การเขียนแสดงความคิดเห็นมีจุดประสงค์อย่างไร

ความคิดเห็นก็คือ การแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดหรือข้อสันนิษฐานของบุคคล ที่มีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดออกมาให้ผู้อื่นได้รับรู้ ความคิดเห็นสามารถแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น การแสดงออกด้วยคำพูด หรือแสดงออกด้วยการเขียนบรรยาย ซึ่งเป็นได้ทั้งการแสดงออกให้คนอื่นได้รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง หรือเป็นการนำเสนอแง่มุมข้อสันนิษฐานที่มีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้เกิดการตอบรับในลักษณะต่างๆที่แตกต่างกันออกไป

ปัจจุบันช่องทางการใช้สื่อเพื่อแสดงความคิดเห็น หรือนำเสนอเรื่องราวใดๆเป็นสิ่งที่สามารถพบได้บ่อยโดยเฉพาะสื่อสาธารณะ การแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ควรเป็นการนำเสนอในเชิงบวก วิเคราะห์และสันนิษฐานโดยยึดหลักความเป็นเหตุและเป็นผลมากกว่าการชี้นำให้บุคคลอื่นๆคล้อยตาม แต่ควรเป็นการแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้อื่นได้นำไปวิเคราะห์และตัดสินเรื่องราวเหล่านั้นด้วยตนเอง

การเขียนแสดงความคิดเห็น คือการแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด และข้อสันนิฐานนั้นออกมาให้ผู้อ่านได้รับรู้ การเขียนแสดงความคิดเห็นนั้น จำเป็นที่จะต้องเขียนด้วยข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง มีเหตุและมีผลและเป็นไปในทางที่สร้างสรรค์ ผู้เขียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี เพื่อที่จะแสดงความคิดเห็นได้อย่างเข้าใจและตรงประเด็น

การเขียนแสดงความคิดเห็นมีจุดประสงค์อย่างไร

หลักในการเขียนแสดงความคิดเห็น จำแนกตามแบบได้ดังนี้

-การแสดงความคิดเห็นเพื่อตั้งข้อสังเกตุในเรื่องนั้นๆ

-การแสดงความคิดเห็นเพื่อสนับสนุนข้อเท็จจริง

-การแสดงความคิดเห็นเพื่อโต้แย้งข้อเท็จจริง

-การแสดงความคิดเห็นเพื่อประเมิณค่า

การแสดงความคิดเห็นประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนคือ

1.ที่มา คือเรื่องราวที่ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องแสดงความคิดเห็นนั้นๆ ทำให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจและพร้อมจะรับฟังคำคิดเห็นต่อไป

2.ข้อสนับสนุน คือ ข้อเท็จจริง หลักการ กฏเกณฑ์ ความคิด และมติที่นำมาใช้ประกอบให้เป็นเหตุเป็นผลที่ใช้สนับสนุนข้อสรุป

3.ข้อสรุป คือส่วนที่สำคัญที่สุดของการแสดงความคิดเห็น อาจจะเป็นข้อเสนอแนะ ข้อวินิจฉัย หรือข้อสันนิษฐานเพื่อประเมิณค่า เพื่อให้ผู้อ่านพิจารณายอมรับหรือนำไปปฏิบัติและแก้ไขได้

และหลักสำคัญในการเขียนแสดงความคิดเห็นประการสุดท้ายที่สำคัญเหมือนกันคือมารยาทในการแสดงความคิดเห็น

-ภาษาที่ใช้แสดงความคิดเห็นคือ ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย และใช้ถ้อยคำที่สุภาพ สมเหตุสมผล ตรงประเด็น ไม่ออกนอกเรื่อง

-ข้อมูลและหลักฐานที่นำมาใช้ประกอบความคิดเห็นต้องเป็นเรื่องจริง ไม่ใช่ข้อมูลเท็จ หรือมีจุดประสงค์เพื่อหลอกลวง

๑. การเขียนแสดงความคิดเห็น 

๑.๑ ความหมายของการเขียนแสดงความคิดเห็น


    การเขียนแสดงความคิดเห็นเป็นการเขียนแสดงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของผู้เขียนที่มี ต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผลโดยใช้ความรู้และทักษะต่างๆ อย่างการฟังการอ่านการพูด และการคิดมาประกอบกันอย่างรอบคอบ และเขียนด้วยข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริง มีความเป็นกลาง ในการแสดงความคิดเห็น เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความคิดนั้นๆ ได้อย่างมีเหตุผล
    การเขียนแสดงความคิดเห็นมีหลายลักษณะขึ้นอยู่กับโอกาสและสถานการณ์เช่นการเขียน จดหมายเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียน และปรากฏในรูปแบบอื่นๆ เช่น บทความ เรียงความ บทร้อยกรอง บทกล่าวสุนทรพจน์ บทปาฐกถา คําขวัญ ฯลฯ การเขียนแสดงความคิดเห็น มักปรากฏ ในรูปของบทความตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์วารสาร นิตยสาร เป็นต้น

๑.๒ ประเภทของการเขียนแสดงความคิดเห็น

๑.๒.๑ ความคิดเห็นเชิงข้อเท็จจริง เป็นความคิดเห็นที่กล่าวถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว การแสดงความคิดเห็นเชิงข้อเท็จจริงเป็นเพียงการสันนิษฐานเท่านั้น จะน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับเหตุผลที่นํามาสนับสนุน
๑.๒.๒ ความคิดเห็นเชิงคุณค่า เป็นการประเมินว่าสิ่งใดดี เป็นประโยชน์หรือโทษ สิ่งใดเหมาะสมหรือไม่ ผู้แสดงความคิดเห็นอาจประเมินค่าสิ่งนั้นโดยลําพังตัวของมันเองหรือประเมิน โดยเปรียบเทียบกับสิ่งที่อยู่ในประเภทเดียวกันหรือมีลักษณะเป็นไปในทํานองเดียวกันตามเกณฑ์ ที่กําหนดขึ้น
๑.๒.๓ ความคิดเห็นเชิงนโยบาย เป็นการบ่งชี้ว่าควรทําอะไรอย่างไร หรือควรจะปรับปรุง แก้ไขอย่างไร นโยบายมีหลายระดับตั้งแต่บุคคล องค์การ สถาบัน ประเทศชาติ ความคิดเห็น เชิงนโยบายเป็นตัวบ่งชี้ว่าขั้นตอนมีเป้าหมาย วิธีปฏิบัติ ประโยชน์ และอุปสรรคอย่างไร

๑.๓ องค์ประกอบของการเขียนแสดงความคิดเห็น

๑.๓.๑ ประเด็นสําคัญ เรื่องที่จะเขียนแสดงความคิดเห็นอาจมาจากการฟังหรือการอ่าน ซึ่งผู้เขียนจะต้องสรุปประเด็นสําคัญให้ได้ว่าจะเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องอะไร
๑.๓.๒ ข้อมูลสนับสนุน การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดก็ตาม ผู้เขียนจะต้อง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นและนําข้อมูลมาประกอบการแสดงความคิดเห็นของตนเพื่อให้ผู้อ่าน เชื่อถือและคล้อยตาม ข้อมูลที่นํามาใช้ประกอบการเขียนแสดงความคิดเห็น อาจจะเป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับ การพิสูจน์แล้ว ความเชื่อหรือหลักการที่ยอมรับกันทั่วไปหรือสถิติจากองค์กรต่างๆ สิ่งสําคัญ คือ ผู้เขียน ควรเลือกใช้ข้อมูลจากแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือ

กรุณาเข้าสู่เว็บไซต์ของลูกค้าเพื่อเลือกลิงค์บริการลูกค้าจากตัวเลือกด้านซ้าย และเลือกประเทศของท่าน สามารถติดต่อและสอบถามข้อมูลกับฝ่ายบริการลูกค้าของเราได้ที่ : https://ecommerceportal.dhl.com/Portal/

        Gardner. (อ้างถึงใน สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์, 2546 : 12) ได้เป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญาด้านต่างๆ เรียกว่า ทฤษฏีพหุปัญญา โดยสรุปไว้ว่า คนทุกคนมีความสามารถทางสติปัญญาหลายด้านและแตกต่างกันสามารถนำสติปัญญาไปใช้ในการสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆ สติปัญญาในแต่ละด้านเป็นอิสระซึ่งกันและกันและทุกคนสามารถพัฒนาสติปัญญาเหล่านี้ได้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสติปัญญาที่หลากหลายเหล่านี้ด้วยการใช้วิธีสอนหลายวิธีและหลายรูปแบบให้นักเรียนปฏิบัติได้สอดคล้องกับความสามารถทางสติปัญญาด้านต่างๆของตน

การแสดงความคิดเห็นมีจุดมุ่งหมายอย่างไร

การเขียนแสดงความคิดเห็น หมายถึง การเขียนที่ประกอบด้วยข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงกับการแสดง ความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ความคิดเห็นควรจะมีเหตุผลและเป็นไปในทางสร้างสรรค์การเขียนแสดง ความคิดเห็นมักปรากฏในรูปของบทความตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร เป็น ต้น ประเภทของการแสดงความคิดเห็น

หลักสำคัญในการเขียนแสดงความคิดเห็นต้องทำอย่างไร

การแสดงความคิดเห็นควรนําเสนอให้ถูกต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ การแสดงความคิดเห็นอาจมีประโยชน์และคุณค่าต่อผู้อ่านหรือไม่ก็ได้ ข้อเสนอแนะควรสอดแทรกจากแหล่งต่างๆ มากกว่าความคิดของตนเอง สารชนิดใดที่ผู้อ่านควรมีการคิดพิจารณาในการอ่านเพื่อแสดงความคิดเห็นมากที่สุด

จุดมุ่งหมายของผู้เขียนคืออะไร

การเขียนเป็นการสื่อสารความรู้ ความคิด ทัศนคติและ อารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรหรือสัญลักษณ์ ดังนั้นผู้เขียนจาเป็นต้องมีความรู้ด้านหลักการ วิธีการ หลักเกณฑ์ทางภาษา เพื่อให้มีความถูกต้องและสละสลวย จุดมุ่งหมายของการเขียน 1. เขียนเพื่อเล่าเรื่อง 2. เขียนเพื่ออธิบาย 3. เขียนเพื่อโฆษณาจูงใจ 4. เขียนเพื่อปลุกใจ

การแสดงความคิดเห็นหมายถึงอะไร

หมายถึง การพูดเพื่อแสดงความรู้สึกหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล มีความสอดคล้องกับเรื่องที่พูด ในการพูด แสดงความคิดเห็นผู้พูดอาจพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องทาง วิชาการ เศรษฐกิจ หรือสังคมก็ได้ ทั้งนี้เมื่อแสดงความคิดเห็นไปแล้วควร ทาให้ผู้ฟังเห็นด้วยหรือคล้อยตาม