จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

คุณหญิงแม้นมาส ชวลิต ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ได้เสนอจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร(วัดโพธิ์) ต่อยูเนสโก เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก  ขณะนี้ได้รับรายงานจาก ม.ร.ว.รุจยา อาภากร กรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยแผนงานมรดกความทรงจำของไทย ทางยูเนสโกได้ประกาศรับรองจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ(International Register) ในการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 10 เมื่อ 27 พฤษภาคมที่ผ่านมา ณ เมืองแมนเชสเตอร์ สหราชอาณาจักร  คุณหญิงแม้นมาส กล่าวอีกว่า วัดโพธิ์เคยได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำของโลกของภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก (Regional Register) เมื่อปี 2551 จากนั้นคณะกรรมการแห่งชาติฯ ได้ดำเนินการสำรวจจัดทำทะเบียนและถ่ายภาพแผ่นจารึกวัดโพธิ์ จำนวน 1,440 ชิ้น และจัดทำแผนอนุรักษ์ตามแนวทางของยูเนสโก ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติฯ เห็นว่าควรเสนอจารึกวัดโพธิ์ให้ขึ้นบัญชีนานาชาติด้วย ตนและคณะกรรมการฯ จึงได้เสนอให้ยูเนสโกพิจารณาเมื่อเดือนมกราคม 2554 และได้ผ่านขั้นตอนต่างๆ ของยูเนสโก จนถึงขั้นตอนสุดท้าย เมื่อที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษานานาชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกของยูเนสโก ครั้งที่ 10 ที่เมืองแมนเชสเตอร์ มีมติเอกฉันท์ให้จารึกวัดโพธิ์ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ ทั้งนี้จารึกวัดโพธิ์ มีเรื่องวิชาความรู้ที่มีลักษณะที่เป็นสากล ไม่ใช่ความรู้เฉพาะในประเทศไทย เช่น เรื่องพระพุทธศาสนา เรื่องวรรณกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งจารึกเรื่องฤๅษีดัดตนเป็นสากลมาก

ผู้เขียนมีประสบการณ์พาเพื่อนหรือครูชาวต่างชาติไปเที่ยววัดโพธิ์ วัดพระแก้ว วัดอรุณฯ รวมกันราวสิบกว่าครั้ง วัดโพธิ์นี่ไปบ่อยเพราะฝรั่งชอบนวดแผนไทย คนพาไปก็เข้าไปนวดด้วยเสียเลย สบายดี แต่จะยุ่งยากใจเมื่อเพื่อนฝรั่งถามข้อมูลต่างๆ ลึกมากจนตอบไม่ถูก เพราะแต่ละคนล้วนคงแก่เรียน อยากรู้อยากเข้าใจไปเสียหมด

ไม่นานมานี้ได้ไปฟังเสวนาเรื่อง ‘วัดโพธิ์ มรดกความทรงจำแห่งโลกกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม’ โดยอาจารย์ ดร. เสาวณิต วิงวอน และคุณจุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา ทั้งสองท่านมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นอย่างดีเกี่ยวกับวัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

เพื่อนฝรั่งได้ยินชื่อนี้ครั้งแรกจะเหวอในความยากและยาว Andrea หนุ่มอิตาลีเคยถามผู้เขียนว่า ทำไมมี 2 ชื่อ ผู้เขียนเกาหัวแกรกเพราะไม่รู้ แต่วันนี้ตอบได้แล้ว พร้อมกับที่รู้ว่าไฮไลต์สำคัญ (ที่ไม่ค่อยมีคนทราบเรื่องราวเบื้องหลัง) ของวัดโพธิ์ 2 อย่างคือ จารึกวัดโพธิ์ กับตุ๊กตาศิลาจีน นั้นมีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมความเข้าใจว่ารูปปั้นจีนขนาดใหญ่ที่ประดับประตูคืออับเฉาถ่วงเรือนั้นเป็นความเข้าใจที่ผิด

 

รู้จักวัดโพธิ์

“กษัตริย์สมัยโบราณชอบสร้างวัด อย่างวัดโพธิ์นี่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยพระเพทราชา” อาจารย์ ดร. เสาวณิต กล่าว

อาจารย์เล่าว่าตอนแรกวัดโพธิ์ไม่ได้ใหญ่ขนาดนี้ แต่เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงอุปถัมภ์ทำนุบำรุง โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 3 ที่ทรงบูรณะจนโอ่อ่างดงาม

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ที่เรียก ‘วัดโพธิ์’ เพราะแต่เดิมวัดนี้ชื่อ ‘วัดโพธาราม’ สันนิษฐานว่าเพราะเป็นที่ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ แต่ต่อมาคติความเชื่อเรื่องการบูชาพระศรีมหาโพธิ์เสื่อมคลายลงไป ไม่ได้รับความนิยมเหมือนครั้งอดีต จึงคงเหลือแต่ชื่อเรียกสืบต่อมา จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธารามเสียใหม่เมื่อ พ.ศ. 2332 และพระราชทานนามใหม่ว่า ‘วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ’ แปลว่า ‘ที่อยู่อันงามของพระพุทธเจ้า’ (คำว่า ‘พระเชตุพน’ หมายถึง ที่อยู่ของพระพุทธเจ้า) และกลายเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้เปลี่ยนคำสร้อยท้ายนามวัดเป็น ‘วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม’

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ในสมัยรัชกาลที่ 3 สยามเศรษฐกิจดี มีเงินกำไรเป็นอันมากจากการค้าสำเภา จึงทรงสร้างวัดใหม่รวมถึงบูรณะวัดเก่ามากมาย เนื่องจากพ่อค้าวาณิชชาวไทยที่เดินทางไปยังจีนมีโอกาสเห็นงานศิลปะสวยงามของจีน ทั้งในราชสำนักและบ้านเศรษฐีชาวจีนที่ติดต่อค้าขายด้วย (ตัวอย่างเช่น เขามอ เป็นสิ่งหนึ่งที่พ่อค้าชาวไทยไปเห็นแล้วนำกลับมาทูลรัชกาลที่ 3) จึงเห็นว่าการสร้างและบูรณะวัดในยุครัชกาลที่ 3 มีการนำศิลปะจีนมาใช้อย่างเต็มที่ โดยใช้ช่างไทย ช่างจีน ปนกัน  และในรัชสมัยของพระองค์นี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นการทำ ‘จารึกวัดโพธิ์’ มรดกทรงคุณค่าของชาติ

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

 

จารึกวัดโพธิ์: มรดกความทรงจำแห่งโลก

จารึกวัดโพธิ์จัดทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้จารึกสรรพตำราต่างๆ ทั้งหมด 8 หมวดบนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามศาลาราย ผู้แต่งจารึกเหล่านั้นมีตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ขุนนาง พระ และไพร่ รวม 53 ท่าน เป็นความรู้ต่างๆ เช่น ศาสนา ภาษา วรรณกรรม วัฒนธรรมประเพณี จิตรกรรม ประติมากรรม และการแพทย์

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ประกาศขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติเมื่อ 27 พฤษภาคม 2554

มรดกความทรงจำ เป็นคำที่ UNESCO กำหนดขึ้น หมายถึง ข้อมูล ความรู้ ความคิด ที่เป็นภูมิปัญญาของแต่ละกลุ่มชน บันทึกไว้ในวัสดุ (เช่น กระดาษ หิน เยื่อไม้ไผ่) หากเป็นสถานที่ เช่น โบราณสถาน สถานที่เที่ยวทางธรรมชาติ UNESCO จะเรียกว่า ‘มรดกโลก

อาจารย์ ดร.เสาวณิต ระบุว่า คุณสมบัติที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจะเป็น ‘มรดกความทรงจำ’ ได้ คือต้องเป็นสิ่งเดียว ไม่มีสำเนา ถ้าสูญหายไปจะเกิดความเสียหาย และต้องแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชนนั้นๆ

ในช่วงที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างจารึกวัดโพธิ์ เป็นช่วงที่ชาติตะวันตกเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามา และนำวิทยาการใหม่ๆ มาเผยแพร่ พระองค์จึงมีพระราชประสงค์ในการบันทึกความรู้ของไทยไว้ มิให้สูญหายไปกับการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

สมัยก่อนความรู้ต่างๆ อยู่ในสำนักใครสำนักมัน อยู่ในที่มิดชิด เช่น พวกตำรายา แต่รัชกาลที่ 3 โปรดฯ ให้รวบรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เป็นของสาธารณะ ใครจะมาศึกษาก็ได้ เป็นการบันทึกความรู้โบราณให้คงอยู่ ท่านจึงเลือกให้สลักลงหิน มีเรื่องเล่าว่าทรงบังคับให้เจ้าของความรู้ต่างๆ สาบานว่าจะบอกความจริง ก่อนบันทึกลงจารึกวัดโพธิ์

พระราชประสงค์ของรัชกาลที่ 3 คือ ให้วัดโพธิ์เป็นคลังความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม วัดโพธิ์จึงเปรียบเสมือน ‘มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรกของคนไทย’

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ช่วงรอยต่อรัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 สภาพของเราในขณะนั้นเสี่ยงต่อการเสียบ้านเสียเมือง เรารอดมาได้เพราะพระมหากษัตริย์ของเราทรงมีโลกทัศน์กว้างไกล” อาจารย์ ดร.เสาวณิต กล่าว “ถ้าอ่านจารึกครบทุกหมวด จะเห็นทันทีว่าประเทศนี้ไม่ได้เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน ดูแลตัวเองได้ มียา มีภาษา มีวรรณกรรม และเราบันทึกความรู้เหล่านี้ไว้เป็นเรื่องเป็นราว และการที่ทรงเลือกบันทึกที่วัดนี้ ก็เพราะอยู่ใกล้วัง ใกล้เหล่าทูตานุทูตทั้งหลาย ไม่ได้เลือกไปทำที่วัดไกลๆ เป็นการทำตัวเองให้ดูมีคุณค่าในสายตาฝรั่ง อย่างน้อยจะมาข่มกันก็ทำไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์”

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

 

ลั่นถันและเขามอ

หนังสือ ตุ๊กตาศิลาจีนวัดโพธิ์ กล่าวว่า จากจารึกเรื่องรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างวัดพระเชตุพนฯ ทำให้ทราบว่าได้สร้างรูปอสูรหรือรูปยักษ์ปูนปั้นถือกระบองขนาดใหญ่ไว้ประดับซุ้มประตูประตูละคู่ แต่เมื่อครั้งรัชกาลที่ 3 ทรงบูรณะนั้นทรงรื้อลงหมด แล้วตั้งรูปลั่นถันประตูละคู่แทน ลั่นถันหรือตุ๊กตาจีนประดับซุ้มประตูเป็นรูปขุนนางฝ่ายบู๊ ซึ่งมีรูปร่างขนาดใหญ่ใกล้เคียงกัน และมีหน้าตาดุร้ายคล้ายยักษ์ เพราะคงเห็นว่าจะทำให้ดูต่างไปจากวัดอรุณราชวรารามและวัดพระแก้วที่มีรูปยักษ์อยู่แล้ว

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

‘ลั่นถัน’ ที่เห็นในวัดโพธิ์ก็คือบรรดาตุ๊กตาศิลาจีนทั้งหลาย มีทั้งขุนนางฝ่ายบุ๋นและบู๊ รูปสัตว์ และรูปประชาชนทั่วไป ส่วนเขามอคือภูเขาจำลองที่ประดับด้วยต้นไม้ ตุ๊กตาจีน เจดีย์จีน ตึกจีน

คุณจุลภัสสรกล่าวว่าความเข้าใจผิดใหญ่หลวงของคนทั่วไปรวมถึงมัคคุเทศก์จำนวนหนึ่งคือ ตุ๊กตาตัวใหญ่นั่นแหละคือ ‘อับเฉา’ ที่ใส่ใต้ท้องเรือกันโคลงเมื่อเดินทางมาจากเมืองจีน

“ขาไปเราขนของหนักไปขาย เช่น ของป่าต่างๆ แต่ขากลับของที่นำกลับเข้ามาเป็นของเบา เช่น เครื่องถ้วย แพรพรรณ จึงต้องมีหินถ่วง แต่ตุ๊กตาตัวใหญ่ไม่ใช่อับเฉานะครับ กินที่ด้วย หนักก็หนัก ใครจะยกใส่เรือ อีกทั้งถ้าตุ๊กตาล้มทีฟาดเครื่องถ้วยแตกหมด ตุ๊กตาที่เป็นอับเฉาตัวจริงคือศิลาจีนขนาดเล็กที่ประดับตามเขามอ”

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกันใหม่ว่า ไม่ใช่ว่าตุ๊กตาศิลาจีนที่เห็นทุกตัวจะนำมาจากเมืองจีน

พระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน กล่าวไว้ว่า ศิลาที่นำมาก่อสร้างวัด ทั้งอาคาร สถาปัตยกรรม สิ่งของเครื่องใช้ และตุ๊กตาศิลาจีน นำมาจากราชบุรี เพชรบุรี สุโขทัย ลพบุรี สระบุรี และชลบุรี (เกาะสีชัง อ่างศิลา) โดยใช้เงินกำไรจากการค้าสำเภา จ้างช่างจีนมาแกะสลักขึ้นในเมืองไทยนี่เอง หลักฐานนี้จึงสอดคล้องกับที่คุณจุลภัสสรบอกว่า “อับเฉาของจริงคือเฉพาะตุ๊กตาศิลาจีนตัวเล็ก ใช้วางแทรกตามกล่องบรรจุเครื่องถ้วยเพื่อป้องกันไม่ให้กระทบกัน”

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

คุณจุลภัสสรเล่าว่า ลั่นถันและเขามอเป็นของประกอบกันมาแต่ก่อน เมืองจีนหนาวมีหิมะปกคลุม ประชาชนอยาก ‘เก็บ’ บรรยากาศภูเขาไว้ในบ้าน จึงสร้างเครื่องประดับชนิดนี้ขึ้นมา มีต้นไม้กับศิลาจีนประดับ และต่อมาแนวคิดนี้แพร่หลายไปยังญี่ปุ่นและเกาหลี

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

พ่อค้าชาวไทยที่ไปค้าขายไปเห็นสิ่งนี้ตามบ้านเศรษฐีจีนก็กลับมาทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่พระองค์ทรงมีสวนไทยอยู่แล้ว เลยทรงให้เพิ่มสวนจีนตามแบบที่ว่ามาเข้าไปด้วย โดยประดับด้วยก้อนหิน ขุดเกาะแก่ง และมีน้ำไหล และมีรับสั่งให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระราชโอรส (ต่อมาคือพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ว่า เมื่อเดินทางไปค้าขายที่ไหนก็จงหาหินสวยๆ กลับมาทำตุ๊กตาศิลาจีนด้วย

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดเรื่องซุบซิบว่าเหตุที่เจ้านายสิ้นกันหลายองค์เป็นเพราะพระองค์ทรงเอาหินจากที่ต่างๆ มามาก รัชกาลที่ 3 จึงกริ้วและรับสั่งให้ย้ายหินออกไปให้หมด แล้วคนสมัยก่อนจะเอาไปไว้ไหน ก็ไว้ที่วัดนั่นไง ดังนั้น 4 วัด (วัดโพธิ์ วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดอรุณราชวราราม และวัดราชโอรส) จึงมีเขามอและตุ๊กตาศิลาจีนอยู่ เพราะเป็นวัดใกล้วังทั้งสิ้น ส่วนวัดราชโอรส เป็นวัดของพระองค์เอง

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ที่ฟังมาจากอาจารย์ ดร. เสาวณิต และ คุณจุลภัสสร ทำให้ผู้เขียนมีข้อมูลที่ถูกต้องไปเล่าให้เพื่อนฝรั่งฟังต่อ เพราะเคยเข้าใจผิดมาก่อน ชี้บอกเขาใหญ่เลยว่านั่นแหละอับเฉา อธิบายอย่างดีว่าอับเฉาคืออะไร ทำไมเราจึงติดต่อกับเมืองจีนในช่วงนั้น เพื่อนฝรั่งก็ โอ ไอซี กันไป

แต่นี่เป็นความรู้ใหม่ที่ต้องเขียนอีเมลกลับไปแก้ไขให้บรรดาเพื่อนฝรั่ง (ที่เคยผ่านมือผู้เขียนพาเที่ยววัดโพธิ์) แม้เขาไม่ได้จ่ายเงินจ้างเป็นทางการ แค่ไปเที่ยวกันสนุกๆ แต่เพราะเราเป็นคนไทย และนี่คือสถานที่สำคัญที่เป็นหน้าเป็นตาของประเทศ เราจึงไม่ควรให้ข้อมูลเขาแบบผิดๆ

มาฟังเสวนาและเดินชมวัดโพธิ์กลางแดดร้อนเปรี้ยงคราวนี้จึงไม่เสียเที่ยว มีเรื่องราวไปเล่าต่อได้ว่า วัดโพธิ์ไม่ได้มีดีแค่ Thai Massage กับ Reclining Buddha นะยู

ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วัด

Home /Art & Culture/Scoop

6 ธันวาคม 2565

Share on

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ในยุคที่มนุษย์พึ่งพาเรือเป็นพาหนะหลักในการเดินทางระยะไกล ผืนดินกว้างใหญ่ตอนบนของทวีปอเมริกาเหนือซึ่งมีชื่อว่า ‘แคนาดา’ ยังเป็นแดนสนธยาที่น้อยคนจะด้นดั้นไปถึง หากไม่ใช่ผู้อพยพที่ตั้งใจบ่ายหน้ามาตั้งหลักแหล่ง หรือข้าราชการจากเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศสและอังกฤษซึ่งถูกส่งตัวมาด้วยภาระหน้าที่เสียอย่าง ก็ยากที่ใครสักคนจะสัญจรมาที่นี่เพื่อเที่ยวชมความงามของดินแดนแห่งต้นเมเปิล ทิวสน ธารน้ำแข็ง ตลอดจนทะเลสาบสีครามในอ้อมกอดของเทือกเขาหิมะ

ครั้นแล้วในปีคริสต์ศักราช 1931 ประวัติศาสตร์แคนาดาก็ต้องจารึกเรื่องราวบทใหม่ เมื่อเรือลำใหญ่จากประเทศญี่ปุ่นนำชนชั้นสูงชาวเอเชียคู่หนึ่ง รอนแรมมาขึ้นฝั่ง ณ ท่าเรือเมืองวิกตอเรีย

แม้ทั้งสองจะเดินทางออกจากแคนาดาทันทีในเช้าวันพรุ่ง แต่มิช้าสองท่านนั้นก็หวนกลับมายังแดนไกลลิบนี้อีกครั้ง ก่อนตระเวนท่องเที่ยวพักผ่อนในแคนาดาเป็นเวลานานถึง 2 เดือน พร้อมกับสถาปนาพระองค์เป็นกษัตริย์และราชินีชาวตะวันออกไกลคู่แรกที่ได้เสด็จฯ เยือนประเทศแคนาดา

ทั้งสองพระองค์นั้นคือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

เรื่องราวการเสด็จประพาสแคนาดาของรัชกาลที่ 7 แห่งจักรีวงศ์อาจถูกลืมเลือนไปจากความรับรู้ของประชาชนไทย ด้วยระยะเวลาที่ล่วงผ่านมานานกว่า 9 ทศวรรษ อีกทั้งรัชสมัยสั้น ๆ ของพระองค์เป็นที่จดจำมากกว่า ในเรื่องการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในอีก 1 ปีให้หลัง

แต่มาวันนี้ การเสด็จฯ เยือนแคนาดาครั้งประวัติศาสตร์ได้ถูกนำมาเล่าขานกันใหม่ที่พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรูปแบบนิทรรศการหมุนเวียนชื่อ ‘จาก ‘สยาม’ สู่ ‘แคนาดา’ 1931’

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

“สาระสำคัญของนิทรรศการนี้ คือเรื่องราวเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1931 ถ้านับแบบไทยก็จะตรงกับ พ.ศ. 2474 ค่ะ” รุ้ง-จิตสุภา หวังศิริสมบูรณ์ ภัณฑารักษ์ผู้ดูแลนิทรรศการบอกด้วยน้ำเสียงแจ่มใส

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ด้านหลังเธอคือต้นไม้ปลอมสูงเทียมเพดาน ซึ่งหากเยี่ยมสายตามองต่ำลงไปใต้เงาไม้พลาสติกนั้น ก็จะเห็นแม่เหล็กรูปใบเมเปิลอันเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติแคนาดาโรยรายอยู่บนพื้นหญ้าเทียม มุมหนึ่งมีพระบรมฉายาลักษณ์ขององค์รัชกาลที่ 7 ประทับยืนในฉลองพระองค์อย่างชาวตะวันตก สวมพระมาลา (หมวก) รายรอบด้วยบรรดาชาวต่างชาติ มีกองดินที่เพิ่งถูกขุดอยู่เบื้องหน้าพระวรกาย

จุดเริ่มต้นของนิทรรศการนี้ก็เกิดขึ้นได้จากดินกองนั้นเอง

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

“ก่อนเริ่มทำนิทรรศการ ทางสถาบันพระปกเกล้าที่ดูแลพิพิธภัณฑ์ของเรามีข้อตกลงระหว่างองค์กรกับมหาวิทยาลัยวิกตอเรีย (University of Victoria) ที่แคนาดา ดร.วิกเตอร์ วี. รามราช (Dr.Victor V. Ramraj) อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแห่งนั้นได้ส่งภาพต้นไม้ที่เขาไปพบมาให้ เป็นต้นโอ๊กที่สวนสาธารณะในเมืองวิกตอเรีย ตรงต้นไม้มีข้อความเขียนไว้ว่า ‘King Prajadhipok of Siam’ ระบุปี 1931 เขาไปค้นข้อมูลเพิ่มเติม ได้พบข้อมูลในหอจดหมายเหตุเมืองวิกตอเรียที่มีภาพพระองค์ท่านทรงปลูกต้นไม้ ทำให้เรารู้ว่าน่าจะเป็นครั้งเดียวกับที่เสด็จฯ ไปแคนาดาเมื่อ ค.ศ. 1931 เราก็เลยได้ร่วมงานกับสถานทูตแคนาดา”

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

สวนสาธารณะดังกล่าวมีนามว่า สวนสาธารณะบีคอน ฮิลล์ (Beacon Hill Park) ฟากหนึ่งของสวนได้ชื่อว่า สวนของนายกเทศมนตรี หรือ เมเยอร์ส โกรฟ (Mayor’s Grove) ซึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติกันว่า คนใหญ่คนโตที่มาเยือนเมืองวิคตอเรียจะต้องมาปลูกต้นไม้ที่สวนแห่งนี้ ลอร์ดบาเดน พาวเวลล์ (Lord Baden-Powell) ผู้สถาปนากิจการลูกเสือโลก และเซอร์วินสตัน เชอร์ชิล (Sir Winston Churchill) อดีตนายกรัฐมนตรีและรัฐบุรุษแห่งสหราชอาณาจักรล้วนเคยฝากผลงานการปลูกต้นไม้ของตนไว้ทั้งสิ้น

ซึ่งหากจะต้องเลือกสถานที่สำหรับจัดแสดงแง่มุมในพระชนม์ชีพของรัชกาลที่ 7 คงไม่มีที่ใดจะเหมาะสมไปกว่าพิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้พระราชประวัติของพระองค์มาตั้งแต่ปลาย พ.ศ. 2545 ตรงกับวาระที่พิพิธภัณฑ์นี้มีอายุครบ 20 ปีพอดี

“สถานทูตแคนาดาประจำประเทศไทยได้ช่วยติดต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งพิพิธภัณฑ์ หอจดหมายเหตุ ห้องสมุดที่แคนาดา ฯลฯ เราจึงได้ภาพ ได้ข้อมูลมาค่อนข้างเยอะ เดิมเรามีภาพอยู่เป็นบางส่วน แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นที่ใดแน่ เพราะว่าในการเสด็จฯ ครั้งนั้น รัชกาลที่ 7 ท่านเสด็จฯ ไปทั้งสหรัฐอเมริกาและแคนาดา พอได้ติดต่อกับหน่วยงานทางโน้นจึงได้ข้อมูลมากพอจนจัดนิทรรศการนี้ได้”

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

การตระเตรียมงานทุกขั้นตอนเกิดขึ้น ดำเนินไป และแล้วเสร็จภายในเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งนับว่าไวมาก โดยคุณรุ้งเปิดเผยว่าเธอและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้คิดหัวข้อเรื่องที่จะนำเสนอไว้เรื่อย ๆ ตามภาพที่รวบรวมมาได้ ก่อนจะทยอยทำการค้นคว้าพิสูจน์หลักฐานทางประวัติศาสตร์ทีละส่วน

ที่ยากยิ่งกว่าคือนิทรรศการนี้นำเสนอข้อมูลทั้งหมดเป็น 3 ภาษาเสมอ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดย 2 ภาษาหลังคือภาษาราชการของประเทศแคนาดา คุณรุ้งจะต้องเขียนข้อมูลเป็นภาษาไทยก่อน จากนั้นจึงส่งให้สถานทูตแคนาดาตรวจสอบความถูกต้อง รวมถึงแปลข้อความเหล่านั้นเป็นอังกฤษและฝรั่งเศสต่อไปในชั้นหลัง

3 เดือนแห่งการเตรียมงานลุล่วงไปด้วยดี ทางพิพิธภัณฑ์ได้ทำพิธีเปิดนิทรรศการไปเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และเปิดให้ผู้สนใจทั้งไทยและเทศเข้าชมได้นับแต่นั้น

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ถ้าไม่นับต้นโอ๊กจำลองที่อยู่กลางห้อง ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมย่อมต้องรู้สึกลานตากับภาพขาวดำในกรอบ ทั้งขนาดเล็กและใหญ่นับสิบ ๆ ภาพ ซึ่งประดับอยู่ทั่วผนังทั้ง 3 ด้าน โดยมีคำบรรยาย 3 ภาษากำกับอยู่เพื่อให้ความรู้อย่างละเอียดแก่ผู้ร่วมนิทรรศการ

ภาพที่นำมาจัดแสดงทุกภาพเป็นสีขาวดำสมกับยุคทศวรรษ 1930 ที่กล้องสียังไม่ถูกประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งโดยมากถ่ายด้วยฟิล์มกระจก เหล่านี้มีทั้งภาพที่เป็นของพิพิธภัณฑ์เอง และภาพที่ไปพบตามพิพิธภัณฑ์กับหอจดหมายเหตุในประเทศแคนาดา สถานทูตแคนาดาแห่งประเทศไทยได้ช่วยประสานไปถึงสถาบันเหล่านั้น ซึ่งทั้งหมดก็ให้ความร่วมมือด้วยการส่งสำเนามาให้จัดแสดงด้วยดี

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

หากจะชมตามลำดับเวลา ภาพแรกที่ควรชมคือภาพที่ในหลวง ร.7 กับสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จลงจากเรือพระที่นั่งเอมเพรส ออฟ เจแปน ตามหลัง กัปตันแซมมูเอล โรบินสัน ผู้ควบคุมเรือ

“ครั้งนั้นรัชกาลที่ 7 ท่านเสด็จฯ ไปสหรัฐอเมริกาเพื่อผ่าตัดพระเนตร เพราะท่านทรงเป็นต้อกระจก ตอนแรกทรงประทับนั่งบนเรือจากญี่ปุ่นไปขึ้นฝั่งที่แคนาดา” คุณรุ้งปูความเข้าใจคร่าว ๆ “จากนั้นท่านก็เสด็จฯ ไปอเมริกาทางรถไฟ ก็ประทับอยู่ที่อเมริกานานหลายเดือนเหมือนกัน เพราะทรงเข้ารับการผ่าตัดและพักฟื้น หลังจากนั้นท่านจึงเสด็จฯ ไปแคนาดาเพื่อพักฟื้นพระวรกายต่ออีก 2 เดือน”

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จฯ โดยรถไฟขบวนพิเศษ มุ่งหน้าไปยังสถานีสกาเบอโร รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ก่อนการเสด็จพระราชดำเนินจะเริ่มต้นขึ้น รัฐบาลสยามได้ติดต่อกับประเทศที่จะเสด็จฯ ผ่านและประทับ ในส่วนของแคนาดา ได้ปรากฏหลักฐานการโต้ตอบกันทางโทรเลขระหว่างหน่วยงานรัฐ ทั้งเรื่องนัดหมายการเตรียมความพร้อมเพื่อเฝ้าฯ รับเสด็จ แผนอำนวยความสะดวกด้านการเดินทางและเยือนสถานที่ต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมสิ่งของแลกเปลี่ยนระหว่างกัน

น่าสนใจว่าในบรรดาโทรเลขที่พบ มีโทรเลขจากกงสุลใหญ่แห่งสยามประจำดินแดนแคนาดา วิลเลียม วัตสัน อาร์มสตรอง ถึง ดร.ออสการ์ ดี สเกลตัน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศแคนาดาในขณะนั้น ว่าด้วยการจัดการกับพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐที่ตีพิมพ์ในสมัย ร.7 ซึ่งรัฐบาลสยามได้ส่งมอบแก่สถาบันการศึกษาในแคนาดารวมทั้งสิ้น 7 แห่งด้วย

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

จากพระนครสยาม พระปกเกล้าฯ และสมเด็จพระราชินีได้เสด็จฯ ขึ้นเรือไปยังดินแดนฮ่องกงของอังกฤษเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2474 เพื่อประทับเรือเอมเพรส ออฟ เจแปน ซึ่งแวะเทียบท่าที่นครเซี่ยงไฮ้ของจีน ทรงเยือนประเทศญี่ปุ่นเป็นเวลา 4 วัน จึงข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปขึ้นฝั่ง ณ ท่าเรือเมืองวิกตอเรีย มณฑลบริติชโคลัมเบีย ทางฝั่งตะวันตกของแคนาดา รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 7 วัน กับอีก 20 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าสั้นที่สุดเท่าที่เรือลำนี้เคยล่องผ่านเส้นทางนี้มา

ช่วงดึกของวันที่ 16 เมษายน เรือเอมเพรส ออฟ เจแปน ได้เทียบท่าที่สถานกักกันโรควิลเลียมส์ แต่เพราะรัชกาลที่ 7 กำลังประชวรด้วยไข้มาลาเรีย สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีจึงทรงเป็นผู้พระราชทานพระวโรกาสให้ข้าราชการชั้นสูงของแคนาดาได้เข้าเฝ้าฯ แทน ก่อนที่เรือจะมุ่งสู่เมืองแวนคูเวอร์ต่อไป

“ในการเสด็จฯ ร.7 มีพระราชประสงค์จะไม่เปิดเผยพระองค์ ในเอกสารไม่ได้ระบุว่าท่านเสด็จฯ ในนาม King แต่จะเขียนว่า Prince of Sukhothai (สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา) ซึ่งเป็นพระยศเดิมของท่านก่อนทรงขึ้นครองราชย์ แต่พอไปถึงแคนาดา ทางการแคนาดาก็ให้การต้อนรับแบบสมพระเกียรติ ยิ่งใหญ่ เป็นทางการอยู่ดีค่ะ” ผู้ดูแลนิทรรศการบรรยายพลางชี้ให้เห็นความสำคัญของแต่ละรูป

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

“ตอนนั้นแคนาดายังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร คนที่มาแสดงการต้อนรับต่อพระองค์คือตัวแทนของนายกรัฐมนตรีและเหล่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นี่คือครั้งแรกที่ท่านเสด็จฯ มา หลังจากนั้นท่านก็ไปประทับรักษาพระองค์ที่สหรัฐฯ ตอนเสด็จฯ กลับมาที่แคนาดาอีกครั้ง ท่านได้เสด็จฯ ไปหลายที่ ไปเมืองหลวงของแคนาดาด้วย ได้พบผู้สำเร็จราชการแทน สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 แห่งสหราชอาณาจักร และได้พบกับนายกรัฐมนตรีด้วย”

คุณรุ้งเล่าว่าต้นโอ๊กขาวทรงปลูกในสวนนายกเทศมนตรีต้นนั้น ก็ถือกำเนิดขึ้นจากการเสด็จฯ เยือนแคนาดารอบสอง ซึ่งรอบนี้ไม่ใช่เพียงเสด็จฯ ผ่านแค่เพื่อโดยสารรถไฟไปสหรัฐอเมริกาเช่นครั้งแรก แต่เป็นการเสด็จประพาสเพื่อทรงพักผ่อน และประกอบพระราชกรณียกิจส่วนพระองค์

“เดือนกรกฎาคม พระองค์ท่านเสด็จฯ ไปถึงควิเบก ซึ่งทรงโปรดมาก เพราะว่ามณฑลควิเบกเป็นมณฑลเดียวในแคนาดาที่พูดภาษาฝรั่งเศส ร.7 ท่านทรงเป็นนักเรียนเก่าฝรั่งเศส มีความรู้เรื่องฝรั่งเศส ก็เลยจะโปรดควิเบกและแคนาดาเป็นพิเศษ” 

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

หลังประทับที่ควิเบก (ฝรั่งเศสออกเสียงว่า ‘เกแบ็ก’) ได้ระยะหนึ่ง ทั้งสองพระองค์ได้ประทับเรือพระที่นั่งล่องไปเรื่อย ๆ จนถึงเมืองมอนทรีออล หรือ มงเทรอาล ในภาษาฝรั่งเศส ที่นั่น นาย จอห์น วิลสัน แมคคอนเนลล์ คหบดีท้องถิ่นได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายบ้านพักตากอากาศของเขาเป็นที่ประทับชั่วคราวแก่พระมหากษัตริย์ชาวไทย ในหลวง ร.7 ทรงโปรดปรานบ้านหลังนี้มาก ถึงกับทรงตั้งชื่อภาษาไทยให้บ้านนี้ว่า ‘บ้านสราญใจ’ ก่อนจะเสด็จฯ เยือนกรุงออตตาวา เมืองหลวงของแคนาดาต่อไป

นิทรรศการนี้ยังมีภาพถ่ายน่าชมอีกหลายภาพ อาทิ ภาพที่พระองค์ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ร่วมกับกลุ่มชาวแคนาดาเชื้อสายสกอตแลนด์ในเมืองแบนฟฟ์ (Banff)

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

“แบนฟฟ์เป็นเมืองที่มีธรรมชาติสวยงาม รัชกาลที่ 7 ทรงได้เปิดงานเทศกาลชุมนุมที่ราบสูง เป็นเหมือนงานกีฬาและดนตรีของชาวสกอต ปกติแล้วจะมีผู้สำเร็จราชการแทนพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรประจำมณฑลเป็นผู้เปิดงาน แต่นี่เป็นครั้งแรกที่มีประมุขจากต่างประเทศเป็นผู้ทรงเปิดงาน และเข้าร่วมเป็นประธานในพิธีด้วย พระองค์ก็ได้ทอดพระเนตรการแข่งขันวงปี่สกอต เต้นรำพื้นเมือง การประกวดร้องเพลงสกอต รวมถึงกีฬาขว้างค้อน ขว้างจักร ทุ่มน้ำหนักด้วยค่ะ”

ต่อจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ยังได้เสด็จไปร่วมทรงม้ากับกลุ่มนักขี่ม้าแห่งเทือกเขาร็อกกี้ เป็นที่มาของพระบรมฉายาลักษณ์อีกจำนวนมากที่นำมาจัดแสดงไว้ในนิทรรศการนี้

“กลุ่มนักขี่ม้าแห่งเทือกเขาร็อกกี้ แคนาดา เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร คอยช่วยเหลือผู้ชื่นชอบธรรมชาติและการเดินทางไกล ปัจจุบันกลุ่มนี้ก็ยังมีอยู่ เป็นอาสาสมัครที่คอยพานักท่องเที่ยวไปเดินทางไกลบนเทือกเขาร็อกกี้ ยังมีการจัดทัวร์อยู่ ทางพิพิธภัณฑ์เราก็ได้ติดต่อกับเขาด้วย เขาส่งรูปมา ทำให้รู้ว่ารูปที่ท่านทรงม้า และรูปที่ท่านทรงฉลองพระองค์ทรงม้านั้น ฟากเราก็มีเหมือนกัน” คุณรุ้งกล่าวถึงเรื่องน่าทึ่งที่ได้พบระหว่างสืบค้นข้อมูล

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

กลุ่มนักขี่ม้าแห่งเทือกเขาร็อกกี้มีข้อกำหนดอยู่ว่า หากใครขี่ม้าเป็นระยะทางไกลได้ตามที่กำหนด พวกเขาจะมอบเหรียญที่ระลึกให้เป็นของขวัญ รัชกาลที่ 7 ทรงม้าได้ไกลถึง 100 ไมล์ จึงทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายเหรียญเงิน ขณะที่สมเด็จพระราชินีคู่บุญทรงม้าได้ 50 ไมล์ จึงทรงได้รับเหรียญทองแดงจาก พันเอกฟิลิป เอ. มัวร์ ประธานกลุ่มนักขี่ม้า

“พระพลานามัยของ ร.7 ไม่ค่อยดี ท่านเลยต้องทรงกีฬา ส่วนสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรรณีก็ทรงเป็นสตรีที่ค่อนข้างหัวสมัยใหม่ ท่านจึงโปรดการทรงกีฬา กอล์ฟ เทนนิส ท่านได้หมดเลย”

นอกจากพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีแล้ว รูปถ่ายบนเทือกเขาร็อกกี้ยังมีพระฉายาลักษณ์ของ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ซึ่งเป็นพระราชโอรสบุญธรรมในรัชกาลที่ 7 กับพระอัครมเหสีของพระองค์ด้วย

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ชมเรื่องราวการเสด็จฯ เยือนแคนาดากันแล้ว หากว่าใครอยากรู้เรื่องพระราชประวัติของทั้งสองพระองค์มากยิ่งขึ้น พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าแห่งนี้ยังมีข้อมูลจัดแสดงให้รับชมกันได้อย่างเต็มอิ่มจุใจ ทั่วทั้งอาคาร 3 ชั้นที่บูรณะมาจากอาคารกรมโยธาธิการเดิมหลังนี้

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

“อยากให้คนรุ่นเราได้เห็นการเดินทางในสมัยก่อน รวมทั้งการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ว่ารัชกาลที่ 7 ท่านทอดพระเนตรเห็นอะไรมาบ้าง ทรงทำอะไรบ้าง เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ คนมาที่นี่ก็จะได้เห็นภาพของคนในสมัยก่อนเขาทำอะไร ชอบหรือสนใจอะไรกัน ที่อยู่ในนิทรรศการนี้อาจบอกเรื่องราวไม่ได้ทั้งหมด แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยากให้ชมภาพกันค่ะ” ผู้ดูแลนิทรรศการมอบรอยยิ้มจริงใจเป็นของกำนัลแด่ทุกคนที่มาร่วมยลชุดภาพถ่ายครั้งประวัติศาสตร์เมื่อ 91 ปีก่อน

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด
จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด

ทั้งนี้ ‘จาก ‘สยาม’ สู่ ‘แคนาดา’ 1931’ จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 และเปิดให้เข้าชมได้ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2566 เปิดทุกวันอังคารถึงวันอาทิตย์ ในเวลา 09.00 – 16.00 น. ตามเวลาทำการของพิพิธภัณฑ์ โดยไม่มีค่าบัตรผ่านประตู นอกจากผู้เยี่ยมชมจะไม่เสียค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้รับของที่ระลึกเป็นแม่เหล็กรูปใบเมเปิล พร้อมตรานิทรรศการเป็นของที่ระลึกอีกด้วยนะ

จารึกวัดโพธิ์มีความสำคัญทางภูมิปัญญาด้านใด *

จารึกวัดโพธิ์ถือเป็นมรดกภูมิปัญญาไทยที่มีความสำคัญเทียบเท่าระดับสากล บอกเล่าวิชาความรู้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นจารึกสรรพวิชา บนแผ่นศิลายังถ่ายทอดเรื่องการสร้างวัดพระเชตุพนฯ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 และจารึกสุภาษิตพระร่วง รวมถึงรูปปูนปั้นฤาษีดัดตน แสดงท่าทางการบริหารร่างกาย การนวดแผนโบราณที่ ...

จารึกวัดโพธิ์เป็นจารึกเกี่ยวกับเรื่องใด

ทั้งนี้จารึกตำราการแพทย์แผนไทยวัดโพธิ์ เป็นวิชาการแพทย์แผนไทยที่เป็นความรู้สืบทอดมาแต่โบราณ สันนิษฐานว่า เมื่อครั้งสมัยอยุธยาในยามที่บ้านเมืองมีสงคราม ทำให้ตำรับตำราด้านการแพทย์สูญหายกระจัดกระจาย ต่อมาสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสนพระทัยและโปรดให้มีการเก็บรวบรวมและฟื้นฟูวิชาการแพทย์แผนไทย สืบต่อ จนถึง ...

จารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามมีความสําคัญอย่างไร

นอกจากสัมพันธ์กับพุทธศาสนาแล้ว จารึกวัดพระเชตุพนฯ ยังมีความสำาคัญ ในแง่ความรู้ ซึ่งวัดพระเชตุพนฯ ได้รับการยอมรับมาอย่างยาวนานว่าเป็นสถานที่ที่ รวบรวมความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เนื้อหาที่นำามาจารึกมีทั้งเรื่องที่มีอยู่ก่อนหน้านั้น แล้ว เช่นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาซึ่งน่าจะมีที่มาจากคัมภีร์ต่างๆ หรืออาจจะเป็นเรื่องที่ เขียน ...

จารึกวัดโพธิ์ อยู่ตรงไหน

จารึกวัดโพธิ์ติดอยู่บนเสาพระระเบียงชั้นในรอบๆพระอุโบสถ