ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับล้านนามีจุดประสงค์ใด

ความเจริญด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรสุโขทัย

                จากการที่อาณาจักรสุโขทัยมีที่ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ยม น่าน และป่าสัก ทำให้มีเส้นทางคมนาคมติดต่อกับดินแดนของบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลด้านอ่าวไทย นอกจากนั้นอาณาจักรสุโขทัยมีทรัพยากรธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เช่น แร่เหล็ก สังกะสี ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้อาณาจักรสุโขทัยมีพัฒนาการทางด้านเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว

                อาชีพหลักที่สำคัญของอาณาจักสุโขทัย 
1. ด้านเกษตรกรรม
2. ด้านหัตถกรรม
3. ด้านการค้าขาย
1.  ด้านเกษตรกรรม
1.1 การทำนา ทำไร่ ทำสวน
ประชาชนของอาณาจักรสุโขทัยส่วนใหญ่ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก มีการ  ทำนา ทำไร่ ทำสวน พืชหลักที่ปลูก ได้แก่ ข้าว นอกจากนั้นปลูกไม้ยืนต้น เช่น มะม่วง มะขาม มะพร้าว หมาก พลู จากความอุดมสมบูรณ์ของการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ดังปรากฏข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า  “...เมืองสุโขทัยนี้ดี ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว...”

ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับล้านนามีจุดประสงค์ใด
 

 รูปการทำนาของเกษตรกร 


1.2 การใช้น้ำภายในตัวเมือง
1) การสร้างเขื่อนสรีดภงส์ หรือทำนบพระร่วง สร้างเป็นแนวคันดินกว้าง ประมาณ 10 – 14 เมตร บนหลังเขื่อนกว้าง 3 – 4 เมตรยาว 400 เมตร การสร้างเขื่อนสรีดภงส์มีวัตถุประสงค์  เพื่อเก็บกักน้ำในฤดูฝนไว้ใช้ประโยชน์ในฤดูแล้ง

ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับล้านนามีจุดประสงค์ใด
    
ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับล้านนามีจุดประสงค์ใด
 

รูปเขื่อนสรีดภงส์ 

                                2) การสร้างคูน้ำระหว่างกำแพงเมืองแต่ละชั้น มีคูน้ำกว้างประมาณ 15 เมตร           ขุดขนานไปตลอด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันข้าศึก และยังใช้เป็นคลอง เพื่อรับน้ำเข้ามาใช้ภายในอาณาจักรสุโขทัย
3) การสร้างตระพังหรือสระน้ำ บริเวณที่ต่อจากคูเมืองมีท่อสำหรับแจกจ่ายน้ำเข้าสู่ตระพัง ลักษณะของท่อเป็นท่อน้ำกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางเกือบครึ่งเมตรใช้ในการดักตะกอนดินกรวดทราย ดังนั้น ทำให้น้ำที่ไหลเข้าสู่ตระพังจึงเป็นน้ำที่ใสสะอาด ภายในตัวเมืองสุโขทัยมีตระพังอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ตระพังเงิน ตระพังทอง ตระพังตะกวน และตระพังโพยสี
4) การสร้างบ่อน้ำ บ่อน้ำมีลักษณะเป็นบ่อที่กรุด้วยอิฐ รูปกลมมีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 60 ซ.ม. ถึง 2.5 เมตร รับน้ำที่ซึมมาจากตระพังต่างๆ ภายในตัวเมืองสุโขทัย จะพบบ่อน้ำเป็นจำนวนมากบริเวณด้านตะวันออกของอาณาจักสุโขทัย

ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับล้านนามีจุดประสงค์ใด

ภาพถ่ายทางอากาศ ภายในเมืองสุโขทัย หากมองมุมสูง จะเห็นว่ามีตระพังหรือสระน้ำต่างขนาดจำนวนมากมาย นับว่า ได้มีการจัดการระบบชลประทานนี้ดี เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับชาวเมืองเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค เนื่องจากพื้นที่ของเมืองเก่านี้เป็นบริการที่แห้งแล้ง 

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศของอาณาจักรสุโขทัย

         อาณาจักรสุโขทัย มีการสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ด้วยวิธีการที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป โดยมีความสัมพันธ์กับดินแดนต่าง ๆ ดังนี้
                                 1) ความสัมพันธ์กับมอญ
                                ความสัมพันธ์ระหว่างสุโขทัยกับมอญ ส่วนใหญ่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทที่มอญนับถืออยู่แล้ว  ในปลายพุทธศตวรรษที่ 18 พระภิกษุมอญบางรูปได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาในลังกา เมื่อเดินทางกลับมาได้ไปสอนพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ที่เมืองนครศรีธรรมราช ภายหลังต่อมาได้แพร่หลายไปยังกรุงสุโขทัย นอกจากนั้นสุโขทัยกับมอญยังมีความสัมพันธ์กันทางเครือญาติในสมัยพ่อขุนรามคำแหง  โดยมะกะโท  พ่อค้ามอญได้แต่งงานกับพระราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหงแล้วหนีไปอยู่เมืองเมาะตะมะ ภายหลังได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินมอญทรงพระนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่วและสวามิภักดิ์ต่อไทย  แต่หลังรัชกาลเจ้าฟ้ารั่วแล้วมอญก็แยกตัวเป็นอิสระ

                                2) ความสัมพันธ์กับจีน
                                ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน  มีมาตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหง ส่วนใหญ่เป็นความสัมพันธ์ด้านการค้า ระบบราชบรรณาการในสมัยพระเจ้าหงวนสีโจ๊ว                   แห่งราชวงศ์หงวน ได้ดำเนินนโยบายส่งทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ พร้อมทั้งชักชวนให้ส่งทูตไปติดต่อและส่งเครื่องราชบรรณาการให้แก่จีน โดยความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับจีน  จีนเป็นฝ่ายเริ่มต้นส่งคณะทูตเข้ามาคณะแรกในปี พ.ศ. 1825  แต่คณะทูตชุดนี้ยังไม่ได้มาถึงอาณาจักรสุโขทัย  พ่อขุนรามคำแหงทรงตัดสินพระทัยส่งราชทูตพร้อมเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่พระเจ้าหงวนสีโจ๊ว  เพื่อเป็นการกระชับมิตรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไป  ได้แลกเปลี่ยนคณะทูตกันอีกหลายครั้ง  นอกจากนั้นอาณาจักสุโขทัยยังรับประโยชน์จากจีนโดยการรับวิทยาการเรื่องเทคนิคการทำเครื่องปั้นดินเผาแบบใหม่  คือการทำเครื่องสังคโลก ที่มีคุณภาพสามารถเป็นสินค้าส่งออก นำรายได้มาสู่อาณาจักรสุโขทัยเป็นจำนวนมาก

           ผลจากการเปิดสัมพันธภาพกับจีน
1. ทางด้านการเมือง  ทำให้อาณาจักรสุโขทัยรอดพ้นจากการรุกรานจากจีน  นอกจากนั้นจีนยังไม่เข้าแทรกแซงการขยายอาณาเขตของไทยไปยังแหลมมลายูจนเกินขอบเขต
2. ทางด้านเศรษฐกิจ  เป็นการส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับจีน  ในระบบบรรณาการทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากการค้าระบบนี้  โดยคณะทูต ได้รับอนุญาตให้มีการซื้อขายสินค้าโดยไม่ต้องเสียภาษี
3. ทำให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตเครื่องสังคโลกขึ้น  ผลิตตั้งแต่ชิ้นใหญ่ลงไปถึงชิ้นเล็ก ๆ โดยเฉพาะบริเวณสุโขทัยและสวรรคโลก  ต่อมาการผลิตเครื่องสังคโลกได้มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้เศรษฐกิจสุโขทัยเจริญขึ้นด้วยการส่งเครื่องสังคโลกไปจำหน่ายยังเมืองต่าง ๆ
4. ทางด้านวัฒนธรรม ชาวไทยยุคนี้ได้รับวัฒนธรรมบางอย่างจากจีน เช่นการจุดดอกไม้ไฟ

                3) ความสัมพันธ์กับลังกา
                อาณาจักรสุโขทัยกับลังกาส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กันทางด้านพระพุทธศาสนา  ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  สุโขทัยได้รับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราช  พระองค์ได้ทรงส่งราชทูตไปยังลังกาพร้อมกับราชทูตของเมืองนครศรีธรรมราช  เพื่อขอพระพุทธสิหิงค์มาไว้สักการบูชาที่อาณาจักรสุโขทัย  ทำให้อาณาจักรสุโขทัย ได้แบบอย่างพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาถือปฏิบัติกันในอาณาจักรสุโขทัยอย่างจริงจัง
Ÿ ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เป็นสมัยที่ให้การยอมรับพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  โดยพระองค์ทรงนิมนต์พระสงฆ์มาจากเมืองนครศรีธรรมราช มาประจำอยู่ที่สุโขทัยและแสดงธรรมในวันธรรมสวนะ (วันพระ) ที่กลางดงตาลให้กับประชาชนชาวสุโขทัย  และช่วยส่งเสริมทางการศึกษา ทางศาสนาและการปฏิบัติทางวินัย  นอกจากนั้นยังมีประเพณีในด้านศาสนาเกิดขึ้นแล้ว  เช่น  การทำบุญ  การทอดกฐิน  ในสมัยพระเจ้าเลอไท  พระสงฆ์บางรูป  เช่น  พระมหาเถรศรีศรัทธา  ได้เดินทางไปศึกษาพระไตรปิฎกในประเทศลังกา  เมื่อเดินทางกลับได้นำพระศรีมหาโพธิ์  พระศีวาธาตุ (กระดูกส่วนบนร่างกาย  เช่น กรามหรือไหปลาร้า) และพระทันตธาตุมาประดิษฐานไว้ที่กรุงสุโขทัย  นอกจากนั้นพระองค์ยังนำพระวินัยที่เคร่งครัดของพระสงฆ์ในนิกายมหาวิหารมาเผยแผ่ในกรุงสุโขทัย   ในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)  เป็นสมัยที่อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญด้านพระพุทธศาสนามากที่สุด  โดยพระองค์ได้โปรดให้พิมพ์รอยพระพุทธบาท จากประเทศศรีลังกา  มาจำหลักลงบนแผ่นหิน  แล้วนำไปประดิษฐานยังยอดเขาสุมณกุฎ(ปัจจุบันคือ “เขาหลวง” อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองสุโขทัยเก่า) และเมื่อครั้งพระองค์ฯ เสด็จออกผนวชก็ได้โปรดให้เชิญพระอุทุมพรบุปผาสวามีชาวลังกา มาเป็นพระอุปัชฌาย์

                ผลดีจากการเปิดสัมพันธภาพกับลังกา
1. อาณาจักรสุโขทัยได้รับแบบอย่างพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์มาปฏิบัติอย่างจริงจัง 

2. ไทยได้รับมรดกทางด้านศิลปะมาถือปฏิบัติ  เช่น  การสร้างโบสถ์  วิหาร
3. ไทยได้รับมรดกทางวัฒนธรรม  เช่น งานพระราชพิธีในพระราชสำนัก  พระราชพิธีเกี่ยวกับงานนักขัตฤกษ์ในพระพุทธศาสนา

               4) ความสัมพันธ์กับอาณาจักรล้านนา
อาณาจักรสุโขทัยกับล้านนา มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันมาก  โดยพญามังรายเจ้าเมือเงินยาง  และพญางำเมือง เจ้าเมืองพะเยาแห่งอาณาจักรล้านนา  เป็นมิตรสหายที่ดีของพ่อขุนรามคำแหงมาตั้งแต่เยาว์วัย  กษัตริย์ทั้งสามพระองค์ได้ทำสัญญาเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกันอย่างแน่นแฟ้น  ต่อมาพ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จขึ้นไปยังอาณาจักรล้านนา พร้อมกับพญางำเมือง  เพื่อช่วยพญามังรายเลือกชัยภูมิที่ดีในการสร้างราชธานีที่เมืองเชียงใหม่ มีชื่อว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”

              5) ความสัมพันธ์กับเมืองนครศรีธรรมราช
               อาณาจักรสุโขทัยกับเมืองนครศรีธรรมราช เริ่มมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ได้เสด็จไปเจริญสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าจันทรภานุ กษัตริย์แห่งนครศรีธรรมราชและเคยโปรดเกล้าฯให้ติดต่อขอพระพุทธสิหิงค์จากลังกามาประดิษฐานยังกรุงสุโขทัย  และในสมัยพ่อขุนรามคำแหง  ได้นำพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์  จากนครศรีธรรมราชขึ้นมาเผยแผ่ยังสุโขทัยทำให้พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์มั่นคงในสุโขทัยนับตั้งแต่นั้นมา
                6) ความสัมพันธ์กับอาณาจักรอยุธยา
               ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอยุธยา เริ่มขึ้นในสมัยสมเด็จ         พระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงยกทัพขึ้นมายึดเมืองพิษณุโลกของอาณาจักรสุโขทัย  ทำให้สุโขทัยต้องส่งเครื่องบรรณาการพร้อมคณะทูตเดินทางไปเจรจาขอเมืองพิษณุโลกคืน  ซึ่งสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)  ทรงพระราชทานเมืองพิษณุโลกคืน ให้แก่สุโขทัย  ต่อมาสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 2 พระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว)แห่งอาณาจักรอยุธยา  ยกทัพมาตีเมืองชากังราว ทำให้พระมหาธรรมราชาที่ 2 ทรงยอมอ่อนน้อมต่อแสนยานุภาพของอาณาจักรอยุธยา  นับตั้งแต่นั้นมาอาณาจักรสุโขทัยตกเป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรอยุธยา  จนสิ้นสมัยของพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) อาณาจักรสุโขทัยได้ถูกผนวกเป็นส่วนหนี่งของอาณาจักรอยุธยา