การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service) มีรัศมีครอบคลุมเท่าใด

               การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน จะให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศ ณ บริเวณท่าอากาศ โดยแต่ละท่าอากาศยานจะทำการควบคุมจราจรทางอากาศครอบคลุมรัศมี 5 – 10 ไมล์ทะเลโดยรอบท่าอากาศยาน ที่ความสูงตั้งแต่พื้นดินถึง 2,000 ฟุต โดยเฉลี่ย นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ และความรับผิดชอบในการควบคุมจราจรทางอากาศ ให้กับอากาศยานบนทางวิ่ง ทางขับ ลานจอด ในพื้นที่รับผิดชอบบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน โดยผู้ควบคุมจราจรทางอากาศจะปฏิบัติงานอยู่บนหอบังคับการบิน และมีงานที่รับผิดชอบดังนี้ คือ

 

การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service) มีรัศมีครอบคลุมเท่าใด

Ground Control : สามารถแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบได้ดังนี้

  1. รับผิดชอบการควบคุมจราจรทางอากาศของอากาศยานบนทางขับ และลานจอดให้ขับเคลื่อนด้วยความปลอดภัย เป็นระเบียบ และรวดเร็ว
  2. ให้คำอนุญาตการขับเคลื่อนของอากาศยาน และพาหนะอื่นๆ บนทางขับ/ลานจอด
  3. แจ้งข่าวสารข้อมูลแก่นักบิน และหน่วยสนับสนุนภาคพื้นดินหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ในการอำนวยความสะดวกให้แก่อากาศยานที่มาใช้ บริการ

Local Control หรือ Tower Control : สามารถแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบได้ดังนี้

  1. รับผิดชอบการควบคุมจราจรทางอากาศบนทางวิ่งและอากาศยานโดยรอบท่าอากาศยานหรือตามพื้นที่ที่กำหนดในเขตจราจรโดยรอบ ท่าอากาศยาน
  2. กำหนดทางวิ่งขึ้น-ลง ให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ (สวนทางกับทิศทางลม)
  3. ติดต่อประสานงานกับ Approach Control ในการจัดลำดับให้แก่อากาศยานเข้า-ออก
  4. แจ้งเตือนนักบินให้ปฏิบัติตามข้อกำหนดการบิน

โดยขณะนี้ บริษัทฯได้ให้บริการควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน ณ บริเวณท่าอากาศยานพาณิชย์ ทั่วประเทศ 33 จังหวัด (35 ท่าอากาศยาน) ได้แก่

  1. สุวรรณภูมิ
  2. ดอนเมือง
  3. เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง
  4. อุบลราชธานี นครราชสีมา บุรีรัมย์ ร้อยเอ็ด สุรินทร์
  5. อุดรธานี ขอนแก่น สกลนคร นครพนม เลย
  6. หาดใหญ่ ตรัง นราธิวาส
  7. สุราษฎร์ธานี สมุย นครศรีธรรมราช ชุมพร
  8. ภูเก็ต ระนอง กระบี่
  9. หัวหิน ตราด
  10. พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ น่าน แพร่ ตาก แม่สอด

แหล่งที่มา

http://engineer-tutor.com/blogs/?p=66

  • ทวีต
  • แชร์
  • สั่งพิมพ์

นักบิน พนักงานควบคุมจราจรทางอากาศและพนักงานอำนวยการบิน

ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air traffic controller rating)

  2 กันยายน 2559

    ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศ (Air traffic controller rating) ซึ่งประกอบด้วย ประเภทดังต่อไปนี้ ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน (Aerodrome control rating) ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินด้วยกฎเกณฑ์การปฏิบัติ (Approach control procedural rating) ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินด้วยระบบติดตามอากาศยาน (Approach control surveillance rating) ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินด้วยเรดาร์ ซึ่งบอกมุมร่อน ระยะ และทิศทาง (Approach precision radar control rating) ศักยควบคุม การจราจรทางอากาศในพื้นที่ควบคุมด้วยกฎเกณฑ์การปฏิบัติ (Area control procedural rating) และ ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศในพื้นที่ควบคุมด้วยระบบติดตามอากาศยาน (Area control surveillance rating)

(ก) ความรู้ ต้องมีความรู้ ดังต่อไปนี้

    ๑) โครงสร้างของห้วงอากาศ

    ๒) การใช้กฎ วิธีดําเนินการ และแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร

    ๓) สิ่งอํานวยความสะดวกในการเดินอากาศ

    ๔) อุปกรณ์ควบคุมการจราจรทางอากาศและการใช้งาน

    ๕) ภูมิประเทศและลักษณะเด่นที่ใช้อ้างอิง

    ๖) ลักษณะของการจราจรทางอากาศ

    ๗) ปรากฏการณ์ของสภาพอากาศ และ

    ๘) แผนฉุกเฉิน และแผนการค้นหาและช่วยเหลือ

    สําหรับศักยควบคุมการจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน (Aerodrome control rating) ต้องมีความรู้เพิ่มเติมในเรื่องแผนผังของสนามบิน ลักษณะทางกายภาพและ เครื่องอํานวยความสะดวกในการเดินอากาศด้วยทัศนวิสัย

    สําหรับศักยควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินด้วยระบบ ติดตามอากาศยาน (Approach control surveillance rating) ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศ เขตประชิดสนามบินด้วยเรดาร์ซึ่งบอกมุมร่อน ระยะ และทิศทาง (Approach precision radar control rating) และศักยควบคุมการจราจรทางอากาศในพื้นที่ควบคุมด้วยระบบติดตามอากาศยาน (Area control surveillance rating) ต้องมีความรู้เพิ่มเติมในเรื่อง

         ก) หลักการการใช้งานและข้อจํากัดของระบบติดตามอากาศยานสําหรับ การบริการจราจรทางอากาศ (ATS surveillance systems) ที่เกี่ยวข้อง และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และ

        ข) วิธีปฏิบัติสําหรับการให้บริการด้วยระบบติดตามอากาศยานด้วยระบบ ติดตามอากาศยาน (ATS surveillance systems) รวมทั้งวิธีปฏิบัติที่ให้ความมั่นใจว่าอากาศยาน มีระยะห่างจากภูมิประเทศที่เหมาะสม

(ข) ความชํานาญ

    ต้องมีความชํานาญโดยสําเร็จการศึกษาตามหลักสูตรการควบคุม การจราจรทางอากาศที่อธิบดีรับรอง และปฏิบัติหน้าที่ภายใต้การอํานวยการของผู้มีศักยควบคุมการจราจร ทางอากาศที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้

    ๑) สําหรับศักยควบคุมการจราจรทางอากาศบริเวณสนามบิน (Aerodrome control rating) ต้องให้บริการควบคุมบริเวณสนามบิน ณ หน่วยที่ขอศักยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๙๐ ชั่วโมง หรือหนึ่งเดือน แล้วแต่เวลาใดจะมากกว่า

    ๒) สําหรับศักยควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินด้วยกฎเกณฑ์ การปฏิบัติ (Approach control procedural rating) ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบิน ด้วยระบบติดตามอากาศยาน (Approach control surveillance rating) ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศ ในพื้นที่ควบคุมด้วยกฎเกณฑ์การปฏิบัติ (Area control procedural rating) และศักยควบคุมการจราจร ทางอากาศในพื้นที่ควบคุมด้วยระบบติดตามอากาศยาน (Area control surveillance rating) ต้องให้บริการ ควบคุมตามที่ขอศักย ณ หน่วยที่ขอศักยเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑๘๐ ชั่วโมง หรือสามเดือน แล้วแต่ว่า เวลาใดจะมากกว่า

    ๓) สําหรับศักยควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินด้วยเรดาร์ ซึ่งบอกมุมร่อน ระยะ และทิศทาง (Approach precision radar control rating) ต้องให้บริการ ควบคุมด้วยการบอกมุมร่อนระยะ และทิศทางเขตประชิดสนามบิน ไม่น้อยกว่า ๒๐๐ ครั้ง โดยให้นําจํานวนที่ฝึกปฏิบัติด้วยเครื่องจําลอง (Radar Simulator) ที่อธิบดีรับรองมารวมคํานวณได้ไม่เกิน ๑๐๐ ครั้ง และต้องมีประสบการณ์ทําการบอกมุมร่อน ระยะและทิศทางด้วยเรดาร์ ณ หน่วยและอุปกรณ์ที่ขอศักย ไม่น้อยกว่า ๕๐ ครั้ง

    ถ้าสิทธิทําการศักยควบคุมการจราจรทางอากาศเขตประชิดสนามบินด้วยระบบ ติดตามอากาศยาน (Approach control surveillance rating) รวมถึงหน้าที่การนําอากาศยานเข้าสนามบิน ด้วยเรดาร์ติดตามอากาศยาน (Surveillance Radar Approach) ต้องมีความชํานาญในการปฏิบัติงาน นําอากาศยานเข้า – ออก สนามบินด้วยระบบระบุตําแหน่งอากาศยาน (Plan Position Indicator (PPI) Approaches) ด้วยเครื่องมือตามแบบที่ใช้ ณ หน่วยที่ขอศักย และอยู่ภายใต้การอํานวยการของผู้มี ศักยควบคุมการจราจรทางอากาศที่เหมาะสม ไม่น้อยกว่า ๒๕ ครั้ง

    ทั้งนี้ ความชํานาญที่กําหนดไว้ใน ๑) – ๓) ต้องอยู่ภายในระยะเวลาหกเดือน ก่อนวันยื่นคําขอ ในกรณีที่ผู้ขอมีศักยประเภทอื่นหรือศักยเดียวกันในหน่วยอื่น อธิบดีอาจประกาศ กําหนดให้ลดความชํานาญตามที่กําหนดไว้ใน ๑) – ๓) ได้ตามที่เห็นสมควร