มาตรฐานของสวิตช์ใบมีด ตาม มอก. 706 เป็นไปตามข้อใด

115

116

5.1 มาตรฐานเครอื่ งปอ้ งกันกระแสเกินและสวติ ช์ตัดตอน
5.2 การปอ้ งกันวงจรย่อยและสายป้อน
5.3 บรภิ ณั ฑป์ ระธานหรอื เมนสวิตช์สําหรบั ระบบแรงตาํ่
5.4 สรุปสาระสําคญั

บริภัณฑ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งหรือใช้ในการต่อเข้ากับการติดตั้งทางไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติ
เป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ฉบับล่าสุดหรือมาตรฐานท่ีการไฟฟ้าฯ ยอมรับ เช่น ฟิวส์
สวติ ชใ์ บมดี อุปกรณ์ตดั ตอนและเคร่ืองป้องกันกระแสเกนิ เซอรก์ ิตเบรกเกอร์ เซฟตสี วติ ช์ และเครอื่ งตัดไฟรัว่

วงจรย่อยเป็นส่วนสําคัญที่จะต้องพิจารณาตรวจสอบและกําหนดขนาดโหลดให้เหมาะสมเพ่ือนําไป
คํานวณและออกแบบขนาดตัวนํา กําหนดขนาดอุปกรณ์ป้องกันของวงจรย่อย ให้มีขนาดเหมาะสมและทํางาน
ได้อยา่ งถกู ต้องปลอดภัยกับผ้ใู ช้งาน

แสดงความรูเ้ กี่ยวกบั กฎและมาตรฐานทใ่ี ชง้ านในระบบป้องกนั ทางไฟฟ้า

1. อธบิ ายมาตรฐานของสวติ ชใ์ บมดี พรอ้ มยกตัวอย่างได้
2. จําแนกฟิวสต์ ามลักษณะการใช้งานพรอ้ มยกตัวอย่างได้
3. อธบิ ายพกิ ัดกระแสและประเภทของเซอรก์ ิตเบรกเกอร์ได้
4. อธบิ ายลกั ษณะการใชง้ านของเซฟตสี วิตช์ได้
5. บอกการแบง่ วงจรยอ่ ยตามมาตรฐาน วสท. ได้
6. อธิบายการปอ้ งกนั วงจรย่อยและสายปอ้ นได้
7. บอกลักษณะการปลดวงจรของเครือ่ งปลดวงจรของบริภณั ฑป์ ระธานได้
8. บอกขนาดเครอ่ื งป้องกันกระแสเกินตามขนาดเครือ่ งวัดหน่วยไฟฟา้ ได้

117

เนื้อหาสาระ

ในหน่วยน้ีจะศึกษาถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎและมาตรฐานทางไฟฟ้าท่ีเกี่ยวข้องกับมาตรฐาน
เครื่องป้องกันกระแสเกิน และเซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC 60898 ซ่ึงบริภัณฑ์ไฟฟ้าทุกชนิดท่ีใช้เป็น
ส่วนหนึ่งหรือใช้ในการต่อเข้ากับการติดตั้งทางไฟฟ้าต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรม (มอก.) ฉบบั ลา่ สุดหรอื มาตรฐานทก่ี ารไฟฟ้าฯ ยอมรับ

มาตรฐานเครื่องป้องกันกระแสเกินและสวิตช์ตัดตอนเก่ียวข้องกับมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้า สําหรับ
ประเทศไทย พ.ศ. 2556 (EIT Standard 2001–56) หรือมาตรฐาน วสท. ดังนี้

5.1.1 ตวั ฟวิ ส์และขั้วรับฟิวส์

ตวั ฟวิ ส์และข้วั รบั ฟิวสเ์ ป็นไปตาม มอก. 506–2527 และ มอก. 507–2527

5.1.2 สวิตชท์ ท่ี าํ งานดว้ ยมือ

สวิตชท์ ่ีทาํ งานด้วยมอื เป็นไปตาม มอก. 824–2531

5.1.3 สวิตช์ใบมีด

สวิตช์ใบมีดเป็นไปตาม มอก. 706–2530 ปัจจุบันใช้ มอก. 706–2553 น้ีแบ่งออกเป็น 2
ประเภท ดังรูปท่ี 5.1 คือ (1) สวิตช์สับทางเดียว พิกัดแรงดันไฟฟ้า 250 V พิกัดกระแสไฟฟ้า 15, 30, 60 และ
100 A มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีฟิวส์และชนิดไม่มีฟิวส์ (2) สวิตช์สับสองทาง พิกัดแรงดันไฟฟ้า 250 V พิกัด
กระแสไฟฟ้า 15, 30, 60 และ 100 A มี 1 ชนดิ คือ ชนดิ ไม่มฟี วิ ส์

ก) สวติ ช์สบั ทางเดยี ว ชนดิ มีฟวิ ส์ ข) สวติ ชส์ ับสองทาง

รูปท่ี 5.1 ตวั อยา่ งสวติ ช์ใบมดี

5.1.4 อปุ กรณต์ ดั ตอนและเครือ่ งปอ้ งกันกระแสเกิน

อุปกรณ์ตัดตอนและเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องมีคุณสมบัติตามมาตรฐานที่การไฟฟ้าฯ
ยอมรับ เชน่ UL, BS, DIN, JIS และ IEC

118

5.1.5 ฟวิ สแ์ ละขว้ั รับฟิวส์ (Fuse and Fuse Holder)

พิกัดกระแสของฟิวส์ต้องไม่สูงกว่าของข้ัวรับฟิวส์ ทําจากวัสดุที่เหมาะสม มีการป้องกันหรือ
หลีกเล่ียงการผุกร่อน (Corrosion) เนื่องจากการใช้โลหะต่างชนิดกันระหว่างฟิวส์กับข้ัวรับฟิวส์ และต้องมี
เครื่องหมายแสดงพิกัดแรงดัน และกระแสใหเ้ ห็นได้อยา่ งชัดเจน อธบิ ายดงั นี้

ฟิวส์ (Fuse) หมายถึง อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินซ่ึงมีส่วนที่เปิดวงจรหลอมละลายด้วยความ
ร้อนทีเ่ กดิ จากมีกระแสไหลผ่านเกนิ กาํ หนด ฟิวสแ์ บง่ ตามลกั ษณะการใชง้ านคือ ฟวิ ส์ทใี่ ชก้ ับแรงดันสงู และฟิวส์
ที่ใชก้ ับแรงดนั ต่ําคอื ใชก้ บั แรงดนั ไมเ่ กิน 1,000 โวลต์ ได้แก่ ฟวิ ส์เส้น ปลัก๊ ฟวิ สแ์ ละคารท์ รดิ จ์ฟิวส์

ฟิวส์เส้น (Open Link Fuse) เป็นส่วนผสมของดีบุกกับตะกั่ว มีจุดหลอมละลายตํ่า ดังรูปท่ี 5.2
โดยทั่วไปมี 2 แบบ คือ ฟิวส์เส้นกลม และฟิวส์เส้นแบน หรือเรียกว่า ฟิวส์ก้ามปู ตาม มอก. 10–2549 จะใช้
รว่ มกบั คตั เอาต์ (สวิตชใ์ บมีด) มขี นาดให้เลือกใช้ เช่น ฟวิ สเ์ ส้นกลมเบอร์ 16 มีจุดหลอมละลาย 16 A, เบอร์ 18
มีจุดหลอมละลาย 10 A เบอร์ 20 มีจุดหลอมละลาย 7 A และฟิวส์ก้ามปู มีขนาดกระแส 3, 5, 10, 15, 20,
30, 40, 50, 60, 75, 100 A เปน็ ตน้

ก) ฟิวสเ์ สน้ กลม ข) ฟิวสก์ า้ มปู

รปู ที่ 5.2 ฟวิ ส์

ปลกั๊ ฟิวส์ (Plug Fuse) เป็นฟวิ ส์ท่บี รรจุอยู่ในกระปกุ กระเบอ้ื งรปู ทรงกระบอกคล้ายขวด ภายใน
บรรจุทรายป้องกันการอาร์กของกระแส เวลาใช้งานจะใช้ร่วมกับฐานฟิวส์ ฐานฟิวส์มีขนาด 25, 63, 100 และ
200 A ส่วนปล๊ักฟิวส์มีขนาด 2, 4, 6, 10, 16, 20, 25, 35, 50 และ 63 A มีรุ่น E16, E27 และ E33 ตามฐาน
ฟิวส์ การเลือกใช้ปล๊ักฟิวส์ต้องมีขนาดกระแสน้อยกว่าขนาดฐานฟิวส์ ซ่ึงมีทั้งชนิดขาดเร็วใช้ตามบ้านพักอาศัย
ทั่วไป และชนิดหน่วงเวลาหรือชนิดขาดช้าใช้ในการป้องกันมอเตอร์ (ปลั๊กฟิวส์นี้ตามมาตรฐาน IEC จัดเป็นคาร์
ทรดิ จ์ฟิวส์ประเภท D) ตัวอยา่ งปลก๊ั ฟวิ ส์และอปุ กรณป์ ระกอบ ดังรปู ที่ 5.3

ก) ปลก๊ั ฟวิ ส์ ข) รปู รา่ งภายนอกของชุดอปุ กรณ์ประกอบปลัก๊ ฟวิ ส์
รูปท่ี 5.3 ปลั๊กฟวิ ส์

119

คาร์ทริดจ์ฟิวส์ (Cartridge Fuse) ส่วนใหญ่มีรูปร่างทรงกระบอกทําจากกระเบ้ืองเคลือบแก้ว มี
ฟิวส์จะบรรจุอยู่ข้างใน มีหลายประเภทตามมาตรฐานต่าง ๆ ที่รับรอง ดังรูปที่ 5.4 เช่น คาร์ทริดจ์ฟิวส์ตาม
มาตรฐาน UL พิกัดกระแส 5–600 A แรงดัน 250 V, 600 V เมื่อฟิวส์ขาดสามารถเปล่ียนไส้ใหม่ได้ และมีฟิวส์
จาํ กัดกระแสสามารถหน่วงเวลากําจัดกระแสได้ คาร์ทริดจ์ฟิวส์ตามมาตรฐาน IEC 269 จะเป็นประเภท D และ
DO เป็นฟวิ ส์จาํ กดั กระแส ขนาดกระแสไม่เกนิ 200 A แรงดันไฟฟา้ 500 V เป็นฟิวส์ที่ออกแบบไว้ให้ใช้กับ ตัว
ฟิวสต์ ามขนาดที่กําหนด

รูปท่ี 5.4 คาร์ทรดิ จฟ์ วิ ส์

5.1.6 เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)

1. มาตรฐานและคณุ สมบตั ขิ องเซอร์กิตเบรกเกอร์
(1) ต้องเป็นแบบปลดได้โดยอิสระ (Trip Free) และต้องปลดสับได้ด้วยมือ ถึงแม้ว่าปกติการ

ปลดสบั จะทําไดโ้ ดยวธิ อี น่ื ก็ตาม และตอ้ งมีเคร่ืองหมายแสดงอย่างชดั เจนว่าอยใู่ นตาํ แหน่งสบั หรอื ปลด

รปู ท่ี 5.5 เซอรก์ ิตเบรกเกอรต์ อ้ งปลดไดอ้ สิ ระ ปลดสับไดด้ ้วยมือและมีเคร่ืองหมายแสดงตาํ แหน่งสับ–ปลด

(2) ถ้าเป็นแบบปรับต้ังได้ต้องเป็นแบบการปรับตั้งค่ากระแสหรือเวลา โดยในขณะใช้งาน
กระทาํ ได้เฉพาะผ้ทู ่มี ีหนา้ ทเ่ี กี่ยวข้อง

(3) ต้องมีเครื่องหมายแสดงพิกัดของแรงดัน กระแส และความสามารถในการตัดกระแสท่ี
เห็นได้ชดั เจนและถาวร หลังจากติดต้งั แล้ว หรอื เห็นได้เมอื่ เปิดแผน่ กัน้ หรอื ฝาครอบ ดังรปู ที่ 5.6

120

รูปที่ 5.6 มีเครื่องหมายแสดงพกิ ัดแรงดนั กระแส และเหน็ ได้ชดั เจนหลงั ติดตงั้

(4) เซอร์กติ เบรกเกอร์สําหรบั ระบบแรงตํ่าใหเ้ ป็นไปตามมาตรฐาน ดังนี้
(ก)เซอร์กิตเบรกเกอร์ท่ีใช้ในสถานท่ีอยู่อาศัยหรือสถานที่คล้ายคลึงกัน ขนาดไม่เกิน

125 แอมแปร์ ใหเ้ ป็นไปตาม IEC 60898 กรณพี ิกดั เกนิ 125 แอมแปร์ ใหเ้ ปน็ ไปตาม IEC 60947–2
(ข)เซอร์กิตเบรกเกอร์ท่ีใช้ในสถานท่ีอ่ืน ๆ ให้เป็นไปตาม IEC 60947–2 หรือ IEC

60898
2. เซอร์กิตเบรกเกอร์ตามมาตรฐาน IEC
(1) พิกัดทีส่ ําคัญของเซอร์กติ เบรกเกอร์ มีดงั ต่อไปนี้
(ก) พิกัดกระแสต่อเนื่อง คือ ค่ากระแสอาร์เอ็มเอสท่ีเซอร์กิตเบรกเกอร์สามารถทนได้

โดยท่ีอณุ หภมู ิไม่เพม่ิ เกินค่าที่กําหนดใหข้ องอณุ หภมู ิโดยรอบ (Ambient Temperature) ค่าหนึง่ คอื
1) กระแสโครง (Ampere Frame: AF) คอื ขนาดพิกัดกระแสสูงสุดท่ีสามารถใช้ได้

กับขนาดโครงของเซอรก์ ติ เบรกเกอร์
2) กระแสตัด (Ampere Trip: AT) คือ ขนาดพิกัดกระแสที่ปรับต้ังให้เซอร์กิต

เบรก–เกอร์ใช้งานค่า AT ส่วนใหญ่แสดงไว้ท่ีแผ่นป้ายช่ือ (Name plate) หรือคันโยกของเซอร์กิตเบรกเกอร์
เช่น ได้กําหนด AT ไว้ดังนี้คือ 15, 20, 25, 30, 35, 40, 50, 60, 70, 80, 90, 100, 110, 125, 150, 175,
200, 225, 250, 350, 400, 450, 500, 600, 700, 800, 1,000, 1,200, 1,600, 2,000, 2,500, 3,000, 4,000,
5,000 และ 6,000 A ได้กําหนด AF ไว้ดังนี้ คือ 63, 100, 125, 160, 200, 250, 315, 400, 500, 630, 800,
1,000, 1,250, 1,600, 2,000, 2,500, 3,200, 4,000, 5,000, 6,300 และผู้ผลิตอาจจะผลิตเซอร์กิตเบรกเกอร์
ที่ค่า AF ค่าหน่ึงแล้วจัด AT ไว้หลาย ๆ เท่าเช่นที่ AF = 250 A; AT = 100, 125, 150, 175, 200, 225 และ
250 A เปน็ ตน้

(ข) พิกัดการตัดกระแสลัดวงจร (Interrupting Capacity: IC) คือ กระแสลัดวงจร
สงู สดุ ที่ เซอร์กติ เบรกเกอร์สามารถตัดได้โดยที่ตวั มันไม่ได้รับความเสยี หาย ค่า IC ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ได้จาก
การทดสอบและข้ึนกับตัวแปรหลายตัวเช่น แรงดันไฟฟ้า ตัวประกอบกําลัง เป็นต้น ดังนั้นเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่
สามารถใช้ได้กับหลายแรงดันไฟฟ้า จะต้องมีค่า IC ที่แต่ละแรงดันไฟฟ้าด้วย เช่น ขนาด 1.5, 3.0, 4.5, 6.0,
10.0, 20.0, 25.0 kA เปน็ ตน้

121

(2) ประเภทของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ในระบบไฟฟ้าแรงดันตํ่า (น้อยกว่า 1,000 โวลต์) แบ่ง
ตามลกั ษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

(ก) เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบห่อหุ้มปิดมิด (Molded Case Circuit Breaker: MCCB)
เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ท่ีห่อหุ้มปิดมิดชิดอยู่ภายในวัสดุฉนวน โครงส่วนมากทําด้วยสารประเภทพลาสติกแข็ง
จะป้องกันการอาร์กได้ดี MCCB มีขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ใช้สําหรับป้องกันระบบไฟฟ้าตั้งแต่วงจรย่อย
สายป้อนถึงสายประธานและเคร่ืองใช้ไฟฟ้าเฉพาะด้วย MCCB ที่ใช้งานกันอยู่ปัจจุบันถ้ามีขนาดเล็ก เรียกว่า
เซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาดเล็ก (Miniature Circuit Breaker: MCB) นิยมใช้สําหรับติดตั้งในแผงย่อย
(Panelboard) เช่น ศูนย์กลางโหลด (Load Center) และคอนซูเมอร์ยูนิต (Consumer Unit) MCCB มีท้ัง 1,
2 หรือ 3 ขั้ว มี AF ที่ 50–63 AF มี IC ตั้งแต่ 3–10 kA ตัวอยา่ ง MCCB ทั่วไป ดังรปู ท่ี 5.7

CB ชนิด 2 ข้วั (Pole) ใช้กบั ระบบไฟฟา้ 1 เฟส CB ชนดิ 3 ข้วั (Pole) ใชก้ ับระบบไฟฟา้ 3 เฟส

ก) ตวั อย่างเซอรก์ ติ เบรกเกอร์ (MCCB) ท่ีใช้เปน็ เมนเซอรก์ ติ เบรกเกอร์

ข) ตวั อยา่ งเซอร์กติ เบรกเกอรช์ นดิ 1 ขั้ว (MCB) ท่ใี ช้เป็นเซอรก์ ิตเบรกเกอรย์ อ่ ยของวงจรยอ่ ย
รปู ที่ 5.7 ตวั อยา่ งเซอร์กิตเบรกเกอร์

(ข) เซอร์กิตเบรกเกอรแ์ บบอากาศ (Air Circuit Breaker: ACB) เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์
ท่ีใช้สําหรับระบบแรงดันไฟฟ้าต่ํากว่า 1,000 โวลต์ สามารถดับอาร์กในอากาศ มีขนาดใหญ่ มีพิกัดกระแส
ต่อเน่ืองสูงตั้งแต่ 225–6,300 A และมีค่า IC ตั้งแต่ 35–150 kA เป็นแบบเปิดโล่ง (Open Frame) และส่วน
ใหญ่จะใชว้ งจรอิเลก็ ทรอนิกสว์ ิเคราะหค์ า่ กระแสเพ่อื สั่งปลดวงจร ACB มี 2 ชนิด คือแบบตดิ ตงั้ อยู่กบั ท่ี (Fixed
Type) จะติดตั้งกับวงจรประธาน (Main Circuit) ยึดแน่นแข็งแรง การซ่อมบํารุงจะต้องตัดไฟฟ้า และใช้เวลา
มาก และแบบดึงออกได้ (Drawout Type) จะติดตั้งบนโครงล้อเลื่อนแบบพิเศษ การซ่อมบํารุงทําได้สะดวก
รวดเร็ว ตวั อย่าง ACB ดังรปู ที่ 5.8

122

รูปที่ 5.8 ตัวอยา่ ง ACB

(3) ส่วนประกอบของเซอร์กิตเบรกเกอร์ท่ีทําหน้าท่ีตัดวงจร หรือหน่วยการตัด (Tripping
Unit) ซ่ึงจะเป็นส่วนให้สัญญาณเซอร์กิตเบรกเกอร์ตัดวงจรออกเมื่อเกิดความผิดปกติข้ึนในระบบไฟฟ้ามี 2
แบบ คอื

(ก) แบบความร้อน–แม่เหล็ก (Thermal–Magnetic Breaker) เป็นอุปกรณ์ตัดวงจร 2
สว่ น คือ ส่วนความร้อนและส่วนแม่เหล็กเม่ือเกิดกระแสเกินมีค่าประมาณ 125% ของกระแสพิกัดจะใช้โลหะคู่
(Bimetal) เป็นตัวตัด (Trip) หรือทริพ แต่ถ้าเกิดกระแสเกินมีค่ามากประมาณ 8–10 เท่าของกระแสพิกัดจะใช้
แม่เหล็กไฟฟ้าเปน็ ตวั ตดั ถ้าเซอรก์ ติ เบรกเกอร์ทริพสามารถปลดล็อกได้ อุปกรณ์ตัดวงจร 2 ส่วน มีดังน้ี

1) อุปกรณ์ตัดวงจรโดยแผ่นโลหะคู่ (Bimetal overload trip) อุปกรณ์แบบนี้การ
ตัดวงจรข้ึนอยู่กับความร้อนที่เปลี่ยนแปลงบนแผ่นโลหะคู่ โดยอาศัยหลักการกระแสไฟฟ้าเกินพิกัดไหลผ่าน
แผ่นโลหะคู่ จะเกิดความร้อนขึ้น เน่ืองจากโลหะทั้ง 2 ชนิดมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวเม่ือถูกความร้อนไม่
เท่ากัน จงึ ทําใหเ้ กดิ การโค้งงอดนั สว่ นทล่ี อ็ กเพอื่ ปลดระบบกลไก (Tripping Mechanism) ออก ดังรูปที่ 5.9

รปู ท่ี 5.9 การทาํ งานของแผ่นโลหะคู่

123

2) อุปกรณ์ตัดวงจรโดยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic short–circuit
trip) ดังรูปท่ี 5.10 เม่ือกระแสเกินพิกัดไหลผ่านขดลวดจะเกิดแรงดึงดูดข้ึนโดยขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าดูด
หน้าสมั ผสั เคลอ่ื นทใี่ หจ้ ากออก ซึ่งขดลวดแม่เหลก็ ไฟฟ้าและแผน่ โลหะคจู่ ะทํางานแยกอิสระตอ่ กนั

รปู ท่ี 5.10 ตัวอย่างกลไกภายในของเซอรก์ ิตเบรกเกอรแ์ บบความรอ้ น–แม่เหลก็

(ข) แบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Trip หรือ Solid State Trip) จะใช้วงจรอิเล็กทรอ–
นิกส์เข้ามาช่วยในการคํานวณค่ากระแสที่ปลดวงจรโดยจะใช้หม้อแปลงกระแส (Current Transformer: CT)
และวงจรอิเล็กทรอนิกส์เปรียบเทียบค่ากระแสในวงจรกับค่าท่ีต้ังไว้ เมื่อกระแสในวงจรมีค่าสูงกว่าค่าที่ตั้งไว้ก็
จะตัดวงจรทนั ที จะมคี วามแม่นยําสูงและเลือกใช้งานได้หลากหลายรูปแบบเช่นการปรับตั้งเวลา ส่วนมากจะใช้
อุปกรณ์ตัดวงจรนี้ในเครื่องตัดกระแสไฟฟ้าร่ัวและเซอร์กิตเบรกเกอร์ป้องกันกระแสรั่ว ดังรูปที่ 5.11 ติดต้ังในตู้
คอนซูเมอร์ยูนิต หรือตู้โหลดเซนเตอร์ แทนเซอร์กิตเบรกเกอร์ป้องกันกระแสเกินทั่วไป เพ่ือตัดไฟเฉพาะวงจร
ย่อยท่เี กิดกระแสไฟฟ้าร่ัวลงดิน เช่น เคร่อื งทาํ นา้ํ อนุ่ ในหอ้ งนาํ้ เปน็ ตน้ จะตัดวงจรแบบขวั้ เดยี ว (เฉพาะสายเส้น
ไฟ) โดยแต่ละตัวถกู กําหนดระดบั การตรวจจบั กระแสไฟฟา้ รว่ั ไหลทีค่ งที่ เชน่ 5, 10 หรือ 30 mA เป็นตน้

ก) แบบตรวจจบั กระแสไฟฟ้ารว่ั ไหล 5 mA ข) แบบตรวจจับกระแสไฟฟา้ ร่ัวไหล 10 mA
รปู ท่ี 5.11 ตัวอยา่ งเซอรก์ ติ เบรกเกอร์ปอ้ งกันกระแสรว่ั และการนําไปใช้ตดิ ต้ัง

124

ค) การนําไปใชต้ ิดต้งั ในตูค้ อนซเู มอรย์ ูนติ
รูปที่ 5.11 ตวั อยา่ งเซอร์กติ เบรกเกอรป์ อ้ งกันกระแสรัว่ และการนําไปใช้ตดิ ตง้ั (ต่อ)

ขนาดของเซอรก์ ติ เบรกเกอร์ทม่ี ใี หเ้ ลือกใช้ เป็นตัวอย่างในแคตตาล็อก ดงั รูปที่ 5.12

Amp. Catalog Number Unit Price Catalog Number Unit Price

(แอมแปร) รนุ 1 โพล (1 Pole) ราคา/หนว ย (บาท) รนุ 3 โพล (3 Pole) ราคา/หนว ย (บาท)
QO110 VSC 6T QO310 VSC 6T
10 QO116 VSC 6T ขนาด 6kA QO316 VSC 6T ขนาด 6kA
16
20 QO120 VSC 6T QO320 VSC 6T ขนาด 6kA
25 QO125 VSC 6T QO325 VSC 6T ขนาด 10kA
32 QO132 VSC 6T QO332 VSC 6T
40 QO140 VSC 6T ขนาด 6kA QO340 VSC 6T ขนาด 10kA
50 QO150 VSC 6T QO350 VSC 6T
63 QO163 VSC 6T QO363 VSC 6T
10 QO110 VSC 10T QO310 VSC 10T
16 QO116 VSC 10T ขนาด 10kA QO316 VSC 10T
20
25 QO120 VSC 10T QO320 VSC 10T
32 QO125 VSC 10T QO325 VSC 10T
40 QO132 VSC 10T QO332 VSC 10T
50 QO140 VSC 10T ขนาด 10kA QO340 VSC 10T
63 QO150 VSC 10T QO350 VSC 10T
QO163 VSC 10T QO363 VSC 10T

รปู ท่ี 5.12 ตัวอยา่ งแคตตาล็อกเซอรก์ ิตเบรกเกอร์
(ทม่ี า: แคตตาล็อกเซอรก์ ติ เบรกเกอร.์ 2557: ออนไลน)์

125

รูปท่ี 5.12 ตวั อยา่ งแคตตาล็อกเซอรก์ ิตเบรกเกอร์ (ต่อ)

5.1.7 เซฟตสี วิตช์ (Safety Switch)

เซฟตีสวิตช์หรือสวิตช์นิรภัย ต้องปลดหรือสับวงจรได้พร้อมกันทุก ๆ ตัวนําเส้นไฟ และต้อง
ประกอบด้วยฟิวส์ตามข้อ 5.1.5 รวมอยู่ในกล่องเดียวกันและจะเปิดฝาได้ต่อเม่ือได้ปลดวงจรแล้ว หรือการเปิด
ฝานัน้ เปน็ ผลให้วงจรถกู ปลดด้วย และตอ้ งสามารถปลดและสบั กระแสใช้งานในสภาพปกติได้

เซฟตีสวิตช์เป็นอุปกรณ์ป้องกันและควบคุมวงจรไฟฟ้าอีกชนิดหน่ึง จะมีทั้งแบบที่มีฟิวส์ในตัว
และแบบไม่มีฟิวส์ ดังรูปที่ 5.13 ถ้าเป็นแบบมีฟิวส์ใช้ร่วมกับคาร์ทริดจ์ฟิวส์ทั้งแบบปลอกหุ้มขั้วและแบบใบมีด
มีฐานยึดฟิวส์ที่มีขนาดแปรตามพิกัดของกระแสและแรงดันไฟฟ้าที่จะใช้ร่วมกัน ซึ่งฟิวส์ขนาดเล็กส่วนใหญ่จะ
เป็นแบบปลอก ส่วนแบบใบมีดจะเป็นฟิวส์ขนาดใหญ่ ถ้าเป็นแบบใช้งานหนักนาน ๆ เช่น ในโรงงาน มีขนาด
30–400 A แรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 600 V แบบใช้งานธรรมดา เช่น ใช้กับวงจรมอเตอร์ มีขนาด 30–200 A
แรงดันไมเ่ กิน 240 V เป็นตน้

ก) เซฟตีสวติ ช์แบบมฟี ิวส์ ข) เซฟตสี วติ ช์แบบไม่มีฟวิ ส์

รปู ที่ 5.13 ตวั อยา่ งเซฟตสี วิตช์

126

5.1.8 เครื่องตัดไฟร่ัว (Residual Current Device หรือ RCD) เครื่องตัดไฟรั่วท่ีใช้ลด

อันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูดสําหรับแรงดันไม่เกิน 440 โวลต์ สําหรับบ้านอยู่อาศัยหรือสถานท่ีคล้ายคลึงกัน
ตอ้ งมีคณุ สมบตั ิตามมาตรฐาน IEC 60755, IEC 61008, IEC 61009, IEC 61543 มีรายละเอยี ด ดังน้ี

1. เครื่องตัดไฟรั่วควรมีค่ากระแสร่ัวที่กําหนด (Rated Residual Operating Current, IΔn) ไม่
เกิน 30 มิลลิแอมแปร์ และช่วงระยะเวลาในการตัด (Break time หรือ Operating Time) ไม่เกิน 0.04 วินาที
เมื่อกระแสร่ัวมี 5 IΔn (อาจใชค้ ่า 0.25 แอมแปร์ แทนค่า 5 IΔn กไ็ ด)้ และไม่ทาํ งานเม่ือกระแสรว่ั มคี า่ 0.5 IΔn

2. เครื่องตัดไฟรั่วต้องเป็นชนิดที่ปลดสายไฟเส้นที่มีไฟทุกเส้นออกจากวงจรรวมทั้งสายนิวทรัล
(Neutral) ยกเวน้ ว่าสายนวิ ทรัลนัน้ จะแน่ใจได้วา่ ปลอดภยั และมีแรงดันเท่ากบั ดนิ

3. หา้ มต่อวงจรลดั ครอ่ มผ่าน (By pass) อปุ กรณ์ตัดตอนและเคร่อื งป้องกันกระแสเกิน ตัวอย่าง
เครอื่ งตดั ไฟรว่ั ดงั รปู ท่ี 5.8

รูปที่ 5.14 ตัวอยา่ งเครอ่ื งตดั ไฟรวั่

เครื่องตัดไฟร่ัวปัจจุบันมีหลายผู้ผลิต อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น เคร่ืองตัดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน
อัตโนมัติ เคร่ืองตัดวงจรไฟฟ้าเม่ือกระแสร่ัวลงดิน เคร่ืองตัดวงจรกระแสเหลือ Ground Fault Circuit
Interrupter (GFCI) และ Earth Leakage Circuit Breaker (ELCB) เปน็ ต้น

ในระบบไฟฟ้า วงจรย่อยเป็นส่วนสําคัญท่ีจะต้องพิจารณาตรวจสอบและกําหนดขนาดโหลดให้เหมาะ–
สมเพือ่ นาํ ไปคํานวณและออกแบบขนาดตัวนํา กําหนดขนาดอุปกรณ์ป้องกันของวงจรย่อย ให้มีขนาดเหมาะสม
และทํางานได้อย่างถูกต้องปลอดภัยกับผู้ใช้งาน วงจรย่อยที่กล่าวถึงต่อไปนี้ใช้กับวงจรย่อยสําหรับไฟฟ้าแสง
สว่างหรือเครื่องใชไ้ ฟฟ้า หรือท้งั ไฟฟ้าแสงสว่างและเครอ่ื งใชไ้ ฟฟ้ารวมกนั ยกเวน้ วงจรยอ่ ยสาํ หรบั มอเตอร์

5.2.1 วงจรยอ่ ย

ตามมาตรฐาน วสท. นั้น วงจรย่อย (Branch Circuit) หมายถึง ตัวนําวงจรในวงจรระหว่าง
อุปกรณ์ปอ้ งกันกระแสเกนิ จุดสุดทา้ ยกับจดุ จา่ ยไฟ แบ่งออกได้เปน็

127

วงจรย่อยสําหรับเคร่ืองใช้ไฟฟ้า (Branch Circuit, Appliance) หมายถึง วงจรย่อยที่จ่ายไฟฟ้า
ให้จุดจา่ ยไฟท่มี เี ครื่องใชไ้ ฟฟ้ามาต่อมากกวา่ 1 จดุ ขึ้นไป เชน่ วงจรทไี่ มม่ กี ารต่อสายจากดวงโคม

วงจรย่อยสําหรับจุดประสงค์ทั่วไป (Branch Circuit, General Purpose) หมายถึง วงจรย่อยที่
จา่ ยไฟฟ้าใหก้ บั จดุ จ่ายไฟเพอ่ื ใช้สาํ หรบั แสงสว่างและเครื่องใชไ้ ฟฟา้

วงจรย่อยเฉพาะ (Branch Circuit, Individual) หมายถึง วงจรย่อยที่จ่ายไฟฟ้าให้บริภัณฑ์ใช้
สอยหนงึ่ ช้นิ เท่าน้นั

1. ขนาดพิกัดวงจรย่อย ให้เรียกตามขนาดพิกัดของเคร่ืองป้องกันกระแสเกินที่ใช้ตัดกระแส
สาํ หรบั วงจรน้ัน ๆ วงจรยอ่ ยซึ่งมจี ุดจ่ายไฟตั้งแต่ 2 จุดข้นึ ไปต้องมขี นาดไม่เกนิ 50 แอมแปร์ ยกเว้น อนุญาตให้
วงจรย่อยซ่ึงมีจุดจ่ายไฟตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปท่ีไม่ใช่โหลดแสงสว่างมีพิกัดเกิน 50 แอมแปร์ ได้เฉพาะในโรงงาน
อุตสาหกรรมทม่ี ีบคุ คลท่ีมีคณุ สมบัติคอยดูแลและบาํ รุงรักษา อธิบายวงจรยอ่ ยดังรปู ที่ 5.9

NL

สายประธาน ต่อจากกโิ ลวัตต์ฮาวร์มิเตอร์

คอนซเู มอรย์ ูนิต

สายต่อ ON ON เครอ่ื งใช้ไฟฟา้
หลักดิน OFF OFF

วงจรย่อย

หลักดนิ

นวิ ทรลั บาร์ สายนิวทรลั

เมนเบรกเกอร์ 2 โพล สายเสน้ ไฟ สายดนิ
เตา้ รับมีข้วั ดนิ
บัสบาร์
เบรกเกอร์ยอ่ ย 1 โพล
กราวดบ์ าร์

รปู ที่ 5.15 อุปกรณ์ปอ้ งกนั วงจรยอ่ ยและวงจรย่อย

128

2. ขนาดตัวนําของวงจรยอ่ ยตอ้ งมขี นาดกระแสไมน่ อ้ ยกวา่ โหลดสูงสุดทคี่ ํานวณได้ และต้องไม่
น้อยกว่าพิกัดของเคร่ืองป้องกันกระแสเกินของวงจรย่อย และกําหนดให้ขนาดตัวนําของวงจรย่อยต้องมีขนาด
ไมเ่ ลก็ กวา่ 2.5 ตร.มม.

3. การป้องกันกระแสเกินสําหรับอาคารที่มีความสูงเกิน 1 ชั้น ต้องแยกวงจรย่อยอย่างน้อย
ชนั้ ละ 1 วงจร มีข้อแนะนําคือ สําหรับวงจรย่อยชั้นล่างควรแบ่งวงจรอย่างน้อยออกเป็น ไฟฟ้าแสงสว่างภายใน
อาคาร เต้ารับภายในอาคารและภายนอกอาคาร ซึ่งวงจรย่อยต้องมีการป้องกันกระเกิน โดยขนาดพิกัดเครื่อง
ป้องกนั กระแสเกนิ ต้องสอดคลอ้ งและไม่ต่ํากวา่ โหลดสงู สดุ ทค่ี าํ นวณได้

3. โหลดสาํ หรับวงจรยอ่ ย ซึง่ มีจดุ ต่อไฟฟา้ ต้งั แต่ 2 จดุ ขนึ้ ไป ลกั ษณะของโหลดต้องเป็นไปตาม
ขอ้ กาํ หนดดงั น้ี

(1) วงจรย่อยขนาดไม่เกิน 20 แอมแปร์ โหลดของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งถาวรหรือที่ใช้
เต้าเสียบแต่ละเคร่ืองจะต้องไม่เกินขนาดพิกัดวงจรย่อย กรณีมีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เต้าเสียบรวมอยู่กับโหลดท่ี
ติดตงั้ ถาวรรวมกันแล้วตอ้ งไม่เกนิ รอ้ ยละ 50 ของขนาดพกิ ดั วงจรย่อย

(2) วงจรย่อยขนาด 25 ถึง 32 แอมแปร์ ให้ใช้กับดวงโคมไฟฟ้าท่ีติดตั้งถาวรขนาดดวงโคม
ละไม่ต่าํ กว่า 250 วตั ต์ หรอื ใชก้ บั เครอ่ื งใช้ไฟฟา้ ซงึ่ ไมใ่ ชด่ วงโคม ขนาดของเครื่องใช้ไฟฟา้ ชนิดใช้เต้าเสียบแต่ละ
เครื่องจะต้องมีขนาดไม่เกนิ ขนาดพิกัดวงจรยอ่ ย

(3) วงจรยอ่ ยขนาดเกนิ กว่า 50 แอมแปร์ ให้ใชก้ ับโหลดที่ไมใ่ ชแ่ สงสวา่ งเทา่ น้ัน
4. การคาํ นวณโหลดสาํ หรบั วงจรย่อย ตอ้ งคาํ นวณตามทีก่ ําหนดตอ่ ไปนี้

(1) วงจรย่อยต้องมขี นาดไม่นอ้ ยกว่าผลรวมของโหลดทั้งหมดทต่ี อ่ อยู่ในวงจรนนั้
(2) โหลดของแสงสว่างและโหลดของเคร่ืองใช้ไฟฟ้าอ่ืนที่ทราบแน่นอนให้คํานวณตามท่ี
ติดตง้ั จรงิ
(3) โหลดของเต้ารับใช้งานท่ัวไป ให้คํานวณโหลดจุดละ 180 โวลต์แอมแปร์ ทั้งชนิดเต้า
เดีย่ ว (Single) เต้าคู่ (Duplex) และชนิดสามเต้า (Triplex) กรณีติดต้ังชนิดต้ังแต่ 4 เต้า ให้คํานวณโหลดจุดละ
360 โวลต์แอมแปร์
(4) โหลดของเต้ารับอนื่ ท่ไี ม่ได้ใช้งานทั่วไป ให้คาํ นวณโหลดตามขนาดของเครื่องใชไ้ ฟฟ้านั้น

การคํานวณโหลดสาํ หรบั วงจรยอ่ ย
การเลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์และสายไฟฟ้าในวงจรย่อย ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการติดตั้ง
ทางไฟฟ้า สําหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556 หรือมาตรฐานอ่ืนที่การไฟฟ้าฯ ยอมรับ โดยทั่วไปแล้วอุปกรณ์
ป้องกันกระแสเกินขนาดเล็ก จะไม่ระบุความสามารถในการตัดกระแสที่ 100% แต่ในการใช้งานจริงให้คํานวณ
การตัดวงจรท่ีพิกัดประมาณ 80% เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ 100 A จะสามารถตัดกระแสที่พิกัดประมาณ 80 A

129

เปน็ ตน้ ดังนั้นผูอ้ อกแบบทวั่ ไปจะใชต้ วั เลข 1.25 เท่าของกระแสโหลดท่คี าํ นวณได้ (1.25 มาจาก 100/80) และ

เพือ่ เป็นพ้ืนฐานและแนวทางการคํานวณโหลด ดงั น้ี

ขั้นตอนการหาขนาดของสายไฟฟา้ และเซอรก์ ิตเบรกเกอร์ (โหลดทว่ั ไป)

1. คํานวณกระแสออกแบบ (Design Current: Ib) หรือกระแสโหลด (IL)

2. กาํ หนดขนาดอุปกรณป์ ้องกันกระแสเกนิ (In)

3. เลอื กวิธีการเดนิ สาย (ได้กลมุ่ )

4. เลอื กชนิดของสายไฟฟ้า

5. กาํ หนดตัวคูณปรับคา่ (Ca, Cg)

6. หาขนาดกระแสของสายไฟฟ้า (It)

It = Ca In Cg

×

เมือ่ Ca คือ ตวั คูณปรบั ค่าตามอณุ หภูมิโดยรอบ (Ambient Temperature)

Cg คือ ตัวคูณปรบั ค่าตามจํานวนกลุม่ วงจร ดงั ตาราง

ตวั คณู ปรบั ค่าขนาดกระแสเนอ่ื งจากจาํ นวนสายท่นี ํากระแสในชอ่ งเดนิ สายไฟฟา้ เดียวกนั มากกวา่ 1 กลุ่มวงจร

จาํ นวนกลุ่มวงจร ตัวคณู ปรับค่า
2 0.80
3 0.70
4 0.65
5 0.60
6 0.57
7 0.54
8 0.52
9 0.50
0.45
10–12 0.41
13–16 0.38
17–20

7. เลือกขนาดสายไฟฟ้าจากตารางที่เลือก (เอกสารประกอบการสัมมนา สายไฟฟ้าตาม
มอก. ใหม่ 11–2553 และวิธีการเลือกขนาดสาย. 2556: 44)

130

ตัวอย่างท่ี 5.1 ต้องการติดตั้งเครื่องทําน้ําอุ่น ขนาด 3,500 W 220 V เดินในท่อร้อยสายเกาะผนัง
อณุ หภูมโิ ดยรอบ 40oC ใช้สาย IEC 01 ควรเลอื กวงจรย่อยขนาดเทา่ ไร

วธิ ที ํา ขน้ั ตอนที่ 1: คํานวณกระแสโหลด (IL)
จากสูตร P = E × I × cos θ มหี น่วยเปน็ วตั ต์ (W)

S = E × I มหี น่วยเป็น โวลต์แอมแปร์ (VA)

เครือ่ งทาํ นํ้าอนุ่ มีค่า cos θ = 1 ดังนน้ั S = P

I = S = 3500 = 15.9 A
E 220
ดังนัน้ IL = I = 15.9 A

ขั้นตอนท่ี 2: กาํ หนดขนาดอปุ กรณ์ปอ้ งกันกระแสเกิน (In)

ขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ = 1.25 เทา่ ของกระแสโหลด

= 1.25×15.9 = 19.87 A

เลือกเซอรก์ ติ เบรกเกอร์ (CB) ให้ In > IL ไดข้ นาดพกิ ดั 25 A (ดขู นาดพกิ ัดกระแส
จากรูปที่ 5.12) ดังน้นั In = 25 A
ขนั้ ตอนท่ี 3: เลือกวธิ ีการเดินสาย (ได้กลุ่ม)

ติดตัง้ ในท่อรอ้ ยสาย ลักษณะการติดต้ังกล่มุ ที่ 2 เลอื กตารางที่ 2.5

จํานวน 2 ตวั นํากระแส แกนเดยี ว

ขัน้ ตอนที่ 4: เลอื กชนิดของสายไฟฟา้ (ตามรหสั ชนิดเคเบิลท่ใี ชง้ าน)
เลอื กสาย IEC 01 ฉนวน PVC อุณหภมู ิตวั นาํ 70oC เป็นสายแกนเดยี ว

ขน้ั ตอนท่ี 5: กําหนดตัวคูณปรับค่า
จากตารางที่ 2.8 อุณหภูมโิ ดยรอบ 40oC ฉนวน PVC ได้ Ca = 1.00 และ Cg =

1.00 หรอื ไมใ่ ช้ตวั คูณปรับคา่ กระแส Cg เนื่องจากเดินในช่องเดินสายไมเ่ กนิ 1 กลมุ่

ขั้นตอนที่ 6: หาขนาดกระแสของสายไฟฟ้า (It)

It = Ca In Cg = 25 = 25 A
1.00 × 1.00
×

ข้นั ตอนท่ี 7: เลอื กขนาดสายไฟฟ้าจากตารางที่เลือก (ตารางท่ี 2.5)

จากตารางท่ี 2.5 สาย IEC 01 เดินในท่อร้อยสาย ไดส้ ายขนาด 2×4 ตร.มม. (28 A)

ดงั นั้น ควรเลอื กวงจรยอ่ ยท่ีมีขนาด CB 25 A และสาย IEC 01 ขนาด 2×4 ตร.มม. ตอบ

หมายเหตุ ขอ้ ควรรคู้ ือ 1. การตดิ ตั้งเคร่อื งทาํ น้ําอนุ่ เป็นวงจรย่อยเฉพาะ

2. cos θ หมายถึง เพาเวอรแ์ ฟกเตอร,์ P หมายถึง กาํ ลังไฟฟา้ แอกทฟี ,

S หมายถงึ กําลังไฟฟ้าปรากฏ

131

ตัวอย่างที่ 5.2 วงจรย่อย 1 Phase 220 V กระแสโหลด 12 A เดินในท่อร้อยสาย อุณหภูมิโดยรอบ
40oC จงหาขนาดสาย IEC 01 มีขนาดเท่าไร และถ้าเดินสาย 2 วงจรในท่อเดียวกัน โดยกระแสโหลดเท่าเดิม

ขนาดสายจะเป็นเทา่ ไร

วิธีทํา ข้นั ตอนที่ 1: กระแสโหลด (IL) ไดท้ ราบกระแสโหลดแล้วจากโจทย์คือ 12 A
ดงั นั้น IL = 12 A

ข้นั ตอนท่ี 2: กําหนดขนาดอุปกรณ์ปอ้ งกันกระแสเกนิ (In)
ขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ = 1.25 เท่าของกระแสโหลด

= 1.25×12 = 15 A

เลือกเซอร์กติ เบรกเกอร์ (CB) ให้ In > IL ไดข้ นาดพิกัด 16 A หรอื 20 A
(ดขู นาดพิกัดกระแสจากรูปท่ี 5.12) ดงั นัน้

In = 16 A หรอื 20 A
ขน้ั ตอนท่ี 3: เลอื กวธิ ีการเดินสาย (ไดก้ ล่มุ )

ตดิ ตัง้ ในท่อร้อยสาย ลักษณะการติดตง้ั กลุ่มท่ี 2 เลือกตารางท่ี 2.5

จาํ นวน 2 ตัวนํากระแส แกนเดียว

ข้นั ตอนท่ี 4: เลอื กชนิดของสายไฟฟ้า (ตามรหัสชนิดเคเบลิ ท่ใี ช้งาน)
เลือกสาย IEC 01 ฉนวน PVC อณุ หภมู ติ วั นํา 70oC เปน็ สายแกนเดยี ว

ขนั้ ตอนที่ 5: กําหนดตัวคูณปรบั ค่า

จากตารางที่ 2.8 อุณหภูมโิ ดยรอบ 40oC ฉนวน PVC ได้ Ca = 1.00 และ Cg =

1.00 หรือไมใ่ ช้ตัวคูณปรบั คา่ กระแส Cg เนือ่ งจากเดนิ ในชอ่ งเดินสายไมเ่ กนิ 1 กลมุ่

ข้นั ตอนที่ 6: หาขนาดกระแสของสายไฟฟา้ (It)

It = Ca In Cg = 16 = 16 A
1.00 = 20 A
×

หรอื It = Ca In Cg = 20
1.00
×

ข้นั ตอนที่ 7: เลอื กขนาดสายไฟฟ้าจากตารางที่เลอื ก (ตารางที่ 2.5)

จากตารางท่ี 2.5 สาย IEC 01 เดนิ ในทอ่ รอ้ ยสายได้ขนาด 2×2.5 ตร.มม. (21 A)

ดังนั้น ควรเลอื กวงจรยอ่ ยทม่ี ีขนาด CB 16 A หรอื CB 20 A และสาย IEC 01

ขนาด 2×2.5 ตร.มม. ตอบ

และถา้ เดนิ สาย 2 วงจรในทอ่ เดียวกัน

132

ขน้ั ตอนท่ี 5: กาํ หนดตวั คูณปรบั ค่า

จากตารางที่ 2.8 อุณหภมู ิโดยรอบ 40oC ฉนวน PVC ได้ Ca = 1.00, Cg = 0.80

ขัน้ ตอนที่ 6: หาขนาดกระแสของสายไฟฟ้า (It)

It = Ca In Cg = 16 = 20 A
1.00× 0.80
×

หรอื It = Ca In Cg = 20 = 25 A
1.00× 0.80
×

ขั้นตอนที่ 7: เลือกขนาดสายไฟฟ้าจากตารางท่เี ลือก (ตารางท่ี 2.5)

จากตารางที่ 2.5 สาย IEC 01 เดินในท่อรอ้ ยสายไดข้ นาด 2×2.5 ตร.มม. (21 A)

สาย IEC 01 เดินในท่อร้อยสายได้ขนาด 2×4 ตร.มม. (28 A)

ดงั นัน้ ถ้าเลอื กวงจรยอ่ ยทมี่ ขี นาด CB 16 A ใช้สายขนาด 2 (2×2.5 ตร.มม.)

ถ้าเลือกวงจรยอ่ ยท่มี ีขนาด CB 20 A ใช้สายขนาด 2 (2×4 ตร.มม.) ตอบ

5. เตา้ รบั
(1) เตา้ รับทอี่ ย่ใู นวงจรยอ่ ยตอ้ งเปน็ แบบมขี ว้ั สายดนิ และต้องต่อลงดนิ ตามมาตรฐาน
(2) เต้ารับในสถานท่ีเดียวกันแต่ใช้แรงดันต่างกัน หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้งานต่างกัน

ตอ้ งจดั ทําเพ่อื ให้เตา้ เสียบไม่สามารถสลับกนั ได้
6. การปอ้ งกนั ไฟฟ้าดูด โดยใชเ้ คร่ืองตัดไฟร่วั ในทอ่ี ยู่อาศยั และท่คี ลา้ ยคลงึ กนั
วงจรย่อยตอ่ ไปน้ีนอกจากมีสายดินของบริภัณฑ์ไฟฟ้าและติดต้ังตามมาตรฐานการติดตั้งแล้ว

ตอ้ งมีการป้องกนั โดยใช้เครือ่ งตัดไฟร่ัว ขนาด IΔn ไมเ่ กิน 30 มิลลิแอมแปร์ เพิ่มเตมิ ดว้ ย คอื
(1) วงจรเตา้ รบั ในบริเวณหอ้ งนํา้ หอ้ งอาบนาํ้ โรงจอดรถยนต์ ห้องครัว ห้องใตด้ นิ
(2) วงจรเต้ารับในบริเวณอ่างล้างจาน อ่างล้างมือ (บริเวณพื้นท่ีเคาน์เตอร์ ที่มีการติดตั้ง

เต้ารับภายในระยะ 1.5 เมตร หา่ งจากขอบด้านนอกของอา่ ง)
(3) วงจรไฟฟ้าเพ่ือจ่ายภายนอกอาคารและบริภัณฑ์ไฟฟ้าท่ีอยู่ในตําแหน่งท่ีบุคคลสัมผัสได้

ทุกวงจร (ตําแหน่งสัมผัสได้ คืออยู่ห่างจากพ้ืนหรือโลหะท่ีต่อลงดินไม่เกิน 2.4 เมตร ในแนวด่ิง หรือ 1.5 เมตร
ในแนวระดับและบคุ คลสามารถเขา้ ถงึ ได้โดยไมต่ ัง้ ใจ)

(4) วงจรเต้ารับในบริเวณช้ันล่าง (ชั้น 1) รวมถึงในบริเวณท่ีตํ่ากว่าระดับผิวดิน ท่ีอยู่ในพ้ืนที่
ปรากฏว่าเคยมีนาํ้ ท่วมถึงหรืออยใู่ นพนื้ ท่ีต่าํ กวา่ ระดับทะเลปานกลาง

(5) วงจรย่อยสําหรับเครอื่ งทํานํา้ อนุ่ เครือ่ งทาํ น้าํ รอ้ น อ่างอาบน้าํ

133

5.2.2 สายป้อน

1. ขนาดตัวนําของสายป้อน ต้องมีขนาดกระแสไม่น้อยกว่าโหลดสูงสุดท่ีคํานวณได้และไม่น้อย
กว่าขนาดพิกัดของเคร่ืองป้องกันกระแสเกินของสายป้อน และกําหนดให้ขนาดตัวนําของสายป้อนต้องไม่เล็ก
กว่า 4 ตร.มม.

2. การป้องกันกระแสเกิน สายป้อนต้องมีการป้องกันกระแสเกิน โดยขนาดพิกัดเครื่องป้องกัน
กระแสเกนิ ต้องสอดคล้องและไมต่ า่ํ กวา่ โหลดสูงสดุ ทีค่ าํ นวณได้

3. การคาํ นวณโหลดสาํ หรบั สายปอ้ น ต้องคาํ นวณตามที่กําหนด ดงั นี้
(1) สายป้อนต้องมีขนาดกระแสเพียงพอสําหรับการจ่ายโหลดและต้องไม่น้อยกว่าผลรวม

ของโหลดในวงจรย่อยเม่ือใช้ดีมานด์แฟกเตอร์ เช่น ดีมานด์แฟกเตอร์ของอาคารท่ีพักอาศัย ขนาดของไฟแสง
สวา่ ง ไม่เกิน 2,000 โวลตแ์ อมแปร์ ใช้ดีมานด์แฟกเตอร์ 100% ถ้าเกนิ 2,000 โวลต์แอมแปร์ ส่วนที่เกิน 2,000
โวลต์แอมแปร์ ใชด้ ีมานด์แฟกเตอร์ 35% เป็นต้น

(2) โหลดของเตา้ รับทมี่ กี ารคาํ นวณโหลดแตล่ ะเตา้ รับไม่เกนิ 180 โวลต์แอมแปร์
(3) โหลดเครื่องใช้ไฟฟา้ ท่ัวไป อนุญาตให้ใช้ดีมานด์แฟกเตอรต์ ามตารางที่ 5.1
(4) เต้ารับในอาคารท่ีอยู่อาศัยท่ีต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ทราบโหลดแน่นอนให้คํานวณโหลดจาก
เต้ารับทีม่ ขี นาดสูงสุด 1 เคร่อื งรวมกบั ร้อยละ 40 ของขนาดโหลดในเตา้ รบั ทเี่ หลือ
(5) ดมี านดแ์ ฟกเตอร์น้ใี หใ้ ชก้ ับการคํานวณสายป้อนเทา่ น้ันห้ามใชก้ ับการคํานวณวงจรยอ่ ย

ตารางท่ี 5.1 ดมี านด์แฟกเตอรส์ ําหรับเครอื่ งใช้ไฟฟา้ ทว่ั ไป (เฉพาะอาคารทอี่ ยอู่ าศยั )

ชนิดของอาคาร ประเภทของโหลด ดีมานด์แฟกเตอร์
อาคารที่อย่อู าศยั เครื่องหงุ ต้มอาหาร 10 แอมแปร์ + ร้อยละ 30 ของสว่ นท่ีเกิน
10 แอมแปร์
เครือ่ งทาํ น้ําร้อน กระแสใช้งานจริงของสองตัวแรกท่ีใช้งาน +
ร้อยละ 25 ของตัวทเ่ี หลือท้งั หมด
เครือ่ งปรับอากาศ ร้อยละ 100

5.2.3 การปอ้ งกนั กระแสเกินสาํ หรับวงจรย่อยและสายปอ้ น

วงจรย่อยและสายป้อนต้องมีการป้องกันกระแสเกิน และเครื่องป้องกันกระแสเกินต้องมี
รายละเอียดดงั นี้

1. เคร่ืองปอ้ งกนั กระแสเกินอาจเปน็ ฟิวส์ หรอื เซอรก์ ติ เบรกเกอรก์ ็ได้

134

2. ฟิวส์ เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือการผสมของทั้งสองอย่างน้ี จะนํามาต่อขนานกันไม่ได้ ยกเว้น
เป็นผลิตภัณฑ์มาตรฐานท่ีประกอบสําเร็จมาจากโรงงานผู้ผลิต และเป็นแบบท่ีได้รับความเห็นชอบว่าเป็นหน่วย
(Unit) เดียวกัน

3. ในกรณีท่ีติดตั้งเคร่ืองป้องกันกระแสเกินเพิ่มเติมสําหรับดวงโคมหรือเคร่ืองใช้ไฟฟ้าอ่ืน ๆ
เครื่องป้องกันกระแสเกินเพ่ิมเติมเหล่านี้จะใช้แทนเครื่องป้องกันกระแสเกินของวงจรย่อยไม่ได้และไม่
จําเปน็ ตอ้ งเขา้ ถงึ ได้ทนั ที

4. เคร่ืองป้องกันกระแสเกินต้องสามารถป้องกันตัวนําทุกสายเส้นไฟและไม่ต้องติดตั้งในตัวนําท่ี
มีการต่อลงดิน ยกเว้น อนุญาตให้ติดต้ังเครื่องป้องกันกระแสเกินในตัวนําท่ีมีการต่อลงดินได้ ถ้าเคร่ืองป้องกัน
กระแสเกินนัน้ สามารถตดั วงจรทุกเส้นรวมท้งั ตัวนาํ ที่มีการต่อลงดนิ ไดพ้ ร้อมกัน

5. เคร่ืองปอ้ งกนั กระแสเกินตอ้ งไม่ตดิ ตงั้ ในสถานที่ซงึ่ ทําใหเ้ กิดความเสียหาย และต้องไม่อยู่ใกล้
กบั วสั ดุทตี่ ดิ ไฟง่าย

6. เคร่ืองป้องกันกระแสเกิน ต้องบรรจุไว้ในกล่องหรือตู้อย่างมิดชิด (เฉพาะด้ามสับของเซอร์กิต
เบรกเกอร์ ยอมให้โผล่ออกมาข้างนอกได้) ยกเว้น หากติดต้ังไว้ท่ีแผงสวิตช์หรือแผงควบคุม ซ่ึงอยู่ในห้องท่ีไม่มี
วัสดุติดไฟง่าย และไม่มีความช้ืน เคร่ืองป้องกันกระแสเกินสําหรับบ้านอยู่อาศัยขนาดไม่เกิน 16 แอมแปร์ 1
เฟส ไม่ตอ้ งบรรจุไว้ในกลอ่ งหรือต้กู ็ได้

7. กล่องหรือตู้ที่บรรจุเครื่องป้องกันกระแสเกิน ซึ่งติดต้ังในสถานที่เปียกหรือช้ืนต้องเป็นชนิดท่ี
ได้รับความเห็นชอบแลว้ และต้องมีช่องวา่ งระหวา่ งตกู้ บั ผนังหรอื พนื้ ที่รองรบั ไม่นอ้ ยกวา่ 5 มม.

8. เครื่องป้องกันกระแสเกินของวงจรย่อยและสายป้อนในแผงสวิตช์ต่าง ๆ ต้องทําเคร่ืองหมาย
ระบุวัตถปุ ระสงค์ให้ชัดเจนตดิ ไว้ที่เครื่องปลดวงจรหรือใกล้กับเคร่ืองปลดวงจรนั้น นอกจากว่าตําแหน่งและการ
จดั เครอื่ งปลดวงจรนน้ั ชดั เจนอยู่แลว้ เครื่องหมายตอ้ งชดั เจนและทนตอ่ สภาพแวดลอ้ ม

อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างต้องติดต้ังบริภัณฑ์ประธานเพ่ือปลดวงจรทุกสายเส้นไฟออกจากตัวนําประธาน
(สายเมน) ท้ังนี้บริภัณฑ์ประธานประกอบด้วยเครื่องปลดวงจร และเคร่ืองป้องกันกระแสเกิน ซึ่งอาจประกอบ
เปน็ ชุดเดียวกันหรือเป็นตวั เดียวกันกไ็ ด้

อาคารหรอื ส่งิ ปลูกสร้างทตี่ อ้ งรับไฟฟ้าแรงตํ่าจากการไฟฟ้าฯ ต้องติดต้ังบริภัณฑ์ประธานแรงตํ่าหรือแผง
สวิตช์แรงต่ํา หลังเคร่ืองวัดหน่วยไฟฟ้า เพื่อปลดวงจรทุกสายเส้นไฟออกจากตัวนําประธาน และมีการป้องกัน
กระแสเกินสําหรับระบบจ่ายไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า ท้ังนี้จะต้องติดตั้งในตําแหน่งที่เข้าถึงได้โดยสะดวกและมี
ข้อกําหนดการตดิ ตงั้ ดังน้ี

135

5.3.1 เคร่อื งปลดวงจรของบริภณั ฑป์ ระธาน

1. เครื่องปลดวงจรชนิดหน่ึงเฟสที่มีขนาดตั้งแต่ 50 แอมแปร์ขึ้นไป และชนิดสามเฟสทุกขนาด
ตอ้ งเป็นชนิดสวิตช์สาํ หรบั ตัดโหลด ขนาดที่ตํ่ากวา่ ท่ีกําหนดข้างตน้ ไมบ่ งั คบั ให้เป็นชนดิ สวติ ชส์ ําหรบั ตดั โหลด

2. เครื่องปลดวงจรต้องสามารถปลดวงจรทุกสายเส้นไฟ (สายเฟส) ได้พร้อมกันและต้องมี
เครื่องหมายแสดงให้เห็นว่าอยู่ในตําแหน่งปลดหรือสับ หรือตําแหน่งท่ีปลดหรือสับน้ันสามารถเห็นได้อย่าง
ชัดเจน กรณีที่สายตัวนําประธานมิได้มีการต่อลงดิน เครื่องปลดวงจรต้องสามารถปลดสายเส้นไฟและสาย
นวิ ทรลั ทุกเสน้ พรอ้ มกัน

3. เคร่ืองปลดวงจรต้องมีพิกัดไม่น้อยกว่าพิกัดของเคร่ืองป้องกันกระแสเกินขนาดมากท่ีสุดที่ใส่
ได้หรือปรบั ต้งั ได้

4. ห้ามไม่ให้ต่อบริภัณฑ์ไฟฟ้าทางด้านไฟเข้าของเคร่ืองปลดวงจร ยกเว้น เป็นการต่อเพ่ือเข้า
เคร่ืองวัด คาปาซิเตอร์ สัญญาณต่าง ๆ หรือเพ่ือใช้ในวงจรควบคุมของบริภัณฑ์ประธานท่ีต้องมีไฟเม่ือเครื่อง
ปลดวงจรอยู่ในตาํ แหน่งปลด

5.3.2 เครอ่ื งป้องกนั กระแสเกนิ ของบริภัณฑ์ประธาน

แต่ละสายเส้นไฟที่ต่อออกจากเคร่ืองปลดวงจรของบริภัณฑ์ประธานต้องมีเครื่องป้องกันกระแส
เกิน สําหรับการไฟฟ้านครหลวงเป็นไปตามตารางท่ี 5.2 และสําหรบั การไฟฟา้ สว่ นภมู ิภาค ตามตารางท่ี 5.3

ตารางที่ 5.2 พกิ ดั สูงสดุ ของเครอื่ งปอ้ งกนั กระแสเกนิ และโหลดสงู สุดตามขนาดเคร่ืองวดั หนว่ ยไฟฟ้า
(สําหรบั การไฟฟ้านครหลวง)

ขนาดเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า พกิ ดั สูงสุดของเครื่องปอ้ งกันกระแสเกิน โหลดสูงสดุ
(แอมแปร)์ (แอมแปร์) (แอมแปร์)
5 (15) 16
15 (45) 50 10
30 (100) 100 30
50 (150) 125 75
200 100
200 250 150
300 200
400 400 250
500 300
400

หมายเหตุ พกิ ัดของเครอื่ งป้องกนั กระแสเกนิ มคี า่ ตา่ํ กวา่ ทกี่ ําหนดในตารางได้ แตท่ งั้ นต้ี ้องไม่นอ้ ยกวา่
1.25 เทา่ ของโหลดทคี่ าํ นวณได้

136

ตารางที่ 5.3 ขนาดสายไฟฟ้า เซฟตสี วติ ช์ คตั เอาต์ และคารท์ ริดจ์ฟิวสส์ าํ หรบั ตวั นําประธาน
(สําหรบั การไฟฟา้ สว่ นภูมภิ าค)

ขนาดตัวนาํ ประธาน บริภณั ฑป์ ระธาน
(แอมแปร)์
ขนาด เล็กที่สดุ ที่ยอมให้ใชไ้ ด้
เครือ่ งวัด โหลดสงู สุด (ตร.มม.) เซฟตีสวิตช์หรอื คตั เอาต์ใช้รว่ มกับ เซอร์กิต
หนว่ ยไฟฟา้ (แอมแปร์) โหลดเบรกสวิตช์ คาร์ทรดิ จ์ฟวิ ส์ เบรกเกอร์
(แอมแปร์) สาย สาย ขนาด ขนาด ขนาด ขนาด ขนาด
อะลมู ิเนียม ทองแดง

สวติ ชต์ ํา่ สุด ฟวิ ส์สูงสดุ คัตเอาตต์ าํ่ สุด ฟวิ ส์สูงสดุ ปรับต้ังสงู สุด

5 (15) 12 10 4 30 15 20 16 15–16

15 (45) 36 25 10 60 40–50 – – 40–50

30 (100) 80 50 35 100 100 – – 100

หมายเหตุ 1. สาํ หรับตวั นาํ ประธานภายในอาคารให้ใช้สายทองแดง
2. ขนาดสายในตารางนี่สาํ หรบั วิธกี ารเดินสายลอยในอากาศบนวสั ดุฉนวนภายนอกอาคาร
ขนาดตวั นาํ ประธานต้องรบั กระแสไดไ้ มน่ อ้ ยกวา่ 1.25 เท่าของโหลดตามตาราง

1. ไม่อนุญาตให้ติดตั้งเครื่องป้องกันกระแสเกินในสายท่ีมีการต่อลงดิน ยกเว้น เคร่ืองป้องกัน
กระแสเกินท่เี ปน็ เซอร์กติ เบรกเกอร์ซงึ่ ตัดวงจรทกุ สายของวงจรออกพร้อมกนั เมอ่ื กระแสไหลเกิน

2. อุปกรณ์ปอ้ งกนั กระแสเกินต้องปอ้ งกนั วงจรและอุปกรณ์ท้ังหมด อนุญาตให้ติดต้ังทางด้านไฟ
เข้าของเคร่ืองป้องกันกระแสเกิน เฉพาะวงจรของระบบฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น เครื่องแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ระบบ
สัญญาณปอ้ งกนั อันตราย เคร่ืองสบู นํ้าดบั เพลงิ เปน็ ต้น

3. เคร่อื งป้องกันกระแสเกิน ต้องสามารถตัดกระแสลัดวงจรค่ามากที่สุดที่อาจเกิดข้ึนที่จุดต่อไฟ
ด้านไฟออกของเคร่ืองป้องกันกระแสเกินได้ โดยคุณสมบัติ ยังคงเดิม ทั้งน้ีค่าพิกัดกระแสลัดวงจรไม่ต่ํากว่า 10
กิโลแอมแปร์ ยกเว้น ในบางพืน้ ที่ท่กี ารไฟฟา้ ฯ กาํ หนดเป็นกรณพี ิเศษ

4. การป้องกันกระแสเกิน ต้องเปน็ ไปตามที่กาํ หนดในข้อ 5.2.3 สาํ หรบั ข้อทีน่ าํ มาใช้ไดด้ ว้ ย
5. อนุญาตให้ใช้เคร่ืองป้องกันกระแสเกินท่ีมีคุณสมบัติตามข้อ 5.3.1 ทําหน้าที่เป็นเคร่ืองปลด
วงจรได้
6. กรณีระบบที่นิวทรัลของระบบวาย (Wye) ต่อลงดินโดยตรง บริภัณฑ์ประธานแรงต่ําที่มี
ขนาดตง้ั แต่ 1,000 แอมแปรข์ ้นึ ไป ตอ้ งตดิ ต้ังเครอื่ งปอ้ งกันกระแสร่วั ลงดนิ ของบริภณั ฑ์

137

1. มาตรฐานเคร่ืองป้องกันกระแสเกินและสวิตช์ตัดตอน ประกอบด้วย ตัวฟิวส์และข้ัวรับฟิวส์ สวิตช์ท่ี
ทาํ งานด้วยมือ สวิตช์ใบมีด อุปกรณ์ตัดตอนและเครื่องป้องกันกระแสเกิน ฟิวส์และขั้วรับฟิวส์ เซอร์กิตเบรก–
เกอร์ เซฟตสี วิตช์ และเคร่ืองตดั ไฟร่ัว

2. วงจรย่อยเป็นส่วนสําคัญท่ีจะต้องพิจารณาตรวจสอบและกําหนดขนาดโหลดให้เหมาะสมเพื่อนําไป
คํานวณและออกแบบขนาดตัวนํา กําหนดขนาดอุปกรณ์ป้องกันของวงจรย่อย ให้มีขนาดเหมาะสมและทํางาน
ได้อย่างถูกต้องปลอดภัยกับผู้ใช้งาน วงจรย่อยแบ่งออกเป็น วงจรย่อยสําหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า วงจรย่อยสําหรับ
จดุ ประสงค์ทั่วไป และวงจรยอ่ ยเฉพาะ

3. ขนาดตัวนาํ ของสายปอ้ น ต้องมีขนาดกระแสไม่น้อยกว่าโหลดสูงสุดที่คํานวณได้และไม่น้อยกว่าขนาด
พกิ ดั ของเครือ่ งปอ้ งกันกระแสเกนิ ของสายป้อน และขนาดตวั นาํ ของสายป้อนตอ้ งไมเ่ ล็กกว่า 4 ตร.มม.

4. อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างท่ีต้องรับไฟฟ้าแรงตํ่าจากการไฟฟ้าฯ ต้องติดต้ังบริภัณฑ์ประธานแรงตํ่าหรือ
แผงสวิตช์แรงตํ่า หลังเคร่ืองวัดหน่วยไฟฟ้าเพื่อปลดวงจรทุกสายเส้นไฟออกจากตัวนําประธาน และมีการ
ป้องกนั กระแสเกินสาํ หรับระบบจ่ายไฟฟา้ ของผ้ใู ชไ้ ฟฟ้า ทัง้ น้จี ะต้องติดตงั้ ในตําแหนง่ ทเ่ี ข้าถงึ ไดโ้ ดยสะดวก

5. สายเส้นไฟที่ต่อออกจากเคร่ืองปลดวงจรของบริภัณฑ์ประธานต้องมีเครื่องป้องกันกระแสเกิน โดย
พกิ ดั สูงสดุ ของเครื่องป้องกนั กระแสเกินและโหลดสงู สดุ ตามขนาดเครอ่ื งวัดหนว่ ยไฟฟา้

คําศพั ทป์ ระจาํ หน่วย กระแสโครง (เอเอฟ)
Ampere Frame (AF) กระแสตัด (เอที)
Ampere Trip (AT) การตอ่ ฝาก, การต่อประสาน
Bonding วงจรยอ่ ย, วงจรสดุ ท้าย
Branch Circuit; Final Circuit เซอรก์ ติ เบรกเกอร์ (ซีบ)ี
Circuit Breaker (CB) คอนซูเมอรย์ ูนติ
Consumer Unit ฟิวส์
Fuse คตั เอาตช์ นิดฟิวส์
Fuse Cutout พกิ ัดการตัดกระแสลดั วงจร (ไอซี)
Interrupting Capacity (IC) โหลดเซนเตอร์, ศูนยก์ ลางโหลด
Load Center เซอร์กติ เบรกเกอรแ์ บบหอ่ หมุ้ ปดิ มิด (เอ็มซซี บี ี)
Molded Case Circuit Breaker (MCCB) เซอรก์ ติ เบรกเกอร์ขนาดเลก็ (เอ็มซีบ)ี
Miniature Circuit Breaker (MCB) แผงยอ่ ย
Panelboard

142