การประกอบพิธีฮัจญ์ เพื่ออะไร

·         ผู้ที่เดินทางกลับ ไม่ควรหิ้วกระเป๋าถือมากกว่า 1 ใบ สายการบินส่วนใหญ่อนุญาตให้นำน้ำซัมซัมคนละ 1แกลลอน ขนาด 5 ลิตร โดยจะต้องใส่ถุงพลาสติกปิดผนึก และสัมภาระทุกชิ้นจะต้องเขียนชื่อที่อยู่ให้ชัดเจน

ผู้แสวงบุญชาวมุสลิมเริ่มทยอยเดินทางถึงนครเมกกะแล้ว เพื่อร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ซึ่งในปีนี้ทางการซาอุดีอาระเบียได้จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมพิธีไว้ที่ประมาณ 1,000 คน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

พิธีฮัจญ์ที่นครเมกกะในปีนี้จะเริ่มขึ้นในค่ำคืนของวันที่ 28 ก.ค. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ วันที่ 29 ก.ค.ตามเวลาในไทย ไปจนถึงวันที่ 2 ส.ค.นี้

คำบรรยายภาพ,

กะบะฮ์ คือหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของศาสนาอิสลาม

พิธีฮัจญ์ปีนี้ต่างไปอย่างไร

ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปีนี้ ส่งผลให้ทางการซาอุดีอาระเบีย ต้องบังคับใช้มาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมที่เข้มงวด โดยห้ามไม่ให้ผู้แสวงบุญจากนอกประเทศเข้าร่วมพิธีเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 90 ปีของประวัติศาสตร์ชาติ จากปกติที่จะมีผู้แสวงบุญชาวมุสลิมจากทั่วทุกมุมโลกไปร่วมพิธีราว 2.5 ล้านคน

หนังสือพิมพ์ เดอะ เนชันแนล ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รายงานว่า มาตรการจำกัดจำนวนผู้แสวงบุญที่จะเข้าร่วมการประกอบพิธีฮัจญ์ในปีนี้ไว้ที่ราว 1,000 คน จาก 160 ประเทศนั้น ถือเป็นความแตกต่างไปจากปีก่อน ๆ มาก โดยผู้เข้าร่วมพิธีแบ่งเป็นชาวซาอุดีอาระเบีย 30% และอีก 70% เป็นชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในซาอุดีอาระเบียอยู่แล้ว เนื่องจากก่อนหน้านี้ทางการได้สั่งปิดพรมแดนจากวิกฤตโรคระบาดที่เกิดขึ้น

นอกจากนี้ ทางการซาอุดีอาระเบีย ยังห้ามผู้ที่มีอายุเกิน 65 ปี หรือป่วยเป็นโรคเรื้อรังเข้าร่วมพิธีด้วย

ที่มาของภาพ, AFP/Getty Images

คำบรรยายภาพ,

ภายในมัสยิดศักดิ์สิทธิ์มีการใช้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอย่างเข้มงวด

เว็บไซต์ข่าวอัลจาซีรา ระบุว่า ผู้แสวงบุญที่จะเข้าร่วมพิธีปีนี้จะต้องผ่านการตรวจคัดกรองว่าไม่ได้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก่อนที่จะเดินทางเข้าสู่นครเมกกะ และจะต้องเข้ากระบวนการกักตัวที่บ้านหลังเสร็จสิ้นการประกอบพิธีแล้ว

ระหว่างเข้าร่วมพิธีจะต้องสวมหน้ากากปิดปากและจมูกตลอดเวลา และห้ามการสัมผัสหรือจูบ "กะบะฮ์" (Kaaba) อาคารทรงสี่เหลี่ยมที่ตั้งอยู่ใจกลางมัสยิดศักดิ์สิทธิ์ หรือ มัสยิดใหญ่ประจำเมกกะ (Grand Mosque) รวมทั้งให้ผู้แสวงบุญเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลไว้ที่ 1.5 เมตร

คำบรรยายภาพ,

ภาพชาวมุสลิมเว้นระยะห่างทางสังคมระหว่างการประกอบศาสนกิจเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา

ข้อมูลจากมหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ ระบุว่า ขณะนี้ซาอุดีอาระเบียมียอดสะสมของผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่แล้วอย่างน้อย 268,934 คน และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2,760 คน

พิธีฮัจญ์ คือ 1 ใน 5 หลักปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมที่มีความสามารถจะต้องปฏิบัติอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต โดยความสามารถดังกล่าวหมายถึง ความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และปัจจัยที่จำเป็นสำหรับใช้ในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ เช่น เงินทอง และอาหาร โดยมิต้องเป็นหนี้สินหรือสร้างความเดือดร้อนต่อบุคคล

ในการประกอบพิธีฮัจญ์ ชาวมุสลิมจะยืนต่อหน้า "กะบะฮ์" แล้วกล่าวสรรเสริญพระเจ้า รวมทั้งสวดภาวนา กล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระองค์

ในยุคที่มีความขัดแย้ง ความเหลวแหลก และไร้ซึ่งสัจธรรมในกลุ่มอาหรับ อัลลอฮ์จึงได้ส่ง ท่านศาสดามูฮัมหมัดมายังกลุ่มชนนี้โดยสั่งใช้ให้ท่านศาสดาประสานหัวใจของพวกเขา และทำให้พวกเขาเป็นประชาชาติเดียวกันด้วยการยึดมั่น และศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียว มีคำปฏิญาณคำเดียวกัน และการปฏิบัติศาสนกิจอย่างเดียวกัน ด้วยหลักพื้นฐานของการสร้างสัมพันธไมตรีต่อกันระหว่างกลุ่มต่างๆ อัลลอฮ์จึงบัญญัติแก่ประชาติมูฮัมหมัดให้จัดทำศาสนกิจที่ร่วมกันด้วยการละหมาดญะมาอะห์ ละหมาดญุมอัต ละหมาดดีด การประกอบพิธีฮัจญ์ร่วมกัน และศาสนกิจอื่นๆ เพื่อเป็นการประสานสัมพันธไมตรี ประสานหัวใจของประชาชาติมุสลิมให้เป็นหนึ่งเดียว การประกอบพิธีฮัจญ์ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างมิตรภาพระหว่างมุสลิมทั่วโลก โดยการที่คนต่างเชื้อชาติ ต่างถิ่นฐาน ต่างวัฒนธรรม ต่างมารวมตัวกันและใช้ชีวิตในช่วงเวลาสั้นๆ ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจ โดยมีเป้าหมาย เดียวกัน เมื่อมนุษย์ชาติต่างได้ยินการเรียกร้องแห่งพระเจ้าให้มาร่วมตัวกันยังจุดนัดหมาย อันเป็นจุดศูนย์กลางของโลก แม้ว่าจะต้องเผชิญความยากลำบากเพียงใด ด้วยความศรัทธาอันแรงกล้าแล้ว พวกเขาก็ไม่หวั่นที่จะเดินทางมายังบัยติ้ลลอฮิ้ลฮารอม การบำเพ็ญฮัจญ์นั้นไม่ได้ถูกเริ่มในสมัยของท่านศาสดามูฮัมหมัด แต่มันได้ถูกเริ่มมาตั้งแต่สมัยท่านศาสนาอิบรอฮีม ด้วยกับหัวใจของประชาชาติยุคก่อน อิสลามที่ถูกเปลี่ยนสีไปพร้อมกับกาลเวลา จึงทำให้ศาสนาที่ถูกประทานลงมายังศาสดาอิบรอฮีมมีการบิดเบือน และขัดต่อบัญญัติแห่งอัลลอฮ์ แน่นอนอาหรับในยุคญาฮิลียะห์ได้เข้าร่วมประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งมีสิ่งที่ขัดต่อบัญญัติของศาสดาอิบรอฮีมปนอยู่มากมาย เมื่อยุคอิสลามได้มาถึง การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่จึงเกิดขึ้น สิ่งที่ไม่ถูกเรียกว่าศาสนาอันเป็นสิ่งที่ผิดต่อหลักการก็ได้ถูกขจัดออกไปในเรื่องของพิธีฮัจญ์ และศาสนกิจอื่นๆ และเป็นเรื่องที่ได้รับการยืนยันจากอัลลอฮ์ (ซ.บ.) ว่าศาสนาอิสลามนั้นเป็นศาสนาที่เที่ยงแท้อันเป็นแนวทางที่สืบทอดมาจากศาสดาอิบรอฮีม

การประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะห์

อัลลอฮ์ทรงเลือกให้มักกะห์และบริเวณรอบมักกะห์เป็นสถานที่ประกอบพิธีฮัจญ์ เนื่องด้วยกะบะห์ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางมักกะห์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพื้นโลกเป็นใจกลางของทุกทวีป ซึ่งสะดวกแก่มนุษย์ชาติ ที่จะเดินทางมา และแน่นอนกะบะห์เป็นมัสยิดแห่งแรกของโลกที่ถูกสร้างขึ้น อีกทั้งยังเป็นสถานที่ทาง ประวัติศาสตร์ ของบรรดาศาสดารุ่นก่อนๆ

การไปประกอบพิธีฮัจย์ที่ประเทศซาอุดิอาระเบียมีจุดประสงค์เพื่ออะไร

การประกอบพิธีฮัจญ์ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างมิตรภาพระหว่างมุสลิมทั่วโลก โดยการที่คนต่างเชื้อชาติ ต่างถิ่นฐาน ต่างวัฒนธรรม ต่างมารวมตัวกัน และใช้ชีวิตในช่วงเวลาสั้นๆ ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจโดยมีเป้าหมายเดียวกัน นั้นก็คือ อัลลอฮ์ (ซุบฮาฯ)

พิธีฮัจญ์คืออะไรจงอธิบาย

พิธีฮัจญ์คืออะไร พิธีฮัจญ์ คือ 1 ใน 5 หลักปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมที่มีความสามารถจะต้องปฏิบัติอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต โดยความสามารถดังกล่าวหมายถึง ความสมบูรณ์พร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และปัจจัยที่จำเป็นสำหรับใช้ในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ เช่น เงินทอง และอาหาร โดยมิต้องเป็นหนี้สินหรือสร้างความเดือดร้อนต่อบุคคล

สถานที่ประกอบพิธีฮัจญ์ ที่ไหน

หลักปฏิบัติอย่างหนึ่งของศาสนาอิสลาม คือ การประกอบศาสานากิจหรือทำพิธีฮัจย์ ณ เมืองมักกะห์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮของทุก ๆ ปี จะมีมุสลิมทั่วโลกเดินทางพักอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่นเพื่อประกอบศาสนกิจ

การประกอบพิธีฮัจญ์ใช้เวลากี่วัน

การประกอบพิธีฮัจย์ตามปฏิทินอิสลามคือในเดือนซุลฮิญะฮของทุกปี แต่ในปี พ.ศ. 2555 จะตรงกับเดือนตุลาคม ของปีปฏิทินไทย ในการเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์โดยส่วนใหญ่จะเดินทางไปล่วงหน้า ประมาณ 45-60 วันรวมพิธีฮัจย์ เริ่ม ตั้งแต่เดือน เซาวาล ซูลเกาะอดะฮและซุลฮิญะฮ ในปี 2555 ตรงกับเดือนกันยายน-พฤศจิกายน ซึ่งในปีต่อๆ ไปจะตรงกับ ...