การเขียนโปรแกรมภาษาซีมีขั้นตอนอย่างไร

                                จากตัวอย่างข้างต้น บรรทัดที่เริ่มต้นด้วย  /*  จะเป็นส่วนเริ่มต้นหมายเหตุ และคอมพิวเตอร์จะไม่แปลความหมายจนถึงบรรทัดที่ปิดท้ายด้วย   */   หลังจากบรรทัดดังกล่าว คอมพิวเตอร์ถึงจะทำการแปลความหมาย

บทความนี้ ผมคัดลอกมาจากบล็อกเก่า ที่ผมเขียนไว้สมัยเรียนตอนเรียนภาษา C ตอนนั้นเรียนอะไรก็มาเขียนไว้ วันนี้เลยตั้งใจนำมาปรับปรุงใหม่ให้มีแต่เนื้อๆ โดยบทความนี้จะนำเสนอตั้งแต่พื้นฐานแบบ zero มาเลย และอาจจะค่อนข้างรวบรัดนิดนึง ขอแบ่งเป็นตอนๆ เพราะแม้จะพื้นฐานแต่ก็เยอะมาก หนังสือที่ขายกันก็เล่มหนาๆทั้งนั้น

ทำไมต้องเริ่มที่ภาษา C

ภาษา C เป็นรากฐานของหลายๆภาษาในเชิงโปรแกรมมิ่ง ตัวผมเองก็เริ่มจากภาษา C นี่แหละ จากนั้นก็ขยับไป C++ Java C# รูปการเขียนก็ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่จำเป็นต้องเริ่มที่ภาษา C ก็ได้ แต่ถ้าใครจะเริ่มหัดเขียนโปรแกรม ผมก็แนะนำให้เริ่มรู้จักที่ภาษา C ก่อน

 

รู้จักโปรแกรม Dev Cpp

โปรแกรมที่ใช้เขียนมีหลายตัวให้เลือก แต่ที่ผมชอบคือ Dev C++ อีกตัวที่นิยมคือ Code Block ในบทความนี้จะใช้ Dev c++

ดาวน์โหลด
https://sourceforge.net/projects/orwelldevcpp/

ถ้าใช้ Windows 8 หรือใหม่กว่า แนะนำให้โหลดเวอชัน 5.0 ขึ้นไป

ติดตั้งโปรแกรมให้เสร็จ
สร้างไฟล์ ไปที่  New > Source File

การเขียนโปรแกรมภาษาซีมีขั้นตอนอย่างไร

 

จะได้หน้าเปล่าๆขึ้นมา สำหรับเขียน code

การเขียนโปรแกรมภาษาซีมีขั้นตอนอย่างไร

 

ให้ทำการ save ก่อน สังเกตว่า นามสกุลจะมีให้เลือก คือ .c หรือ .cpp
.c คือ สำหรับภาษา C
.cpp คือ สำหรับ ภาษา C++ และเราสามารถใช้ C++ เขียน C ได้
.h คือ สกุลของไลบรารี่
ให้เลือก .c แล้วกด save

การเขียนโปรแกรมภาษาซีมีขั้นตอนอย่างไร

 

การ Compile & Run กด F11 หรือกดปุ่มดังรูป
Compile คือ แปลง code ที่เราเขียนเป็น ภาษาโปรแกรมที่ computer เข้าใจ
Compiler คือ ตัวที่ทำหน้าที่ compile
Run คือ การเปิดโปรแกรมที่ compile แล้วขึ้นมา

การเขียนโปรแกรมภาษาซีมีขั้นตอนอย่างไร

 

เรื่องสำคัญที่ต้องรู้

Syntax

ทุกคำสั่งการทำงานจะต้องปิดท้ายด้วย ; (Semi-colon) เช่น

  age = 23;

 

Notation and Comment

เครื่องหมาย = คือ การกำหนดค่า เช่น การกำหนดให้ a มีค่าเป็น 20

  a = 20; // assign 20 to a.

นอกนั้นก็ + , – , * , / ได้ตามสมการปกติ ใช้วงเล็บได้ ( )
เช่น สมการ (10+5)/5

  answer = (10+5)/5;

บางทีเราต้องการลบโค้ดส่วนนั้นออกชั่วคราว เรียกว่า การคอมเม้น คือ การเขียนเพื่อระบุว่า ตรงนี้ Compiler จะไม่นำไปประมวลผล อาจจะทำเพื่อ อธิบายคนอ่าน หรือ เพื่อลบโค้ดส่วนนั้นชั่วคราว จะใช้
// เพื่อคอมเม้น 1 บรรทัด และ
/*  */ แทนหลายๆบรรทัด เช่น

// This comment single line.

/* This .
comment
multi
line.
*/

 

 

Case sensitive

คือ ชื่อ abc จะไม่เท่ากับ ABC หรือ aBc

 

Data Type

ชนิดของข้อมูลพื้นฐาน ที่ควรรู้ คือ

char  = ตัวหนังสือ
int = ตัวเลข จำนวนเต็ม -1 -2 0 1 2 3 4 ….
long = เลขจำนวนเต็มเยอะๆ
float = ตัวเลขทศนิยม เช่น 1.5
double = ตัวเลขทศนิยมที่มีจำนวนมากๆ

และถ้าเป็น char จะต้องมี ‘ (single quote) ปิดหน้าหลังเสมอ

  char grade = 'A';
  int age = 23;
  float grade = 3.8;
  double money = 1556.3204843;

มีอีกหลายตัว สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมได้

 

Variable name and Reserve word

การตั้งชื่อ ตัวแปรต่างๆในโปรแกรมมีกฏอยู่เล็กน้อย เช่น ห้ามมีเลขขึ้นต้น ห้ามมีอักษรพิเศษ และห้ามเป็นชื่อเฉพาะ
age_city2      แบบนี้ ถูกต้อง
2age_city     แบบนี้ ผิด เพราะ ตัวเลขขึ้นต้นไม่ได้
age฿city       แบบนี้ ผิด เพราะ มีอักขระพิเศษ
main             แบบนี้ ผิด เพราะ เป็น key word หรือชื่อเฉพาะ

คำสงวนที่ห้ามใช้ตั้งชื่ออยู่ เพราะระบบใช้ไปแล้ว เดี๋ยวจะงง ยกตัวอย่างบางคำนะครับ เพราะมีค่อนข้างเยอะ

char
double
for
if
int
return
void
while

 

จบคอร์สแบบรวบรัดสุดๆ พื้นฐานข้างบนต้องจำให้ได้


 

รู้จักกับ #include

#include คือการระบุว่า เราจะนำ library หรือ code ที่มีคนเขียนไว้แล้วมาใช้ในโปรแกรมเรา ซึ่งเจ้านี่จะมีนามสกุล .h เช่น เราต้องการแสดงข้อมูลบนหน้าจอ ก็ต้องอันเชิญ stdio.h (Standard Input/Ouput) เข้ามาในโปรแกรมก่อน โดยจะเขียนไว้ด้านบนสุดของไฟล์

  #include<stdio.h>

 

รู้จักกับฟังชันก์ main

main คือชื่อฟังก์ชันที่เป็นจุดเริ่มทำงานของโปรแกรม พูดง่ายๆคือเปิดโปรแกรมขึ้นมา มันจะมาทำงานที่นี่ โดยจะทำงานตั้งแต่ { ปีกกาเปิด ถึง } ปีกกาปิด จึงเขียนได้ว่า

  main()
  {
   // do some thing
  }

 

รู้จักฟังชันก์ printf()

printf คือ ฟังชันก์ ใน stdio.h ดังนั้นก่อนใช้ต้องอัญเชิญ stdio.h มาก่อนนะ ความสามารถของมันคือ ปริ้นข้อความ เช่น

1.การเขียนและแก้ไขโปรแกรม คือ การนำคำสั่งต่างๆ ของภาษา C มาเขียนเรียงต่อกัน จนเป็นโปรแกรมที่ทำงานตามผู้ใช้ต้องการ

2.คอมไพล์โปรแกรม เมื่อได้ Source Files แล้วและเมื่อต้องการรันโปรแกรมใด ๆ นั้น ผู้ใช้จะต้องทำการแปลง Source Files เหล่านั้น ให้เป็นภาษาเครื่องก่อน

3.การลิงค์โปรแกรม ในภาษา C นั้นจะมีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เตรียมพร้อมมาให้ผู้ใช้ได้ใช้อยู่แล้ว เมื่อคอมไพล์แล้วไม่มีข้อผิดพลาดประการใด ตัวคอมไพล์จะทำการดึงโปรแกรมอื่นที่ถูกเรียกใช้จากโปรแกรมที่กำลังทำการลิงค์เข้ามารวมในโปรแกรมที่สมบูรณ์ การรันโปรแกรม เมื่อทำการลิงค์เสร็จแล้ว โปรแกรมนั้นก็พร้อมที่จะรัน และเมื่อรันโปรแกรมโดยใช้คำสั่งของระบบปฏิบัติงาน โปรแกรมนั้นจะถูกโหลดลงสู่หน่วยความจำหลัก จากนั้นก็ทำการรัน ซึ่งเรียกว่า Loader การพัฒนาโปรแกรม การพัฒนาโปรแกรมขึ้นมา ไม่ใช่จะเขียนโปรแกรมได้เลย เพราะการพัฒนาโปรแกรมนั้นจะมีขั้นตอน ที่เรียกว่า System Development Life Cycle โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.หาความต้องการของระบบ ( System Requirements ) คือ การศึกษาและเก็บความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ว่ามีความต้องการอะไรบ้าง

2.วิเคราะห์ ( Analysis ) คือ การนำเอาความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมมาวิเคราะห์ว่าจะพัฒนาเป็นโปรแกรมตามที่ต้องการได้หรือไม่

3.ออกแบบ ( Design ) เมื่อสรุปได้แล้วว่าโปรแกรมที่จะสร้างมีลักษณะเป็นอย่างไรขั้นตอนต่อมาก็คือ การออกแบบการทำงานของโปรแกรมให้เป็นไปตามความต้องการที่วิเคราะห์ไว้

4.เขียนโปรแกรม ( Code ) เมื่อได้ผังงานแล้ว ต่อมาก็เป็นการเขียนโปรแกรมตามผังงานที่ออกแบบไว้

5.ทดสอบ ( System Test ) เมื่อเขียนโปรแกรมเสร็จแล้ว จะต้องมีการทดสอบเพื่อหาข้อผิดพลาดต่าง ๆ

6.ดูแล ( Mainteance ) เมื่อโปรแกรมผ่านการทดสอบแล้ว ผู้พัฒนาจะต้องคอยดูแล เนื่องจากอาจมีข้อผิดพลาดที่หาไม่พบในขั้นตอนการทดสอบโปรแกรม