วางแผนการทำงานบ้านมีลำดับขั้นตอนอย่างไร

การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการทำงานบ้านตามลำดับขั้นตอน ซึ่งสามารถสั่งงาน ติดตาม ควบคุม และตรวจสอบการทำงาน จนได้ผลงานที่มีคุณภาพ ช่วยประหยัดทั้งเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในครอบครัว

ทักษะการจัดการงานบ้านจึงเป็นการทำงานบ้านด้วยตนเองเพียงคนเดียว หรือการทำงานบ้านร่วมกับสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นระบบ ประณีต และมีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำ กระดาษ อย่างประหยัดและคุ้มค่า เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายอย่างมี ประสิทธิภาพ โดยนำความรู้เรื่อง การจัดการงานบ้านอย่างเป็นระบบและการเขียนแผนการทำงานบ้านมาประยุกต์ใช้กับงานแต่ละงานที่จะทำ

๒.๔ การจัดห้องครัว
ห้องครัวเป็นห้องที่ใช้เตรียมอาหาร ประกอบอาหาร จัดวางและเก็บสิ่งของเครื่องใช้ในครัวต่างๆ และบางครอบครัวอาจมีโต๊ะรับประทานอาหารในห้องครัวด้วย
๑) การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในห้องครัว
การจัดวางสิ่งของเครื่องใช้ในห้องครัวในตำแหน่งที่เหมาะสม จะช่วยให้เดินเข้า-ออกได้สะดวก มีความคล่องตัวในการทำงาน ดูแลรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย โดยมีแนวทาง ดังนี้

แนวทางที่ 1

การจัดแบบชิดผนังด้านเดียวหรือแบบเส้นตรง นิยมใช้กับบ้านที่มีเนื้อที่จำกัด

วางแผนการทำงานบ้านมีลำดับขั้นตอนอย่างไร

แนวทางที่ 2

การจัดแบบชิดผนังสองด้านหรือตัวแอล (L) ใช้กับห้องครัวลักษณะแคบและยาว

วางแผนการทำงานบ้านมีลำดับขั้นตอนอย่างไร

แนวทางที่ 3

การจัดแบบชิดผนังสามด้านหรือแบบตัวยู (U) เหมาะสำหรับห้องครัวที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมด้านเท่า

วางแผนการทำงานบ้านมีลำดับขั้นตอนอย่างไร

แนวทางที่ 4

การจัดแบบเส้นขนานใช้สำหรับห้องครัวที่มีประตูอยู่ตรงข้ามกัน ๒ ประตู

วางแผนการทำงานบ้านมีลำดับขั้นตอนอย่างไร

วางแผนการทำงานบ้านมีลำดับขั้นตอนอย่างไร

นอกจากนี้ควรมีถังขยะสำหรับใส่เศษอาหารแห้ง อาหารสด และปลักไฟเพื่อใช้งานกับเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ หม้อหุงข้าวไฟฟ้า

การวางแผนทำงานบ้าน คือ การกำหนดแนวปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า ว่าจะทำอย่างไร ทำเมื่อไร ทำโดยวิธีใด ใครเป็นผู้ทำและกำหนดงานเสร็จเมื่อไร

ขั้นตอนการวางแผนทำงานบ้าน

ก่อนทำงานบ้านควรวางแผนเป็นลำดับขั้นจะช่วยให้ทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เรียบร้อยและมีคุณภาพ ซึ่งมีขั้นตอนในการวางแผนทำงานบ้าน ดังนี้

1) รวบรวมงาน แจกแจงรายละเอียดและกำหนดระยะเวลาการทำงาน

ประเภทของงานบ้าน

งานประจำวัน

งานประจำสัปดาห์

งานประจำเดือน

งานทำอาหาร

– เตรียมและประกอบอาหาร

– จัดโต๊ะอาหาร

– ล้างภาชนะเครื่องใช้ในการรับประทานอาหาร

– ทำความสะอาดตู้กับข้าว

– ทำความสะอาดตู้เย็น

งานซักรีด

ซ่อมแซม

ดัดแปลงเสื้อผ้า

– ซักผ้า

– เก็บพับเสื้อผ้า

– รีดผ้า

– จัดตู้เสื้อผ้า

– ซักผ้าปูที่นอน

– ซักปลอกหมอน

– ซักผ้าห่ม

งานทำความ

สะอาดเครื่องเรือน

เครื่องใช้ในบ้าน

– ทำความสะอาดโต๊ะอาหาร

– ทำความสะอาดเตาแก๊ส

– ทำความสะอาดพัดลม

– ทำความสะอาดเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น เครื่องกรองน้ำตู้หนังสือ

– ทำความสะอาด

มุ้งลวด

จัดตกแต่งบ้าน

และดูแลบริเวณ

บ้าน

– เก็บที่นอน

– ปัดกวาด เช็ดถูพื้นห้องทุกห้อง

– รดน้ำต้นไม้

– ทำความสะอาดห้องน้ำ

– ทำความสะอาดห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน

– ปัดกวาดหยากไย่

– ตัด ตกแต่งกิ่งไม้

– ตัดหญ้า

งานเลี้ยงดูเด็กและคนชรา

– จัดให้รับประทานอาหาร

– ดูแลความสะอาดร่างกาย

– ดูแลตู้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย

– พูดคุยให้เกิดความบันเทิง

– สระผม

– ตัดเล็บ

– พาไปพักผ่อน

นอกสถานที่

งานดูแลสัตว์เลี้ยง

– ให้อาหาร

– ทำความสะอาดร่างกาย

– ตรวจโรค

2) เขียนแผนการทำงาน เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมมาเขียนเป็นแผนการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ แผนการปฏิบัติงานประจำวัน แผนการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ และแผนการปฏิบัติงานประจำเดือน การเขียนแผนการปฏิบัติงานต้องกำหนดหัวข้อที่สำคัญ ดังนี้

                2) เขียนแผนการทำงาน เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมมาเขียนเป็นแผนการปฏิบัติงาน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ  คือ แผนการปฏิบัติงานประจำวัน  แผนการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ และแผนการปฏิบัติงานประจำเดือน การเขียนแผนการปฏิบัติงานต้องกำหนดหัวข้อที่สำคัญ  ดังนี้

รูปแบบการสอนภาษาอังกฤษ   

        ปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษได้มีวิวัฒนาการ และมีทฤษฎีการสอนหลากหลายวิธี ที่ครูจะเลือกแนวทางที่เหมาะสมนำไป ดัดแปลงใช้สอนนักเรียนแต่ละคน ดังวิธีสอนต่อไปนี้

 1. วิธีการสอนไวยากรณ์และการแปล (Grammar Translation )


เป็นวิธีการสอนที่ เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน


1.1 ครูจะบอกและอธิบายกฎเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆ
1.2 ในด้านคำศัพท์ ครูจะสอนครั้งละหลายคำ บอกคำแปลภาษาไทย บางครั้งเขียนคำอ่านไว้ด้วย 

1.3 ครูเน้นทักษะการอ่าน และการเขียน
1.4 ครูเน้นวัดผลด้านความรู้ ความจำ คำศัพท์ กฎเกณฑ์ ความสามารถในการแปล
1.5 ครูมีบทบาทสำคัญมากที่สุด
1.6 นักเรียนเป็นผู้รับฟัง และจดสิ่งที่ครูบอกลงในสมุด
1.7 นักเรียนจะต้องท่องจำกฎเกณฑ์ตลอดจนชื่อเฉพาะต่างๆ ทางไวยากรณ์
1.8 นักเรียนทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับเกณฑ์ไวยากรณ์นั้นๆ
1.9 นักเรียนไม่ได้ฝึกนำคำศัพท์มาใช้ในรูปประโยค       

เป็นวิธีการสอน ที่เน้นทักษะการฟัง และพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียนโดยมีความเชื่อว่า เมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้ว ก็สามารถอ่านและเขียนได้ง่าย และเร็วขึ้น ไม่เน้นไวยากรณ์กฎเกณฑ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่เป็นกิจกรรสนทนา นักเรียนได้ใช้ภาษาเต็มที่

ลักษณะเด่น
2.1 ครูคอยกระตุ้นให้นักเรียนพูดโต้ตอบ
2.2 ครูสร้างสภาพแวดล้อมหรือใช้สื่อที่เอื้อต่อการการเรียนการสอน
2.3 อธิบายคำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษ และใช้ตัวอย่างประกอบเป็นของจริง
2.4 การวัดผลเน้นทักษะการฟัง และพูด เช่นการเขียนตามคำบอก การปฏิบัติตามคำสั่ง

3. วิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method)


เป็นวิธีการสอนตามหลัก ภาษาศาสตร์ และวิธีสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติ คือ ฟัง พูด อ่าน และเขียน สอนครบองค์ประกอบลำดับจากง่ายไปหายาก


3.1 ครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาที่เรียนให้แก่ผู้เรียนในการเลียนแบบ
3.2 ครูจะจัดนำคำศัพท์และประโยคมาสร้างเป็นรูปประโยคให้นักเรียนพูดตามซ้ำๆ กัน ในรูปแบบต่างกัน
3.3 ครูมุ่งเรื่องการฝึกรูปประโยคทางภาษาในห้องเรียนมากกว่าประโยชน์การใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน
3.4 นักเรียนจะต้องฝึกภาษาที่เรียนซ้ำๆ
3.5 นักเรียนเป็นผู้ลอกเลียนแบบ และปฏิบัติตามครูจากสิ่งที่ง่ายไปหาสิ่งที่ยากจนเกิดเป็นนิสัยสามารถพูดได้อย่างอัตโนมัติ 

4. วิธีการสอนตามทฤษฏีการเรียนแบบความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Code Learning theory)


วิธีการสอนแบบนี้ยึดแนวคิดที่ว่าภาษา เป็นระบบที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ ความเข้าใจ และการแสดงออก ทางภาษาขึ้นอยู่กับความเข้าใจ กฎเกณฑ์ เมื่อผู้เรียนมีความเข้าใจรูปแบบของภาษาและความหมายแล้ว ก็จะสามารถใช้ภาษาได้


4.1 ครูมุ่งฝึกทักษะทุกด้านตั้งแต่เริ่มสอน โดยไม่จำเป็นต้องฝึกฟังและพูดให้ดีก่อน แล้วจึงอ่านและเขียน ตามวิธีสอนแบบฟัง-พูด (Audio – Lingual Method) 

4.2 ครูสอนเนื้อหาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความต้องการที่แตกต่างของนักเรียน ที่มีความสามารถในทักษะฟังพูดอ่านเขียนที่แตกต่างกัน
4.3 สนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความคิด สติปัญญา และมีความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนภาษาอังกฤษ
4.4 ใช้ภาษาไทยในการช่วยอธิบาย แต่อธิบายในเรื่องการฟังและพูด
4.5 การวัดและประเมินผลในด้านภาษาของนักเรียนนั้น คือ ความคล่องแคล่วในการใช้ภาษาแต่ ละขั้นตอน

5. วิธีสอนตามเอกัตภาพ (Individualized Instruction)


จากวิวัฒนาการสอน ภาษาอังกฤษ จะเห็นว่า ผู้เรียนเริ่มมีบทบาทจากการเป็นผู้รับเพียงฝ่ายเดียวมาเป็นผู้ที่มีส่วนร่วม ในการเรียนการสอนมากขึ้นเป็นลำดับ

5.1 การสอนเปลี่ยนจากครูเป็นหลัก เป็นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
5.2 ครูพยายามให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละบุคคลให้ได้มากที่สุด5.3 ครูเตรียมสื่อการเรียนการสอนไว้ให้
5.4 ครูจะเตรียม สื่อ เอกสาร บทเรียนโปรแกรม ชุดการเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
       และแนวคำตอบไว้ให้ ให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง

6. วิธีสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง (Total Physical Response Method)


แนวการสอนแบบนี้ ให้ความสำคัญต่อการฟังเพื่อความเข้าใจ เมื่อผู้ฟังเข้าใจเรื่องที่ฟังอยู่และสามารถปฏิบัติตามได้ก็จะช่วยให้จำได้ดี


6.1 ในระยะแรกของการเรียนการสอน ผู้เรียนไม่ต้องพูด แต่เป็นเพียงผู้ฟังและทำตามครู
6.2 ครูเป็นผู้กำกับพฤติกรรมของนักเรียนทั้งหมด ครูจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง เมื่อถึงระยะเวลาที่สมควรพูดแล้วเรียนอ่านและเขียนต่อไป 

6.3 ภาษาที่นำมาใช้ในการสอนเน้นที่ภาษาพูด เรียนเรื่องโครงสร้างทางไวยากรณ์ และคำศัพท์มากกว่าด้านอื่นๆ โดยอิงอยู่กับประโยคคำสั่ง
6.4 นักเรียนจะเข้าใจความหมายได้อย่างชัดเจนจากการแสดงท่าทางของครู
6.5 ครูทราบได้ทันทีว่านักเรียนเข้าใจหรือไม่ จากการสังเกตการปฏิบัติตามคำสั่งของนักเรียนเมื่อครูสั่ง
6.6 ครูต้องทำพร้อมกับนักเรียนในระยะแรก
6.7 ต้องสั่งจากง่ายไปหายาก

7. วิธีการสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)


เป็นวิธีการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียน รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม รวมพลังความคิดเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหา หาข้อเท็จจริง


7.1 ฝึกให้นักเรียนกล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็นกล้าพูด อย่างมีเหตุผล ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี ฝึกให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และอดทนที่จะรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
7.2 ครูสร้างสถานการณ์ใหนักเรียนทำงานว่า สมมุตินักเรียนจะเข้าค่ายพักแรมเป็นเวลา 5 วันนักเรียนจะต้องเตรียมเครื่องใช้อะไรไปบ้างช่วยกันอภิปราย และสรุปผลออกมาเป็นรายงานส่งครู เป็นต้น

8. วิธีการสอนแบบโครงการ (Project Method)


เป็นวิธีที่สอนให้ผู้เรียนทำกิจกรรม ใดกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เรียนสนใจ หรือตามที่ครูมอบหมายให้ทำ


8.1 นักเรียนจะดำเนินการอย่างอิสระ
8.2 ครูเป็นเพียงผู้ชี้แนะช่วยเหลือและติดตามผลงานของนักเรียนว่าการดำเนินการ ความก้าวหน้า
       อุปสรรคการประเมินผลงานใดบ้าง
8.3 นักเรียนจะมีอิสระในการใช้ภาษาได้อย่างเต็มที่ 

9. วิธีสอนภาษาแบบกลุ่มสัมพันธ์ (Community Language Learning)


วิธีการ สอนแบบนี้มีแนวคิดที่ต่างไปจากแนวคิดอื่น


9.1 ยึดผู้เรียนเป็นหลัก
9.2 เน้นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
9.3 นักเรียนแต่ละคนร่วมกิจกรรม
9.4 ครูทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านภาษาเท่านั้น ส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
9.5 เน้นการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร สิ่งที่นำมาเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การฝึกให้ผู้เรียนใช้โครง สร้างประโยค คำศัพท์และเสียง ตามวิธีการสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์
9.6 การประเมินผลการเรียนนั้นจะเป็นการทดสอบแบบบูรณาการโดยให้นักเรียนประเมินตนเอง  ดูจากการเรียนรู้ของตนเอง และความก้าวหน้าของตน
9.7 ถ้านักเรียนมีที่ผิด ครูจะพยายามแก้ไข โดยไม่ใช้วิธีคุกคาม โดยให้ฝึกทำซ้ำๆ กัน

10. วิธีสอนตามแนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Approach)


จากข้อเท็จจริงพบว่า ถึงแม้นักเรียน จะเรียนรู้โครงสร้างของภาษามาแล้วเป็นอย่างดี แต่ก็ยังไม่สามารถพูดได้หรือสื่อสารได้ดีนัก ด้วยเหตุผลนี้นักภาษาศาสตร์และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภาษาต่างประเทศ ได้เสนอแนวการสอนแบบใหม่ คือ การสอนเพื่อการสื่อสาร โดยมีความเชื่อว่าภาษาไม่ได้เป็นเพียงระบบไวยากรณ์ที่ประกอบด้วยเสียง ศัพท์ และโครงสร้างเท่านั้น แต่ภาษาคือ ระบบที่ใช้ในการสื่อสาร ดังนั้นการสอน จึงควรให้นักเรียนสามารถนำภาษาไปใช้ในการสื่อสารได้  และจะต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมตามสภาพสังคมด้วย

11. โปรแกรม CIRC (Cooperative Intergrated Reading and Composition)


CIRC คือ โปรแกรมสำหรับสอนการอ่าน การเขียนและทักษะทางภาษา (Language arts) ใช้กับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย โดยเน้นที่หลักสูตรและวิธีการสอน โดยการพยายามนำการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ โปรแกรม CIRC พัฒนาขึ้นโดย Madden, Slavin และ Stevens ในปี 1986 นับ ว่าเป็นโปรแกรมที่ใหม่ที่สุดของวิธีการเรียนรู้เป็นทีม ซึ่งเป็นโปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือที่น่าสนใจยิ่ง เนื่องจากเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนที่นำการเรียนแบบร่วมมือมาใช้กับการอ่าน และการเขียนโดยตรง
CIRC-Reading สำหรับการอ่าน นักเรียนจะได้รับการสอนภายในกลุ่มการอ่าน หลังจากนั้นให้นักเรียนแยกออกเป็นทีม เพื่อทำงานตามกิจกรรมแบบร่วมมือ โดยการจับคู่กันอ่าน การทำนายเรื่องที่อ่าน การสรุปเรื่องให้อีกคนหนึ่งฟัง การเขียนตอบคำถามจากเรื่อง การฝึกสะกดคำศัพท์ การถอดรหัสและฝึกเรื่องคำศัพท์ นักเรียนทำงานร่วมกันในทีมเพื่อให้นักเรียนสามารถจับใจความสำคัญของเรื่อง ที่อ่านได้ และได้ทักษะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจในการอ่าน
CIRC-Writing/Language Arts สำหรับการเขียน วิธีการที่ใช้ขึ้นอยู่กับรูปแบบกระบวนการเขียน ซึ่งใช้รูปแบบทีมเหมือนกับโปรแกรม CIRC สำหรับการอ่าน วิธีการนี้นักเรียนทำงานร่วมกันเพื่อวางแผน (plan) ร่างต้นฉบับ (draft) ทบทวนแก้ไข (revise) รวบรวมและลำดับเรื่อง (edit) และพิมพ์หรือแสดงผลงาน (publish) เรื่องที่แต่งออกมา โดยครูเป็นผู้เสนอเนื้อหาเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับแนวทาง (style) เนื้อหา และกลวิธีของการเขียน
CIRC สำหรับ การอ่านและการเขียนนั้น โดยปกติแล้วจะใช้ควบคู่ไปด้วยกัน แต่กระนั้นก็สามารถใช้โปรแกรมนี้แยกในการสอนอ่าน หรือสอนการเขียนเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้
โปรแกรมการเรียนแบบร่วมมือ มีลักษณะกิจกรรมโดยรวมดังนี้คือ
1. การสอนเริ่มต้นจากครู (Teacher Instruction)
2. การฝึกปฏิบัติภายในทีม (Team Practice) นักเรียนทำงานในกลุ่มซึ่งมีสมาชิก 4-5 คนโดยมีความสามารถแตกต่างกัน เรียนรู้กันจากที่ครูได้มอบหมายให้โดยการใช้ Worksheet หรืออุปกรณ์การฝึกอื่นๆ ขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่เรียน นักเรียนจะได้ประเมินเพื่อนสมาชิกในกลุ่มซึ่งกันและกัน
3. นักเรียนได้ประเมินการเรียนรู้ของตนเอง (Individual Assessment) ในเรื่องของข้อความรู้หรือทักษะที่เขาได้รับในบทเรียน
4. คะแนนจากการประเมินนักเรียนแต่ละคน จะรวมเป็นคะแนนของทีม (Team Recognition) ทีมใดที่ได้คะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับใบประกาศนียบัตรหรือรางวัลอื่นๆ
การจัดกลุ่มนักเรียน
นักเรียนจะทำงานตามกิจกรรมที่กำหนด ภายในกลุ่มการเรียนรู้ที่มีนักเรียนซึ่งมีความสามารถแตกต่างกันในกลุ่มการอ่าน (Reading Groups) นั้น นักเรียนจะถูกกำหนดให้อยู่ในกลุ่ม การอ่าน จำนวน 2-3 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับระดับการอ่านของเขา โดยครูเป็นผู้กำหนดให้ว่า นักเรียน คนใดจัดว่าอยู่ในกลุ่มเก่ง ปานกลาง หรืออ่อน

12.การจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT


การจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT มีพื้นฐานความคิดมาจากเรื่องสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Style) และการทำงานของสมอง สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับสไตล์ การเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นเสนอโดยแมค คาธี (Mc Carthy) ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดของ เดวิด คอล์บ David Kolb ซึ่งอธิบายว่าสไตล์การเรียนรู้เกิดจากมิติ 2 มิติ คือ
1. การเรียนรู้ (Perception)
2. การจัดการข้อมูล (Processing)
1. การรับรู้ (Perception) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
1.1 การรับรู้ผ่านประสบการณ์รูปธรรม (Concrete Experience)
1.2 การรับรู้ผ่านการสร้างมโนทัศน์ที่เป็นนามธรรม (Abstract Conceptualization)
2. การจัดการข้อมูล (Processing) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ
2.1 การสังเกตแล้วนำมาคิดไตร่ตรอง (Reflective Observation)
2.2 การลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง (Active Experiment)
ลักษณะการเรียนของผู้เรียนแต่ละแบบ มีลักษณะที่ต่างกันดังนี้

ผู้เรียนแบบที่ 1 (Type 1) เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่เป็นรูปธรรมผ่านการสังเกตแล้วคิดอย่างไตร่ตรองจัดเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า ผู้เรียนถนัดจินตนาการ (Imaginative Learner) เขาจะพยายามค้นหาความหมายในสิ่งที่เรียนรู้ มักชอบถามว่าทำไม (Why)

ผู้เรียนแบบที่ 2 (Type 2) เรียนรู้จากประสบการณ์ที่เป็นนามธรรมผ่านการคิดอย่างไตร่ตรองจนเกิดเป็นมโนทัศน์จัดเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า ผู้เรียนถนัดการวิเคราะห์ (Analytic Learner) มักชอบถามว่าอะไร (What)

ผู้เรียนแบบที่ 3 (Type 3) เรียน รู้จากการรับรู้มโนทัศน์ แล้วนำมโนทัศน์มาผ่านการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง จัดเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า ผู้เรียนถนัดการใช้สามัญสำนึก (Common Sense Learner) มักชอบถามว่าอย่างไร (How)

ผู้เรียนแบบที่ 4 (Type 4) เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจนเกิดประสบการณ์ซึ่งตนเองยอมรับได้ จัดเป็นผู้เรียนที่เรียกว่า ผู้เรียนยอมรับการเปลี่ยนแปลง (Dynamic Learner) มักชอบถามว่า ถ้า…แล้ว (If…then…)

การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้


การจัดการเรียนการสอนแบบ 4 MAT จัด เป็นนวัตกรรมการออกแบบกิจกรรมการ เรียนรู้ ที่สอดคล้องกับแนวคิดในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล การจัดการเรียนรู้ที่เน้น ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
แมค คาธี ได้นำผลการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน และผลการศึกษาด้านการพัฒนาสมอง 2 ซีก มาพัฒนาเป็นแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ เหมาะสมกับผู้เรียนทุกลักษณะผสมผสานกัน กระบวนการจัดการเรียนรู้ได้แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนแบ่งเป็นขั้นตอนย่อย ๆ 2 ขั้น ตอน จึงทำให้สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและยืดหยุ่น ตอบสนองการพัฒนาศักยภาพทุกด้านของผู้เรียนที่มีรูปแบบหรือลักษณะการเรียนรู้ แตกต่างกัน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การ นำเสนอประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้เรียน ขั้นตอนนี้เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจเรื่องที่เรียน ค้นพบเหตุผลของตนเองว่าทำไมต้องเรียนเรื่องนั้น แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ
1.1 การเสริมสร้างประสบการณ์ ขั้นนี้ผู้เรียนจะได้มีปฏิสัมพันธ์หรือใช้จินตนาการของตนใน สิ่งที่กำลังเรียน (เน้นการพัฒนาสมองซีกขวา)
1.2 การวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับ เป็นขั้นที่หาเหตุผลเกี่ยวกับประสบการณ์ที่ได้รับใน ขั้น 1.1 ด้วยการคิด วิเคราะห์ (เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย)

ขั้นตอนที่ 2 การเสนอเนื้อหา สาระ ข้อมูลแก่ผู้เรียน ขั้นนี้เป็นการเชื่อมโยงการเรียนรู้จาก ขั้น 1.2 มาสู่การสร้างมโนทัศน์เพื่อตอบคำถามให้ได้ว่าสิ่งที่เรียนนั้นคืออะไร แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ
2.1 การบูรณาการประสบการณ์เพื่อสร้างมโนทัศน์ (Concept) ขั้นนี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถ เชื่อมโยงระหว่างประสบการณ์ของตนกับสิ่งที่เรียน เพื่อให้เกิดความ เข้าใจ (เน้นการพัฒนาสมองซีกขวา)
2.2 การพัฒนาเป็นมโนทัศน์ เป็นขั้นตอนของการทำให้ผู้เรียนเข้าใจในสิ่งที่เรียน จนสร้างเป็นมโนทัศน์ได้ (เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย)

ขั้นตอนที่ 3 การฝึกปฏิบัติเพื่อพัฒนามโนทัศน์ เป็นการพัฒนามโนทัศน์มาสู่การปฏิบัติจริง เป็นการหาคำตอบว่าจะทำได้อย่างไร แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ
3.1 การปฏิบัติงานตามขั้นตอน ขั้นนี้ผู้เรียนจะได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ (เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย)
3.2 การ นำเสนอผลการปฏิบัติงาน ขั้นนี้เป็นการบูรณาการและสร้างสรรค์ของผู้เรียน ที่จะแสดงถึงความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เรียนในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดหรือความ สนใจของตน (เน้นการพัฒนาสมองซีกขวา)

ขั้นตอนที่ 4 การ นำความคิดรวบยอดไปสู่การประยุกต์ใช้ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ เกิดจากการลงมือทำด้วยตนเอง เพื่อชี้ให้เห็นว่า ถ้าจะนำไปใช้ในชีวิตจริงแล้วเป็นอย่างไร แบ่งเป็น 2 ขั้นตอนย่อย คือ
4.1 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้หรือการพัฒนางาน ในขั้นนี้ผู้เรียนจะได้มีโอกาสเลือกและลงมือกระทำงานของตนเองทุกขั้นตอน จนสำเร็จเป็นผลงาน (เน้นการพัฒนาสมองซีกซ้าย)
4.2 การนำเสนอผลงานหรือการเผยแพร่ เป็นขั้นตอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของตนในรูปแบบต่าง ๆ (เน้นการพัฒนาสมองซีกขวา)

คำอธิบายเกี่ยวกับความสามารถในการทำงานของสมอง
1. ความ สามารถของสมองซีกขวา คือ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การใช้สามัญสำนึก การคิดแบบหลากหลาย การคิดแบบองค์รวม การคิดจินตนาการ ฯลฯ
2. ความสามารถของสมองซีกซ้าย คือ การคิดวิเคราะห์ การคิดหาเหตุผล การคิดแบบปรนัย การคิดแบบมีทิศทาง ฯลฯ 

13. การจัดการเรียนการสอนแบบStory line


วิธีสอนแบบสตอรีไลน์ เป็นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียงลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็นตัวนำ สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็นการเรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้าหมายพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนทั้งตัว

ลักษณะเด่นของวิธีสอน

1.กำหนดเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และจัดเรียงเป็นตอนๆ (Episode) ด้วยการใช้คำถามหลัก (Key Questions) เป็นตัวกำหนดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้

2.เน้นการใช้กิจกรรม (Activity Based Approach) ให้สอดคล้องกับคำถามหลัก และเนื้อหาการผูกเรื่อง ซึ่งมีดังนี้
1) ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนมากที่สุด
2) ยึดกลุ่มเป็นแหล่งความรู้ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
3) ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง โดยเน้นกระบวนการควบคู่กับความรู้
4) เน้นการนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน

3.เน้นให้ผู้เรียนสร้าง (Construct) ความ รู้ด้วยตนเอง โดยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมอย่างกระฉับกระเฉง เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย สามารถพัฒนาผู้เรียน ทั้งด้านสติปัญญา (Head) ด้านอารมณ์ เจตคติ (Heart) และด้านทักษะปฏิบัติ (Hands) เป็นวิธีสอนที่ให้อำนาจแก่ ผู้เรียน (Learner Empowerment) คือ ให้โอกาสสร้างความรู้หรือปรับแต่งโครงสร้างความรู้ด้วย ตนเองอย่างเป็นอิสระ และแสดงถึงกระบวนการในการได้มาซึ่งความรู้นั้นๆ รับผิดชอบต่อ ความรู้ที่สร้างขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Long Life Learning)

4.เป็นการเรียนตามสภาพจริง (Authentic Learning) มีการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration)

5.มีเหตุการณ์ (Incidents) เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้แก้ไขปัญหาและเรียนรู้

6.แต่ละเรื่อง หรือแต่ละเหตุการณ์ที่กำหนด ต้องมีการระบุสิ่งต่อไปนี้ หรือมีองค์ประกอบต่อไปนี้
1) กำหนดฉาก โดยระบุสถานที่และเวลาโดยเฉพาะ
2) ตัวละคร อาจเป็นคนหรือเป็นสัตว์
3) วิถีการดำเนินชีวิตเพื่อใช้ศึกษา
4) ปัญหาที่รอการแก้ไข

บทบาทของครูและผู้เรียนเมื่อใช้วิธีสอนแบบสตอรีไลน์

บทบาทของครู

1.เป็นผู้เตรียมการ ในเรื่องต่างๆ ได้แก่


1)กรอบแนวคิดของเรื่องที่จะสอนโดยเขียนเส้นทางการเดินเรื่อง (Storyline) และกำหนดเรื่องเป็นตอนๆ (Episode) โดยแต่ละหัวข้อเรื่องในแต่ละตอนได้จากการบูรณาการ
2)เตรียมคำถามสำคัญหรือคำถามหลัก เพื่อใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์และลงมือปฏิบัติ

2.เป็นผู้อำนวยความสะดวกระหว่างการเรียนการสอน เช่น


1)เป็นผู้นำเสนอ (Presenter) เช่น นำเสนอประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน
2)เป็นผู้สังเกต (Observer) สังเกตขณะผู้เรียนตอบคำถาม ถามคำถาม ปฏิบัติกิจกรรม รวมทั้งสังเกตพฤติกรรมอื่นๆ ของผู้เรียน
3) เป็นผู้ให้กระตุ้น (Motivator) กระตุ้นความสนใจ ผู้เรียน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างแท้จริง
4) เป็นผู้ให้การเสริมแรง (Reinforcer) เพื่อให้เพิ่มความถี่ของพฤติกรรมการเรียน
5) เป็นผู้แนะนำ (Director)
6) เป็นผู้จัดบรรยากาศ (Atmosphere Organizor) ให้บรรยากาศการเรียนการสอนดีทั้งด้านกายภาพและด้านจิตสังคม เพื่อให้ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุข
7)เป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Reflector) ให้การวิพากย์วิจารณ์ข้อดี ข้อบกพร่อง เพื่อให้พฤติกรรมคงอยู่ หรือปรับปรุง แก้ไข พฤติกรรมการเรียน
8)เป็นผู้ประเมิน (Evaluator) ควรมีการประเมินผลเป็นระยะๆ ประเมินกระบวนการ (Process) พฤติกรรมระหว่างหาความรู้ (Performance) และประเมินผลงาน (Product) ซึ่งอาจเป็นองค์ความรู้ และ/หรือ ผลงาน

3.เน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการ (Process Oriented) มากกว่าเนื้อเรื่อง เนื้อหาสาระ (Content Oriented)

4.เน้นการบูรณาการระหว่างวิชา (Integration) หรือผสมผสานระหว่างวิชาในหลักสูตร (Interdisciplinary)

5.เป็นแหล่งข้อมูลหรือแหล่งความรู้แหล่งหนึ่งที่ให้ผู้เรียนซักถาม ปรึกษาเพื่อค้นคว้าหาความรู้

6.เป็นผู้ริเริ่มประเด็น ปัญหา เหตุการณ์ในเรื่องราวที่จะสอน และต้องจัดกิจกรรมเพื่อจบลงด้วยความตื่นเต้น ความพอใจ ทั้งครู ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และคนในชุมนุม เป็นต้น

การวางแผนการทำงานบ้านมีขั้นตอนอะไรบ้าง

1. ปฏิบัติงาน - ติดตามและปรับปรุงแก้ไข - นำเสนอผลงาน 2. ปฏิบัติงาน - จัดทำแผนการทำงาน - ประเมินงาน - สรุปงาน 3. วิเคราะห์งาน - ปฏิบัติงาน -จัดทำแผนการทำงาน - ปรับปรุงแก้ไข 4. วิเคราะห์งาน - จัดทำแผนการทำงาน - ปฏิบัติงาน - ติดตามและปรับปรุงแก้ไข

การวางแผนการทำงานบ้านมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร

ประโยชน์ของการวางแผนก่อนทำงาน มีดังนี้ ๑. ช่วยให้ผู้ที่รับผิดชอบในงานทราบล่วงหน้าว่าจะต้องทำงานใด เมื่อใด ทำให้สามารถทำงานที่รับผิดชอบได้ครบทุกรายการ รวมทั้งช่วยให้งานสำเร็จตามเป้าหมายได้เร็วขึ้น ๒. ฝึกนิสัยในการคิดล่วงหน้า มีเหตุผลและรอบคอบ ๓. เป็นวิธีการปลูกฝังความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นกับสมาชิกในบ้าน

ขั้นตอนแรกของการวางแผนทำงานบ้านคือข้อใด

ก่อนทำงานบ้านควรวางแผนเป็นลำดับขั้นจะช่วยให้ทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เรียบร้อยและมีคุณภาพ ซึ่งมีขั้นตอนในการวางแผนทำงานบ้าน ดังนี้ 1) รวบรวมงาน แจกแจงรายละเอียดและกำหนดระยะเวลาการทำงาน ประเภทของงานบ้าน งานประจำวัน

งานบ้านมีลักษณะอย่างไร

งานบ้านแบ่งออกตามลักษณะงานได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้ ๑. งานอาหาร เช่น ช่วยประกอบอาหารสําหรับครอบครัว ๒. งานเสื้อผ้า เช่น การซักรีดเสื้อผ้า ๓. งานทําความสะอาดบ้านและบริเวณบ้านช่วยกันทําความสะอาดห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน และบริเวณบ้าน ๔. งานเลี้ยงดูและบริการบุคคลภายในบ้าน เช่น ดูแลช่วยเหลือญาติผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยหรือ ช่วยพ่อ ...