การโอนที่ดินมีขั้นตอนอะไรบ้าง

         เรียกได้ว่าบทความนี้ก็พาคุณผู้อ่านทุกคนไปเจาะรายละเอียดที่จำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการโอนที่ดินทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการเตรียมเอกสารการโอนที่ดินทั้งสำหรับผู้ซื้อ ผู้ขาย รวมไปถึงเอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการซื้อห้องชุด นอกจากนั้นยังมีในเรื่องของการอัปเดตภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และการโอนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้กับลูกหลานหรือญาติในรูปแบบต่างๆ จนถึงขั้นตอนการโอนที่ดินแบบละเอียด ที่เรียกได้ว่าถ้าหากอ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ก็จะสามารถทำการโอนที่ดินได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน แม่นยำ แบบไม่มีผิดพลาดกันอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อกฎหมายอื่นๆ ที่น่ารู้เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนคอนโด อีกมากซึ่งล้วนแล้วแต่สำคัญและน่าศึกษาเพิ่มเติมทั้งสิ้น ใครที่สนใจความรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ก็อย่าลืมติดตามเราไว้ เพราะเรามีบทความดี ๆ คอยอัพเดทให้ได้อ่านกันอยู่เสมอ แล้วพบกันใหม่บทความหน้าจ้า 

Show

เมื่อผู้ซื้อผู้ขายทำการตกลงที่จะซื้อ ขายบ้าน พร้อมที่ดิน ตกลงราคา และค่าใช้จ่ายเรื่องการโอนฯแล้ว ต่อมาก็เข้าสู่กระบวนการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ก่อนที่จะได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์ มีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องเตรียมอย่างไรบ้าง หากคุณไม่มีเวลาหรืออยากลดขั้นตอนยุ่งยากเพียงใช้บริการ ซื้อ ขายบ้านกับบางกอก แอสเซทฯ เราดูแลให้ทุกขั้นตอนครับ


ขั้นตอนที่ 1 ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ และรับบัตรคิว

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายชำนาญงานเรียก ทั้งผู้โอนและผู้รับโอนบ้าน เซ็นต์เอกสารต่อหน้าเจ้าหน้าที่

ขั้นตอนที่ 3 เจ้าหน้าที่จะประเมินทุนทรัพย์และคำนวณค่าธรรมเนียมการโอน นำใบประเมินไปชำระค่าโอนที่ฝ่ายการเงิน

ขั้นตอนที่ 4 เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว จะได้ใบเสร็จ 2 ใบสีเหลืองและสีฟ้า โดยสีฟ้าให้ถ่ายสำเนาเก็บไว้หนึ่งชุด และให้นำสีเหลืองคืนเจ้าหน้าที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายชำนาญงานที่เซ็นต์เอกสารในขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 5 เจ้าหน้าพิมพ์สลักหลังโฉนด ผู้โอนตรวจสอบความถูกต้อง แล้วจึงมอบโฉนดและสัญญาซื้อขาย(ทด.13) ให้แก่ผู้รับโอนหรือผู้ซื้อ หากกู้ ซื้อบ้าน ทางธนาคารจะเก็บโฉนดตัวจริงไว้ และให้สำเนาโฉนดไว้ โดยโฉนดเจ้าของจะเป็นชื่อธนาคารจนกระทั่งผ่อนชำระสินเชื่อบ้านหมด

ในกรณีที่โครงการบ้านดำเนินการให้ ทางผู้ซื้อจะต้องทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อไปดำเนินการแทนโดยผู้ซื้อจะได้รับสำเนาหลักฐานการโอน หลังจากกระบวนการโอนบ้าน ณ กรมที่ดินเสร็จสิ้นเรียบร้อย

เอกสารที่ต้องเตรียมความพร้อมในวันนัดโอนกรรมสิทธิ์

กรณีเป็นบุคคลทั่วไป

1.โฉนดที่ดินฉบับจริง

2.บัตรประชาชน พร้อมสำเนา 1 ชุด (เซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)

3.ทะเบียนบ้าน  พร้อมสำเนา 1ชุด (เซ็นชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)

4.หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21) กรณีมอบอำนาจ

5.หนังสือให้ความยินยอมให้ขายที่ดินหรือที่ดินพร้อมบ้าน (กรณีสมรส)

6.สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส (กรณีสมรส)

7.สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส (กรณีสมรส)

8.สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีสมรส)

9.สำเนาทะเบียนหย่า (กรณีหย่า)

กรณีเป็นนิติบุคคล

1.โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์

2.หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

3.หนังสือบริคณห์สนธิ และวัตถุประสงค์

4.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น กรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด

5.แบบรับรองรายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน กรณีห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนแล้ว

6.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลไทยที่ถือหุ้นในบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชน จำกัด

7.บัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน และตัวอย่าง ลายมือชื่อของกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคล

8.รายงานการประชุมนิติบุคคล

และเพื่อให้เสร็จสิ้นการซื้อขายจริงๆ หลังจากโอนที่ดินพร้อมบ้านแล้ว ต้องโอนมิเตอร์น้ำ มิเตอร์ไฟฟ้า พร้อมทั้งย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านด้วยจริงจะเรียบร้อยสมบูรณ์

ซื้อขายบ้านกับบางกอก แอสเซทฯ ช่วยลดขั้นตอนยุ่งยากได้

เพราะเรามีบริการสำหรับผู้ซื้อ-ผู้ขายทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้น จนกระทั่งวันโอน รวมถึงการทำการตลาดในทุกช่องทาง เพื่อโปรโมทบ้านของลูกค้านอกจากนั้นเรายังมีฐานลูกค้าที่กำลังรอ ซื้อบ้าน อยู่เป็นจำนวนมาก !! เหมาะกับคนที่ไม่มีเวลาขายเอง ไม่มีประสบการณ์ขายบ้าน ไม่มีความรู้เรื่องเอกสาร ต้องการ ขายบ้าน ไว รีบใช้เงิน ติดต่อเรามาได้เลยครับ

กรณีผู้รับโอนเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทยแต่มีสิทธิการได้มาซึ่งที่ดิน เสมือนคนต่างด้าวตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในมาตรา 97 และ 98 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ไม่สามารถรับโอนได้ (เว้นแต่มีกฎหมายกําหนดให้นิติบุคคลสัญชาติไทยแต่มีสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินเสมือนคนต่างด้าวรับโอนได้)

  1. หากเป็นการโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเจ้าของสิ่งปลูกสร้างจะต้องมีหลักฐานการเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
  2. ผู้ขอต้องยื่นเอกสารหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สานักงานที่ดินพื้นที่ที่รับผิดชอบซึ่งที่ดิน หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุดตั้งอยู่โดยต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆเบืองต้นก่อน และรับบัตรคิวเพื่อรอยืนคําขอและสอบสวนตามลําดับก่อนหลังในขั้นตอนต่อไป (ไม่นับรวมอยู่ในระยะเวลาให้บริการ)
  3. พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องสอบสวนสิทธิและความสามารถรวมตลอดถึงความสมบูรณ์ของนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินพ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติมรวมทั้งกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  4. ระยะเวลาดําเนินการอาจใช้เวลาน้อยกว่า 150 นาที (ไม่รวมระยะเวลารอการยื่นคําขอและสอบสวน ทั้งนี้การนับระยะเวลาดําเนินการจะเริ่มนับตังแต่พนักงานเจ้าหน้าที่เริ่มสอบสวนตามลําดับก่อนหลัง) ระยะเวลาแล้วเสร็จขึ้นอยู่กับจํานวนคู่กรณีและหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินหรือหนังสือกรรมสิทธิห้องชุด เช่นมีคู่กรณีฝ่ายละหลายรายหรือหนังสือแสดงสิทธิในทีดินหลายฉบับ หรือขอจดทะเบียนหลายประเภทในคราวเดียวกันเป็นต้น และในบางกรณีอาจต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นตามข้อเท็จจริง เช่นหลักฐานไม่ชัดเจนต้องสอบสวนเพิ่มเติมเพื่อให้ข้อเท็จจริงยุติขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแต่ขนาดสิ่งปลูกสร้างตามหลักฐานเดิมกับข้อเท็จจริงที่ขอจดทะเบียนไม่ตรงกันเป็นต้น

ขั้นตอนการโอนที่ดินซื้อขาย เอกสารที่ต้องเตรียม รายละเอียดค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน

สำหรับการเตรียมเอกสารเพื่อเตรียมไปทำเรื่องการโอนที่ดินซื้อขาย สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคลธรรม และประเภทนิติบุคคล (บริษัท)

การเตรียมเอกสารการโอนที่ดินซื้อขาย สำหรับบุคคลธรรมดา

  • โฉนดที่ดินฉบับจริง
  • บัตรประชาชน พร้อมสำเนา และลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
  • ทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนา และลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
  • เอกสารการเปลี่ยนชื่อและนามสกุล พร้อมสำเนา และลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
  • กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
  • หนังสือมอบอำนาจ (ทด.21)
  • สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
  • กรณีสมรสแล้ว ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
  • หนังสือให้ความยินยอมให้ขายที่ดินหรือที่ดินพร้อมบ้าน
  • สำเนาบัตรประชาชนคู่สมรส พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนบ้านคู่สมรส พร้อมลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง 1 ชุด
  • สำเนาทะเบียนสมรส
  • กรณีจดทะเบียนสมรสแล้วหย่า ต้องมีสำเนาทะเบียนหย่าเพิ่มเติม

การเตรียมเอกสารการโอนที่ดินซื้อขาย สำหรับนิติบุคคล

  • โฉนดที่ดิน หรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
  • หนังสือรับรองนิติบุคคล ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • สำเนาทะเบียนบ้านของของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
  • กรณีบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชน จำกัด ให้มีบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน พร้อมรายละเอียดในบัญชีรายชื่อของนิติบุคคลที่สามารถซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หากผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลต่างด้าว ต้องมีหุ้นไม่ถึงร้อยละ 40 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมด
  • กรณีเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่จดทะเบียนแล้วให้มีแบบรับรองรายการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
  • กรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นดำเนินการ ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
  • หนังสือมอบอำนาจ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาของผู้รับมอบอำนาจ
  • สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ

รายละเอียดค่าธรรมเนียม การโอนที่ดินซื้อขาย

  • ค่าคำขอโอนที่ดิน 5 บาท
  • ค่าอากร 5 บาท
  • ค่าพยาน 20 บาท
  • ค่าธรรมเนียมในการโอนที่ดิน ราคาร้อยละ 2 จากราคาประเมินหรือราคาขาย (ที่ดินราคาประเมิน 1 ล้านบาท เสียค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน 20,000 บาท)
  • ค่าจดจำนอง ร้อยละ 1 จากมูลค่าที่จดจำนอง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับผู้ที่กู้เงินมาจากสถาบันการเงินเพื่อซื้อที่ดิน (มูลค่าจดจำนองที่ดิน 1 ล้านบาท ค่าจดจำนอง 10,000 บาท)
  • ค่าอากรแสตมป์ใบรับ ร้อยละ 0.5 ของราคาซื้อขาย แต่หากราคาประเมินสูงกว่าให้ใช้ราคาประเมินในการคำนวณแทน
  • ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ร้อยละ 3.3 ของราคาซื้อขาย แต่หากราคาประเมินสูงกว่าให้ใช้ราคาประเมินในการคำนวณแทน

ขั้นตอนการโอนที่ดิน เพื่อซื้อขาย

  • ขั้นตอนการโอนที่ดินนั้นมีระยะเวลาไม่นาน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้บริการในกรมที่ดินนั้นด้วย โดยกรมที่ดินก็มีบริการจองคิววันต่อวัน เพื่อลดระยะเวลาการรอคอย
  • กรอกคำขอ พร้อมแนบเอกสารที่ต้องเตรียมมาให้ครบถ้วน
  • นำใบคำขอและเอกสารไปยื่นกับเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เพื่อตรวจสอบเอกสาร จากนั้นเจ้าหน้าที่จะให้บัตรคิวไปยังฝ่ายชำนาญงาน
  • เมื่อถึงคิว ผู้โอนและผู้รับจะลงลายมือชื่อต่อหน้าเจ้าหน้าที่ชำนาญงาน
  • เจ้าหน้าที่จะประเมินราคาที่ดิน เพื่อประเมินค่าธรรมเนียมต่างๆ ซึ่งจะได้รับใบคำนวณค่าใช้จ่ายจากเจ้าหน้าที่หลังคำนวณเสร็จ
  • นำใบคำนวณไปชำระเงินที่ฝ่ายการเงิน โดยจะได้รับใบเสร็จสีฟ้าและสีเหลืองมา ให้นำใบเสร็จสีเหลืองคืนเจ้าหน้าที่ที่เซ็นเอกสาร และนำใบเสร็จสีฟ้าไปถ่ายสำเนาผู้ซื้อ 1 ชุด โดยเก็บตัวจริงไว้ที่ผู้ขาย
  • เจ้าหน้าที่จะพิมพ์โฉนดให้เราตรวจสอบความถูกต้อง หลังจากตรวจสอบเรียบร้อยเสร็จสิ้น จะได้รับโฉนดพร้อมสัญญาซื้อขาย (ท.ด.13) ซึ่งถือว่าเป็นการเสร็จสมบูรณ์

การให้บริการ ณ กรมที่ดิน


สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครหรือสาขา/ส่วนแยก สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขา สำนักงานที่ดินอำเภอ/กิ่งอำเภอท้องที่ ซึ่งที่ดิน/ที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างหรือห้องชุดตั้งอยู่ ติดต่อด้วยตัวเอง ณ หน่วยงาน

ระยะเวลาการเปิดให้บริการ:
วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดที่างราชการกำหนด) ตั้งแต่เวลา 8:30 – 16:30 น.

ท่านสามารถอ่านรายละเอียดฉบับเต็มจาก คู่มือประชาชน: เรื่องการจดทะเบียนประเภทโอนอสังหาริมทรัพย์กรณีไม่ต้องประกาศ จากเอกสารเผยแพร่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย

การโอนที่ดินต้องไปที่ไหน

สถานที่ทำเรื่องการโอนที่ดิน สำหรับสถานที่ทำเรื่องในการโอนที่ดินจะต้องทำเรื่องที่สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสาขา หรือส่วนแยกสำนักงานที่ดินอำเภอ หรือกิ่งอำเภอท้องที่ที่ที่ดินตั้งอยู่ โดยต้องติดต่อตัวเอง ณ หน่วยงาน หากไม่สะดวกไปดำเนินการโอนที่ดินด้วยตนเอง สามารถมอบอำนาจให้บุคคลอื่นทำแทนได้

การโอนที่ดิน ใช้เวลากี่วัน

ระยะเวลาที่ใช้ในการโอนที่ดินจะมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับคิวหรือจำนวนคนที่ใช้บริการที่กรมที่ดิน หากไม่มีคิวยาว ก็น่าจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี ขอแนะนำให้ไปกรมที่ดินแต่เช้าเพื่อจองคิวและลดเวลาที่ต้องรอคอย กรอกคำขอ พร้อมแนบเอกสารที่ใช้ในการโอนที่ดินตามที่ระบุในข้างต้น

โอนที่ดินใช้เอกสารอะไรบ้าง ผู้ขาย

เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน (ผู้ขาย) ต้องเตรียมอะไรบ้าง.
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขาย และคู่สมรส (ถ้ามี).
สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขาย และคู่สมรส (ถ้ามี).
หนังสือยินยอมของคู่สมรส (ถ้ามี).
สำเนาใบทะเบียนสมรส (ถ้ามี).
หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน).

โอนโฉนดที่ดินให้น้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

1) มาโอนพร้อมกันทั้งพ่อและแม่ เอกสารในการโอนที่ดินให้บุตรโดยชอบทางกฎหมายคือ โฉนดที่ดิน, บัตรประชาชนของพ่อและแม่, ทะเบียนบ้านของพ่อและแม่, ใบจดทะเบียนสมรส