคับผู้สอนมักสงวนวิชาไว้แค่ในวงศ์ตระกูลของตนหรือ
คนเพียงวงแคบ ส่วนใหญ่จะจัดกันในสถานที่เหล่านี้ ได้แก่
1) วัด จะให้การศึกษากับบุตรหลานในเรื่องจริยธรรม พฤติกรรม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ขนบธรรมเนียม การอ่านและเขียนภาษาไทย การคำนวณ รวมไปถึงวิชาการพื้นฐานอื่นๆ เช่น วิชาเวทมนตร์คาถาอยู่ยงคงกระพัน หรือวิชาช่าง ทั้งช่างฝีมือและศิลปกรรมผู้ที่เรียนต้องบวชเรียนเป็นภิกษุหรือสามเณรเสียก่อน ส่วนใหญ่ผู้ที่เรียนจะเป็นบุตรหลานในครอบครัวของคนสามัญชน
2) บ้าน ส่วนใหญ่จะให้การศึกษาในวิชาชีพที่ครอบครัวมีอยู่ สำหรับเด็กชายจะเป็นงานที่เป็นอาชีพในบ้านอยู่แล้ว เช่น งานตีเหล็ก งานปั้น งานแกะสลัก งานช่าง หรือการรับราชการ เพื่อจะได้สืบทอดงานต่อไป ส่วนเด็กผู้หญิงก็จะเป็นงานบ้านงานเรือน เช่น การทำอาหาร เย็บปักถักร้อย เพื่อเป็นแม่บ้านต่อไป
3) วัง เป็นสถานศึกษาสำหรับคนชั้นสูง ผู้ที่เรียนมักเป็นเชื้อพระวงศ์ เจ้านายในพระราชวังเท่านั้น จะให้การศึกษาในเรื่องการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปวัฒนธรรม เพื่อไปใช้ในการปกครองในเวลาต่อไป ผู้สอนก็เป็นปราชญ์ทั้งหลายที่ประจำอยู่ในพระราชวัง ซึ่งมีความรู้อย่างมาก วังนับเป็นสถานศึกษาที่สำคัญที่สุด เพราะมีนักปราชญ์ราชบัณฑิตอยู่มากมาย
หลังจากที่มีชาวตะวันตกเข้ามาติดต่อกับไทย ก็ได้นำหมอสอนศาสนาหรือมิชชันนารีมาด้วย นอกจากจะเผยแผ่ศาสนาคริสต์ของชาวตะวันตกนั้นแล้ว ก็ได้ให้การศึกษากับชาวไทย โดยจัดตั้งโรงเรียนเพื่อให้วิชาการ วิทยาการต่างๆ แก่เด็กไทยได้มีความรู้ทัดเทียมกัน หรือบางครั้งก็มีการส่งนักเรียนไทยไปเรียนยังต่างประเทศ เพื่อนำความรู้กลับมาพัฒนาบ้านเมืองต่อไป

– – – กระบวนการยุติธรรม – – –

สามารถแบ่งได้ดังนี้
กฎหมายในสมัยอยุธยาที่ตราขึ้นมานั้นมีลักษณะเหมือนในปัจจุบัน เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่เป็นหลักฐานชัดเจนตราขึ้นมาเพื่อใช้บังคับคน
ในสังคมทุกคนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย

กฎหมายที่ตราขึ้นอาจแยกเป็นดังนี้
– คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ เป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้เป็นหลักสำหรับใช้พิจารณาคดีความ และตรากฎหมายย่อยขึ้นมารองรับ ไทยได้นำแบบอย่างมาจากกฎหมายของมอญ ซึ่งมอญก็นำมาจากอินเดียมา
– พระราชศาสตร์ เป็นกฎหมายย่อยที่ตราขึ้นมาใช้ โดยตราเป็นพระราชกำหนด พระราชบัญญัติ หรือบทพระอัยการ โดยอาศัยคัมภีร์พระราชศาสตร์เป็นหลัก และคำนึงถึงความเหมาะสมของเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนั้น
กฎหมายสำคัญๆ ที่มีการตราขึ้นใช้ เช่นกฎหมายลักษณะพยาน | กฎหมายลักษณะอาญา | กฎหมายลักษณะรับฟ้อง | กฎหมายลักษณะโจร | กฎหมายลักษณะลักพา | กฎหมายลักษณะผัวเมีย กฎหมายพิสูจน์การดำน้ำลุยเพลิง | กฎหมายลักษณะมรดก เป็นต้น

ศาล
หลังจากที่มีกฏหมายมาบังคับใช้แล้วหากผู้ไม่ปฏิบัติตามก็จะต้องถูกลงโทษ
ตามความผิดที่กระทำลงไป และมีศาลเป็นสถานที่ตัดสินคดีความต่างๆ ให้ลุล่วงไป ศาลถูกจัดให้สอดคล้องกับการปกครองแบบจตุสดมภ์ ทำให้มี 4 ศาล คือ ศาลกรมวัง ศาลกรมเมือง ศาลกรมนา และศาลกรมคลัง ซึ่งจะพิจารณาคดีเฉพาะที่เกี่ยวกับหน้าที่การทำงานของแต่ละกรมเท่านั้น
หลังจากที่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้นแล้ว ลูกขุน ณ ศาลหลวง จะเป็นผู้ตัดสินว่าคดีดังกล่าวสมควรจะรับฟ้องหรือไม่ ถ้ารับฟ้องก็จะส่งเรื่องไปให้ศาลกรมที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น ในการพิจารณาคดี มีการแบ่งให้บุคคล 2 คณะ คือ ตุลาการ จะเป็นผู้ดำเนินการสอบสวนจำเลยและโจทก์ ถ้าพยานหรือหลักฐานไม่เพียงพอก็เรียกพยานหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ ซึ่งบางครั้งถ้าจำเลยหาหลักฐานมาแก้ต่างให้กับตนไม่ได้แต่ไม่ยอมรับสารภาพ ก็จะมีการพิสูจน์โดยการดำน้ำลุยไฟ ถ้าผ่านไปได้ก็จะถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ทันที เมื่อดำเนินการเสร็จแล้วก็จะเสนอยังคณะลูกขุนให้ทำการตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นผู้แพ้หรือชนะคดี พร้อมด้วยเหตุผลประกอบ ซึ่งหากไม่พอใจในการตัดสินก็สามารถอุทธรณ์ต่อไปได้

ข้อใดคือภูมิปัญญาด้านประณีตศิลป์ของอยุธยา

แบ่งออกเป็น 5 ราชวงศ์ดังต่อไปนี้
1.- – ราชวงศ์อู่ทอง – –
2.- – ราชวงศ์สุพรรณภูมิ – –
3.- – ราชวงศ์สุโขทัย – –
4.- – ราชวงศ์ปราสาททอง – –
5.- – ราชวงศ์บ้านพลูหลวง – –

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...