ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการไหว้ครูดนตรีไทยคือสิ่งใด

ประโยชน์ที่ได้รับจากพิธีไหว้ครูนาฎศิลป์

ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการไหว้ครูดนตรีไทยคือสิ่งใด

๑.  สามารถทำให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในฐานะที่เป็นศิษย์มีครูเหมือนกัน
๒.  สามารถนำวิชาความรู้ที่เรียนมา ไปถ่ายทอดได้ด้วยความมั่นใจ โดยไม่ต้องกลัวว่า “ผิดครู”
๓.   เป็นการสร้างศิษย์ให้มีความเชื่อมั่นในวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา กล้าแสดงออกไม่เก็บตัว
๔.  ทำให้มีความรู้กว้างขวางและเข้าใจในพิธีกรรมเช่นนี้อย่างชัดเจน
๕.  เกิดความสบายใจหากได้ทำสิ่งใดผิดพลาดไป ก็จะได้เป็นการขอขมาครูไปด้วย

ประวัติ พิธีไหว้ครูดนตรีไทย

การไหว้ครู และครอบครู เป็นการแสดงกตเวทีต่อบุพการี ครูบาอาจารย์

ในพิธีการนั้น จะต้องจัดให้มีเครื่องสังเวย และครูผู้อ่านโองการตามแบบแผน ส่วนใหญ่จะเลือกกระทำพิธี ในวันพฤหัสบดี

ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการไหว้ครูดนตรีไทยคือสิ่งใด

ตำนานพิธีไหว้ครู

พิธีไหว้ครูดนตรีไทย เป็นประเพณีปฏิบัติสืบทอดกันมา และเป็นประเพณีที่ดีงามของนักดนตรีไทย และผู้ฝึกหัดดนตรีไทย เมื่อผู้ฝึกหัดดนตรีไทย ผ่านพิธีไหว้ครูแล้ว ถือว่าผ่านการครอบครู จะเกิดความสบายใจ มีขวัญ กำลังใจที่จะฝึกหัดดนตรีไทย ให้เชี่ยวชาญยิ่งๆ ขึ้นไป หากผู้เล่นดนตรีไทยคนใดไม่ผ่านพิธีไหว้ครู จะเกิดความไม่สบายใจ ไม่กล้าฝึกหัดเพลงชั้นสูง ไม่กล้าถ่ายทอดให้ผู้อื่น เพราะไม่มีสิ่งยึดมั่น ทำให้ไม่เกิดความเชื่อมั่น

พิธีไหว้ครูดนตรีไทยเป็นประเพณีพิธี ที่มีขบวนการขึ้นตอนหลายประการ มีเครื่องประกอบพิธีมากมาย ต้องใช้ทุนทรัพย์มาก อีกทั้งผู้ทำพิธี ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาโดยตรง การจัดพิธีไหว้ครู ต้องทำให้ถูกต้องตามประเพณีทุกๆ ขั้นตอน รวมทั้งนักดนตรีไทยที่จะบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบพิธี ต้องเป็นนักดนตรีไทยชั้น "ครู" ทั้งวง จึงจะสามารถบรรเลง เพลงหน้าพาทย์ ซึ่งเป็นเพลงชั้นสูงทางดนตรีไทยได้ ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ จึงทำให้เป็นข้อจำกัดในการจัดพิธีไหว้ครูดนตรีไทย

    การไหว้ครูดนตรีไทยนี้น่าจะเนื่องมาจากคนไทยแต่โบราณ คงจะนับถือเทพเจ้า และผีกันอยู่บ้างแล้ว เมื่อมาได้คติทางศาสนาพราหมณ์ของอินเดียพร้อม ๆ กับการเริ่มระเบียบแห่งการดนตรีขึ้นใหม่ในแดนสุวรรณภูมินี้จึงไม่มีปัญหาอะไรที่จะกล่าวว่า พิธีไหว้ครูดนตรีของเราเอาแบบอินเดียมาใช้ เพราะชื่อเทพเจ้าทุก ๆ องค์ตรงตามตำราแห่งศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น เนื่องจากไทยเราเป็นพุทธมามกะ พิธีไหว้ครู จึงมักจะเริ่มด้วยพิธีสงฆ์ก่อน ในเช้าของวันทำพิธี จะถวายอาหารบิณฑบาตร เมื่อพระสงฆ์เสร็จภัตตกิจแล้ว จึงจะเริ่มพิธีไหว้ครู สิ่งที่จะตั้งสำหรับไหว้จะต้องมีที่ตั้งพระพุทธรูป และเครื่องบูชาพร้อมไว้ทางหนึ่งส่วนอีกทางหนึ่งจัดตั้งเครื่องดนตรีไทยต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบและสวยงาม และจะต้องมีตะโพนลูกหนึ่งตั้งอยู่ด้วย โดยตั้งสูงกว่าสิ่งอื่น เพราะในทางดนตรีไทยถือว่าตะโพน สมมติแทนองค์พระปรคนธรรพ แต่ถ้าจะมี หน้าโขนตั้งด้วยก็ได้ หน้าโขนที่ควรจะตั้งก็คือ หน้าฤาษี พระปรคนธรรพ พระวิสสุกรรม พระปัญจสีขร พระพิราพ แต่ถ้าจะเพิ่มหน้าพระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม พระคเณศร์ อีกด้วยก็ยิ่งดี ส่วนเครื่องบูชาพระยาบวชก็มีดอกไม้ ธูป เทียน หัวหมู ไก่ เป็ด กุ้ง ปลา บายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ต้มขาว ผลไม้ต่าง ๆ หากว่า ในพิธีไหว้พระพิราบด้วยก็จะต้องมีเครื่องดิบอีกชุดหนึ่งเหมือนกับเครื่องสุกดังที่ได้กล่าวแล้ว เครื่องสังเวยเหล่านี้จะเป็นคู่หรือเพิ่มเติมอย่างไรก็ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือขันกำนล ซึ่งมีขันล้างหน้าใส่ดอกไม้ธูปเทียน ผ้าขาวหรือผ้าเช็ดหน้าและเงินกำนล ซึ่งโบราณใช้ ๖ บาท ผู้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ก็ต้องมีขันกำนลด้วยเช่นกัน ครูผู้ทำพิธีจะต้องนุ่งขาวห่มขาว เมื่อได้ธูปเทียนบูชาเสร็จแล้วครูก็จะทำน้ำมนต์ ในขณะนั้นศิษย์และผู้ร่วมพิธีจุดธูปเทียนบูชา แล้วครูผู้ทำพิธีจะเริ่มกล่าวโองการนำให้ผู้ร่วมพิธีว่าตาม ซึ่งเริ่มด้วยบูชาพระรัตนตรัยและไหว้ครูบาอาจารย์ บิดามารดาขอพรต่าง ๆ ตามแบบแผน แล้วปี่พาทย์ก็จะบรรเลง เพลงหน้าพาทย์ตามที่ผู้ทำพิธีนั้นจะเรียก ต่อจากนั้นก็กล่าวถวายเครื่องสังเวยแล้วเว้นระยะสักครู่หนึ่งจึงได้กล่าวลาเครื่องสังเวย ต่อจากนั้นครูผู้เป็นประธานก็จะประพรมน้ำมนต์ เจิมเครื่องดนตรีและหน้าโขนต่างๆ จนครบถ้วน หลังจากนั้นจึงจะประพรม เสร็จการไหว้ครู หลังจากพิธีไหว้ครูแล้วจึงจะถึงพิธี     “ ครอบ” คำว่า ครอบ นี้ หมายถึงการประสิทธิประสาทวิทยาการหรืออนุมัติให้เริ่มเรียนวิชาในชั้นนั้น ๆ ได้ การครอบของปี่พาทย์นั้น มีขั้นตอนเป็นลำดับดังนี้ ๑. ขั้นแรกเป็นการครอบอย่างย่อ ผู้เรียนนำดอกไม้ธูปเทียน และเงินกำนลมามอบให้แก่ครูด้วยคารวะ แล้วครูก็จับมือศิษย์ผู้นั้นให้ตีฆ้องวงใหญ่ ขึ้นต้นเพลงสาธุการสามครั้งก็เป็นอันเสร็จถือว่าผู้นั้นเป็นอันเริ่มเรียนปี่พาทย์ต่อไปได้ ๒. ครอบอันดับสอง เมื่อศิษย์เรียนเพลงโหมโรงเย็นจบแล้ว และเริ่มเรียนเพลงตระโหมโรง ซึ่งได้เว้นไว้เมื่อเรียนขั้นแรก โดยครูจับมือให้ตีฆ้องวงใหญ่ขึ้นต้นเพลงตระ 3 ครั้ง ๓. ครอบอันดับสาม เป็นการเริ่มเรียนเพลงโหมโรงกลางวัน ซึ่งครูก็จะจับมือให้ตีเพลงกระบองกัน ๔. ครอบอับดับสี่ เริ่มเรียนการบรรเลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ในขั้นนี้ครูมักจะจับมือให้ตีเพลงบาทสกุณี ๕. ครอบอันดับห้า เมื่อเริ่มเรียนเพลงองค์พระพิราพ ซึ่งถือว่าเป็นเพลงสูงสุด การครอบที่จะเรียนปี่พาทย์เพลงองค์พระพิราพนั้นยังมีแบบแผนประเพณีบัญญัติไว้อีกอย่างหนึ่ง คือ ผู้ที่จะเรียนเพลงองค์พระพิราพ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า ๓๐ ปี หรือได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้ว หรือ มิฉะนั้นจะต้องได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงจะรับการครอบ ให้เรียนได้ ส่วนการครอบเครื่องดนตรีอย่างอื่น เช่น สีซอ ดีดจะเข้ เป่าปี่ เป่าขลุ่ย เหล่านี้ตลอดจนการขับร้องด้วย ซึ่งมิได้บรรเลงเพลงหน้าพาทย์ต่าง ๆ เหมือนปี่พาทย์ สิ่งใดที่พอจะจับมือได้ เช่น ซอ จะเข้ ครูอาจ จับมือให้สี หรือดีดก็ได้ แต่ใช้เพลงประเภทที่เครื่องดนตรีนั้นใช้บรรเลง หรือจะใช้ฉิ่งครอบที่ศีรษะของศิษย์ผู้นั้นก็ได้ การใช้ฉิ่งครอบที่ศีรษะนี้ ใช้ได้แก่การครอบเรียนดนตรีทุกอย่างที่ไม่สะดวกในการจับมือ   การเตรียมตัวของผู้รับการครอบเมื่อศิษยานุศิษย์แห่งการดนตรีไทย มีความประสงค์จะขอรับการครอบเพื่อเริ่มการเรียนวิชาดนตรี หรือการต่อเพลงหน้าพาทย์ก็ตามสิ่งที่จะต้องเตรียมพร้อมเมื่อเข้าไปขอรับการครอบต่อประธานประกอบพิธีไหว้ครู ก็คือ ๑. ขันล้างหน้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖ นิ้ว ๒. ผ้าเช็ดหน้าสีขาว ๓. ดอกไม้ ธูป เทียน ๔. เงินกำนล โดยนำรายการที่ ๒, ๓, ๔ ใส่ไว้ในขันล้างหน้า  

  การเข้ารับการครอบ ลำดับแรกจะเป็นพวกผู้ที่เรียนเครื่องสาย และคีตศิลป์ เริ่มด้วยการเข้ารับการประพรมน้ำมนต์ เจิมหน้า และรับดอกไม้ทัดหู จากนี้ผู้เข้ารับการครอบก็จะมอบขันกำนลแก่ผู้ที่ประกอบพิธี เมื่อรับขันกำนล ผู้ทำพิธีจะกล่าวโองการด้วยตนเองเป็นความหมายว่าจะขอรับไว้เป็นศิษย์ทางดุริยางคศิลป์และคีตศิลป์ตั้งแต่บัดนี้ และอวยพรให้กับผู้รับการครอบ เป็นอันเสร็จพิธีการครอบสำหรับผู้ที่เรียนเครื่องสาย และคีตศิลป์ จากนี้ก็ต่อด้วยพิธีการครอบของผู้ที่เรียนปี่พาทย์ ซึ่งขั้นตอนการเข้ารับการครอบเหมือนกับกลุ่มแรก แต่จะแยกวิธีการครอบออกไปเป็นอันดับตามที่ได้กล่าวเอาไว้แล้วข้างต้น สุดท้ายเมื่อเสร็จขั้นตอนการครอบแก่ศิษย์ทุกคนแล้ว ประธานผู้ทำพิธีจะกล่าวบูชาครู ขอยุติการประกอบพิธีไหว้ครู ขอสมาโทษในสิ่งผิดพลาดและขอความเป็นสิริมงคล จงมีมาสู่สถานที่ สู่สถาบันที่จัดพิธีกรรมนี้ สู่ศิษยานุศิษย์และผู้เข้าร่วมพิธีโดยทั่วกัน ดนตรีบรรเลงเพลงเชิด และเพลงกราวรำจบพิธีไหว้ครูดนตรีไทยอย่างมีพิธีรีตอง พิธีการไหว้ครู จะเป็นประเพณีที่นักดนตรีหรือดุริยางคศิลปิน คีตศิลปิน จะร่วมกันประกอบเป็นประจำทุกปีตามโอกาส จะอำนวยจึงมีอยู่ทั่วไป แต่ละแห่งที่จัดพิธีกรรมก็จะมีผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้างซึ่งจะเป็นทั้งถ้อยคำ ในโองการที่ประธานผู้ประกอบพิธีกล่าวนำ และขั้นตอนวิธีการประกอบพิธีก็มีแตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็สุดแต่ประธานผู้ประกอบพิธีได้รับการมอบให้เป็นผู้ประกอบพิธีจากครูอาจารย์ท่านใด ก็สมควรเป็นอย่างยิ่งที่จะยึดถือปฏิบัติตามแนวทางที่ครูอาจารย์มอบให้อย่างเคร่งครัด จึงจะเรียกว่า “เจริญรอยตามครู”  ประโยชน์ของการไหว้ครูการที่ได้ประกอบพิธีไหว้ครูตามประเพณีที่ถูกต้องย่อมบังเกิดประโยชน์ได้หลายประการคือ ๑. ได้รักษาประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมอันดีของไทยไว้ให้ยืนยงต่อไป ๒. ได้แสดงออกซึ่งความกตัญญูกตเวทีอันเป็นเครื่องหมายของคนดีเป็นแบบอย่างส่งเสริมให้ศิษย์รุ่นต่อ ๆ ไปรู้สึกกตัญญูกตเวทีต่อครูบาอาจารย์ ๓. เป็นการบำรุงขวัญของผู้ที่ได้ร่วมพิธีไหว้ครูและครอบ เพราะว่าได้กระทำพิธีต่าง ๆ ครบถ้วนตามแบบแผนแล้ว เวลาที่จะปฏิบัติก็จะมีจิตใจมั่นคง และมีขวัญดี ๔. เป็นการเสริมความสามาคีระหว่างดุริยางคศิลปินด้วยกัน เพราะในการประกอบพิธีไหว้ครูนั้น บรรดานักดนตรีทั้งหลาย แม้จะอยู่คนละคณะก็มักจะมาร่วมในพิธีไหว้ครูด้วยกัน ได้พบปะสังสรรค์กันเป็นอันดี เป็นการเชื่อมความสามัคคีในหมู่ดุริยางคศิลปินด้วยกันให้แน่นแฟ้น

ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการไหว้ครูดนตรีไทยคือสิ่งใด

ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการไหว้ครูดนตรีไทยคือสิ่งใด
ความสำคัญและประโยชน์ที่ได้รับจากการไหว้ครูดนตรีไทยคือสิ่งใด
 

                                                                            บทเสภาขับร้องพิธีไหว้ครู

    ประนมนิ้วยอกรขึ้นเหนือเกล้า     กราบพระพุทธเจ้าพระธรรมและพระสงฆ์
พระรัตนตรัยแก้วแพร้วดำรง    คุณพระจงปกเกศคุ้มเพทภัย
    ไหว้พระอิศวรอดิศร     พระนารายณ์สี่กรขอวอนไหว้
ไหว้มารดาบิดาบูชาไท้       อีกไหว้ครูบาและอาจารย์
    พระคุณท่านทั้งหลายได้พร่ำสอน    ว่าวอนสอนหลักอัครฐาน
คุณบิดามารดาครูอาจารย์     จงบันดาลประสิทธิ์สุขทุกเวลา
    ไหว้พระวิศณุกรรมทรงฤทธิ์     ผู้ประสิทธิ์ศิลป์ไว้ในใต้หล้า
ไหว้พระปัญจสิงขรเทพเทวา    ลือชาบรรเลงพิณระบิลฝีมือ
    ไหว้พระปรคนธรรพพระครูเฒ่า   เทพเจ้าที่เคารพและยึดถือ
ขอพระครูทั้งสามนามระบือ      ดลฝีมือผองข้าอย่าเสื่อมคลาย
    อนึ่งข้าขอไหว้พระฤาษี         พระมุนีผู้ประสาทนาฏทั้งหลาย
จงสถิตแห่งกมลสกลกาย   ให้เยื้องกรายงามสง่าท่าบรรเลง
    ไหว้คุณครูเบื้องต้นที่จับมือ      ครูฝึกปรือให้ชำนาญเพลงการเก่ง
ไหว้ครูพักลักจำแนะนำเพลง   ที่วังเวงให้หวนสำนวนดี
    ไหว้คุณครูผู้ประสาทหน้าพาทย์ใหญ่  ได้รับไว้เป็นสง่าและราศี
ศิษย์จะรักษาไว้ให้ดิบดี มิให้มีด่างพร้อยด้อยนิยม
    ขอให้ครูผู้ล่วงลับโลกีย์   จงสู่ที่สรวงสวรรค์ชั้นปฐม
เสวยทิพย์อิ่มเอมเปรมอารมณ์     ประทับบรมทิพย์พิมานสำราญเทอญ

ประโยชน์ของการไหว้ครูดนตรีคืออะไร

การจัดพิธีไหว้ครูดนตรีไทยและนาฏศิลปแห่งภาคตะวันออก มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการแสดงความ กตัญญูกตเวทีต่อครูอาจารย์ สานสัมพันธ์อันดีระหว่างครูและลูกศิษย์ ทำบุญเลี้ยงพระและแผ่ส่วนบุญส่วน กุศลแด่ครูอาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว และเปิดโอกาสให้นิสิตจากทุกสาขาวิชาชีพทั้งใหม่และเก่าได้มาร่วมสังสรรค์กัน อันจะก่อให้เกิดความสามัคคีใน ...

การไหว้ครู มีความสำคัญอย่างไรต่อการเล่นดนตรีไทย

พิธีไหว้ครูดนตรีไทยมีความหมายถึงการประกอบพิธีที่ศิษย์แสดงความกตเวทิตาคุณต่อครู ความสำคัญของครูที่มีต่อศิษย์นั้นเพราะครูเป็นผู้ให้ทั้งความรู้และความเจริญรุ่งเรืองแก่ศิษย์ ครูในพิธีไหว้ครูมี 4 กลุ่ม คือ กลุ่มมหาเทพ กลุ่มดุริยเทพ กลุ่มเทพเจ้าและพระฤๅษี และกลุ่มครูมนุษย์ที่ล่วงลับไปแล้ว การประกอบพิธีมีครูท่านหนึ่งเป็นผู้ทำ ...

พิธีไหว้ครูดนตรีไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอะไร

พราหมณ์ของอินเดียพร้อม ๆ กับการเริ่มระเบียบแห่งการดนตรีขึ้นใหม่ในแดนสุวรรณภูมินี้ จึงได้ ถือเป็นแบบอย่างสืบกันมาทีเดียว ไม่มีปัญหาอะไรในการที่จะกล่าวว่า พิธีไหว้ครูของเราเอาแบบ อินเดียมาใช้ เพราะชื่อเทพเจ้าทุก ๆ องค์ตรงตามตำราแห่งศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น แต่คงจะดำเนิน

จุดเด่นและเอกลักษณ์ของดนตรีไทย คืออะไร *

เครื่องดนตรีไทยที่สร้างขึ้นนั้นล้วนแต่มีเจตนาให้ไพเราะ แต่ว่าเป็นเสียงไพเราะอย่างนุ่มนวลอ่อนหวานไม่เอะอะหรือเกรี้ยวกราด ซึ่งเป็นไปตามลักษณะนิสัยของชนชาติไทย เสียงซอ เสียงขลุ่ย เสียงปี่ เสียงฆ้อง และเสียงพิณ ล้วนเป็นสิ่งที่มีเสียงนุ่มนวล มีกังวานไพเราะอย่างอ่อนหวาน แม้จะมีสิ่งที่มีเสียงดังมาก เช่นกลองทัดผสมอยู่บางเวลาก็ ...