กลองมโหระทึก มีความสัมพันธ์กับแหล่งวัฒนธรรมในข้อใด *

หากเอ่ยถึง “กลอง” เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักเป็นอย่างดี เนื่องจากในวิถีชีวิตของชาวไทยนั้น กลอง นับว่ามีบทบาทสำคัญ ไม่ว่าจะงานบุญ งานรื่นเริง การร้องรำทำเพลง มักจะต้องมีเจ้าเครื่องดนตรีที่เรียกว่า “กลอง”รวมอยู่ด้วยแทบทุกครั้ง แต่จะมีสักกี่คนกันที่รู้จักกลองมโหระทึก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า กลองทอง ซึ่งเป็นกลองโบราณอายุนับพันๆปี

               กลองมโหระทึก หรือชาวบ้านเรียกว่า “กลองทอง” ถูกเก็บไว้ในวัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) อ. ดอนตาล จ. มุกดาหาร ในเอกสารของสำนักงานจังหวัดมุกดาหารกล่าวไว้ว่า พบเมื่อ พ.ศ. 2481 ที่บริเวณตลิ่งริมแม่น้ำโขงถูกน้ำเซาะพังทลายตรงบ้านนาทามในเขตลาว ตอนแรกเก็บไว้ที่วัดเวินไชยมงคล บ้านดอนตาล ตำบลดอนตาล ต่อมาย้ายไปเก็บรักษาไว้วัดกลาง

               ลักษณะของกลองมโหระทึกใบนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 86 เซนติเมตร ก้นกลอง 90 เซนติเมตร สูง 66 เซนติเมตร นับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยขณะนี้

               บริเวณหน้ากลองมีลายนูนเป็นรูปคล้ายดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ มีรัศมี 14 แฉก แล้วมีประติมากรรมรูปกบประดับ 4 มุม ๆ ละตัวด้าน นักโบราณคดีกำหนดอายุตามรูปแบบ และลวดลายว่ามีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 5-6- (หรือหลัง พ.ศ. 400-500)

               มโหระทึกไม่ใช่สมบัติวัฒนธรรมของพวกฮั่น (จีน) มาแต่เดิม เพราะเอกสารจีนโบราณระบุว่า เป็นของพวกป่าเถื่อนทางใต้ สมัยหลัง ๆ ต่อมายังเรียกมโหระทึกว่า "หนานถงกู่" หมายถึงกลองทองแดงของพวกชาวใต้ แต่มโหระทึกเป็นสัญลักษณ์ของอารยธรรมเริ่มแรกของภูมิภาคอุษาคเนย์ และมีอายุไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว เพราะในวัฒนธรรมจ้วง กว่างซียังมีประเพณีประโคมตีมโหระทึกในหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อบูชากบ และขอฝน สืบมาจนทุกวันนี้

               นอกจากนี้กลองมโหระทึกยังแพร่หลายไปทั้งทางบกและทางทะเลไปยังดินแดนต่าง ๆ ของอุษาคเนย์ ทั้งบนผืนแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ เพราะพบกลองมโหระทึกอยู่ในท้องถิ่นเหล่านั้น เช่นคาบสมุทรมลายู และหมู่เกาะอินโดนีเซีย รวมทั้งประเทศไทย

               สำหรับในดินแดนประเทศไทย พบมโหระทึกทั่วทุกภาค เช่นพบที่ นครพนม มุกดาหาร อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี ทั้งนี้การพบมโหระทึกในที่ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล แสดงออกให้เห็นถึงเส้นทางคมนาคมที่มนุษย์มีการติดต่อไปมาหาสู่กันทั้งภูมิภาค และทั้งทางบก – ทางทะเล มาตั้งแต่สมัยอดีตกาลแล้ว

               อันที่จริงแล้ว "มโหระทึก" เป็นคำโบราณที่ยืมมาจากต่างประเทศแล้วกร่อนจนเพี้ยนไป มีใช้อยู่ในเอกสารไทยสมัยก่อนๆ ไม่ใช่คำไทยแท้ แต่ เช่น ไตรภูมิเรียกว่า "มโหระทึก" แต่กฎมณเฑียรบาลเรียก "หรทึก" จัดเป็นเครื่องประโคมตีชนิดหนึ่งมีเสียงดังมาก ในกฎมณเฑียรบาลจึงบอกว่า "ขุนดนตรีตีหรทึก" และในไตรภูมิบอกว่า "มโหระทึกกึกก้อง" แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็น "กลอง" หรือ "ฆ้อง"

               เมื่อมาถึงปัจจุบันมักจัดมโหระทึกเป็นประเภทกลอง เพราะมีรูปร่างคล้ายกลอง จึงเรียกกันติดปากว่า "กลองมโหระทึก" แต่มโหระทึกทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่าสำริด (Bronze) ในตระกูลฆ้อง แล้วมักมีประติมากรรมรูปกบขนาดเล็กๆ ประดับขอบแผ่นหน้า คนบางกลุ่มจึงเรียก "ฆ้องกบ" หรือ "ฆ้องเขียด" แต่เอกสารจีนเรียก "กลองทองแดง" เพราะมีส่วนผสมของทองแดงเป็นโลหะหลัก ส่วนชาว จ.มุกดาหารมักเรียกมโหระทึกว่า "กลองทอง"

               มโหระทึกในประเทศไทยสมัยโบราณก็เป็นสัญลักษณ์ของพระเจ้าแผ่นดิน ดังมีหลักฐานอยู่ในกฎมณเทียรบาลสมัยกรุงศรีอยุธยาใช้มโหระทึกประโคม ตีในงานพระราชพิธีและที่เกี่ยวกับ ความอุดมสมบูรณ์ของอาณาจักร แล้วยังสืบเนื่องมาถึงสมัยกรุงเทพฯ ทุกวันนี้ ดังที่ใช้ประโคมตีในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัล แรกนาขวัญที่ท้องสนามหลวงทุกปี เป็นต้น

               หากใครอยากจะเห็นหน้าตาจริงๆของกลองมโหระทึกหรือว่ากลองทองแล้วล่ะก็ ถ้าผ่านมาแถวริมแม่น้ำโขง ทางฝั่ง อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร ก็สามารถแวะเวียนเข้ามาชมได้ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถท่องเที่ยวไปในบรรยากาศสบายๆชมวัฒนธรรม ริมฝั่งโขง อาทิ ธรรมาสน์ไม้สองชั้น ที่วัดกลาง ธรรมาสน์เสาเดียว ที่วัดพิจิตรสังฆาราม พร้อมทั้งชมทัศนียภาพและวิถีความเชื่อของชุมชนริมฝั่งโขง เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับการมาเยือนเลยทีเดียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กลองมโหระทึก มีความสัมพันธ์กับแหล่งวัฒนธรรมในข้อใด *

กลองมโหระทึก เป็นวัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมดงเซิน

วัฒนธรรมดงเซิน เป็นวัฒนธรรมในยุคสำริด มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม วัฒนธรรมดงเซินเป็นวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งในคาบสมุทรและในหมู่เกาะต่าง ๆ

ผู้คนในวัฒนธรรมดงเซินมีความสามารถในการปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ การประมง และการล่องเรือ วัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมนี้คือกลองมโหระทึก ซึ่งเป็นกลองที่ใช้ในพิธีกรรมและพบได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วัฒนธรรมดงเซินมีความเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของผู้คนที่พูดตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า วัฒนธรรมของชาวไทในยูนนาน วัฒธรรมของผู้คนที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร และวัฒนธรรมในบริเวณทุ่งไหหินในประเทศลาว มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่ใกล้เคียงกับวัตถุของวัฒนธรรมดงเซินในประเทศกัมพูชาบริเวณริมแม่น้ำโขง ซึ่งมีอายุในช่วงประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมดงเซินสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิเช่น กลองโมโกในประเทศอินโดนีเซีย ไปจนถึงลวดลายของกริช

ทางใต้ของสถานที่ที่พบวัฒนธรรมดงเซิน ยังพบวัฒนธรรม ซา หิ่น (Sa Huỳnh) ซึ่งเป็นวัฒนธรรมแรกเริ่มของชาวจาม

จุดกำเนิด[แก้]

ทฤษฎีที่มีพื้นฐานอยู่บนแนวความคิดที่ว่าการถลุงสำริดในเอเชียตะวันออกมีต้นกำเนิดในทางตอนเหนือของประเทศจีนนั้น ได้ถูกลบล้างจากการค้นพบทางโบราณคดีในภาคอีสานของประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ 1970 ศาสตราจารย์ Clark D. Neher แห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทเทิร์นอิลลินอยส์กล่าวไว้ว่า "การถลุงสำริดมีจุดกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต่อมาจึงชาวจีนจึงได้รับเทคโนโลยีนี้ไป ไม่ใช่อย่างที่นักวิชาการชาวจีนอ้างไว้ในทางกลับกัน"

คำอธิบายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากผลงานของนักโบราณคดีชาวเวียดนาม ซึ่งได้ค้นพบว่ากลองมโหระทึกที่เก่าแก่ที่สุดมีความเกี่ยวข้องทางด้านรูปร่างและลวดลายกับเครื่องปั้นดินเผาของวัฒนธรรม Phung Nguyen นักวิชาการยังไม่สามารถสรุปได้ว่ากลองมโหระทึกมีไว้ใช้ทำอะไร ระหว่างพิธีกรรมทางศาสนาหรือเหตุผลอื่น ๆ ลวดลายแกะสลักต่าง ๆ ที่พบบนกลองนั้นทำให้พิจารณาได้ว่ากลองมโหระทึกเป็นกลองที่ใช้เป็นเหมือนปฏิทินบอกฤดูกาล(?) ข้อสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ในลวดลายที่สลักอยู่บนกลองนั้น มีรูปม้วนกระดาษอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะบ่งชี้ได้ว่ากลุ่มคนที่เป็นเจ้าของวัฒนธรรมดงเซินเป็นชนกลุ่มแรกที่รู้จักวิธีการผลิตกระดาษ แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเพียงทฤษฎีที่นำเสนอโดยนักวิชาการชาวเวียดนามเท่านั้น

การแพร่กระจายของวัฒนธรรมดงเซิน[แก้]

การค้นพบกลองขนาดใหญ่ที่แกะสลักอย่างประณีตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อช่วงปลายศตวรรษที่ 17 นั้น ได้กระตุ้นความสนใจของนักวิชาการชาวตะวันตกเกี่ยวกับพื้นที่นี้ในฐานะที่มีวัฒนธรรมแรก ๆ ทำรู้จักการใช้สำริด กลองมโหระทึกที่พบนั้นมีขนาดหลากหลายแตกต่างกันไป ตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางไม่กี่นิ้วจนไปถึงหกฟุต โดยที่กลองดังกล่าวนั้นเป็นผลผลิตของวัฒนธรรมดงเซินที่พบได้ทั่ว ๆ ไป ทั้งในเวียดนามเอง และทางตอนใต้ของจีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนคาบสมุทร รวมทั้งในสุมาตรา ชวา บาหลี และอีเรียน จายา

แหล่งวัฒนธรรมใดที่พบกลองมโหระทึก

กลองมโหระทึกที่พบจากชุมชนโบราณเขาสามแก้ว พบในบริเวณเขาสามแก้ว ตำบลนาชะอัง อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

ชมกลองมโหระทึกควรศึกษาจากแหล่งใด

ในประเทศไทยจากการสำรวจพบกลองมโหระทึกในจังหวัดตราดและกลองมโหระทึกจากแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จังหวัดชุมพร ฯลฯ มีร่องรอยของเครื่องจักสาน และแกลบข้าวติตอยู่บนผิวหน้ากลอง ซึ่งสนับสนุนข้อสันนิษฐานของนักวิชาการชาวเวียดนามในเรื่องกรรมวิธีการผลิตกลองมโหระทึก โดยขั้นตอนการหล่อกลองมโหระทึกด้วยกรรมวิธีแทนที่โลหะด้วยขี้ผึ้ง มีลำดับ ...

แหล่งวัฒนธรรมดองซอนมีความสําคัญอย่างไร

วัฒนธรรมดองซอน (ประมาณ ๔,๐๐๐ ปีก่อน) คือ วัฒนธรรมในยุคสำริด มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ผู้คนวัฒนธรรมดงเซินมีความสามารถในการปลูกข้าว เลี้ยงสัตว์ การประมง และการล่องเรือ วัตถุทางวัฒนธรรมที่สำคัญของวัฒนธรรมนี้คือกลองมโหระทึก

กลองมโหระทึกพบภาคใด

แต่ตามความเห็นของบาทหลวงปริ้นสตัน เอส.ซู เห็นว่า "กลองมโหระทึกที่เก่าที่สุดมีแหล่งกำเนิดใน บริเวณภาคกลางของจีนตอนใต้ในปัจจุบันซึ่งเมื่อราว ๕๐๐ ปี ก่อนคริสตกาล เคยเป็นที่อยู่ของชาวเผ่าเลี้ย (มิใช่ชาวจีน) ดินแดนดังกล่าวเดิมเรียกว่า “หลิงหนัน ซึ่งรวมระหว่างมณฑลกวางตุ้ง กวางสี ในปัจจุบัน