วัตถุประสงค์ของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล  วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาด ก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้

3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูล จากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลฦขนาดใหญ่สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว  ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบาย เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบิน สามารถทำได้ทันที

4. ประหยัดต้นทุน การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่ายเพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลโปรแกรมการทำงาน  จะทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น

5. สามารถเก็บข้อมูลเป็นศูนย์กลาง กล่าวคือ สามารถมีข้อมูลเพียงชุดเดียวในระบบเครือข่ายซึ่งถือเป็นข้อมูลส่วนกลาง  โดยที่แต่ละแผนกในบริษัทสามารถดึงไปใช้ได้จากที่เดียวกัน

6. การใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกันได้ ในระบบเครือข่ายนั้น จะทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ร่วมกันได้ โดยที่อุปกรณ์ตัวนั้น อาจต่อยู่กับเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายแต่สามารถให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเครือข่ายใช้อุปกรณ์ตัวนั้นได้โดยตรง

7. การทำงานแบบกลุ่ม สามารถใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในการทำงานในแผนกหรือกลุ่มเดี่ยวกันได้เป็นอย่างดี เช่น สามารถร่วมแก้ไขเอกสารตัวเดียวกันตามแผนงาน กล่าวคือ ในระบบงานเอกสารชนิดหนึ่งอาจจะผ่านการแก้ไขหลายขั้นตอน ซึ่งคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องทำงานในขั้นตอนของตนเองก่อนจะส่งไฟล์ข้อมูลเอกสารนั้นไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ

คำว่าวัตถุประสงค์ มีความสำคัญสำหรับการเริ่มต้นกิจกรรมสื่อสารไม่ว่าจะรูปแบบใดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด หรือกระบวนการขายสินค้าหรือบริการ ซึ่งวัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้น จะช่วยให้การกำหนดเป้าหมายของสารหรือข้อความที่จะสื่อ รวมไปถึงการวางโปรแกรมแผนงานการสื่อสารทั้งหมดได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการสื่อสาร การคิดคอนเทนต์ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย จนถึงการประเมินผลการสื่อสาร

แล้วการรู้วัตถุประสงค์ของการสื่อสารนำไปใช้อะไรได้บ้าง

  • การวางแผนการตลาด
  • การวางแผนการขาย
  • การวางแผนการให้ข้อมูลข่าวสาร
  • การทำ Artwork งานโฆษณาในสื่อต่างๆ
  • การทำสคริปต์สำหรับพูดในงานต่างๆ
  • การบริหารจัดการสื่อสารภายในองค์กร

จะเห็นได้ว่าทุกอย่างนั้นเกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ซึ่งวัตถุประสงค์และเนื้อหาก็จำเป็นต้องเปลี่ยนไปตามแต่ละเหตุการณ์ แล้ววัตถุประสงค์ของการสื่อสารที่แท้จริงนั้นมันมีกี่รูปแบบบ้าง เรามาดูกันครับ

วัตถุประสงค์ของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

  • การสื่อสารเพื่อบอกกล่าว
    เป็นการสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลข่าวสาร ให้ความรู้ หรือการอธิบาย ให้ผู้อื่นรับทราบในเรื่องหรือประเด็นใดประเด็นหนึ่ง
  • การสื่อสารเพื่อให้เกิดการทำตาม
    เป็นการสื่อสารเพื่อชักนำให้กลุ่มคนทำตามในเรื่องเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การปรับกระบวนการทำงาน การช่วยกันลดค่าใช้จ่าย
  • การสื่อสารเพื่อสร้างอิทธิพล
    เป็นการสื่อสารเพื่อสร้างให้เกิดผลของการกระทำ เช่น กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนกลยุทธ์ในการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับองค์กร
  • การสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจ
    เป็นการสื่อสารเพื่อให้เกิดการร่วมมือร่วมแรงใจกัน ในการสนับสนุนหรือช่วยเหลือในสิ่งต่างๆ เช่น ช่วยกันทำงานเพื่อผลประโยชน์องค์กร ช่วยเหลือผู้ยากไร้
  • การสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ
    เป็นการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวให้ผู้อื่นคล้อยตามในสิ่งที่ตัวเองกำลังนำเสนอ การเลี่ยนแปลงทัศคติต่างๆ เช่น การที่พรรคการเมืองออกมาพูดต่อหน้าสาธารณะ เพื่อโน้มน้าวให้ไปเลือกตั้งพรรคของตัวเอง การโน้มน้าวใจในแคมเปญโฆษณาเพื่อรณรงค์ให้เลิกบุหรี่
  • การสื่อสารเพื่อสร้างความบันเทิง
    เป็นการสื่อสารที่ใช้การปลุกอารมณ์คนฟังด้วยเสียงเพลง การนำเสนอภาพสวยๆ มีความสนุกสนาน มีอารมณ์ขัน หรือเป็นการเล่าเรื่องราวต่างๆ
  • การสื่อสารเพื่อสร้างให้เกิดยอดขาย
    เป็นการสื่อสารที่ชัดเจนในการขายสินค้าหรือบริการ หรือชักชวนให้เป็นพันธมิตรทางการค้าในรูปแบบต่างๆ

โดยทั่วไปวัตถุประสงค์ของการสื่อสารก็มีอยู่ตามข้อมูลข้างต้นครับ ซึ่งหากมองดูดีๆแล้วบางวัตถุประสงค์ดูคล้ายกันแต่มันก็มีความแตกต่างในตัวของมันเอง ซึ่งจะช่วยให้องค์กรหรือธุรกิจของคุณสามารถกำหนดเนื้อหาที่เหมาะสม และสร้างสรรค์สื่อต่างๆที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดีนั่นเองครับ

1. ความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล ปัจจุบันมีข้อมูลจำนวนมากสามารถถูกส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพcละรวดเร็ว เช่น การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ระบบ ดีเอสแอล ( Digital Subscriber Line DSL ) ถ้าส่งด้วยอัตราเร็ว 2 Mbps หรือประมาณ 256 kB/s จะส่งข้อมูลจำนวน 200หน้าได้ในเวลาน้อยกว่า 10 วินาที

2. ความถูกต้องของข้อมูล การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายการสื่อสารเป็นการส่งแบบดิจิทัล ซึ่งระบบการสื่อสารจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ส่ง และแก้ไขข้อมูลที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้โดยอัตโนมัติ ดังนั้น การสื่อสารข้อมูลจึงมีความเชื่อถือสูง

 3. ความเร็วในการรับส่งข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ในการส่งข้อมูล หรือ ค้นคว้าข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ทำได้รวดเร็ว เนื่องจากสัญญาณทางไฟฟ้าเดินทางด้วยความเร็วใกล้เคียงความเร็วแสง เช่น การดูภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ผ่านอินเทอร์เน็ต การตรวจสอบหรือการจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที

4. การประหยัดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารข้อมูล การรับและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารสามารถทำได้ในราคาถูกกว่าการสื่อสารแบบอื่น เช่น การใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า วอยซ์โอเวอร์ไอพี
( Voice over IP : VoIP ) จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้งานโทรศัพท์โดยผ่านระบบโทรศัพท์พื้นฐาน หรือการใช้อีเมลส่งข้องมูลหรือเอกสารในรูปแบบอีเล็กทรอนิกส์จะมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่า และรวดเร็วกว่าการส่งเอกสารแบบวิธีอื่น

 5. ความสะดวกในการแบ่งปันทรัพยากร ในองค์กรสามารถใช้อุปกรณ์สารสนเทศร่วมกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายติดตั้งอุปกรณ์ให้กับทุกเครื่อง เช่น เครื่องพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถให้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเหล่านั้นไว้ที่แหล่งเก็บข้อมูลที่เป็นศูนย์กลาง เช่น เครื่องบริการไฟล์ ( file server ) เป็นต้น

 6. ความสะดวกในการประสารงาน ในองค์กรที่มีหน่วยงานย่อยหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลกันสามารถทำงานประสานกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น การประชุมทางไกล และการแก้ไขเอกสารร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย

7. ขยายบริการองค์กร เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้องค์กรสามารถกระจายทำการไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการให้บริการ เช่น ธนาคารที่มีสาขาทั่วประเทศ สามารถถอนเงินได้จากตู้เอทีเอ็ม หรือฝากเงินได้ตามตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น

8. การสร้างบริการรูปแบบใหม่บนเครือข่าย การให้บริการต่างๆ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้บริการได้ทุกที่ทุกเวลา เช่น การซื้อสินค้าผ่านร้านค้าออนไลน์ ซึ่งเป็นบริการแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ ( e – commerce ) และการรับชำระสินค้า ค่าสาธารณูปโภคผ่านจุดรับชำระแบบออนไลน์ ที่เรียกว่าเคาน์เตอร์เซอร์วิส ( counter service )

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

อะไรคือวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร

1. เพื่อแจ้งให้ผู้รับสารทราบและเกิดความเข้าใจ 2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษาและเกิดความเข้าใจมากกว่าเดิม 3. เพื่อสร้างความบันเทิงและความเข้าใจ 4. เพื่อนำเสนอและชักจูงให้มีความสนใจปฏิบัติตาม

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูลมีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดต้นทุนด้านต่าง ๆ เนื่องจากการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางระบบเครือข่ายได้

ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการรับสาร *

4. วัตถุประสงค์ของผู้รับสารในการทำการสื่อสารประการสุดท้ายนี้ก็เพื่อใช้ในการตัดสินใจหรือเพื่อการกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง นั่นย่อมหมายถึงว่า ในการตัดสินใจของคนเรานั้น มักจะได้รับการเสนอแนะหรือชักจูงให้กระทำอย่างนั้นอย่างนี้จากบุคคลอื่นอยู่เสมอ เพราะฉะนั้นในการที่จะทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปย่อมจะมีการศึกษาทางเลือกว่าทางเลือกไหนจะ ...

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลที่มีความสำคัญที่สุดคืออะไร

องค์ประกอบหลักของระบบสื่อสารข้อมูลมีอยู่ 5 อย่าง ได้แก่ ผู้ส่ง (sender) ผู้รับ(receiver) ข่าวสาร(message) สื่อกลาง(media) และโพรโทคอล(protocol)