ขั้นตอนที่ 2 ของหลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นคือข้อใด

หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น

     
        ในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ้เขียนโปรแกรมจะต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษาโปรแกรม และระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ว่ามีโครงสร้างและวิธีการใช้คำสั่งอย่างไร ซึ่งในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีหลักเกณฑ์การเขียนโปรแกรม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้คือ

                        1. ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา

                        2. กำหนดแผนในการแก้ปัญหา

                        3. เขียนโปรแกรมตามแผนที่กำหนด

                         4. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม

                        5. นำโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบไปใช้งาน

ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา
           ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจและทำการวิเคราะห์ปัญหาเปํนลำดับแรก เพราะการทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาเป็นสิ่งที่สำคัญโดยที่ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องวิเคราะห์ปัญหาร่วมกับนักวิเคราะห์ระบบว่าโจทย์ต้องการผลลัพธ์อะไร และการให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์นั้น ต้องป้อนข้อมูลอะไรบ้าง และเมื่อป้อนข้อมูลเข้าไปแล้วจะทำการประมวลผลอย่างไร สิ่งหล่านี้ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง เพราะถ้าผู้เขียนโปรแกรมวิเคราะห์ปัญหาไม่ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ได้ออกมาก็อาจจะไม่ตรงกับ
ความต้องการของโจทย์ได้
กำหนดแผนในการแก้ปัญหา
           หลังจากทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาโจทย์จนได้ข้อสรปุว่าโจทย์ต้องการอะไรแล้ว ผู้เขียนโปรแกรมก็จะทำการกำหนดแผนในการแก้ไขปัญหาโดยการเขียนผังงาน (Flowchart) ซึ่งการเขียนผังงานคือการเขียนแผนภาพที่เป็นลำดับ เพื่อแสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ การเขียนผังงานมี 3 แบบคือ แบบเรียงลำดับ(Sequential) แบบมีการกำหนดเงื่อนไข(Condition) และแบบมีการทำงานวนรอบ(Looping)

ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้อง
         หลังจากขียนโปรแกรมเสร็จแล้วให้ทดลองคอมไพล์โปรแกรมว่ามีจุดผิดพลาดที่ใดบ้าง ในภาษาซีการคอมไพล์ โปรแกรมจะใช้วิธีการกดปุ่ม Alt + F9 ในกรณีที่ มีข้อผิดพลาดจะแสดงในช่องด้านล่างของหน้าจอเอดิเตอร์ ในส่วนของกรอบ message ให้อ่านทำความเข้าใจ และแก้ไขตามที่โปรแกรมแจ้งข้อมูลผิดพลาด เมื่อเสร็จแล้วให้ทดลองรันโปรแกรม

นำโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบไปใช้งาน
         ถ้าหากรันโปรแกรมแล้วใช้งานได้แสดงว่าจะได้ไฟล์ที่มีส่วนขยายเป็น EXE เพื่อนำไปทดสอบ้งานในที่ต่างๆ และถ้านำไปใช้งานแล้วมีปัญหาก็ให้ทำการแก้ไขโปรแกรมอีกครั้ง แต่ถ้ารันโปรแกรมแล้วไม่มีปัญหาใดๆ แสดงว่าโปรแกรมนี้ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ จากนั้นผู้เขียนโปรแกรม ก็ต้องจัดทำคู่มือประกอบการใช้งานและนำไปเผยแพร่ต่อไป 

1. ขั้นตอนใดของวงจรการพัฒนาโปรแกรมที่มีความสำคัญที่สุด ?   ก. ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา
ข. ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
ค. ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
ง. ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม
  2. PDLC ย่อมาจากคำว่าอะไร ?   ก. Program Development Life Cycle
ข. Program Design Life Cycle
ค. Program Data mining Life Cycle
ง. Program Database Life Cycle
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหาคือข้อใด ?   ก. รหัสเทียม (Pseudo-code)
ข. อัลกอริทึม (Algorithm)
ค. ผังงาน (Flowchart)
ง. ถูกทุกข้อที่กล่าวมา
  4. การจำลองความคิดอยู่ในขั้นตอนใดของวงจรการพัฒนาโปรแกรม ?   ก. ขั้นวางแผนแก้ไขปัญหา
ข. ขั้นวิเคราะห์ความต้องการ
ค. ขั้นทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
ง. ขั้นดำเนินการเขียนโปรแกรม
  5. การจำลองความคิด หมายถึงข้อใด ?   ก. การจัดรูปแบบความคิดมาใช้ในอนาคต
ข. การจัดความคิดแล้วบรรยายสถานการณ์อย่างละเอียด
ค. การจัดรูปแบบความคิดตามหลักวิทยาศาสตร์ อย่างมีเหตุผล
ง. การจัดรูปแบบความคิดให้เป็นกระบวนการ ก่อนและหลัง
  6. ข้อใดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวาดรูปสามเหลี่ยม XYZ ?

ขั้นตอนที่ 2 ของหลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นคือข้อใด

  ก. ลากเส้นตรงจากจุด Z ไป X
ข. ลากเส้นตรงจากจุด X ไป Z
ค. ลากเส้นตรงจากจุด Y ไป Z
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
  7. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องกับคำว่า " ผังงาน " ?   ก. ผังงานเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความเข้าใจจากผู้วิเคราะห์งานไปยังผู้เขียนโปรแกรม
ข. ผังงานไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ใด ๆ
ค. การเขียนโปรแกรมจากผังงานจะทำให้โปรแกรมเสร็จเร็วขึ้น และไม่มีข้อผิดพลาดขณะเขียนโปรแกรม
ง. ผังงานเป็นเครื่องมือที่ช่วยแยกแยะปัญหาและช่วยให้การเขียนโปรแกรมง่ายขึ้น
  8. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถูกต้องที่สุดเกี่ยวกับผังงาน ?   ก. ขนาดของผังงานให้ความหมายที่แตกต่างกัน
ข. ผังงานที่ดีควรเน้นเรื่องสีสัน เพราะจะทำให้ดูง่าย
ค. การเขียนเส้นของผังงานแสดงลำดับ เราต้องเขียนจากบนลงล่างและจากขวามาซ้าย
ง. รูปแบบของผังงาน เช่น รูปสี่เหลี่ยม วงกลม แสดงความหมายในตัวเองได้
  9. สัญลักษณ์ข้อใดรับค่าจากทางแป้นพิมพ์มาเก็บไว้ในตัวแปร N ?

ขั้นตอนที่ 2 ของหลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นคือข้อใด

  ก. หมายเลข 1
ข. หมายเลข 2
ค. หมายเลข 3
ง. หมายเลข 4
  10. ถ้าต้องการตรวจสอบค่า A มากกว่า B จริงหรือไม่ ข้อใดใช้สัญลักษณ์ถูกต้อง ?

ขั้นตอนที่ 2 ของหลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นคือข้อใด

  ก. หมายเลข 1
ข. หมายเลข 2
ค. หมายเลข 3
ง. หมายเลข 4
  11. โครงสร้างผังงานใดเป็นพื้นฐานของทุกผังงาน ?   ก. แบบมีเงื่อนไข
ข. แบบเลือกทำ
ค. แบบลำดับ
ง. แบบทำซ้ำ
  12. ลักษณะโครงสร้างผังงานมีกี่รูปแบบ ?   ก. 5 รูปแบบ
ข. 4 รูปแบบ
ค. 3 รูปแบบ
ง. 2 รูปแบบ
  13. จากผังงานต่อไปนี้จงหาผลลัพธ์ เมื่อกำหนดให้รับค่าของ X= 100, Y=200 ?
ขั้นตอนที่ 2 ของหลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นคือข้อใด

  ก. 700
ข. 500
ค. 200
ง. 100
  14. ผังงานในข้อใดมีลักษณะการเขียนผังงานที่ผิดโครงสร้าง ?  
15. รหัสเทียมหรือ (Pseudo Code) ข้อใดอธิบายถูกต้อง ?   ก. อธิบายขั้นตอนการทำงานด้วยคำบรรยาย
ข. อธิบายขั้นตอนการทำงานด้วยสัญลักษณ์
ค. อธิบายขั้นตอนการทำงานด้วยภาษาอังกฤษ
ง. ถูกทุกข้อ
  16. ข้อใดคือคำสั่งการอ่านค่าจากแฟ้มข้อมูล ?   ก. Receive
ข. Get
ค. Send
ง. Read
  17. ขั้นตอนใดคือลักษณะของรหัสเทียม ?   ก. จบการทำงาน
ข. อ่านค่า Base , High
ค. Read Base, High
ง. แสดงค่า Ans
  18. การทำงานแบบทำซ้ำ Do... While (ทำ...ในขณะที่) ขั้นตอนแรกที่ต้องทำคือข้อใด ?   ก. คำนวณก่อนการตรวจสอบเงื่อนไข
ข. ทำงานตามเงื่อนไขเพียง 1 ครั้ง
ค. แสดงผลการตรวจสอบ
ง. ตรวจสอบเงื่อนไขในการทำซ้ำ
  19. ข้อใดคือความหมายของภาษาระดับสูง ?   ก. เป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจแต่คอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ
ข. เป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจและคอมพิวเตอร์เข้าใจ
ค. เป็นภาษาที่มนุษย์ไม่เข้าใจแต่คอมพิวเตอร์เข้าใจ
ง. เป็นภาษาที่มนุษย์ไม่เข้าใจและคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ
  20. ภาษาปาสคาลถูกพัฒนาโดยใคร ?   ก. ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage)
ข. ดร.นิคลอส เวิร์ธ (Dr. Niklaus Wirth)
ค. เอด้า ไบรอน (Lady Augusta Ada Byron)
ง. เบลส์ ปาสคาล (Blaise Pascal)
  21. กระบวนการใดเป็นการแปลงภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่อง ?   ก. Execute File
ข. Compile
ค. Source File
ง. Run
  22. ข้อใดไม่ใช่กระบวนการของสร้างโปรแกรมภาษาปาสคาล ?   ก. Compile
ข. Execute File
ค. Run
ง. Source File
  23. ข้อใดไม่ใช่ตัวอักขระที่ใช้ในภาษาปาสคาล ?   ก. 9
ข. B
ค. +
ง. $
  24. จากนิพจน์ที่กำหนดให้ A - B + C * D / E จะมีการกระทำใดเป็นลำดับแรก ?   ก. D / C
ข. C * D
ค. B + C
ง. A - B
  25. ข้อใดคือคุณลักษณะของชนิดข้อมูลแบบ Integer ?   ก. ข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็ม
ข. ข้อมูลตัวเลขจำนวนจริง
ค. ข้อมูลตรรกศาสตร์
ง. ข้อมูลอักขระ
  26. ข้อใดมีลำดับความสำคัญของนิพจน์ที่มากที่สุด ?   ก. *
ข. /
ค. Div
ง. ( )
  27. ข้อใดคือคำสั่งที่เรียกใช้ยูนิตของภาษาปาสคาล ที่ถูกต้อง ?   ก. Uses Dos ;
ข. Uses Graph ; Printer ;
ค. Uses Crt , Printer ,
ง. Uses Crt :
  28. ข้อใดไม่ใช่โครงสร้างของภาษาปาสคาล ?   ก. ส่วนประมวลผล
ข. ส่วนประกาศ
ค. ส่วนหัวโปรแกรม
ง. ส่วนคำสั่ง
  29. Average : = Num 1 + Num 2 + Num 3 / 3; จากสูตรหาค่าเฉลี่ยที่กำหนดให้จะเกิดข้อผิดพลาดชนิดใด ?   ก. ข้อผิดพลาดในขณะที่รันโปรแกรม
ข. ข้อผิดพลาดที่เกิดจากตรรกะโปรแกรม
ค. ข้อผิดพลาดที่เกิดจากไวยากรณ์
ง. ไม่มีข้อใดถูก
  30. ข้อใดเป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับการแสดงผลทางจอภาพ ?   ก. Readและ ReadLine
ข. Read และ ReadLn
ค. Writeและ WriteLine
ง. Write และ WriteLn
 

ขั้นตอนที่ 2 ของการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นคืออะไร

1. ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา (Analysis the Problem) 2. ขั้นตอนการออกแบบโปรแกรม (Design a Program) 3. ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม (Coding)

เริ่มต้นการเขียนโปรแกรมมีขั้นตอนอะไรบ้าง

การวิเคราะห์ปัญหาเป็นขั้นตอนแรกสุดที่ผู้พัฒนาโปรแกรมจะต้องทําก่อนที่จะเขียน โปรแกรมเพื่อทําความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้น และค้นหาวัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมาย หรือสิ่งที่ ต้องการ การวิเคราะห์ปัญหา ต้องกําหนดให้ได้ว่า โจทย์ต้องการอะไร ใช้ตัวแปรเท่าไหร่ ทําอย่างไร จึงจะแก้ปัญหานั้นได้ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งผู้ ...

ข้อใดคือหลักการเขียนโปรแกรม

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเขียนกลุ่มคําสั่งอย่างเป็นกระบวนการ มี ขั้นตอน และถูกต้องตรงตามไวยากรณ์ เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทํางานในสิ่งที่ต้องการ โดยขั้นตอน ในการพัฒนาโปรแกรมแบ่งได้เป็นออกเป็น 7 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา (program analysis) ขั้นตอนการวางแผนออกแบบโปรแกรม (program design) ขั้นตอนการ ...

หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องต้นมีกี่หลักการ

หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น.
1. ทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา.
2. กำหนดแผนในการแก้ปัญหา.
3. เขียนโปรแกรมตามแผนที่กำหนด.
4. ทดสอบและตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม.
5. นำโปรแกรมที่ผ่านการทดสอบไปใช้งาน.